Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 เมษายน 2556 งานสื่อกับการแบ่งขั้วทางการเมือง ชี้++ newmedia‎ มาแรง!! เพียงแค่เปิดมือถือก็สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างง่ายดาย (ดั้งนั้น บทบาทของเราเป็นนักข่าว สำคัญ)


ประเด็นหลัก


สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "สื่อกับการแบ่งขั้วทางการเมือง" เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองการใช้สื่อระหว่างประเทศต่อกันนายเฮอนันโด โรจา ผู้เชี่ยวชาญการใช้สื่อใหม่ทางด้านสื่อสารการเมือง จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน กล่าวว่า นิวมีเดีย เช่น อินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีการส่งผ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งมือถือหรือสมาร์ทโฟน ซึ่งมีความรวดเร็วและสามารถเชื่อมโยงได้รวดเร็ว และทำให้เกิดการเข้าถึงโซเชียลมีเดีย การแชร์ข้อมูลข่าวสารระหว่างกันในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ มีวิวัฒนาการการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเจริญและมีประสิทธิภาพในการใช้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ นิวมีเดียส่งผลให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เช่น เกิดการกระจุกตัวในกลุ่มผู้รับสื่อ เช่น google ซึ่งหลักการทำงานของ google คือ หากมีการใช้มากขึ้นจะอยู่ในลำดับบนสุด ซึ่งเวลาค้นหาคำๆหนึ่งใน google เรามักจะเลือกเปิดข้อมูลลำดับการค้นหาแรกๆ หรือลำดับสอง เพราะฉะนั้นจะเกิดการทับถมของข้อมูล และกลุ่มคนที่รับสื่อจะแบ่งปันข้อมูลกันอยู่เฉพาะพื้นที่เพียงบางพื้นที่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากนิวมีเดีย หรือตอนนี้การรับสื่อจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าเน็ตเวิร์ค ถูกทำให้ขยายเป็นเครือข่ายใหญ่ ในอดีตหากเราอยากรับข่าวสาร จะนั่งดูโทรทัศน์ หรือไม่ก็นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ แต่ในปัจจุบันไม่ต้องนั่งดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือพิมพ์แล้ว เพียงแค่เปิดมือถือก็สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างง่ายดาย


อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดแล้ว สื่อและนักวารสารศาสตร์ต้องมีบทบาทในการรับผิดชอบ ต้องรู้ว่าสิ่งที่เรานำเสนอต่อผู้รับสารจะเกิดอะไรขึ้น เช่น บทบาทของเราเป็นนักข่าว ในขณะเดียวกันก็เป็นคนไทยด้วย ในการนำเสนอข่าวสารบางครั้งเราจะยึดความเป็นไทยมากกว่าความเป็นนักข่าว หากประเทศไทยถูกรังแกจากประเทศอื่น เราอาจจะเขียนข่าวในมุมมองของคนไทย







_______________________________________




นักวิชาการชี้นิวมีเดียไม่ต้องดูทีวี-อ่านพริ้น

นักวิชาการสื่อใหม่เผยนิวมีเดียกระจุกตัวในกูเกิ้ล ส่งผลให้ไม่ต้องดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์


สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "สื่อกับการแบ่งขั้วทางการเมือง" เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองการใช้สื่อระหว่างประเทศต่อกันนายเฮอนันโด โรจา ผู้เชี่ยวชาญการใช้สื่อใหม่ทางด้านสื่อสารการเมือง จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน กล่าวว่า นิวมีเดีย เช่น อินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีการส่งผ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งมือถือหรือสมาร์ทโฟน ซึ่งมีความรวดเร็วและสามารถเชื่อมโยงได้รวดเร็ว และทำให้เกิดการเข้าถึงโซเชียลมีเดีย การแชร์ข้อมูลข่าวสารระหว่างกันในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ มีวิวัฒนาการการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเจริญและมีประสิทธิภาพในการใช้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ นิวมีเดียส่งผลให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เช่น เกิดการกระจุกตัวในกลุ่มผู้รับสื่อ เช่น google ซึ่งหลักการทำงานของ google คือ หากมีการใช้มากขึ้นจะอยู่ในลำดับบนสุด ซึ่งเวลาค้นหาคำๆหนึ่งใน google เรามักจะเลือกเปิดข้อมูลลำดับการค้นหาแรกๆ หรือลำดับสอง เพราะฉะนั้นจะเกิดการทับถมของข้อมูล และกลุ่มคนที่รับสื่อจะแบ่งปันข้อมูลกันอยู่เฉพาะพื้นที่เพียงบางพื้นที่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากนิวมีเดีย หรือตอนนี้การรับสื่อจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าเน็ตเวิร์ค ถูกทำให้ขยายเป็นเครือข่ายใหญ่ ในอดีตหากเราอยากรับข่าวสาร จะนั่งดูโทรทัศน์ หรือไม่ก็นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ แต่ในปัจจุบันไม่ต้องนั่งดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือพิมพ์แล้ว เพียงแค่เปิดมือถือก็สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างง่ายดาย

