Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

6 พฤษภาคม 2556 (เรื่องด่าทอผู้นำประเทศ)อนุดิษฐ์ ชี้ เว็บไซต์มีเนื้อหาด่าทอผู้นำประเทศ ปรับและคุก แถมปิดเว็บ // ล่าสุด กสทช.ยังไม่ได้รับเรื่องจากเพื่อไทย กับเนื่อห่ทีวีดาวเทียม // สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ชี้ ICT ไม่มีสิทธิปิดเว็บยกเว้น เว็บหมิ่นสถาบัน


ประเด็นหลัก


 
รมว.กระทรวงไอซีที กล่าวด้วยว่า การโพสต์ข้อความด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย ทางเว็บไซต์ จะเข้าข่ายมีความผิดข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราที่ 326 มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางพรรคเพื่อไทย เตรียมประสานของความช่วยเหลือมายัง กสทช. ในการเอาผิดกับช่องรายการในทีวีดาวเทียม ที่มีเนื้อหาใช้ถ้อยคำหยาบคายรุนแรงด่าทอคนอื่น โดยไม่สุจริตใจ โดยเฉพาะกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งกรณีดังกล่าวในขณะนี้ตนจะยังไม่ขอออกความเห็นใดๆทั้งสิ้น ทั้งในเรื่องการดำเนินการตรวจสอบ เฝ้าระวัง และเอาผิดช่องรายการที่เข้าข่ายดังกล่าวหรือใกล้เคียง เนื่องจากเพื่อไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเวลานี้ ทั้งนี้ขอยืนยันว่าขณะนี้ทาง กสทช. ยังไม่ได้รับ
หนังสือขอความร่วมมือมาจากทางพรรคเพื่อไทยแต่อย่างใด ซึ่งหากมีหนังสือส่งมาจริงทาง กสท. ก็พร้อมจะนำเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาทันทีเช่นกัน

   นายสมชายกล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน อยากฝากไปยัง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เร่งจัดการกับผู้ดำเนินการเผยแพร่ข้อความและรูปภาพที่มีลักษณะดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างเอาจริงเอาจัง ไม่ใช่ประกาศจะจัดการเฉพาะเว็บไซต์ที่มีข้อความหมิ่นประมาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมาไอซีทีได้ขอจัดสรรงบประมาณไปมากกว่า 500 ล้านบาท เพื่อขอติดตั้งอุปกรณ์จัดการกับผู้กระทำความผิด จึงอยากถามว่าปัจจุบันได้ดำเนินการจัดการกับเว็บไซต์หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ไปถึงไหนแล้ว



   คำถามเหล่านี้ได้รับคำตอบจาก “ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ” ที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งฟันธงว่าคำขู่ของ รมว.ไอซีทีเป็นเรื่องที่ไม่ถูกหลักการ ขณะที่ชาวออนไลน์จะต้องระวังเรื่องการส่งต่อเรื่องราวที่เข้าข่ายหมิ่นให้ดี ทั้งภาพตัดต่อและการรีทวีต (retweet) ข้อความที่ไม่เป็นความจริง
   
       1. วิจารณ์ผลงานไม่หมิ่น
   
       นายกรัฐมนตรีนั้นมีสถานะเหมือนบุคคลทั่วไป การวิจารณ์ผลงานหรือการดำเนินงานต่างๆ ที่พูดถึงประโยชน์ประเทศชาตินั้นสามารถทำได้ แต่การใส่ความและการว่าร้าย วิจารณ์นิสัยว่าเป็นแบบนั้นแบบนี้โดยที่ไม่เป็นจริง จะถือว่าหมิ่นประมาท
   
       สรุปคือ ความผิดหมิ่นประมาทจะเกิดขึ้นเมื่อมีการพูดถึงพาดพิงให้เสียหาย หรือมีการใส่ความที่ไม่เป็นความจริงให้เสียหายเท่านั้น
   
