Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 เมษายน 2556 CAT พร้อม++เปิดบริการ cloud ให้บริการภาครัฐ เบื้องต้นในเดือนเมษายน คาดรายได้ 150-200 ล้านบาท


ประเด็นหลัก



  โดยเบื้องต้นในเดือนเมษายน จะเริ่มให้บริการกับหน่วยงานภาครัฐร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์   หรือ สรอ. ก่อน   ซึ่งบริการหลัก จะมุ่งเน้นการให้บริการคลาวด์ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานไอที  หรือ ไอที อินฟราสตักเจอร์   ซึ่งการเข้ามาใช้บริการไอที อินฟราสตักเจอร์ ร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ  จะช่วยให้ภาครัฐสามารถประหยัดงบประมาณลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีไปได้ประมาณ 20 เท่าตัว  หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคม จะเริ่มทยอยเปิดให้บริการกับองค์กรเอกชน    โดยคาดว่าปีแรกจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 100 ราย    และคาดว่ากลุ่มธุรกิจคลาวด์ จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทในปีนี้ ประมาณ 150-200 ล้านบาท    
    "ตัวเลขการลงทุนเพื่อต่อยอดไปยังบริการคลาวด์เซอร์วิส ในปีแรกเราวางประมาณ 100 ล้านบาท   โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการ   ขณะที่ไอบีเอ็มจะเข้ามาช่วยสนับสนุนในส่วนของฮาร์ดแวร์, บุคลากร  และการถ่ายทอดองค์ความรู้กับบุคลากรของบริษัท    ซึ่งเราขอดูความต้องการของลูกค้าในปีแรกก่อน หากเป็นไปตามเป้าหมาย  ในปีหน้าก็พร้อมขยายการลงทุนเพิ่ม ซึ่งตามแผนธุรกิจเราเตรียมเม็ดเงินลงทุนไว้สูงกว่าปีแรก ซึ่งเป้าหมายที่เรามองไว้ในอนาคต คือ  การต่อยอดธุรกิจไปยังบริการแอพพลิเคชัน  และระบบวิเคราะห์ข้อมูล  (Analytic)



_________________________________


กทส.ปั้น'คลาวด์ เซอร์วิส'



แคท ปรับยุทธ์ศาสตร์ต่อยอดธุรกิจโทรคมนาคมสู่การให้บริการไอที ล่าสุดตั้งกลุ่มธุรกิจใหม่ "คลาวด์ เซอร์วิส" พร้อมดึงไอบีเอ็มให้บริการโครงสร้างพื้นฐานไอทีบนคลาวด์ หน่วยงานภาครัฐเอกชน  ตั้งเป้าปีแรกลูกค้าใช้บริการ 100 ราย สร้างรายได้ 150-200 ล้านบาท

กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ      นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  หรือ แคท เทเลคอม เปิดเผยว่าบริษัทได้เปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ธุรกิจ  โดยการต่อยอดจากธุรกิจให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไปยังกลุ่มธุรกิจไอทีมากขึ้น  เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีแนวโน้มการใช้บริการด้านเสียงลดลง และมีการใช้บริการดาต้า  หรือ ข้อมูลมากขึ้น    โดยมองว่าการขยายไปสู่บริการด้านไอที จะช่วยสร้างให้ธุรกิจของบริษัทจะช่วยสร้างความอยู่รอด  และความยั่งยืนให้กับธุรกิจของบริษัท  

