Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤษภาคม 2556 แหล่งข่าวชี้!! การปรับแก้ทีโออาร์แทบเล็ตนักเรียนลอตใหม่ครั้งที่ 2 ส่อแววฮั้ว ลดคุณภาพเอื้อบางบริษัทจากจีน// คนใช้จริงตะลึกรุ่นแรก มีปัญหามากกว่า 4,000 เครื่อง


ประเด็นหลัก


ทีโออาร์ใหม่ส่อแววฮั้ว

ขณะที่ความเห็นจากคนในอุตสาหกรรมบางรายมองว่า การปรับแก้ทีโออาร์ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อ เพราะได้ตัดคุณสมบัติสำคัญบางประการออก โดยเฉพาะมาตรฐานของตัวเครื่องที่ไม่ต้องมีไลเซ่นกูเกิล สำหรับติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่ต้องกำหนดให้มีศูนย์บริการที่มีมาตรฐานไอเอสโอ

รวมถึงวัสดุตัวเครื่องที่มีแนวโน้มจะกำหนดให้เป็นเมทัลเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจกระทบกับผู้ผลิตในประเทศหลายรายเพราะส่วนใหญ่เป็นตัวเครื่องที่ผลิตด้วยวัสดุประเภทพลาสติก

"ประเด็นสำคัญอย่างไลเซ่น กูเกิล ชัดเจนว่าเครื่องที่ผ่านการรองรับต้องมีคุณสมบัติพอเพียงตามมาตรฐานของกูเกิล ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ซึ่งผู้ใช้จะสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เกือบ 1 ล้านตัวจากทั่วโลกได้อย่างเต็มที่ แต่หากไม่ได้รับมาตรฐานดังกล่าวก็อาจจะทำให้ใช้แอพด้านการศึกษาที่น่าสนใจหลายๆ ตัวไม่ได้ เช่นเดียวกับศูนย์บริการที่ควรจะมีมาตรฐานไอเอสโอรองรับเพื่อให้มั่นใจว่ามีกระบวนการทำงานและการติดตามผลบริการได้อย่างมีมาตรฐาน"

แหล่งข่าวยกตัวอย่างจากแทบเล็ตล็อตแรก 8.5 แสนเครื่อง มีรายงานว่ามีปัญหาเพียงแค่ 4,000 เครื่อง แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลยืนยันเพราะไม่มีมาตรฐานการเก็บข้อมูล และค้านความรู้สึกของครูทั่วประเทศที่รู้ดีว่าเครื่องล็อตดังกล่าวมีปัญหาเป็นจำนวนไม่น้อยแต่ไม่ได้มีบันทึกข้อมูลไว้

อีกทั้งการตัดคุณสมบัติทั้ง 2 ข้อดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่าโครงการอาจต้องการลดคุณสมบัติและมาตรฐานการบริการลง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บางบริษัทจากจีนที่จะได้นำสินค้าด้อยคุณภาพและไม่มีระบบบริการหลังการขายที่มีมาตรฐานมาขายสินค้าให้รัฐบาลไทย

"ถ้าเป็นไปตามทีโออาร์ดังกล่าวจะชัดเจนว่าต้องเป็นแบรนด์จากต่างประเทศเท่านั้น ส่วนผู้ผลิตในประเทศอาจจะมีปัญหากับวัสดุที่ใช้ผลิต และกำลังการผลิตที่อาจจะต้องใช้ผู้ผลิตหลายรายเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ตามจำนวน ซึ่งเท่าที่รู้คือ ผลิตได้ 4 แสนเครื่องใน 90 วันน่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าให้ครบ 1.6 ล้านเครื่องต้องมีมากกว่า 1 รายช่วยกัน"





