Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ถ้าไม่ต้อง เสียงข้างน้อย ขอเสียงที่ประชุมใหญ่ กสทช.วันที่ 22 พ.ค.2556 (การจัดทำเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ ทั้งการบริหาร/เนื้อหา/ที่มาของเงิน/ธรรมาภิบาล/ความพร้อมในการผลิต)


ประเด็นหลัก




กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการคุ้มครองฯ ได้วิเคราะห์ร่วมกัน และเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. ควรวางนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนจัดให้มีการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญต่อการกำกับดูแลผู้ได้รับใบอนุญาตฟรีทีวีต่อไปในอนาคต โดยเสนอหลักการ 2 ข้อ เพื่อให้ กสท.นำไปพิจารณาแนบท้ายประกาศ คือ 1. มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนของผู้ชนะประมูลของผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามแนวทางของแผนแม่บทฯ และ กสท.มีมาตรการสนับสนุนต่อไป และ 2.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ได้อย่างเสมอภาคเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ในรายการที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารสาธารณะ และบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการและคนด้อยโอกาส มีบริการกระจายเสียงที่ออกอากาศรายการอ่านหนังสือเต็มเวลา (สำหรับคนพิการด้านการมองเห็น / เป็นบริการทางกิจการกระจายเสียง) บริการคำบรรยายเป็นเสียง (สำหรับคนพิการด้านการมองเห็น) บริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีล่ามภาษามือ (สำหรับคนพิการด้านการได้ยินและสื่อความหมาย) และบริการคำบรรยายเป็นอักษรวิ่ง (สำหรับคนพิการด้านการได้ยินและสื่อความหมาย)


นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า การประชุมบอร์ด กสท. วันพรุ่งนี้ จะไม่มีความคืบหน้าเรื่องการจัดทำเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ ทีวีสาธารณะ ซึ่ง กสท.เสียงข้างน้อย คือ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และนางสาวสุภิญญา อาจนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาในที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช.วันที่ 22 พ.ค.2556



______________________________________







จับตา! ร่างประมูลทีวีดิจิตอล-เงื่อนไขคุ้มครองผู้บริโภคก่อนเปิดประมูล


จับตา บอร์ด กสท.เตรียมอนุมัติ ร่างประกาศประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจ ด้านอนุฯ เสนอจัดทำกลไกรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค และมีมาตรการสนับสนุนคนดูทั่วถึงทุกกลุ่มแนบท้ายประกาศประมูลฯ หวังสร้างเงื่อนไขกำกับดูแลในอนาคต...


เมื่อวันที่ 13 พ.ค. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (14 พ.ค.) ตนในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้นำข้อสรุปที่ได้จากมติที่ประชุมกับคณะอนุกรรมการคุ้มครองฯ ถึงข้อเสนอต่อการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจ จัดให้มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และจัดให้มีมาตรการพื้นฐานบางประการเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีบริการที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ของคนพิการและคนดีด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้ หรือใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ ซึ่งวาระสำคัญครั้งนี้มีการพิจารณา (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ที่มีประเด็นสำคัญ อาทิ ราคาตั้งต้นของการประมูล จำนวนช่อง (ใบอนุญาต) วิธีการประมูล คำนิยามช่อง การป้องกันนอมินี เป็นต้น


กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการคุ้มครองฯ ได้วิเคราะห์ร่วมกัน และเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. ควรวางนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนจัดให้มีการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญต่อการกำกับดูแลผู้ได้รับใบอนุญาตฟรีทีวีต่อไปในอนาคต โดยเสนอหลักการ 2 ข้อ เพื่อให้ กสท.นำไปพิจารณาแนบท้ายประกาศ คือ 1. มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนของผู้ชนะประมูลของผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามแนวทางของแผนแม่บทฯ และ กสท.มีมาตรการสนับสนุนต่อไป และ 2.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ได้อย่างเสมอภาคเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ในรายการที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารสาธารณะ และบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการและคนด้อยโอกาส มีบริการกระจายเสียงที่ออกอากาศรายการอ่านหนังสือเต็มเวลา (สำหรับคนพิการด้านการมองเห็น / เป็นบริการทางกิจการกระจายเสียง) บริการคำบรรยายเป็นเสียง (สำหรับคนพิการด้านการมองเห็น) บริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีล่ามภาษามือ (สำหรับคนพิการด้านการได้ยินและสื่อความหมาย) และบริการคำบรรยายเป็นอักษรวิ่ง (สำหรับคนพิการด้านการได้ยินและสื่อความหมาย)


นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า การประชุมบอร์ด กสท. วันพรุ่งนี้ จะไม่มีความคืบหน้าเรื่องการจัดทำเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ ทีวีสาธารณะ ซึ่ง กสท.เสียงข้างน้อย คือ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และนางสาวสุภิญญา อาจนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาในที่ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช.วันที่ 22 พ.ค.2556




โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/344552

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.