Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

6 พฤษภาคม 2556 ประวิทย์(หมอลี่)กสทช. ชี้มาตรฐานการวัดคุณภาพ 2G ปัจจุบันยังค้านสายตา (ยื่นยันเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต 3G ที่ให้ลดราคา 15% จริง ๆ ชัดเจนลดดราคา ไม่ใช่เพิ่มสิทธิประโยชน์ )

ประเด็นหลัก



"กสทช.-ประ วิทย์" มองว่าปีนี้เป็นเรื่องของบริการเก่าที่ต้องเคลียร์และวางกรอบสำหรับบริการ ใหม่ จึงมี 3 เรื่องที่ต้องชัด คือ 3G ที่จะเปิดให้บริการ ต้องตอบให้ได้ว่าอะไรคือหลักประกันคุณภาพ การกำกับให้เป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาต ไม่ใช่ระบบสัมปทานอีกต่อไป ฉะนั้น ต้องมองทุกมิติให้ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการวัดคุณภาพการให้บริการบน 2G ปัจจุบันยังค้านสายตา เนื่องจากใช้วิธีวัดแบบค่าเฉลี่ย ทุกค่ายจึงผ่านมาตรฐานทุกครั้ง ทั้งที่ผู้บริโภคยังมีปัญหาโทร.เข้าโทร.ออกเน็ตหลุดโหลดช้า

ถัดมาที่ ต้องให้ความสำคัญคือการหมดอายุสัมปทานของทรูมูฟและดีพีซี จะมีผู้บริโภคเกือบ 20 ล้านคนได้รับผลกระทบ แต่ไม่ชัดเจนว่า ก.ย.นี้จะเกิดอะไรขึ้น รวมถึงปัญหา SMS ที่รบกวนประชาชนซึ่งเรื้อรัง คนบ่นเยอะมาก ปัญหา SMS พวกนี้ ตามกฎหมาย กสทช.ต้องออกประกาศหลักเกณฑ์ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ แม้จะระบุในแผนแม่บทโทรคมนาคมไว้สั้น ๆ ว่าหลักเกณฑ์ละเอียดจะออกมาภายใน 2 ปี แต่ผ่านไปปีกว่าแล้วยังไม่เห็นแม้แต่ร่างประกาศ เวลานี้จึงเหมือนใครใคร่ค้าก็ค้า อยากส่ง SMS อะไรก็ส่งไป หักเงินผู้บริโภคกันไป ทั้งหวย คลิปหวิว ข่าว

ส่วนการแก้ปัญาวันหมดอายุบริการแบบเติมเงิน (พรีเพด) ที่บอกว่าได้เร่งดำเนินการเพื่อผู้บริโภคและได้ข้อ ยุติแล้ว โดย กทค.มีมติให้แล้วว่าเติมเท่าไรก็ได้ 30 วัน สะสมได้ไม่น้อยกว่า 365 วัน ถ้ายกเลิกบริการค่ายมือถือต้องคืนเงินที่เหลือแต่ก็มีเรื่องแปลก ๆ เข้ามาอีก 2 ค่ายมือถือส่งหนังสือมาขอเก็บค่าบริการรักษาเบอร์วันละ 1 บาททั้งที่ในตลาดมีบริการ "ใจดีแลกวัน" ดีแทคจ่าย 2 บาทได้ 30 วัน ทรูมูฟจ่ายแค่ 3 บาท แต่พอ กทค.กำหนดวันหมดอายุให้เสร็จ ค่ายมือถือกลับจะมาเรียกเก็บเพิ่ม 30 บาท เท่ากับเพิ่มขึ้น 15 เท่า โดยอ้างว่ามีต้นทุนค่าเลขหมายเดือนละ 2 บาท ค่าลงทุนโครงข่ายไว้ สำรองให้เพียงพอการใช้งาน ซึ่งน่าแปลกที่บอกว่าลงทุนให้พอสำหรับ 70 ล้านเบอร์ แต่ตอนนี้มี 30 ล้านเบอร์ยังมีปัญหาโทร.ไม่ออก