______________________________________






แทบเล็ตนักเรียนลอตใหม่ ความคุ้มค่าที่ (ใคร) คู่ควร

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


สำรวจกระแสโครงการแทบเล็ตรัฐบาลปีการศึกษาใหม่ คาดแจกได้กลางเทอม

เส้นทางยกระดับวงการศึกษาไทยหนึ่งในนั้นคือการแจกแทบเล็ตให้เด็ก ป.1 ที่วันนี้ขยายโอกาสถึงเด็ก ม.1 ปีการศึกษา 2556 ด้วยจำนวนรวม 1.6 ล้านเครื่อง หรือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากปีก่อนหน้าที่ในทางทฤษฎีแล้วดูจะตอบโจทย์เป้าหมายของโครงการได้ดี

แต่เมื่อย้อนดูในรายละเอียดเชิงลึกของโครงการภาครัฐมูลค่าหลายพันล้านบาทปี 2 ครั้งนี้อาจจะสรุปประสิทธิภาพความคุ้มค่าของโครงการได้ไม่เต็มที่เมื่อยังมีอีกหลายคำถามที่ไม่มีใครตอบได้ชัดเจน

โดยเฉพาะประเด็นสำคัญอย่าง "คุณภาพของแทบเล็ต" ที่เป็นตัวช่วยสำหรับการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์จริงหรือไม่

แม้ว่าโครงการในปีนี้จะปรับเปลี่ยนผู้ทำหน้าที่จัดหาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีมาเป็น "สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ." โดยหวังจะเพิ่มคุณภาพทั้งตัวเครื่องและศูนย์บริการที่ดีขึ้นกว่าเดิมเพราะน่าจะเป็นหน่วยงานที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีมากกว่า

นอกจากนี้ ถึงจะมีประสบการณ์ผ่านไป 1 ปี แต่การประมูลแทบเล็ต ปี 2 ยังไม่ได้จัดขึ้น ทั้งๆ ที่โรงเรียนใกล้เปิดภาคการศึกษาที่ 1 แนวโน้มฉุกละหุก ฝุ่นตลบ คลับคล้ายปีที่ผ่านมาจึงน่าจะกลับมาอีกครั้ง และค่อนข้างชัดเจนว่า ผู้ผลิตรายอื่นๆ คงไม่มีส่วนร่วมกับการประมูลรอบใหม่ปีนี้

คาดเริ่มแจกกลางเทอม

นายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. กล่าวว่า กระบวนการล่าสุดของโครงการจัดซื้อแทบเล็ต สพฐ. อยู่ระหว่างพิจารณาข้อคิดเห็นต่างๆ หลังเปิดประชาพิจารณ์รอบแรก และเตรียมนำขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์อีกครั้งภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าหลังสรุปทีโออาร์จะเริ่มต้นประมูลจนถึงกระบวนการส่งมอบได้ราวกลางเทอมของภาคการศึกษาแรก

ทั้งนี้คุณสมบัติเบื้องต้นของแทบเล็ตยังคงเดิมคือ ตั้งราคาเครื่องสำหรับแทบเล็ตแจกเด็ก ป.1 ที่ 2,720 บาท และ ม.1 ที่ 2,920 บาท งบประมาณรวม 4,800 ล้านบาทจาก 9 หน่วยงานที่จะเป็นผู้ประมูล เช่น สพฐ., โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ส่วนผู้มีแนวโน้มว่าจะเข้าประมูลปัจจุบันเป็นบริษัทจากจีน 3 ราย และบริษัทไทยอีก 3 ราย

ทีโออาร์ใหม่ส่อแววฮั้ว

ขณะที่ความเห็นจากคนในอุตสาหกรรมบางรายมองว่า การปรับแก้ทีโออาร์ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อ เพราะได้ตัดคุณสมบัติสำคัญบางประการออก โดยเฉพาะมาตรฐานของตัวเครื่องที่ไม่ต้องมีไลเซ่นกูเกิล สำหรับติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่ต้องกำหนดให้มีศูนย์บริการที่มีมาตรฐานไอเอสโอ

รวมถึงวัสดุตัวเครื่องที่มีแนวโน้มจะกำหนดให้เป็นเมทัลเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจกระทบกับผู้ผลิตในประเทศหลายรายเพราะส่วนใหญ่เป็นตัวเครื่องที่ผลิตด้วยวัสดุประเภทพลาสติก

