Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 เมษายน 2556 (บทความ) คืนชีพให้ฟิล์มม้วนเก่า ด้วยสมาร์ทโฟน ระบุ APP เฮลมุทสามารถปรับแต่รูปความสว่าง, คอนทราสต์, คัลเลอร์ บาลานซ์ ฯลฯ แอพพลิเคชั่นตัวนี้ เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน "โฟโต แฮค เดย์ 2012"


ประเด็นหลัก


เฮลมุท เป็นแอพพลิเคชั่น ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรีๆ สำหรับใครก็ตามที่ใช้โทรศัพท์ที่ระบบปฏิบัติการเป็นแอนดรอยด์ ติดตั้งรวดเร็วมากๆ ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน รวดเร็ว แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้เครื่องสแกนฟิล์มราคาแพงๆ เลยทีเดียว

เฮลมุท เป็นผลงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์และช่างภาพอย่าง คอสตาส รัทคอสคาส ชาวเดนมาร์ก ที่เคยทำแอพพลิเคชั่นชั้นดีอย่าง "เอ็กซิท 4 ฟิล์ม" มาแล้วก่อนหน้านี้ เป้าหมายในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นตัวใหม่นี้ขึ้นเกิดจากความที่เคยเป็นช่างภาพแล้วก็รู้ดีว่า บางทีเราก็อยากนำเอาฟิล์มเก่าๆ มาฟื้นความทรงจำเดิมๆ ด้วยพอๆ กับการแสวงหาภาพใหม่ๆ ความทรงจำใหม่ๆ นั่นแหละ

"เฮลมุท" ถูกตั้งเป้าให้ทำหน้าที่เป็นระบบที่ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมอะไรมากมายนอกจาก โทรศัพท์สมาร์ทโฟนสักเครื่องและไลท์บ็อกซ์ หรืออุปกรณ์ส่องฟิล์ม ที่บ้านเราชอบเรียกกันว่า ตู้ส่องฟิล์ม สักตัวเท่านั้นเอง ที่เหลือจะเป็นหน้าที่ของซอฟต์แวร์ในการแปลงทั้งหมดให้กลายเป็นภาพดิจิตอล สำหรับแชร์ไปอวดใครต่อใครผ่านแอพพลิเคชั่นใดก็ได้ ที่สำคัญมันมีโหมดสแกนให้เลือกทั้ง การสแกนเนกะทีฟขาวดำ เนกะทีฟสี แล้วก็ สไลด์สีก็ได้ครับ

"ตู้ส่องฟิล์ม" เป็นอุปกรณ์สำคัญในการนี้ คอสตาสบอกว่า ถ้าไม่มี และยังไม่สามารถทำเองได้ จะใช้หน้าจอ ไอแพด หรือหน้าจอแท็บเล็ตอื่นๆ แม้แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์พีซี ก็ได้เช่นเดียวกัน ข้อสำคัญก็คือ ต้องดูว่าความสว่างของหน้าจอที่เราใช้แทนตู้ส่องฟิล์มนั้นสม่ำเสมอหรือไม่ ยิ่งสม่ำเสมอเท่าใดยิ่งดีเท่านั้น เลือกหาหน้าจอขาวๆ ว่างๆ ไว้เป็นดีที่สุด

ได้ตู้ส่องฟิล์มชั่้วคราวแล้ว นำเอาฟิล์มเนกะทีฟมาวางไว้บนนั้น จากนั้น ก็เปิดแอพพลิเคชั่นในมือถือขึ้นมาเลือกรูปที่ต้องการแล้วคร็อปเฉพาะตัวรูป ถึงขั้นตอนนี้เราสามารถปรับแต่งรูปภาพได้ อาทิ ความสว่าง, คอนทราสต์, คัลเลอร์ บาลานซ์ ฯลฯ จากนั้น เมื่อได้ภาพตามที่ต้องการแล้วก็กดปุ่มสแกน คุณภาพของภาพที่ได้ถือว่าดีทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในระดับไฮเอนด์ของแอนดรอยด์

แอพพลิเคชั่นตัวนี้ เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน "โฟโต แฮค เดย์ 2012" ที่จัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี





_______________________________________





คืนชีพให้ฟิล์มม้วนเก่า ด้วยสมาร์ทโฟน

โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ pairat@matichon.co.th

ผมเคยมีความรู้สึกแปลกๆ กับความก้าวหน้าแบบเร็วเหลือหลายของเทคโนโลยี โดยเฉพาะตอนที่นั่งดูซองเก็บฟิล์มเนกะทีฟ ที่เปรียบเสมือน "ลิ้นชักความทรงจำ" ซึ่งถึงจะยังไม่ตายสนิท แต่ก็เหมือนๆ กับล้มหายตายจากเราไปนานแสนนานแล้ว




คู่กันคืออัลบั้มเก็บภาพถ่ายที่เหลือง ซีด และไม่หลงเหลือสีสันตามความเป็นจริงของเมื่อวันวานอีกแล้ว ทุกอย่างแค่เจิดจ้าอยู่ในความทรงจำเท่านั้นเอง

เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เทคโนโลยีเก่าล้มหายตายจากเราไป บางครั้งก็ทำให้หลายๆ อย่างหายไปจากชีวิตเราด้วย ผมลองไล่ตรวจสอบดู ตอนนี้ร้านอัดรูปแถวบ้านไม่หลงเหลือให้เห็นแล้ว และเอาเข้าจริงถึงหาที่อัดรูปได้ ก็ไม่แน่ใจนักว่าจะตัดสินใจอัดรูปจากฟิล์มเก่าๆ มาเก็บไว้ให้เหลืองซีดอีกหรือไม่ ในขณะที่ฟิล์มเหล่านั้นก็เริ่มโรยราไปเรื่อยๆ

