31 พฤษภาคม 2556 ผู้เชียวชาญหลายคนชี้ ไม่มีวันSIMดับ (หลังTRUEMOVEและGSM1800) หมดสัปทาน++ (ดร.จีรศิลป์ ชี้ลูกค้าค่ายไปใช้ผู้ให้บริการรายใหม่ ก็ต้องมั่นใจว่า เครื่องที่เรามีรองรับคลื่นความถี่ที่ให้บริการ )
ประเด็นหลัก
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า เรื่องซิมดับไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ยอมรับว่าจะมีผลกระทบจริง สิ่งที่สำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคไม่เดือดร้อน ขณะที่ตัวผู้บริโภคเองก็ต้องทราบและเท่าทันต่อสถานการณ์ที่ว่า เมื่อถึงกลางเดือน ก.ย. บริการของบริษัททรูมูฟและบริษัทดิจิตอลโฟนจะไม่มีอีกต่อไป ซึ่งคนที่ใช้บริการของทั้งสองรายมีโจทย์ว่าจะต้องหาบริการทดแทน และถ้าหากต้องการรักษาเลขหมายที่ใช้อยู่ก็ควรต้องดำเนินการโอนย้ายค่าย หรือใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Mobile Number Portability) กับค่ายใหม่
ดร.จีรศิลป์ จยาวรรณ ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ธุรกิจโทรคมนาคม ภาควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะนักวิชาการด้านโทรคมนาคม อธิบายถึงเรืองซิมดับว่า หลังจากที่ได้อ่านข่าวที่ทางกสทช.ออกมาเตือนผู้บริโภคที่ใช้งานเครือข่ายทรูมูฟ เรื่องซิมดับก็รู้สึกแปลกใจ เพราะในทางเทคนิคซิมการ์ดไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสัญญาสัมปทาน ซิมการ์ด (Sim Card) เป็นเพียงการ์ดหน่วยความจำเล็กๆ ที่บรรจุข้อมูลบางอย่าง เพื่อที่ใช้ยืนยันตัวคลื่นสัญญาณการบริการระหว่าง เสาสัญญาณและตัวโมบายล์ดีไวซ์ เรื่องซิมดับไม่น่าเกี่ยวข้องกับตัวซิมการ์ด หรือ ทำให้ซิมการ์ดเสียได้
นักวิชาการด้านโทรคมนาคม กล่าวต่อว่า ในความเข้าใจส่วนตัว "ซิมดับ" อาจหมายถึง เรื่องของความถี่ในการติดต่อระหว่างเครื่องมือถือ และตัวฐานเสาสัญญาณ ที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ เรื่องจากไม่สามารถใช้ความถี่สัญญาณนั้นๆ เมื่อคลื่นตัวนั้นใช้ไม่ได้ ก็เลยทำให้ใช้ติดต่อสื่อสารไม่ได้ หรือ การให้บริการไม่อาจทำได้ เพราะคลื่นความถี่นั้นๆ หายไป เรื่องนี้จึงน่าจะเป็นที่เครื่องมือถือของผู้บริโภคสามารถรับความถี่แบบใด ตรงกับที่ผู้ให้บริการได้ให้บริการหรือไม่ และให้บริการ 3G หรือ 4G บนความถี่ใดมากกว่า
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการ ก.ให้บริการ 3G ที่ความถี่ 850 MHz ผู้บริโภคนำเครื่องเก่ามาใส่ซิมใหม่ เป็น ซัมซุง รุ่น กาแลคซี่ เอส (ตัวแรก) ก็จะได้ความเร็วในการเชื่อมต่อดาต้าแค่ Edge เพราะตัวเครื่องไม่รองรับ 3G บนความถี่ 850 MHz แต่ถ้าใส่ซิมของ ผู้ให้บริการ ข.ที่เป็นความถี่ 900 MHz หรือ ผู้บริการ ค.ที่เป็นความถี่ 2100MHz ใช้งานได้ไม่มีปัญหา
ดร.จีรศิลป์ กล่าวอีกว่า เรื่องซิมดับ หรือ การหมดสัญญาสัมปทาน ความจริงเชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านของลูกค้า แต่เชื่อว่าในส่วนนโยบายอาจจะมีปัญหาบ้างระหว่าง กสทช.และโอเปอเรเตอร์ ส่วนลูกค้าก็ต้องเตรียมพร้อมในส่วนของมือถือที่ใช้ ว่ารองรับกับความถี่ใหม่ของผู้ให้บริการเดิม หรือ หากย้ายค่ายไปใช้ผู้ให้บริการรายใหม่ ก็ต้องมั่นใจว่า เครื่องที่เรามีรองรับคลื่นความถี่ที่ให้บริการ 3G หรือ 4G ได้
______________________________________
ตรวจเช็กรายชื่อ มือถือผู้รอดตาย ได้ใช้3Gวันซิมดับ
เมื่อนักวิชาการ ชี้ 'วันซิมดับ' ที่ความจริงแล้วซิมการ์ดไม่ได้ดับ หรือพังคาเครื่อง แต่เป็นเรื่องของการให้บริการบนความถี่นั้นๆ แต่เป็นห่วงว่าเมื่อเปลี่ยนเครือข่าย ความถี่ หรือ ย้ายค่ายผู้ให้บริการ มือถือที่มีอยู่ในมือผู้ใช้งานจะใช้ 3G ของค่ายนั้นๆ ได้หรือไม่...