       แต่หากเป็นคดีหมิ่นประมาทขึ้นมาจริง ไอซีทีก็จะไม่มีอำนาจสั่งระงับเว็บไซต์เพราะคดีหมิ่นประมาทไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งตามหลักการแล้ว กระทรวงไอซีทีจะมีอำนาจปิดกั้นเว็บไซต์ได้เมื่อพบความผิดหมิ่นสถาบันฯเท่านั้น เท่ากับว่าคำพูดของ รมว.ไอซีที “ยังไม่ตรงหลักวิชาการ”
   
       ดังนั้น ถ้าเป็นการวิจารณ์ของสื่อมวลชน กฎหมายมาตรา 329 จะคุ้มครองเพราะเป็นข้อยกเว้นของสื่ออยู่แล้วที่ต้องติชมทั่วไปและนำเสนอข่าวเชิงวิชาการ ดังนั้นถ้ามีการวิจารณ์ก็จะต้องมีการพิจารณาว่าเป็นสื่อมวลชนหรือไม่



2. ต้องระวังภาพตัดต่อ
   
       ในขณะที่คดีหมิ่นประมาททั่วไปไม่เข้าข่าย แต่ “การตัดต่อภาพ” จะเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่งจะครอบคลุมทั้งการตัดต่อภาพจากผิดเป็นไม่ผิด หรือไม่ผิดเป็นผิด ทุกรูปแบบมีความผิด
   
       ความผิดหมิ่นประมาทที่มีผลทาง พ.ร.บ.ความผิดคอมพิวเตอร์ คือ ความผิดที่เข้าข่ายมาตรา 14 (1) เท่านั้น โดย มาตรา 14 (1) แห่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 มีสาระสำคัญว่าการนำข้อมูลอันเป็นเท็จ คือข้อมูลที่เป็นเรื่องไม่จริงทั้งหมด หรือไม่จริงเพียงบางส่วนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ แล้วทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย ล้วนเป็นความผิด
   
       ซึ่งการตัดต่อรูปจะเข้าข่ายความผิดนี้โดยตรง และการเผยแพร่ภาพให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายหรืออับอาย จะมีความผิดตาม ม.16 ขณะที่การโพสต์ข้อความตามกะทู้ต่างๆที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เป็นเท็จ ก็จะผิดตาม ม.14 นี้ด้วย
   
       3. จะแชร์หรือรีทวีตต้องให้มั่นใจ
   
       จุดที่ประชาชนต้องระวัง คือ การ retweet หรือการแชร์ข้อความและภาพต่อ เพราะหากไม่มั่นใจว่าข้อความหรือภาพนั้นเป็นความจริงก็อาจมีความผิดฐานเผยแพร่
   
       โทษของผู้ทำซ้ำและเผยแพร่จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาเจตนาของผู้กระทำเป็นหลัก เพราะกรณีที่เป็นความผิดอาญานั้นต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา หากเป็นการเก็บข้อมูลปกติไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่จัดอยู่ในกรณีทำซ้ำ
   
       นอกจากนี้ ในกฎหมายอาญาก็ไม่มีบทบัญญัติให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการปิดบล็อกเว็บไซต์ แต่ต้องให้ไอซีทีส่งเรื่องให้ศาลเป็นผู้สั่งการเท่านั้น
   
       4. แตะต้อง (เฟซบุ๊ก) ไม่ได้
   
       สิ่งที่ชาวออนไลน์ควรรู้ คือ เฟซบุ๊กยึดกฎหมายสหรัฐอเมริกาเป็นหลักปฏิบัติ เฟซบุ๊กจึงเลือกระงับเฉพาะเพจที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และการก่อการร้ายเท่านั้น ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กยังไม่ดำเนินการปิดเพจที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์แม้จะมีคำสั่งจากศาลไทย เนื่องจากคำสั่งจากศาลไทยจะถือเป็นเอกสารขอความร่วมมือที่ไม่มีผลลงโทษใดๆ
   