สำหรับความ คืบหน้าในการเปิดให้บริการ 3G เดิมสำนักงาน กสทช.มองว่าจะออกสัญญามาตรฐานการให้บริการเป็นสัญญากลางให้ทุกบริษัทต้องใช้ แต่ปัญหาคือสัญญามาตรฐานของ กสทช.ได้เค้าโครงมาแล้ว แต่ยังไม่จัดรับฟังความคิดเห็น ถ้าทำต้องใช้เวลาอีกเป็นเดือน เมื่อแต่ละแห่งอยากเร่งเปิดให้บริการเลยนำสัญญาเฉพาะตัวมาให้ กสทช.พิจารณา ซึ่งส่วนใหญ่ลอกสัญญาเก่า 2G ที่เคยอนุมัติมาใช้ แต่ส่งมาให้กรรมการ กทค.อ่านล่วงหน้าไม่ถึงสัปดาห์ และในบอร์ดพยายามเร่งให้อนุมัติให้เสร็จ

"อย่าง กรณีบางบริษัทระบุในสัญญาว่า ถ้าผู้บริโภคขอข้อมูลการใช้บริการ จะให้เฉพาะข้อมูลการใช้ในเขตพื้นที่เดียวกัน ผมบอกไปว่า ถ้าคนอยากดูข้อมูลการใช้งานก็อยากรู้ทั้งหมด เพื่อให้รู้ว่าค่ายมือถือเก็บเงินผิดหรือเปล่า ไม่ใช่ให้มาเฉพาะการใช้ในเขตพื้นที่เดียวกัน บางคนอ้างว่าเอากฎหมายข้อไหนมาจับ ผมก็บอกไปว่า ม.47 พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม บอกชัดว่าผู้บริโภคมีสิทธิ์ขอได้ หรืออีกกรณีบางบริษัทเขียนว่า การแถมเครื่องมือถือให้ใช้ หากเสียหายผู้บริโภคต้องรับผิดชอบ ผมก็บอกว่า OK แต่ให้เขียนเพิ่มด้วยว่า ห้ามเอาของแถมมาเป็นเงื่อนไขห้ามไม่ให้ผู้บริโภคยกเลิกสัญญาการใช้บริการ เพราะประกาศมาตรฐานสัญญาของ กทช.ข้อ 15 ระบุไว้"

สัญญาการให้บริการ 3G ของแต่ละบริษัท มีหลายข้อไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ทาง กทค. ก็ใช้ทางออกว่า 3 พ.ค. นี้จะเรียกผู้ให้บริการแต่ละรายมารับทราบและให้ปรับแก้ตามที่สำนักงานขีดฆ่า หรือเพิ่มเติมถ้อยคำไว้ให้ อาทิ การเพิ่มวงเงินค่าบริการต้องให้ผู้บริโภคยินยอมก่อน แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการกำหนดระยะเวลาในการระงับการใช้บริการชั่วคราวเพราะ บางบริษัทใช้วิธีซ่อนเงื่อนไขไว้ในสัญญา ไม่ได้ระบุวันที่ชัดเจน และ กทค. ไปให้สิทธิบริษัทในการจะกำหนดตัวเลขภายหลังได้ด้วย

"หลักการทุกคนตรง กันว่า สัญญาควรเร่งพิจารณา เพื่อให้เอกชนเปิดให้บริการได้ ผมก็เห็นด้วย แต่ยืนยันชัดเจนว่า สัญญาต้องไม่เอาเปรียบผู้บริโภค แล้วที่แปลกคือสัญญากลางที่สำนักงานร่างขึ้น เสร็จตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ไม่ยอมนำเข้ากระบวนการ พยายามมาเร่งให้พิจารณาสัญญาเฉพาะของแต่ละบริษัทให้เสร็จภายใน 5 วัน 7 วัน ทั้งที่ประกาศว่าเป็นปีทองแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมาตรฐานสัญญากลางสำคัญที่สุดในการคุ้มครองผู้บริโภค ถามว่า ถ้าแต่ละบริษัทมีสัญญาเฉพาะตัวแล้ว ใครจะมาใช้สัญญากลาง"

ขณะ ที่เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต 3G ที่ให้ลดราคา 15% จริง ๆ ชัดเจนมาแต่ต้นว่าต้อง เป็นการลดราคา ไม่ใช่เพิ่มสิทธิประโยชน์ กสทช.ยืนยันแบบนี้มาตลอด แต่พอเอกชนบอกว่าเพิ่มสิทธิประโยชน์เท่ากับลดราคา ก็เปลี่ยนท่าทีทันที

