Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ช่องทีวีดาวเทียม "การ์ตูน คลับ" กำลังตัดสินใจระมูลแต่เพียงผู้เดียว หรือ ร่วมกับพันธมิตรในการประมูล


ประเด็นหลัก


 ด้านนายธนัท ตันอนุชิตติกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท การ์ตูนมีเดีย จำกัด ผู้บริหารลิขสิทธิ์การ์ตูนจากญี่ปุ่นและผู้บริหารสถานีช่องทีวีดาวเทียม "การ์ตูน คลับ" หนึ่งในผู้สนใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลช่องรายการเด็ก กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า การกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลทีวีดิจิตอลช่องรายการเด็กที่ 140 ล้านบาทต่อช่องรายการนั้น ถือว่ายอมรับได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่  และบริษัทพร้อมเข้าร่วมประมูลโดยมี 2 ทางเลือก คือ บริษัทเป็นผู้ประมูลแต่เพียงผู้เดียว หรือ ร่วมกับพันธมิตรในการประมูล  เพราะเนื้อหาที่นำเสนอต้องมีความหลากหลายทั้ง การ์ตูน , สารคดีเด็ก , สร้างสรรค์ สาระให้กับสังคม เป็นต้น
    อย่างไรก็ดี สิ่งที่เชื่อว่าผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลพบและเป็นปัญหาคือ เรื่องของโครงข่ายทีวีดิจิตอลว่าจะมีอัตราค่าเช่าเท่าไร เพราะถือเป็นต้นทุนรวมที่ทุกบริษัทต้องนำมาคิดรวมกับราคาการประมูล  และอีกปัญหาคือเรื่องของการจัดการให้ประชาชนสามารถดูทีวีดิจิตอลได้  ซึ่งแม้กสทช. จะมีแนวคิดในการแจกคูปองเงินสด เพื่อไปซื้อโทรทัศน์หรือกล่องรับสัญญาณ (Set Top Box)  ในอัตรา 690 บาทต่อครัวเรือน แต่หากราคาโทรทัศน์หรือกล่องสูงมากเกินไป ประชาชนย่อมไม่อยากเสียเงินเพิ่ม เพราะคิดว่ามีฟรีทีวี และทีวีดาวเทียมจำนวน 278 ช่องให้ดูแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดูทีวีดิจิตอลก็ได้
    "ที่ผ่านมากสทช. ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของโครงข่ายว่าจะให้ใช้โครงข่ายใคร คิดค่าเช่าอย่างไร  แต่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก  เพราะถือเป็นต้นทุนที่จะต้องนำมาศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน เช่น หากค่าเช่าโครงข่าย 5 ล้านบาทต่อเดือน  คิดเป็น 60 ล้านบาทต่อปี หาก 15 ปี จะต้องมีค่าใช้จ่าย 900 ล้านบาท เมื่อนำมารวมกับเงินที่ต้องใช้ประมูล ผู้ประกอบการจะลงทุนไหวหรือไม่"
    ขณะที่นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ บรรณาธิการบริหาร บริษัท เทรน วีจี3 จำกัด ผู้พัฒนาเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ หนึ่งในผู้สนใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล กล่าวว่า ราคาประมูลจะสูงหรือต่ำนั้นไม่ใช่สิ่งที่กังวล แต่ปัจจัยหลักที่ผู้ประกอบการแต่ละรายรวมถึงบริษัทนำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกประมูลทีวีดิจิตอลในช่องไหนนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ความชัดเจนจาก กสทช.ที่จะออกมารองรับ เบื้องต้นบริษัทมีความสนใจที่จะประมูล 1 ช่องของทีวีดิจิตอลอยู่แล้ว ส่วนจะเป็นช่องวาไรตีหรือช่องข่าวนั้น คงต้องรอดูหลังจากที่ กสทช.ประกาศข้อกำหนดและเงื่อนไขของแต่ละช่องรายการต่อไป