    ล่าสุดได้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มธุรกิจโมบาย  , กลุ่มธุรกิจคอนเนกติวิตี  และกลุ่มธุรกิจใหม่ "คลาวด์ เซอร์วิส" พร้อมทั้งร่วมมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทไอบีเอ็ม ให้บริการคลาวด์เซอร์วิสกับองค์กรต่างๆ    โดยความร่วมมือครั้งนี้บริษัทจะอาศัยจุดแข็งให้การเป็นผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์  ,โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทั้งโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งภายในประเทศ ระหว่างประเทศ ,โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่   และบริการเสริมเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ผนวกกับจุดแข็งของไอบีเอ็ม ที่เป็นผู้นำโซลูชันคลาวด์ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์  และระบบบริหารจัดการคลาวด์  ในการให้บริการคลาวด์ไปยังกลุ่มลูกค้าทั้งภาครัฐ และเอกชน
    โดยเบื้องต้นในเดือนเมษายน จะเริ่มให้บริการกับหน่วยงานภาครัฐร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์   หรือ สรอ. ก่อน   ซึ่งบริการหลัก จะมุ่งเน้นการให้บริการคลาวด์ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานไอที  หรือ ไอที อินฟราสตักเจอร์   ซึ่งการเข้ามาใช้บริการไอที อินฟราสตักเจอร์ ร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ  จะช่วยให้ภาครัฐสามารถประหยัดงบประมาณลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีไปได้ประมาณ 20 เท่าตัว  หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคม จะเริ่มทยอยเปิดให้บริการกับองค์กรเอกชน    โดยคาดว่าปีแรกจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 100 ราย    และคาดว่ากลุ่มธุรกิจคลาวด์ จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทในปีนี้ ประมาณ 150-200 ล้านบาท    
    "ตัวเลขการลงทุนเพื่อต่อยอดไปยังบริการคลาวด์เซอร์วิส ในปีแรกเราวางประมาณ 100 ล้านบาท   โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการ   ขณะที่ไอบีเอ็มจะเข้ามาช่วยสนับสนุนในส่วนของฮาร์ดแวร์, บุคลากร  และการถ่ายทอดองค์ความรู้กับบุคลากรของบริษัท    ซึ่งเราขอดูความต้องการของลูกค้าในปีแรกก่อน หากเป็นไปตามเป้าหมาย  ในปีหน้าก็พร้อมขยายการลงทุนเพิ่ม ซึ่งตามแผนธุรกิจเราเตรียมเม็ดเงินลงทุนไว้สูงกว่าปีแรก ซึ่งเป้าหมายที่เรามองไว้ในอนาคต คือ  การต่อยอดธุรกิจไปยังบริการแอพพลิเคชัน  และระบบวิเคราะห์ข้อมูล  (Analytic)
    นายกิตติศักดิ์  กล่าวต่ออีกว่ากลุ่มธุรกิจให้บริการคลาวด์ อาจไม่ได้สร้างรายได้ให้กับบริษัทมหาศาล   แต่ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่ช่วยสร้างธุรกิจของบริษัทสามารถอยู่รอดได้   และเป็นบริการที่ช่วยให้ลูกค้าเดิมอยู่กับเราต่อ   หรือเป็นบริการที่ช่วยให้ลูกค้าใหม่ซื้อบริการอื่นๆ ที่มีรายได้มากกว่าเพิ่ม
    ด้านนางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวเสริมว่าไอบีเอ็มพร้อมจะช่วยลูกค้าให้ก้าวเป็นผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งในธุรกิจที่ตนเองเชี่ยวชาญ ด้วยบริการจากไอบีเอ็มตั้งแต่การวางแผน การดำเนินการติดตั้ง การทดสอบ ไปจนถึงการให้คำปรึกษาทั้งด้านเทคโนโลยีและธุรกิจโดยบุคคลากรที่มากด้วยทักษะและความเชี่ยวชาญ
    โดยไอบีเอ็มให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการคลาวด์คอมพิวติ้งมาโดยตลอด ที่ผ่านมา ไอบีเอ็มมีการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในการพัฒนาธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้งทั่วโลก รวมทั้งการจัดตั้งคลาวด์ คอมพิวติ้งแล็บ เพื่อสนับสนุนลูกค้าและองค์กรต่าง ๆ ในการเริ่มต้นพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง  

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=177676:2013-04-05-07-19-49&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.