"ถามจริง ๆ ว่าโปรโมชั่นอันลิมิต ใช้เน็ตไม่อั้นแถมโทร.ฟรี 500 นาที มีคนกี่เปอร์เซ็นต์ใช้ถึงทุกเดือน ต่อให้เพิ่มเป็น 1,000 นาที ก็ไม่ได้ใช้ เท่ากับผู้บริโภคได้ ประโยชน์จริงหรือ ถึงได้อยากให้มีการลดราคา ส่วนการให้เอกชนส่งแพ็กเกจมาก่อนเปิดให้บริการก็ไม่ได้มีกฎหมายบังคับ สมัย กทช.มีแนวคิดที่จะบังคับให้เอกชนส่งข้อมูลมาให้ก่อน แต่ในความเป็นจริงไม่ค่อยส่ง กลัวความลับทางการค้ารั่วไหล ถ้าส่งมา กทช.ก็ตรวจความชอบด้วยกฎหมายไม่ทัน เพราะแพ็กเกจแต่ละเดือนมีเยอะมาก แต่ถึงไม่ส่งมาให้ก่อน ถ้า กสทช.เอาจริง การสำรวจตลาดดูแพ็กเกจที่เปิดให้บริการก็ไม่ใช่เรื่องยาก เป็นสิ่งที่ทำได้ อยู่ที่ว่าจะทำจริงจังแค่ไหน ไม่ใช่ลงไปดูแต่ข้อมูลที่เอกชนเตรียมไว้ให้เท่านั้น"

พร้อมกับยก ตัวอย่างอีกว่า การกำกับค่าบริการตามประกาศอัตราค่าบริการขั้นสูง ถ้ามีการลงสำรวจตลาดจริง ๆ ดูแพ็กเกจที่เปิดให้บริการจริงจะเห็นว่ามีการเก็บค่าใช้งานเกินแพ็กเกจใน อัตรานาทีละ 1.5 บาท ซึ่งเกิน 99 สตางค์ แต่ยังปล่อยปละ แถมออกมาประกาศว่าเอกชนทำถูกต้องแล้ว แบบนี้ก็ไม่รู้ว่าใครโง่ กสทช. เอกชน หรือเห็นว่าผู้บริโภคโง่" กสทช.ประวิทย์ย้ำทิ้งท้าย













______________________________________




ตามดู ภารกิจคุ้มครองผู้บริโภค ทำไมฝัน (ไม่) มีทางเป็นจริงของ "กสทช."


"กสทช." ประเดิมปี 2556 ด้วยการประกาศให้เป็น "ปีทองแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค" แต่ 4 เดือนที่ผ่านมากับบริการใหม่ 3G คลื่น 2.1GHz ที่กำลังจะมา

ใน ฐานะ "กสทช." ที่ดูแลเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในฝั่งโทรคมนาคม "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" ระบุว่า ทุกอย่างยังคลุมเครือไร้แผนไร้เป้าหมาย

"การ ประกาศให้ปีนั้นปีนี้เป็นปีทองสิ่งที่ต้องทำคือต้องมีแผนมีเป้าหมายให้วัดผล ได้ว่าสอบได้หรือสอบตก แต่กสทช.สะเปะสะปะไปเรื่อย ๆ วันไหนนึกเรื่องอะไรได้ก็ออกมาแถลงข่าว พอนักวิชาการออกมาประเมินก็ให้ตกอยู่ดี เพราะมองคนละจุด ถ้าจะให้ปีนี้เป็นปีทองจริง ๆ ต้องกำหนดแผนและเป้าหมายให้ได้ว่ามีประเด็นใดบ้าง

เรื่องนี้เป็น 1 ในหน้าที่ของ กสทช.ที่ต้องทำ เมื่อประกาศก็ควรมีประเด็นที่เป็นเรื่องร้อนที่ต้องผลักดันให้สำเร็จ"

"กสทช.-ประ วิทย์" มองว่าปีนี้เป็นเรื่องของบริการเก่าที่ต้องเคลียร์และวางกรอบสำหรับบริการ ใหม่ จึงมี 3 เรื่องที่ต้องชัด คือ 3G ที่จะเปิดให้บริการ ต้องตอบให้ได้ว่าอะไรคือหลักประกันคุณภาพ การกำกับให้เป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาต ไม่ใช่ระบบสัมปทานอีกต่อไป ฉะนั้น ต้องมองทุกมิติให้ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการวัดคุณภาพการให้บริการบน 2G ปัจจุบันยังค้านสายตา เนื่องจากใช้วิธีวัดแบบค่าเฉลี่ย ทุกค่ายจึงผ่านมาตรฐานทุกครั้ง ทั้งที่ผู้บริโภคยังมีปัญหาโทร.เข้าโทร.ออกเน็ตหลุดโหลดช้า