     "เราต้องรอพิจารณาเงื่อนไขที่ทาง กสทช.สรุปออกมาก่อนจึงจะสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเข้าร่วมประมูลในช่องไหน ทั้งรายการข่าวหรือวาไรตี ไม่เพียงแต่เรื่องของราคาประมูลเท่านั้นที่ยังต้องรอผลสรุปที่แน่ชัด แต่ยังมีเรื่องของตัวเลขค่าโครงข่ายทั้งในระบบ HD และ SD ว่าจะออกมาเท่าไหร่ จากนั้นเราถึงจะสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเข้าร่วมประมูลในช่องรายการไหน"
    ผศ.ดร.ทัณฑกานต์  ดวงรัตน์ คณบดีนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  และนายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า ราคาที่ออกมาดังกล่าว เป็นราคาที่ลดลงจากการประเมินในครั้งแรก  ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นในแง่ของผู้ประกอบการ  แต่อยากให้ผู้ประกอบการชะลอการประมูล  อย่าคิดเพียงแค่อยากได้ช่องทีวีมาไว้ครอบครอง  เพราะครั้งนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของต้นทุน และจะมีการลงทุนอื่นๆตามมาทั้งค่าโครงข่าย,คอนเทนต์ , ค่าจ้างบุคลากร เป็นต้น    
    อีกทั้งอยากให้คำนึงถึงสื่อทีวีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  แม้ปัจจุบันยังคงเป็นสื่อกระแสหลัก  แต่เมื่อเกิดช่องจำนวนมากขึ้น  สื่อดังกล่าวก็จะถูกลดบทบาทลงไป และกลายเป็นสื่อกระแสรองได้ในอนาคต  เพราะปัจจุบันสื่อออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น  และต่อไปจะกลายเป็นสื่อกระแสหลักในอีก 3-4 ปี  ขณะเดียวกันมองว่าการเพิ่มราคาตั้งต้นการประมูลช่องรายการสำหรับเด็กมากขึ้นจากเดิมนั้นไม่เป็นธรรม  เนื่องจากกลุ่มนี้เคยถูกลดช่องแล้วก็ไม่ควรเพิ่มราคาอีกทั้งช่องนี้ยังมีสปอนเซอร์เข้ามาน้อย
    



______________________________________







ประมูลทีวีดิจิตอลรับได้ราคาเริ่มต้น

ผู้ประกอบการ "รับได้" กำหนดราคาเริ่มต้นประมูลทีวีดิจิตอล  ร้องกสทช. ขอความชัดเจนเรื่องโครงข่ายทีวีดิจิตอลชี้เป็นต้นทุนรวม หวั่นสูงเกินไปจะได้ไม่คุ้มเสีย  หลัง กสท. เคาะราคา 24 ช่อง มูลค่าทะลุ  1.5 หมื่นล้านบาทพร้อมยื่นเข้าบอร์ด กสทช. สัปดาห์หน้า ขณะที่คูปองซื้อโทรทัศน์หรือกล่องรับสัญญาณ 690 บาท ยังหาข้อสรุปไม่ได้

     จากมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ซึ่งมีพ.อ.นที  ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา เห็นชอบกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลทีวีดิจิตอลรวม 24 ช่อง โดยมีราคาเริ่มต้นประมูลเท่ากับราคาขั้นต่ำ  ประกอบไปด้วย ช่องรายการทั่วไป (วาไรตี) ระบบความชัดมาตรฐาน (standard definition : SD)  จำนวน 7 ช่อง ราคา 380 ล้านบาทต่อช่องรายการ , ช่องรายการทั่วไป (วาไรตี) ระบบความคมชัดสูง (high definition : HD)  จำนวน 7 ช่อง ราคา 1,510 ล้านบาทต่อช่องรายการ ,  ช่องรายการข่าว จำนวน 7 ช่อง ราคา 220 ล้านบาทต่อช่องรายการ  และช่องรายการสำหรับเด็กและเยาวชน จำนวน 3 ช่อง ราคา 140 ล้านบาทต่อช่องรายการ คิดเป็นเงินรวม 15,190 ล้านบาท  โดยขั้นตอนต่อไปจะนำราคาดังกล่าวไปประกาศหลักเกณฑ์การประมูล  และนำเข้าไปสู่ที่ประชุมกสทช. ก่อนที่จะนำไปสู่กระบวนการประชาพิจารณ์เป็นลำดับถัดไป เพื่อให้สามารถเปิดประมูลทีวีดิจิตอลได้ภายในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้