ทางที่ดีที่สุดก็คือนำเนกะทีฟทั้งหมดมาสแกนเก็บเอาไว้ในรูปของไฟล์ดิจิตอล ผมเข้าใจเอาว่ามีบริการรับทำอยู่เหมือนกัน

แต่จะดีกว่าไหมถ้าหากเราสามารถจัดการฟื้นคืนชีพรูปทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง ด้วยอุปกรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ทำเองก็ได้ หรือบางทีหลายคนก็มีอยู่แล้ว และไม่ต้องเปลืองสตุ้งสตางค์ใดๆ

"เฮลมุท" (Helmut) คือคำตอบครับ

เฮลมุท เป็นแอพพลิเคชั่น ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรีๆ สำหรับใครก็ตามที่ใช้โทรศัพท์ที่ระบบปฏิบัติการเป็นแอนดรอยด์ ติดตั้งรวดเร็วมากๆ ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน รวดเร็ว แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้เครื่องสแกนฟิล์มราคาแพงๆ เลยทีเดียว

เฮลมุท เป็นผลงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์และช่างภาพอย่าง คอสตาส รัทคอสคาส ชาวเดนมาร์ก ที่เคยทำแอพพลิเคชั่นชั้นดีอย่าง "เอ็กซิท 4 ฟิล์ม" มาแล้วก่อนหน้านี้ เป้าหมายในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นตัวใหม่นี้ขึ้นเกิดจากความที่เคยเป็นช่างภาพแล้วก็รู้ดีว่า บางทีเราก็อยากนำเอาฟิล์มเก่าๆ มาฟื้นความทรงจำเดิมๆ ด้วยพอๆ กับการแสวงหาภาพใหม่ๆ ความทรงจำใหม่ๆ นั่นแหละ

"เฮลมุท" ถูกตั้งเป้าให้ทำหน้าที่เป็นระบบที่ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมอะไรมากมายนอกจาก โทรศัพท์สมาร์ทโฟนสักเครื่องและไลท์บ็อกซ์ หรืออุปกรณ์ส่องฟิล์ม ที่บ้านเราชอบเรียกกันว่า ตู้ส่องฟิล์ม สักตัวเท่านั้นเอง ที่เหลือจะเป็นหน้าที่ของซอฟต์แวร์ในการแปลงทั้งหมดให้กลายเป็นภาพดิจิตอล สำหรับแชร์ไปอวดใครต่อใครผ่านแอพพลิเคชั่นใดก็ได้ ที่สำคัญมันมีโหมดสแกนให้เลือกทั้ง การสแกนเนกะทีฟขาวดำ เนกะทีฟสี แล้วก็ สไลด์สีก็ได้ครับ

"ตู้ส่องฟิล์ม" เป็นอุปกรณ์สำคัญในการนี้ คอสตาสบอกว่า ถ้าไม่มี และยังไม่สามารถทำเองได้ จะใช้หน้าจอ ไอแพด หรือหน้าจอแท็บเล็ตอื่นๆ แม้แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์พีซี ก็ได้เช่นเดียวกัน ข้อสำคัญก็คือ ต้องดูว่าความสว่างของหน้าจอที่เราใช้แทนตู้ส่องฟิล์มนั้นสม่ำเสมอหรือไม่ ยิ่งสม่ำเสมอเท่าใดยิ่งดีเท่านั้น เลือกหาหน้าจอขาวๆ ว่างๆ ไว้เป็นดีที่สุด

ได้ตู้ส่องฟิล์มชั่้วคราวแล้ว นำเอาฟิล์มเนกะทีฟมาวางไว้บนนั้น จากนั้น ก็เปิดแอพพลิเคชั่นในมือถือขึ้นมาเลือกรูปที่ต้องการแล้วคร็อปเฉพาะตัวรูป ถึงขั้นตอนนี้เราสามารถปรับแต่งรูปภาพได้ อาทิ ความสว่าง, คอนทราสต์, คัลเลอร์ บาลานซ์ ฯลฯ จากนั้น เมื่อได้ภาพตามที่ต้องการแล้วก็กดปุ่มสแกน คุณภาพของภาพที่ได้ถือว่าดีทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในระดับไฮเอนด์ของแอนดรอยด์

แอพพลิเคชั่นตัวนี้ เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน "โฟโต แฮค เดย์ 2012" ที่จัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

คอสตาสบอกว่า ถ้าหากไม่มีอะไรอยู่ในมือ หาหน้าต่างกระจกที่ด้านหลังเป็นท้องฟ้าใสๆ ก็น่าจะทดแทนตู้ส่องฟิล์มได้ชั่วคราว แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้คอสตาสเองกำลังหารืออยู่กับนักออกแบบอุตสาหกรรม เพื่อให้ออกแบบตู้ส่องฟิล์ม ที่ทำเองได้ง่ายๆ เพื่อให้ดาวน์โหลดไปทำเองกันฟรีๆ พร้อมๆ กับ "เฮลมุท" ด้วยอีกต่างหาก

ใครอยากจัดการกับฟิล์มม้วนเก่าที่บ้าน เพื่อฟื้นความทรงจำให้กลับมามีสีสันอีกครั้ง ก็ทดลองดาวน์โหลดมาใช้งานกันได้เลย!





ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366950229&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.