ถัดมาที่ ต้องให้ความสำคัญคือการหมดอายุสัมปทานของทรูมูฟและดีพีซี จะมีผู้บริโภคเกือบ 20 ล้านคนได้รับผลกระทบ แต่ไม่ชัดเจนว่า ก.ย.นี้จะเกิดอะไรขึ้น รวมถึงปัญหา SMS ที่รบกวนประชาชนซึ่งเรื้อรัง คนบ่นเยอะมาก ปัญหา SMS พวกนี้ ตามกฎหมาย กสทช.ต้องออกประกาศหลักเกณฑ์ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ แม้จะระบุในแผนแม่บทโทรคมนาคมไว้สั้น ๆ ว่าหลักเกณฑ์ละเอียดจะออกมาภายใน 2 ปี แต่ผ่านไปปีกว่าแล้วยังไม่เห็นแม้แต่ร่างประกาศ เวลานี้จึงเหมือนใครใคร่ค้าก็ค้า อยากส่ง SMS อะไรก็ส่งไป หักเงินผู้บริโภคกันไป ทั้งหวย คลิปหวิว ข่าว

ส่วนการแก้ปัญาวันหมดอายุบริการแบบเติมเงิน (พรีเพด) ที่บอกว่าได้เร่งดำเนินการเพื่อผู้บริโภคและได้ข้อ ยุติแล้ว โดย กทค.มีมติให้แล้วว่าเติมเท่าไรก็ได้ 30 วัน สะสมได้ไม่น้อยกว่า 365 วัน ถ้ายกเลิกบริการค่ายมือถือต้องคืนเงินที่เหลือแต่ก็มีเรื่องแปลก ๆ เข้ามาอีก 2 ค่ายมือถือส่งหนังสือมาขอเก็บค่าบริการรักษาเบอร์วันละ 1 บาททั้งที่ในตลาดมีบริการ "ใจดีแลกวัน" ดีแทคจ่าย 2 บาทได้ 30 วัน ทรูมูฟจ่ายแค่ 3 บาท แต่พอ กทค.กำหนดวันหมดอายุให้เสร็จ ค่ายมือถือกลับจะมาเรียกเก็บเพิ่ม 30 บาท เท่ากับเพิ่มขึ้น 15 เท่า โดยอ้างว่ามีต้นทุนค่าเลขหมายเดือนละ 2 บาท ค่าลงทุนโครงข่ายไว้ สำรองให้เพียงพอการใช้งาน ซึ่งน่าแปลกที่บอกว่าลงทุนให้พอสำหรับ 70 ล้านเบอร์ แต่ตอนนี้มี 30 ล้านเบอร์ยังมีปัญหาโทร.ไม่ออก

"ปัญหาพรีเพดยังไม่สะเด็ดน้ำ ขอให้ผู้ บริโภคจับตาว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ถ้าจะไม่ให้เก็บก็ควรมีมติออกไปให้ชัดเจน แต่นี่ทำเหมือนดึง ๆ กันไว้ ประเมินท่าทีกันไป ทั้งที่สำนักงาน กทช.และฝ่ายกฎหมายเคยตีความชัดเจนว่า อะไรที่ไม่ได้ระบุไว้ในประกาศอัตราค่าบริการขั้นสูง ถือว่าห้ามค่ายมือถือเก็บค่าบริการ ฉะนั้นต่อให้เป็นการใช้บริการโพสต์เพด ก็ห้ามเก็บค่ากินเปล่ารายเดือน"

ปัจจัยสำคัญที่อาจกระทบกับการทำงาน "กสทช." ได้ คือโอเปอเรเตอร์เข้าหาสำนักงาน กสทช.เพื่อแสดงเหตุผล ขอ ความเห็นใจโน้มน้าวได้ทุกวัน แต่ผู้บริโภคไม่มีโอกาส ข้อมูลแนวคิดของเอกชน ฝั่ง "กสทช." ซึมซับได้มากกว่าจากฝั่งผู้บริโภคอาจไม่ได้เห็นด้วยตอนแรก เมื่อต้องฟังอะไรซ้ำ ก็มักเริ่มคล้อยตามเห็นว่าเป็นปัญหาได้