"ประเด็นสำคัญอย่างไลเซ่น กูเกิล ชัดเจนว่าเครื่องที่ผ่านการรองรับต้องมีคุณสมบัติพอเพียงตามมาตรฐานของกูเกิล ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ซึ่งผู้ใช้จะสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เกือบ 1 ล้านตัวจากทั่วโลกได้อย่างเต็มที่ แต่หากไม่ได้รับมาตรฐานดังกล่าวก็อาจจะทำให้ใช้แอพด้านการศึกษาที่น่าสนใจหลายๆ ตัวไม่ได้ เช่นเดียวกับศูนย์บริการที่ควรจะมีมาตรฐานไอเอสโอรองรับเพื่อให้มั่นใจว่ามีกระบวนการทำงานและการติดตามผลบริการได้อย่างมีมาตรฐาน"

แหล่งข่าวยกตัวอย่างจากแทบเล็ตล็อตแรก 8.5 แสนเครื่อง มีรายงานว่ามีปัญหาเพียงแค่ 4,000 เครื่อง แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลยืนยันเพราะไม่มีมาตรฐานการเก็บข้อมูล และค้านความรู้สึกของครูทั่วประเทศที่รู้ดีว่าเครื่องล็อตดังกล่าวมีปัญหาเป็นจำนวนไม่น้อยแต่ไม่ได้มีบันทึกข้อมูลไว้

อีกทั้งการตัดคุณสมบัติทั้ง 2 ข้อดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่าโครงการอาจต้องการลดคุณสมบัติและมาตรฐานการบริการลง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บางบริษัทจากจีนที่จะได้นำสินค้าด้อยคุณภาพและไม่มีระบบบริการหลังการขายที่มีมาตรฐานมาขายสินค้าให้รัฐบาลไทย

"ถ้าเป็นไปตามทีโออาร์ดังกล่าวจะชัดเจนว่าต้องเป็นแบรนด์จากต่างประเทศเท่านั้น ส่วนผู้ผลิตในประเทศอาจจะมีปัญหากับวัสดุที่ใช้ผลิต และกำลังการผลิตที่อาจจะต้องใช้ผู้ผลิตหลายรายเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ตามจำนวน ซึ่งเท่าที่รู้คือ ผลิตได้ 4 แสนเครื่องใน 90 วันน่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าให้ครบ 1.6 ล้านเครื่องต้องมีมากกว่า 1 รายช่วยกัน"

แนะใช้ดีไวซ์เหมาะสมกับวัย

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่ดีเพราะทำให้มีสื่อที่ทำให้การเรียนรู้ได้กว้างขึ้น

แต่ทั้งนี้อาจต้องพิจารณาความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่เหมาะกับการเรียนรู้ของแต่ละช่วงวัยด้วย เพราะอุปกรณ์แต่ละประเภทตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกัน

“ผมมองว่าแทบเล็ตยังเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับเด็กเล็กๆ ที่เน้นการใช้ดูคอนเทนท์หรือเนื้อหามากกว่าจะใช้สร้างสรรค์งานใหม่ๆ ซึ่งการทำโครงการแจกแทบเล็ตลักษณะนี้ของรัฐบาลเหมาะสมดีแล้ว และควรมีต่อไป”

อย่างไรก็ตาม การขยายครอบคลุมโครงการแจกแทบเล็ตถึงระดับชั้นมัธยมด้วย เขาเชื่อว่า เด็กที่เริ่มโตขึ้นจะเริ่มพัฒนาทักษะด้านการสร้างสรรค์คอนเทนท์ ดังนั้นการใช้แทบเล็ตเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมนัก ซึ่งราคาไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะยังมีอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีกว่าในราคาใกล้เคียงกัน เช่น โน้ตบุ๊คแบบทัชสกรีน หรือแทบเล็ตที่มีแป้นพิมพ์ด้วยในราคาที่เริ่มลงมาใกล้เคียงกับแทบเล็ตอย่างเดียว


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130514/505413/%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B9
%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0
%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A
1%E0%B9%88-
%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B
8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-(%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3)
-%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.