     โดยตัวเลขดังกล่าวเป็นที่เฝ้าจับตามองของผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้าร่วมการประมูลจำนวนมาก ซึ่งนายชลากรณ์ ปัญญาโฉม ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์การตลาด บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่ด้านวงการบันเทิง ที่ประกาศตัวร่วมประมูลทีวีดิจิตอล เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากราคาเริ่มต้นการประมูลทีวีดิจิตอลที่ออกมาล่าสุด ไม่ค่อยประหลาดใจเท่าไร  เนื่องจากเป็นราคาใกล้เคียงกับที่บริษัทตั้งไว้   ซึ่งเดิมผู้ประกอบการต่างมองว่า ราคาจะต้องสูงมากแต่ปรากฏว่าราคาในรอบนี้กลับไม่สูงอย่างที่คิด  บริษัทเชื่อว่าราคาตั้งต้นการประมูลดังกล่าวที่ออกมาจะส่งผลให้เกิดผู้ประกอบการเข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น และบริษัทเตรียมงบประมาณที่จะสู้การแข่งขันประมูลครั้งนี้ไว้แล้ว
    โดยบริษัทจะเข้าร่วมประมูลจำนวน 2 ช่อง คือ ช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว  และช่องทั่วไป (วาไรตี) ระบบ SD  ซึ่งราคาดังกล่าวบริษัทอยากให้มองว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น  แต่ราคาที่สิ้นสุดการประมูลเป็นเรื่องสำคัญกว่า   นอกจากนี้บริษัทอยากให้มองไปถึงเรื่องราคาโครงข่ายที่ออกมา  เพราะนั่นเป็นต้นทุนที่สำคัญมากกว่า  การเข้าประมูลเพื่อขอรับใบอนุญาต
    ปัจจุบันบริษัทได้เตรียมรับมือเต็มที่สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอล พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมครอบคลุมทุกด้าน คือ เงินทุน  บุคลากร และคอนเทนต์  โดยการเตรียมพร้อมด้านคอนเทนต์ซึ่งวางแผนการผลิตคอนเทนต์เอง 70%  และซื้อคอนเทนต์รวมถึงจ้างผลิตอีก 30%   ขณะที่ด้านบุคลากรในปีนี้บริษัทเตรียมหาคนที่มีฝีมือดีเพื่อรองรับการทำงานให้เพียงพอ  พร้อมทั้งปรับรูปแบบการทำงานใหม่ให้ง่ายขึ้น  และเตรียมสร้างสตูดิโอและออฟฟิศเพิ่ม บนที่ดินจำนวน 23 ไร่เศษด้วย
    ด้านนายธนัท ตันอนุชิตติกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท การ์ตูนมีเดีย จำกัด ผู้บริหารลิขสิทธิ์การ์ตูนจากญี่ปุ่นและผู้บริหารสถานีช่องทีวีดาวเทียม "การ์ตูน คลับ" หนึ่งในผู้สนใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลช่องรายการเด็ก กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า การกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลทีวีดิจิตอลช่องรายการเด็กที่ 140 ล้านบาทต่อช่องรายการนั้น ถือว่ายอมรับได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่  และบริษัทพร้อมเข้าร่วมประมูลโดยมี 2 ทางเลือก คือ บริษัทเป็นผู้ประมูลแต่เพียงผู้เดียว หรือ ร่วมกับพันธมิตรในการประมูล  เพราะเนื้อหาที่นำเสนอต้องมีความหลากหลายทั้ง การ์ตูน , สารคดีเด็ก , สร้างสรรค์ สาระให้กับสังคม เป็นต้น