"คนที่ จับตาการทำงานของ กทช.มาจนถึง กสทช.จะรู้สึกว่า เก่งในการออกประกาศหรือระเบียบ แต่ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง ปล่อยให้เห็นตำตาว่ามีการริบเงินผู้ใช้พรีเพดที่บังคับให้เติม แต่ใช้ไม่หมด เมื่อก่อนมีสถิติการใช้พรีเพดอยู่ที่ 200 บาทต่อเดือน แต่ปีที่แล้วอยู่ที่ 155 บาทต่อเดือน แต่ผู้บริโภคโดนบังคับใช้ต้องเติม 300 บาทต่อเดือน เท่ากับบริษัทเอาเงินล่วงหน้าไปแล้ว 145 บาท มีเงินหมุนเวียนในบริษัทหลายหมื่นล้านบาทโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย"

กรณี ล่าสุดที่ศาลปกครองไม่คุ้มครองทั้งเอไอเอสและทรูมูฟ จากการเรียกเก็บปรับของ "กสทช." ในปัญหาพรีเพดจึงเป็นสัญญาณที่ดี นี่เป็นครั้งแรก ๆ ที่ กสทช.ลุกขึ้นมาบังคับใช้กฎหมาย ฉะนั้นสำนักงาน กสทช.ต้องมีการบังคับเรียกค่าปรับ ไม่ใช่แค่แถลงข่าว

"กสทช.ทำ เสมือนว่าอยากมีกฎหมายเป็นผลงาน จึงออกประกาศระเบียบมาเยอะ ๆ ไม่ได้มองว่าอะไรคือปัญหา ออกกฎหมายเพื่อใช้เป็นเครื่องแก้ปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งเอกชนและผู้บริโภคบ่นมาตลอดว่า เปิดรับฟังความเห็นแล้วไม่ได้นำมาแก้ไข เป็นแค่พิธีกรรมเปิดกว้างแบบปิด คือเปิดกว้างให้พูด แต่ตอนตัดสินใจอยู่ในระบบปิดอยู่ดี"

สำหรับความ คืบหน้าในการเปิดให้บริการ 3G เดิมสำนักงาน กสทช.มองว่าจะออกสัญญามาตรฐานการให้บริการเป็นสัญญากลางให้ทุกบริษัทต้องใช้ แต่ปัญหาคือสัญญามาตรฐานของ กสทช.ได้เค้าโครงมาแล้ว แต่ยังไม่จัดรับฟังความคิดเห็น ถ้าทำต้องใช้เวลาอีกเป็นเดือน เมื่อแต่ละแห่งอยากเร่งเปิดให้บริการเลยนำสัญญาเฉพาะตัวมาให้ กสทช.พิจารณา ซึ่งส่วนใหญ่ลอกสัญญาเก่า 2G ที่เคยอนุมัติมาใช้ แต่ส่งมาให้กรรมการ กทค.อ่านล่วงหน้าไม่ถึงสัปดาห์ และในบอร์ดพยายามเร่งให้อนุมัติให้เสร็จ

"อย่าง กรณีบางบริษัทระบุในสัญญาว่า ถ้าผู้บริโภคขอข้อมูลการใช้บริการ จะให้เฉพาะข้อมูลการใช้ในเขตพื้นที่เดียวกัน ผมบอกไปว่า ถ้าคนอยากดูข้อมูลการใช้งานก็อยากรู้ทั้งหมด เพื่อให้รู้ว่าค่ายมือถือเก็บเงินผิดหรือเปล่า ไม่ใช่ให้มาเฉพาะการใช้ในเขตพื้นที่เดียวกัน บางคนอ้างว่าเอากฎหมายข้อไหนมาจับ ผมก็บอกไปว่า ม.47 พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม บอกชัดว่าผู้บริโภคมีสิทธิ์ขอได้ หรืออีกกรณีบางบริษัทเขียนว่า การแถมเครื่องมือถือให้ใช้ หากเสียหายผู้บริโภคต้องรับผิดชอบ ผมก็บอกว่า OK แต่ให้เขียนเพิ่มด้วยว่า ห้ามเอาของแถมมาเป็นเงื่อนไขห้ามไม่ให้ผู้บริโภคยกเลิกสัญญาการใช้บริการ เพราะประกาศมาตรฐานสัญญาของ กทช.ข้อ 15 ระบุไว้"