กรณีที่สัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz.) ในส่วนที่บริษัททรูมูฟ และบริษัทดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ให้บริการอยู่กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย. นี้ ที่อาจจะเป็นเหตุการณ์สำคัญของกิจการโทรคมนาคมที่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในลักษณะที่บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะยุติลง ซึ่งจะทำให้การบริการของค่ายมือถือสองรายหายไป หรืออาจเรียกได้ว่า “ซิมดับ” คือใช้การไม่ได้ กับผู้ที่ยังถือเลขหมายอีกกว่า 17 ล้านรายตามที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านี้ "ผวา! นับถอยหลัง 6 เดือน ซิมดับ จี้เร่งหาทางออก อย่าอ้างผู้บริโภค" http://www.thairath.co.th/content/tech/332202
จากนั้นมาก็มีการตั้งคำถามจากทางฝั่งผู้บริโภค และหน่วยงานที่มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิ์ผู้บริโภคออกมาทวงถามถึงมาตรการในการเปลี่ยนผ่าน ทั้งจากทางผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอย่างทาง กสทช. หรือ ทางผู้ให้บริการที่ทยอยให้ลูกค้าเปลี่ยนผู้ให้บริการ เช่น จากทรูมูฟ ไปทรูมูฟ เอช แต่วันซิมดับนั้น ซิมจะดับจริงๆ หรือ ไม่ ถ้าดับดับแบบไหน การใช้งานจะใช้งานได้แค่ไหนอย่างไร แล้วถ้าเปลี่ยนค่าย มือถือที่ถืออยู่ในมือจะยังใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่ หรือ ว่าต้องไปเปิดทั้งซิมใหม่ เครื่องใหม่ เบอร์ใหม่ ล้วนแต่เป็นเรื่องคาใจข้างในลึกๆ
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า เรื่องซิมดับไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ยอมรับว่าจะมีผลกระทบจริง สิ่งที่สำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคไม่เดือดร้อน ขณะที่ตัวผู้บริโภคเองก็ต้องทราบและเท่าทันต่อสถานการณ์ที่ว่า เมื่อถึงกลางเดือน ก.ย. บริการของบริษัททรูมูฟและบริษัทดิจิตอลโฟนจะไม่มีอีกต่อไป ซึ่งคนที่ใช้บริการของทั้งสองรายมีโจทย์ว่าจะต้องหาบริการทดแทน และถ้าหากต้องการรักษาเลขหมายที่ใช้อยู่ก็ควรต้องดำเนินการโอนย้ายค่าย หรือใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Mobile Number Portability) กับค่ายใหม่
ดร.จีรศิลป์ จยาวรรณ ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ธุรกิจโทรคมนาคม ภาควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะนักวิชาการด้านโทรคมนาคม อธิบายถึงเรืองซิมดับว่า หลังจากที่ได้อ่านข่าวที่ทางกสทช.ออกมาเตือนผู้บริโภคที่ใช้งานเครือข่ายทรูมูฟ เรื่องซิมดับก็รู้สึกแปลกใจ เพราะในทางเทคนิคซิมการ์ดไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสัญญาสัมปทาน ซิมการ์ด (Sim Card) เป็นเพียงการ์ดหน่วยความจำเล็กๆ ที่บรรจุข้อมูลบางอย่าง เพื่อที่ใช้ยืนยันตัวคลื่นสัญญาณการบริการระหว่าง เสาสัญญาณและตัวโมบายล์ดีไวซ์ เรื่องซิมดับไม่น่าเกี่ยวข้องกับตัวซิมการ์ด หรือ ทำให้ซิมการ์ดเสียได้
นักวิชาการด้านโทรคมนาคม กล่าวต่อว่า ในความเข้าใจส่วนตัว "ซิมดับ" อาจหมายถึง เรื่องของความถี่ในการติดต่อระหว่างเครื่องมือถือ และตัวฐานเสาสัญญาณ ที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ เรื่องจากไม่สามารถใช้ความถี่สัญญาณนั้นๆ เมื่อคลื่นตัวนั้นใช้ไม่ได้ ก็เลยทำให้ใช้ติดต่อสื่อสารไม่ได้ หรือ การให้บริการไม่อาจทำได้ เพราะคลื่นความถี่นั้นๆ หายไป เรื่องนี้จึงน่าจะเป็นที่เครื่องมือถือของผู้บริโภคสามารถรับความถี่แบบใด ตรงกับที่ผู้ให้บริการได้ให้บริการหรือไม่ และให้บริการ 3G หรือ 4G บนความถี่ใดมากกว่า