ผู้เชี่ยวชาญการใช้สื่อใหม่ทางด้านสื่อสารการเมือง กล่าวต่อว่า ขณะนี้ผู้รับสารสามารถผลิตเนื้อหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งเดิมผู้รับสารรอรับฟังข่าวสารจากนักข่าวว่าจะเขียนอะไร สื่อจะนำเสนออะไร แต่ทุกวันนี้หลายๆคนซึ่งผ่านนิวมีเดียทำหน้าที่เสนอความเห็นด้วย เช่น แชร์รูป อย่างกรณีของการระเบิดที่บอสตัน สามารถทำให้คนที่อยู่ที่อื่นก็ได้เรียนรู้การระเบิดที่บอสตันผ่านสื่อตรงนี้ เพราะฉะนั้นคนผลิตสื่อไม่ได้เป็นนักวารสารอย่างเดียว แต่ทุกคนก็เป็นคนที่สร้างเนื้อหา ผลิตเนื้อหาได้

นายเฮอนันโด กล่าวอีกว่า โซเชียลมีเดียเปรียบเสมือนความสัมพันธ์ในสังคม ซึ่งโดยปกติหากคุณอยากมีความสัมพันธ์กับเพื่อนคุณก็ต้องไปเที่ยว ไปพบปะสังสรรค์ต่อกัน แต่ทุกวันนี้เป็นความสัมพันธ์แบบนั้นสามารถพกพาได้ เช่น คุณไปประเทศไหน สามารถ skype กลับมาก็จะได้เจอเพื่อน และเป็นสายสัมพันธ์ขึ้นมาได้ ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันตลอดเวลา

นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการแบ่งขั้วทางการเมืองซึ่ง รศ.ดร.เฮอนันโด มองว่า โดยปกติสิ่งที่เป็นปัญหาไม่ใช่นิวมีเดีย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือเกิดจากมนุษย์แต่ละคนจะเลือกรับเนื้อหาที่จากความต้องการของตนเองและทำให้เกิดการแบ่งขั้วขึ้นมา
ในสหรัฐอเมริกาเกิดการแบ่งขั้วทางการเมืองเฉพาะประเด็นเรื่องนักการเมืองเท่านั้น ซึ่งมนุษย์จะมีลักษณะของจุดยืนทางการเมืองที่ต่างกันมากขึ้น และจะปรากฏคล้ายๆกันในหลายประเทศ ส่วนประเด็นอื่นๆ อย่างเรื่องเพศ รายได้ เชื้อชาติมักจะไม่มีความเห็นที่ต่างกัน

ตัวอย่างของปรากฏการณ์ดังกล่าวคือ หากมนุษย์มีความเชื่อทางการเมืองในพรรคๆหนึ่ง เมื่อรับชมบางสื่อจะมีความรู้สึกว่านำเสนอไม่เหมือนที่ตนเองคิด หรือไม่เหมือนกับที่เขาคาดหวัง แล้วจะไม่เชื่อใจและเชื่อถือ ส่งผลให้เกิดอคติ ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ นิวมีเดีย จึงกลายมาเป็นเครื่องมือในการทำให้เกิดการเชื่อมโยงของคนกลุ่มหนึ่ง กลายเป็นเน็ตเวิร์คใหญ่ขึ้นมาและเลือกรับสื่อ เลือกรับข้อมูลที่ตัวเองรู้สึกพอใจหรือมีความรู้สึกว่าสิ่งนี้ตรงกับความคาดหวังของบุคคลนั้น

"สื่อไม่ได้ทำให้เกิดการแบ่งขั้ว แต่โลกมันแบ่งขั้วอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ามันมีตัวของคนที่มองว่าสื่อ พยายามสร้างเน็ตเวิร์คของตนเองเหมือนในเฟซบุ๊ค เช่น เพจคนรักคนนั้น เกลียดคนนี้ แล้วการเลือกรับสื่อในที่นี้จะส่งผลไปถึงการสร้างข้อมูลข้อเท็จจริงบางอย่างขึ้นมาด้วยเพื่อสนับสนุนความคิดของตนเอง มันเลยเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าการแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจน" นายเฮอนันโด กล่าว

อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดแล้ว สื่อและนักวารสารศาสตร์ต้องมีบทบาทในการรับผิดชอบ ต้องรู้ว่าสิ่งที่เรานำเสนอต่อผู้รับสารจะเกิดอะไรขึ้น เช่น บทบาทของเราเป็นนักข่าว ในขณะเดียวกันก็เป็นคนไทยด้วย ในการนำเสนอข่าวสารบางครั้งเราจะยึดความเป็นไทยมากกว่าความเป็นนักข่าว หากประเทศไทยถูกรังแกจากประเทศอื่น เราอาจจะเขียนข่าวในมุมมองของคนไทย

"ในเมื่อวิชาชีพนี้ต้องมีความรับผิดชอบ เราต้องรู้ผลที่จะตามมาว่าเราเขียนอย่างนี้ คนจะมองอย่างไร หรือเขียนอย่างนี้คนจะคิดอย่างไร เราต้องคิดสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา และต้องคำนึงถึงความเป็นวิชาชีพมากกว่าความเป็นตัวตนหรือว่าความเป็นประเทศไหนประเทศหนึ่ง" นายเฮอนันโด กล่าว


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130430/503137/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B
8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%
E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8
%B5%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%
E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5-
%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%
B8%99.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.