สัญญาการให้บริการ 3G ของแต่ละบริษัท มีหลายข้อไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ทาง กทค. ก็ใช้ทางออกว่า 3 พ.ค. นี้จะเรียกผู้ให้บริการแต่ละรายมารับทราบและให้ปรับแก้ตามที่สำนักงานขีดฆ่า หรือเพิ่มเติมถ้อยคำไว้ให้ อาทิ การเพิ่มวงเงินค่าบริการต้องให้ผู้บริโภคยินยอมก่อน แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการกำหนดระยะเวลาในการระงับการใช้บริการชั่วคราวเพราะ บางบริษัทใช้วิธีซ่อนเงื่อนไขไว้ในสัญญา ไม่ได้ระบุวันที่ชัดเจน และ กทค. ไปให้สิทธิบริษัทในการจะกำหนดตัวเลขภายหลังได้ด้วย

"หลักการทุกคนตรง กันว่า สัญญาควรเร่งพิจารณา เพื่อให้เอกชนเปิดให้บริการได้ ผมก็เห็นด้วย แต่ยืนยันชัดเจนว่า สัญญาต้องไม่เอาเปรียบผู้บริโภค แล้วที่แปลกคือสัญญากลางที่สำนักงานร่างขึ้น เสร็จตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ไม่ยอมนำเข้ากระบวนการ พยายามมาเร่งให้พิจารณาสัญญาเฉพาะของแต่ละบริษัทให้เสร็จภายใน 5 วัน 7 วัน ทั้งที่ประกาศว่าเป็นปีทองแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมาตรฐานสัญญากลางสำคัญที่สุดในการคุ้มครองผู้บริโภค ถามว่า ถ้าแต่ละบริษัทมีสัญญาเฉพาะตัวแล้ว ใครจะมาใช้สัญญากลาง"

ขณะ ที่เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต 3G ที่ให้ลดราคา 15% จริง ๆ ชัดเจนมาแต่ต้นว่าต้อง เป็นการลดราคา ไม่ใช่เพิ่มสิทธิประโยชน์ กสทช.ยืนยันแบบนี้มาตลอด แต่พอเอกชนบอกว่าเพิ่มสิทธิประโยชน์เท่ากับลดราคา ก็เปลี่ยนท่าทีทันที

"ถามจริง ๆ ว่าโปรโมชั่นอันลิมิต ใช้เน็ตไม่อั้นแถมโทร.ฟรี 500 นาที มีคนกี่เปอร์เซ็นต์ใช้ถึงทุกเดือน ต่อให้เพิ่มเป็น 1,000 นาที ก็ไม่ได้ใช้ เท่ากับผู้บริโภคได้ ประโยชน์จริงหรือ ถึงได้อยากให้มีการลดราคา ส่วนการให้เอกชนส่งแพ็กเกจมาก่อนเปิดให้บริการก็ไม่ได้มีกฎหมายบังคับ สมัย กทช.มีแนวคิดที่จะบังคับให้เอกชนส่งข้อมูลมาให้ก่อน แต่ในความเป็นจริงไม่ค่อยส่ง กลัวความลับทางการค้ารั่วไหล ถ้าส่งมา กทช.ก็ตรวจความชอบด้วยกฎหมายไม่ทัน เพราะแพ็กเกจแต่ละเดือนมีเยอะมาก แต่ถึงไม่ส่งมาให้ก่อน ถ้า กสทช.เอาจริง การสำรวจตลาดดูแพ็กเกจที่เปิดให้บริการก็ไม่ใช่เรื่องยาก เป็นสิ่งที่ทำได้ อยู่ที่ว่าจะทำจริงจังแค่ไหน ไม่ใช่ลงไปดูแต่ข้อมูลที่เอกชนเตรียมไว้ให้เท่านั้น"

พร้อมกับยก ตัวอย่างอีกว่า การกำกับค่าบริการตามประกาศอัตราค่าบริการขั้นสูง ถ้ามีการลงสำรวจตลาดจริง ๆ ดูแพ็กเกจที่เปิดให้บริการจริงจะเห็นว่ามีการเก็บค่าใช้งานเกินแพ็กเกจใน อัตรานาทีละ 1.5 บาท ซึ่งเกิน 99 สตางค์ แต่ยังปล่อยปละ แถมออกมาประกาศว่าเอกชนทำถูกต้องแล้ว แบบนี้ก็ไม่รู้ว่าใครโง่ กสทช. เอกชน หรือเห็นว่าผู้บริโภคโง่" กสทช.ประวิทย์ย้ำทิ้งท้าย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1367839336&grpid=&catid=06&subcatid=0603

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.