    อย่างไรก็ดี สิ่งที่เชื่อว่าผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลพบและเป็นปัญหาคือ เรื่องของโครงข่ายทีวีดิจิตอลว่าจะมีอัตราค่าเช่าเท่าไร เพราะถือเป็นต้นทุนรวมที่ทุกบริษัทต้องนำมาคิดรวมกับราคาการประมูล  และอีกปัญหาคือเรื่องของการจัดการให้ประชาชนสามารถดูทีวีดิจิตอลได้  ซึ่งแม้กสทช. จะมีแนวคิดในการแจกคูปองเงินสด เพื่อไปซื้อโทรทัศน์หรือกล่องรับสัญญาณ (Set Top Box)  ในอัตรา 690 บาทต่อครัวเรือน แต่หากราคาโทรทัศน์หรือกล่องสูงมากเกินไป ประชาชนย่อมไม่อยากเสียเงินเพิ่ม เพราะคิดว่ามีฟรีทีวี และทีวีดาวเทียมจำนวน 278 ช่องให้ดูแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดูทีวีดิจิตอลก็ได้
    "ที่ผ่านมากสทช. ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของโครงข่ายว่าจะให้ใช้โครงข่ายใคร คิดค่าเช่าอย่างไร  แต่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก  เพราะถือเป็นต้นทุนที่จะต้องนำมาศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน เช่น หากค่าเช่าโครงข่าย 5 ล้านบาทต่อเดือน  คิดเป็น 60 ล้านบาทต่อปี หาก 15 ปี จะต้องมีค่าใช้จ่าย 900 ล้านบาท เมื่อนำมารวมกับเงินที่ต้องใช้ประมูล ผู้ประกอบการจะลงทุนไหวหรือไม่"
    ขณะที่นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ บรรณาธิการบริหาร บริษัท เทรน วีจี3 จำกัด ผู้พัฒนาเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ หนึ่งในผู้สนใจเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล กล่าวว่า ราคาประมูลจะสูงหรือต่ำนั้นไม่ใช่สิ่งที่กังวล แต่ปัจจัยหลักที่ผู้ประกอบการแต่ละรายรวมถึงบริษัทนำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกประมูลทีวีดิจิตอลในช่องไหนนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ความชัดเจนจาก กสทช.ที่จะออกมารองรับ เบื้องต้นบริษัทมีความสนใจที่จะประมูล 1 ช่องของทีวีดิจิตอลอยู่แล้ว ส่วนจะเป็นช่องวาไรตีหรือช่องข่าวนั้น คงต้องรอดูหลังจากที่ กสทช.ประกาศข้อกำหนดและเงื่อนไขของแต่ละช่องรายการต่อไป
     "เราต้องรอพิจารณาเงื่อนไขที่ทาง กสทช.สรุปออกมาก่อนจึงจะสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเข้าร่วมประมูลในช่องไหน ทั้งรายการข่าวหรือวาไรตี ไม่เพียงแต่เรื่องของราคาประมูลเท่านั้นที่ยังต้องรอผลสรุปที่แน่ชัด แต่ยังมีเรื่องของตัวเลขค่าโครงข่ายทั้งในระบบ HD และ SD ว่าจะออกมาเท่าไหร่ จากนั้นเราถึงจะสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเข้าร่วมประมูลในช่องรายการไหน"
    ผศ.ดร.ทัณฑกานต์  ดวงรัตน์ คณบดีนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  และนายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า ราคาที่ออกมาดังกล่าว เป็นราคาที่ลดลงจากการประเมินในครั้งแรก  ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นในแง่ของผู้ประกอบการ  แต่อยากให้ผู้ประกอบการชะลอการประมูล  อย่าคิดเพียงแค่อยากได้ช่องทีวีมาไว้ครอบครอง  เพราะครั้งนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของต้นทุน และจะมีการลงทุนอื่นๆตามมาทั้งค่าโครงข่าย,คอนเทนต์ , ค่าจ้างบุคลากร เป็นต้น    
    อีกทั้งอยากให้คำนึงถึงสื่อทีวีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  แม้ปัจจุบันยังคงเป็นสื่อกระแสหลัก  แต่เมื่อเกิดช่องจำนวนมากขึ้น  สื่อดังกล่าวก็จะถูกลดบทบาทลงไป และกลายเป็นสื่อกระแสรองได้ในอนาคต  เพราะปัจจุบันสื่อออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น  และต่อไปจะกลายเป็นสื่อกระแสหลักในอีก 3-4 ปี  ขณะเดียวกันมองว่าการเพิ่มราคาตั้งต้นการประมูลช่องรายการสำหรับเด็กมากขึ้นจากเดิมนั้นไม่เป็นธรรม  เนื่องจากกลุ่มนี้เคยถูกลดช่องแล้วก็ไม่ควรเพิ่มราคาอีกทั้งช่องนี้ยังมีสปอนเซอร์เข้ามาน้อย
    ด้าน พ.อ.นที  กล่าวว่า   ราคาที่กำหนดดังกล่าวเป็นราคาที่กสท.ยอมรับได้ และเป็นราคาที่ปรับให้ตัวเลขลงตัว ส่วนราคาจริงจะเป็นเท่าไรนั้นคงขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขัน  โดยหลังจากนี้จะนำราคาไปประกาศตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และนำเสนออัตราที่ผู้ร่วมประมูลจะต้องเคาะราคาทุกครั้ง  ซึ่งช่องเด็ก เริ่มต้นครั้งละ 1 ล้านบาท ช่องข่าวเคาะครั้งละ 2 ล้านบาท  ช่องวาไรตี เคาะครั้งละ 5 ล้านบาท และช่อง HD เคาะครั้งละ 10 ล้านบาท  โดยจะนำเสนอให้กสทช. พิจารณาในสัปดาห์หน้าด้วย   
    ส่วนกรณีการให้ใบอนุญาตโครงข่ายซึ่งผู้ประกอบการหลายรายสนใจและเป็นกังวลว่าจะส่งผลให้ต้องใช้เงินลงทุนสูงนั้น   ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการคาดว่ารายละเอียดจะแล้วเสร็จภายในช่วงเดือนพ.ค. – มิ.ย. นี้   ซึ่งเชื่อว่าผู้ประกอบการรายเดิมมีความสนใจที่จะลงทุนโครงข่ายอยู่แล้ว  ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด   แต่มูลค่าของโครงข่ายจะเป็นเท่าไรนั้นยังไม่สามารถระบุได้ 
     "หากหลักเกณฑ์และราคาประมูลผ่านการพิจารณาเห็นชอบของกสทช.ในสัปดาห์หน้า การประมูลก็จะเริ่มต้นได้เร็วสุดในเดือนส.ค. – ก.ย. นี้  แต่หากไม่ผ่านการเริ่มต้นประมูลต้องล่าช้าไปอีก 1 เดือน  อย่างไรก็ตาม  เชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้ การให้บริการในระบบทีวีดิจิตอลจะครอบคลุมราว  20-30% ของจำนวนครัวเรือน"
    สำหรับเงินสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจากระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลนั้น   โดยหลักการจะนำเงินที่ได้จากการประมูลทั้งหมดมาหารจำนวน 22 ล้านครัวเรือน ซึ่งจะเท่ากับประมาณ 690 บาท ที่จะนำมาใช้เป็นมูลค่าคูปองแจกให้กับประชาชน  เพื่อไปใช้ซื้อโทรทัศน์หรือกล่องรับสัญญาณ (Set Top Box) ซึ่งมูลค่าดังกล่าวอาจจะยังไม่เพียงพอ  แต่ในเบื้องต้นยังไม่มีการพิจารณาว่าจะดำเนินการอะไรเพิ่มเติม  เพราะจะต้องรอให้ถึงกระบวนการที่มีเงินสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวก่อน   ซึ่งอาจจะให้เงินสนับสนุนเพิ่มเติมภายหลัง

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=181938:2013-05-08-02-48-27&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.