       ในกรณีของคำวิจารณ์นายกฯ ปูบนเฟซบุ๊ก หาก รมว.ไอซีทีพบข้อความหมิ่นประมาทบนเฟซบุ๊กก็จะไม่มีอำนาจสั่งระงับเพจบนเฟซบุ๊กใดๆ สิ่งที่ทำได้ คือ การบล็อกไม่ให้เปิดชมเพจจากประเทศไทย ซึ่งขั้นตอนที่ถูกต้องคือต้องรอให้ศาลตัดสินมูลฟ้องและออกคำสั่งศาลตามมา แปลว่าฝ่ายบริหารจะไม่มีอำนาจในการตัดสินใดๆ
     



______________________________________




"กสทช."ยังไม่ลุย!! รอหนังสือจากเพื่อไทย ปมร้องช่องดาวเทียมจัดรายการด่า"นายกฯ"หยาบคาย


 

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางพรรคเพื่อไทย เตรียมประสานของความช่วยเหลือมายัง กสทช. ในการเอาผิดกับช่องรายการในทีวีดาวเทียม ที่มีเนื้อหาใช้ถ้อยคำหยาบคายรุนแรงด่าทอคนอื่น โดยไม่สุจริตใจ โดยเฉพาะกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งกรณีดังกล่าวในขณะนี้ตนจะยังไม่ขอออกความเห็นใดๆทั้งสิ้น ทั้งในเรื่องการดำเนินการตรวจสอบ เฝ้าระวัง และเอาผิดช่องรายการที่เข้าข่ายดังกล่าวหรือใกล้เคียง เนื่องจากเพื่อไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเวลานี้ ทั้งนี้ขอยืนยันว่าขณะนี้ทาง กสทช. ยังไม่ได้รับ
หนังสือขอความร่วมมือมาจากทางพรรคเพื่อไทยแต่อย่างใด ซึ่งหากมีหนังสือส่งมาจริงทาง กสท. ก็พร้อมจะนำเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาทันทีเช่นกัน


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367750366&grpid=03&catid=03



_____________________________________________




'อนุดิษฐ์'ขู่ระงับเว็บไซต์โพสต์ด่านายกฯ




น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า จากกรณีที่มีการตรวจพบผู้โพสต์ข้อความตามเว็บไซต์มีเนื้อหาด่าทอผู้นำประเทศ หรือใครๆก็ตาม ทางกระทรวงไอซีที เป็นผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง

หากได้รับแจ้ง หรือตรวจพบ จะติดต่อขอให้เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆลบข้อความดังกล่าวทันที หรือหากเป็นเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการด่าทอ ว่าร้าย หมิ่นประมาทโดยเฉพาะ  ก.ไอซีที มีอำนาจในการระงับการใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าวทันทีเช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาไอซีทีเองก็มีการตรวจสอบและดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด
 
รมว.กระทรวงไอซีที กล่าวด้วยว่า การโพสต์ข้อความด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย ทางเว็บไซต์ จะเข้าข่ายมีความผิดข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราที่ 326 มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=181635:2013-05-05-10-59-11&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524


______________________________________


ไอซีทีลั่นเอาผิดเว็บไซต์โพสต์หมิ่นนายกฯ


ไอซีทีลั่นเอาผิดเว็บไซต์โพสต์ข้อความดูหมิ่น"ยิ่งลักษณ์" ระบุพร้อมสั่งระงับทันที โทษปรับ 2 หมื่น จำคุก 1 ปี

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กรณีที่มีการตรวจพบข้อความด่าทอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทางกระทรวงไอซีที ถือเป็นผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง หากได้รับแจ้งหรือตรวจพบ จะทำการติดต่อขอให้เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ ทำการลบข้อความดังกล่าวทันที

นอกจากนี้ หากว่ามีการเปิดเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการด่าทอ ว่าร้าย หมิ่นประมาทเป็นการโดยเฉพาะ ทางกระทรวงก็ถือได้ว่ามีอำนาจในการระงับการใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าวทันทีเช่นกัน

"ที่ผ่านมากระทรวงไอซีทีเองก็มีการตรวจสอบ และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด โดยโทษจากการโพสต์ข้อความด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย ทางเว็บไซต์จะเข้าข่ายมีความผิดข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราที่ 326 มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ"น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20130505/503893/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8
B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B
8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%
E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%
8C%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0
%B8%81%E0%B8%AF.html



__________________________________________________




“สมชาย” จี้ รบ.งัด พ.ร.บ.คุมแดงแบบ อพส. อย่าสองมาตรฐาน-บี้ “อนุดิษฐ์” ปิดเว็บหมิ่น



กมธ.สิทธิฯ วุฒิ แนะ รบ.ตั้ง ครม.ชุดเล็กเพื่อใช้ พ.ร.บ.มั่นคงฯ คุมแก๊งแดง ขู่ ปิดล้อมศูนย์ รชก. ย้อนเคยใช้กับ อพส. ดักใช้ กม.แบบเดียวกัน อย่าสองมาตรฐาน หรือให้บอกมาน้อยไม่จำเป็น บี้ รมว.ไอซีทีจัดการเว็บจาบจ้วงเบื้องสูง อย่าเก่งแต่เว็บหมิ่นนายกฯ ตอกเบิกงบ 500 ล้านตอนนี้ไปถึงไหน
     
       วันนี้ (6 พ.ค.) นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตาม ตรวจสอบข้อเท็จจริงและติดตามความคืบหน้าทางคดีการเสียชีวิตในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดเล็กเพื่อประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เพื่อให้อำนาจฝ่ายความมั่นคงเข้ามาควบคุมสถานการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงในนามกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ที่ประกาศว่าจะระดมคนเพื่อปิดล้อมศูนย์ราชการในวันที่ 8 พ.ค.
     
       นายสมชายกล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลเคยประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงจัดการกับการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) มาแล้ว โดยครั้งนั้นรัฐบาลแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.เป็นผู้ดูแลสถานการณ์ พร้อมกับระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจจากทั่วประเทศกว่า 5 หมื่นนายเข้ามาคุมพื้นที่ และที่สำคัญมีการใช้แก๊สน้ำตาจัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยครั้งนี้เห็นว่าการประกาศท่าทีของคนเสื้อแดงได้เข้าลักษณะเดียวกับตอนองค์การพิทักษ์สยามประกาศชุมนุมใหญ่เมื่อปลายปี 2555 ดังนั้น รัฐบาลควรจะดำเนินการใช้กฎหมายความมั่นคงเช่นเดียวกับที่ใช้กับองค์การพิทักษ์สยาม
     
       “ถ้ารัฐบาลไม่ดำเนินการกับคนเสื้อแดงด้วยการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง อาจถูกมองได้ว่ามีการกระทำที่เป็นสองมาตรฐาน หรือหากรัฐบาลไม่คิดจะใช้กฎหมายฉบับนี้ควบคุมการชุมนุมคนเสื้อแดงจริงๆ ก็ขอให้บอกว่าตามตรงว่าม็อบเสื้อแดงครั้งนี้มีจำนวนไม่มากจึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายดังกล่าว” นายสมชายกล่าว
     
       นายสมชายกล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน อยากฝากไปยัง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เร่งจัดการกับผู้ดำเนินการเผยแพร่ข้อความและรูปภาพที่มีลักษณะดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างเอาจริงเอาจัง ไม่ใช่ประกาศจะจัดการเฉพาะเว็บไซต์ที่มีข้อความหมิ่นประมาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมาไอซีทีได้ขอจัดสรรงบประมาณไปมากกว่า 500 ล้านบาท เพื่อขอติดตั้งอุปกรณ์จัดการกับผู้กระทำความผิด จึงอยากถามว่าปัจจุบันได้ดำเนินการจัดการกับเว็บไซต์หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ไปถึงไหนแล้ว

http://astvmanager.com/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000054289&Keyword=%e4%cd%ab%d5%b7%d5

__________________________________________


4 ข้อต้องรู้ โพสต์วิพากษ์ “ปู” อย่างไรให้ไม่เสี่ยงโทษหมิ่น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 พฤษภาคม 2556 15:35 น.





คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

แฟ้มภาพ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ทันทีที่ รมว.ไอซีทีประกาศเอาผิดเว็บไซต์ที่โพสต์ข้อความดูหมิ่นนายกฯ ปู “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” พร้อมระบุว่าจะสั่งระงับเว็บไซต์ทันที แถมจะลงโทษปรับ 2 หมื่นบาท จำคุกอีก 1 ปี ชาวออนไลน์หลายคนตื่นตัวพร้อมตั้งคำถามว่าแล้วจะโพสต์อย่างไรให้ไม่ให้เข้าข่ายหมิ่น? รวมถึงคำถามคาใจว่าถ้าเป็นการโพสต์บนเฟซบุ๊กแล้วไอซีทีไทยจะระงับเฟซบุ๊กได้จริงหรือ?
     
       คำถามเหล่านี้ได้รับคำตอบจาก “ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ” ที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งฟันธงว่าคำขู่ของ รมว.ไอซีทีเป็นเรื่องที่ไม่ถูกหลักการ ขณะที่ชาวออนไลน์จะต้องระวังเรื่องการส่งต่อเรื่องราวที่เข้าข่ายหมิ่นให้ดี ทั้งภาพตัดต่อและการรีทวีต (retweet) ข้อความที่ไม่เป็นความจริง
     
       1. วิจารณ์ผลงานไม่หมิ่น
     
       นายกรัฐมนตรีนั้นมีสถานะเหมือนบุคคลทั่วไป การวิจารณ์ผลงานหรือการดำเนินงานต่างๆ ที่พูดถึงประโยชน์ประเทศชาตินั้นสามารถทำได้ แต่การใส่ความและการว่าร้าย วิจารณ์นิสัยว่าเป็นแบบนั้นแบบนี้โดยที่ไม่เป็นจริง จะถือว่าหมิ่นประมาท
     
       สรุปคือ ความผิดหมิ่นประมาทจะเกิดขึ้นเมื่อมีการพูดถึงพาดพิงให้เสียหาย หรือมีการใส่ความที่ไม่เป็นความจริงให้เสียหายเท่านั้น
     
       แต่หากเป็นคดีหมิ่นประมาทขึ้นมาจริง ไอซีทีก็จะไม่มีอำนาจสั่งระงับเว็บไซต์เพราะคดีหมิ่นประมาทไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งตามหลักการแล้ว กระทรวงไอซีทีจะมีอำนาจปิดกั้นเว็บไซต์ได้เมื่อพบความผิดหมิ่นสถาบันฯเท่านั้น เท่ากับว่าคำพูดของ รมว.ไอซีที “ยังไม่ตรงหลักวิชาการ”
     
       ดังนั้น ถ้าเป็นการวิจารณ์ของสื่อมวลชน กฎหมายมาตรา 329 จะคุ้มครองเพราะเป็นข้อยกเว้นของสื่ออยู่แล้วที่ต้องติชมทั่วไปและนำเสนอข่าวเชิงวิชาการ ดังนั้นถ้ามีการวิจารณ์ก็จะต้องมีการพิจารณาว่าเป็นสื่อมวลชนหรือไม่

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2. ต้องระวังภาพตัดต่อ
     
       ในขณะที่คดีหมิ่นประมาททั่วไปไม่เข้าข่าย แต่ “การตัดต่อภาพ” จะเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่งจะครอบคลุมทั้งการตัดต่อภาพจากผิดเป็นไม่ผิด หรือไม่ผิดเป็นผิด ทุกรูปแบบมีความผิด
     
       ความผิดหมิ่นประมาทที่มีผลทาง พ.ร.บ.ความผิดคอมพิวเตอร์ คือ ความผิดที่เข้าข่ายมาตรา 14 (1) เท่านั้น โดย มาตรา 14 (1) แห่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 มีสาระสำคัญว่าการนำข้อมูลอันเป็นเท็จ คือข้อมูลที่เป็นเรื่องไม่จริงทั้งหมด หรือไม่จริงเพียงบางส่วนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ แล้วทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย ล้วนเป็นความผิด
     
       ซึ่งการตัดต่อรูปจะเข้าข่ายความผิดนี้โดยตรง และการเผยแพร่ภาพให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายหรืออับอาย จะมีความผิดตาม ม.16 ขณะที่การโพสต์ข้อความตามกะทู้ต่างๆที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เป็นเท็จ ก็จะผิดตาม ม.14 นี้ด้วย
     
       3. จะแชร์หรือรีทวีตต้องให้มั่นใจ
     
       จุดที่ประชาชนต้องระวัง คือ การ retweet หรือการแชร์ข้อความและภาพต่อ เพราะหากไม่มั่นใจว่าข้อความหรือภาพนั้นเป็นความจริงก็อาจมีความผิดฐานเผยแพร่
     
       โทษของผู้ทำซ้ำและเผยแพร่จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาเจตนาของผู้กระทำเป็นหลัก เพราะกรณีที่เป็นความผิดอาญานั้นต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา หากเป็นการเก็บข้อมูลปกติไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่จัดอยู่ในกรณีทำซ้ำ
     
       นอกจากนี้ ในกฎหมายอาญาก็ไม่มีบทบัญญัติให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการปิดบล็อกเว็บไซต์ แต่ต้องให้ไอซีทีส่งเรื่องให้ศาลเป็นผู้สั่งการเท่านั้น
     
       4. แตะต้อง (เฟซบุ๊ก) ไม่ได้
     
       สิ่งที่ชาวออนไลน์ควรรู้ คือ เฟซบุ๊กยึดกฎหมายสหรัฐอเมริกาเป็นหลักปฏิบัติ เฟซบุ๊กจึงเลือกระงับเฉพาะเพจที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และการก่อการร้ายเท่านั้น ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กยังไม่ดำเนินการปิดเพจที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์แม้จะมีคำสั่งจากศาลไทย เนื่องจากคำสั่งจากศาลไทยจะถือเป็นเอกสารขอความร่วมมือที่ไม่มีผลลงโทษใดๆ
     
       ในกรณีของคำวิจารณ์นายกฯ ปูบนเฟซบุ๊ก หาก รมว.ไอซีทีพบข้อความหมิ่นประมาทบนเฟซบุ๊กก็จะไม่มีอำนาจสั่งระงับเพจบนเฟซบุ๊กใดๆ สิ่งที่ทำได้ คือ การบล็อกไม่ให้เปิดชมเพจจากประเทศไทย ซึ่งขั้นตอนที่ถูกต้องคือต้องรอให้ศาลตัดสินมูลฟ้องและออกคำสั่งศาลตามมา แปลว่าฝ่ายบริหารจะไม่มีอำนาจในการตัดสินใดๆ
     
       *****
     
       ความจริงเรื่องคำพูดหมิ่นประมาท
     
       - คำว่าผีเปรต ผีปอบ ไม่ใช่การใส่ความผู้อื่นเพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (เทียบเคียง ฎ.200/2511)
       - คำว่า ชาติหมา ไอ้ควาย ไอ้สัตว์ เป็นคำด่า ไม่ใช่หมิ่นประมาท (เทียบเคียง ฎ.481/2506) โดยหากคำด่า มีคำหมิ่นประมาทรวมอยู่ด้วยจะถือว่ามีความผิด
       - คำว่า กะหรี่ หรือ บ้ากาม เป็นคำพูดบรรยายความประพฤติเสื่อมเสียในทางประเวณี มีความผิดหมิ่นประมาท
       - ถ้าจำเลยพูดว่า โจทก์เป็นคนชาติหมา เลวยิ่งกว่าหมา จะไม่เข้าข่ายหมิ่นประมาท เพราะไม่ได้ทำให้เข้าใจว่าเลวอย่างไร (เทียบเคียง ฎ.481/2506)
       - คำพูดหมิ่นประมาทอาจจะเป็นประโยคคำถามก็ได้ ถ้าคำถามนั้นทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด และทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือเสียหายไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง


http://astvmanager.com/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000054270

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.