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการ ก.ให้บริการ 3G ที่ความถี่ 850 MHz ผู้บริโภคนำเครื่องเก่ามาใส่ซิมใหม่ เป็น ซัมซุง รุ่น กาแลคซี่ เอส (ตัวแรก) ก็จะได้ความเร็วในการเชื่อมต่อดาต้าแค่ Edge เพราะตัวเครื่องไม่รองรับ 3G บนความถี่ 850 MHz แต่ถ้าใส่ซิมของ ผู้ให้บริการ ข.ที่เป็นความถี่ 900 MHz หรือ ผู้บริการ ค.ที่เป็นความถี่ 2100MHz ใช้งานได้ไม่มีปัญหา
ดร.จีรศิลป์ กล่าวอีกว่า เรื่องซิมดับ หรือ การหมดสัญญาสัมปทาน ความจริงเชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านของลูกค้า แต่เชื่อว่าในส่วนนโยบายอาจจะมีปัญหาบ้างระหว่าง กสทช.และโอเปอเรเตอร์ ส่วนลูกค้าก็ต้องเตรียมพร้อมในส่วนของมือถือที่ใช้ ว่ารองรับกับความถี่ใหม่ของผู้ให้บริการเดิม หรือ หากย้ายค่ายไปใช้ผู้ให้บริการรายใหม่ ก็ต้องมั่นใจว่า เครื่องที่เรามีรองรับคลื่นความถี่ที่ให้บริการ 3G หรือ 4G ได้
จากการตรวจสอบ ทางทรูมูฟ เอชก็ได้มีการให้ความรู้กับทางลูกค้าที่จะมาใช้บริการอยู่แล้วบนเว็บไซต์ http://truemoveh.truecorp.co.th/checkdevice เพียงระบุ ยี่ห้อมือถือ แท็บเล็ต และแอร์การ์ด และชื่อรุ่น ก็สามารถตรวจสอบได้ทันที โดยมือถือส่วนมากที่ขายในท้องตลาดเวลานี้ จะรองรับบริการ 3G หรือ ที่ ทรูมูฟเอชเรียกว่า 3G+ อยู่แล้ว แต่ในส่วนบริการ 4G LTE มีแค่ 4 รุ่นที่ใช้งานได้ คือ TRUE BEYOND 4G Nokia Lumia 820 Nokia Lumia 820 Nokia Lumia 920 และ Sony Xperia V ไอโฟน 5 ไอแพดมินิ ยังต้องร้องเพลงรอใช้ได้แค่ 3G ไปพลางๆ ก่อน
สำหรับผู้ที่ใช้งานมือถือรุ่นเก่า เช่น โนเกีย ตระกูล N Series ซิมเบียนโฟน แบล็คเบอร์รี่บางรุ่น รวมถึงมือถือรุ่นถูก จอขาว-ดำ จะเป็นรุ่นเก่าที่ไม่รองรับ 3G แต่ยังใช้งานโทรออก-รับสาย และ เชื่อมต่อดาต้าผ่าน EDGE ได้ตามปกติ ถ้าเครื่องที่ใช้รองรับความถี่ 850MHz. แต่ถ้าไปใช้ค่ายอื่น เช่น เอไอเอส 3G2100 ที่ความถี่ 2100MHz.มือถือที่รองรับ 3G ก็ต้องรองรับ 3G ที่ 2100MHz.ด้วย ถ้ารองรับบน 850MHz.ก็ใช้งานไม่ได้ ได้แค่โทรออก-รับสาย และ EDGE เช่นกัน
เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงก็ถึงเวลาที่ผู้บริโภคต้องก้าวและขยับตัวตาม เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจากยุค 2G ไปสู่ยุค 3G ได้เต็มตัว มือถือเก่าเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนก็ควรเปลี่ยน เพื่อรับบริการให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปแต่ละเดือน และยิ่งบริการ 3G ไปถึงต่างจังหวัด เกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ ที่ไม่เคยได้สัมผัสเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็น่าจะมีใครไปสอนให้เขาใช้เทคโนโลยี และรู้เท่าทัน เพื่อให้การใช้งาน 3G เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่คนเมืองใช้ได้ประโยชน์ ทั้งนี้ราคาเครื่องที่ต่ำลงก็จะทำให้คนเปลี่ยนมาใช้งานมากขึ้นนั่นเอง...
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/348081
ไม่มีความคิดเห็น: