Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 พฤษภาคม 2556 (ผู้บริหาร3ค่าย ชี้แจ้งการลดราคา) AIS มั่นใจถ้าโปรโมชั่นใดที่ กสทช. ไม่พอใจเปลื่ยนได้ทันที่ // DTAC บางแพ็กเกจที่ลดราคาลงมากกว่า 50% // TRUE เปิด PRO 4G ดีกว่า


ประเด็นหลัก






AIS
"การันตีว่าแพ็กเกจใหม่สำหรับใช้งาน 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ของเอไอเอสเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นทุกแพ็กเกจ เชื่อว่าเป็นแพ็กเกจที่เร้าใจที่สุดในตลาดขณะนี้ ส่วนประเด็นการเปลี่ยนแพ็กเกจหรือซื้อแพ็กเกจเพิ่มถึงจะสามารถใช้บริการได้นั้น เป็นเพราะยังมีคนไม่เข้าใจและกระจายข่าวแบบผิดๆ ออกไป โดยจากนี้บริษัทจะเน้นการทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้มากขึ้น เรายืนยันว่าได้ปฏิบัติตามกฎของ กสทช.อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด เรื่องการปรับลดค่าบริการนี้ก็เช่นกัน เพราะเราไม่สามารถทำอะไรนอกเหนือระเบียบ กสทช.ได้ หากมีอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือเข้าใจไม่ตรงกันเราจะดำเนินการแก้ไขในทันที" นายปรัธนา กล่าว

DTAC
ด้าน นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า บริการไตรเน็ต (TriNet) จะพร้อมให้บริการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ โดยลูกค้าสามารถเลือกใช้งาน 3จี ได้ทั้งจากคลื่นความถี่ 850, 1800, 2100 เมกะเฮิรตซ์ โดยบริษัทจะจัดทดสอบสัญญาณตั้งแต่สัปดาห์หน้าในพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ เพื่อพิสูจน์คุณภาพเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาด ดีแทค กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องแพ็กเกจและโปรโมชั่นนั้น ยืนยันว่าทุกรายการส่งเสริมการขายปรับลดราคาลงแล้ว แม้บางโปรโมชั่นอาจลดไม่ถึง 15% โดยลดลงราว 8-9% แต่ก็มีบางแพ็กเกจที่ลดราคาลงมากกว่า 50% ซึ่งถือว่าสูงเกินกว่าเงื่อนไขของ กสทช.ที่กำหนดไว้ค่อนข้างมาก


  ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า จะเลือกนำ 4G LTE มาให้บริการเฉพาะบริเวณที่มีปริมาณการใช้งานดาต้าหนาแน่น ทำให้เลือกพื้นที่ในการติดตั้งจำนวน 2,000 สถานีฐานไว้ 15 หัวเมืองในปีนี้เท่านั้น ส่วนพื้นที่อื่นก็จะทยอยติดตั้งสถานีฐาน 3G บนคลื่น 2.1 GHz เข้ามาเสริมกับการให้บริการ 3G คลื่น 850 MHz ในปัจจุบัน
   
       ส่งผลให้วัตถุดิบที่ทรูมูฟ เอชมีอยู่ในมือประกอบไปด้วยการให้บริการ 3G 850 MHz จากบริษัท เรียลมูฟ ที่เป็นสัญญาโครงการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ระหว่าง กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรู และใบอนุญาต 2.1 GHz จาก กสทช.ของบริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด มาให้บริการทั้ง 3G และ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในประเทศไทย
   
       ในขณะที่แพกเกจการให้บริการ 3G นั้น ก่อนหน้านี้ทรูมูฟ เอช ได้มีการเปิดตัวแพกเกจใหม่ในกลุ่ม iTalk iNet iSmart และ iPlay ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแพกเกจดังกล่าวจะนำมาใช้กับการให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz ด้วย และทางผู้บริหารก็ยืนยันเช่นกันว่าทำตามข้อกำหนดของ กสทช.เรียบร้อยแล้ว








______________________________________







3ค่ายยันแพ็กเกจ 3จี ราคาเหมาะสม เปิดราคาเท่ากันทุกค่าย


ส่องราคาแพ็กเกจ 3จี เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เอช ยืนกระต่ายขาเดียวลดแล้วตามระเบียบ กสทช. 15% มั่นใจลูกค้าพอใจค่าบริการ ตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย...

ภายหลังทั้ง 3 ผู้ให้บริการมือถือ (โอเปอเรเตอร์) ได้ทยอยเปิดตัวบริการและแพ็กเกจ 3จี อย่างเป็นทางการ ไปเมื่อช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา นอกจากจะถูกหลายฝ่ายรวมถึงผู้บริโภคจับตาในประเด็นคุณภาพและความพร้อมเครือข่ายในการให้บริการ ก็ยังถูกจับตาในประเด็นการปรับลดค่าบริการ 15% ว่าจะเป็นไปตามระเบียบการประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 3จี ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ระบุไว้ตั้งแต่ครั้งเปิดประมูลไลเซ่นส์หรือไม่

โดยเรื่องนี้ นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า หลังจากมีการเชิญชวนลูกค้าให้อัพเกรดบริการเป็น 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เมื่อช่วงเดือน เม.ย. ผ่านทางข้อความ (เอสเอ็มเอส) มีผู้สนใจสอบถามเป็นจำนวนมาก โดยเรื่องที่สอบถามเป็นจำนวนมากที่สุดคือการตั้งค่าอินเทอร์เน็ต เนื่องจากผู้ใช้สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยด์จะต้องตั้งค่าใหม่ ส่วนประเด็นอื่นๆ พบว่ามีการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพสัญญาณจากลูกค้าราว 10 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ตามคอนโดมิเนียม เนื่องจากบางตึกยังไม่อนุญาตให้บริษัทเข้าไปติดตั้งเสาสัญญาณใหม่หรืออยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้ง


แพ็กเกจ 3จี ของเอไอเอส


ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิตอล เอไอเอส กล่าวอีกว่า การอัพเกรดการใช้งานครั้งนี้ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะใช้แพ็กเกจเดิมหรือเปลี่ยนใหม่ โดยมั่นใจว่าแพ็กเกจใหม่นี้ให้ความคุ้มค่ามากกว่า 15% ตามกฎที่ กสทช. ระบุไว้อย่างแน่นอน เนื่องจากมีการผสมผสานสิทธิประโยชน์ทั้งการเพิ่มปริมาณการใช้งาน โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต และปรับลดค่าบริการ ขณะเดียวกันก็มีแพ็กเกจหลากหลายราคารองรับการใช้งานและความต้องการของลูกค้า

"การันตีว่าแพ็กเกจใหม่สำหรับใช้งาน 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ของเอไอเอสเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นทุกแพ็กเกจ เชื่อว่าเป็นแพ็กเกจที่เร้าใจที่สุดในตลาดขณะนี้ ส่วนประเด็นการเปลี่ยนแพ็กเกจหรือซื้อแพ็กเกจเพิ่มถึงจะสามารถใช้บริการได้นั้น เป็นเพราะยังมีคนไม่เข้าใจและกระจายข่าวแบบผิดๆ ออกไป โดยจากนี้บริษัทจะเน้นการทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้มากขึ้น เรายืนยันว่าได้ปฏิบัติตามกฎของ กสทช.อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด เรื่องการปรับลดค่าบริการนี้ก็เช่นกัน เพราะเราไม่สามารถทำอะไรนอกเหนือระเบียบ กสทช.ได้ หากมีอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือเข้าใจไม่ตรงกันเราจะดำเนินการแก้ไขในทันที" นายปรัธนา กล่าว

ด้าน นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า บริการไตรเน็ต (TriNet) จะพร้อมให้บริการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ โดยลูกค้าสามารถเลือกใช้งาน 3จี ได้ทั้งจากคลื่นความถี่ 850, 1800, 2100 เมกะเฮิรตซ์ โดยบริษัทจะจัดทดสอบสัญญาณตั้งแต่สัปดาห์หน้าในพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ เพื่อพิสูจน์คุณภาพเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาด ดีแทค กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องแพ็กเกจและโปรโมชั่นนั้น ยืนยันว่าทุกรายการส่งเสริมการขายปรับลดราคาลงแล้ว แม้บางโปรโมชั่นอาจลดไม่ถึง 15% โดยลดลงราว 8-9% แต่ก็มีบางแพ็กเกจที่ลดราคาลงมากกว่า 50% ซึ่งถือว่าสูงเกินกว่าเงื่อนไขของ กสทช.ที่กำหนดไว้ค่อนข้างมาก


แพ็กเกจ 3จี ของดีแทค


"เข้าใจว่าราคาแพ็กเกจใหม่ต้องตอบโจทย์ กสทช. แต่เรามุ่งเน้นตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก ราคาในปัจจุบันก็มีหลากหลายให้เลือกใช้ หากลดราคามากบริษัทก็ไม่มีงบประมาณมาพัฒนาเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานทั้งคุณภาพและสัญญาณที่ดีแก่ลูกค้า" นายปกรณ์ กล่าว

ส่วน นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบายล์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้งาน 4จี (แอลทีอี) หรือ 3จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ของกลุ่มทรู สามารถใช้งานได้ทันที โดยแจ้งความต้องการผ่านพนักงานที่ทรูช็อปในพื้นที่กรุงเทพฯ และอีก 15 จังหวัดที่เปิดให้บริการซึ่งบริษัทได้เตรียมความพร้อมพนักงานไว้เต็มที่ โดยลูกค้าสามารถเลือกแพ็กเกจที่ต้องการใช้งานได้ทันที โดยแพ็กเกจ 4จี นั้นจะเริ่มต้นที่ราคา 699 บาท ส่วนแพ็กเกจ 3จี 2100 เมกะเฮิรตซ์นั้นใช้แพ็กเกจเดียวกับแพ็กเกจ 3จี 850 เมกะเฮิรตซ์ในปัจจุบัน

"ราคาแพ็กเกจในปัจจุบันของเราก็มีการปรับลดลงตั้งแต่ต้นปี ซึ่งมั่นใจว่าสอดคล้องและเป็นไปตามกฎ กสทช. ที่ต้องการให้ปรับลดอัตราค่าบริการลงไม่ต่ำกว่า 15% นอกจากนี้บริษัทก็ปรับลดราคาตามกลไกตลาดอยู่แล้ว โดยสามารถเปรียบเทียบกับแพ็กเกจเมื่อช่วงปลายปี 2555 จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนทุกแพ็กเกจ" นายอติรุฒม์ กล่าว

กรรมการ ผู้จัดการ ธุรกิจโมบายล์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวอีกว่า เรื่องการทำความเข้าใจกับลูกค้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนซิมการ์ดใหม่เมื่อสมัครใช้บริการ 4จี นั้นถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ประกอบกับมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เพิ่มขึ้น อาทิ การรองรับความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น การรักษาความปลอดภัยซิมการ์ดและข้อมูลของลูกค้า และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นมาตรฐานในอนาคต ทำให้ลูกค้าเดิมของทรูมูฟและทรูมูฟเอชที่ต้องการใช้งาน 4จี จำเป็นต้องเปลี่ยนซิมการ์ดใหม่ แต่สิ่งสำคัญคือต้องมีอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานเทคโนโลยี 4จี หรือแอลทีอีด้วย

สำหรับอัตราราคาค่าบริการ 3จี ในปัจจุบัน ทั้งเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เอช ตั้งราคาเริ่มต้นเอาไว้ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะแพ็กเกจสำหรับสมาร์ทโฟน ซึ่งเริ่มต้นที่ราคา 299 บาทต่อเดือน โดยสามารถใช้งานโทรได้ 100 นาที และใช้อินเทอร์เน็ต 500MB

อย่างไรก็ตาม คงต้องย้อนถามถึงหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่กำกับดูแลโดยตรงอย่าง กสทช. ว่าหลังจากที่ยุติการรอคอยบริการ 3จี ด้วยการประมูลไลเซ่นส์แล้ว จากนี้ผู้บริโภคจะฝากความหวังไว้ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ที่จะสามารถควบคุมโอเปอเรเตอร์และสร้างประโยชน์แก่ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริงหรือไม่.



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/344054


__________________________________________



3G แข่งเดือด!!!







เปรียบมวย สังเวียน 3G 3 ค่ายมือถือแข่งเดือด เอไอเอสยกทัพหลวง 7 หมื่นล้านทุ่มลงเครือข่าย 3G 2.1 GHz ใช้เวลาแค่ 5 เดือนติดตั้ง 5 พันสถานีฐานคลุม กทม.และ 20 จังหวัด ด้านทรูมูฟ เอช ชู 4G ต่อยอดบริการสร้างความแตกต่าง ส่วนดีแทครีเฟรชแบรนด์ ผนึก 3 ความถี่ด้วยบริการ TriNet ทุ่ม 3.4 หมื่นล้านสู่บริบทใหม่ New DTAC ERA “Internet for All”
     
     


     
       จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า ปัจจุบันดีแทคให้บริการ 3G บนคลื่น 850 MHz ให้พื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องรีบเปิดให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz มากนัก เพียงแต่จะเป็นการนำโครงข่ายเข้ามาเสริมเพื่อให้บริการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
       ปัจจุบันดีแทคได้ติดตั้งสถานีฐาน 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ไปแล้วราว 1,100 สถานีฐาน และวางแผนไว้ว่าภายในสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 5,000 สถานีฐาน ขณะที่ในมุมของการครอบคลุมประชากร ปัจจุบันดีแทคติดตั้ง 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz จำนวน 5,200 สถานีฐาน ซึ่งครอบคลุมแล้ว 60-65% ส่วน 2.1 GHz ถ้าติดตั้งได้ตามแผนที่วางไว้ ภายในไตรมาส 3 จะครอบคลุม 30% และถึงสิ้นปีจะครอบคลุม 50% ของประชากร
     
     


     
       สำหรับงบลงทุนโครงข่ายจนถึงปี 2558 วางไว้ที่ 3.4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเฉพาะปีนี้ที่ 1.25 หมื่นล้านบาท ขณะที่งบในการทำตลาดรวมจะตกอยู่ไตรมาสละ 200 ล้านบาท ซึ่งวางเป้าหมายในการเพิ่มลูกค้าที่ใช้งาน 3G เป็น 10 ล้านราย จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.5 ล้านราย
     
       ปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาด ดีแทค ให้ข้อมูลเสริมว่า ลูกค้า 3G 10 ล้านรายในปีนี้จะแบ่งสัดส่วนระหว่างลูกค้าในดีแทค 40% และลูกค้าในบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค (DTN) ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาต 2.1 GHz ประมาณ 60% โดยการย้ายลูกค้าจะใช้วิธีการย้ายผ่านเคลียริ่งเฮาส์ปกติ ไม่ได้ทำการย้ายล่วงหน้าภายในเครือข่ายแต่อย่างใดเพราะสัมปทานของดีแทคยังเหลืออยู่อีกหลายปี
     
       นอกจากนี้ ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่จะเปิดให้บริการ TriNet อย่างเป็นทางการ ดีแทคจะวางจำหน่ายโทรศัพท์ภายใต้แบรนด์ของตนเอง 3 รุ่น แบ่งเป็นฟีเจอร์โฟน 1 รุ่น และสมาร์ทโฟน 2 รุ่น ที่รองรับการใช้งาน TriNet เต็มรูปแบบ จากการรับจ้างผลิตของหัวเว่ย ภายใต้จุดประสงค์หลักคือให้คนไทยทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียม
     
       ในส่วนของแพกเกจให้บริการ 3G 2.1 GHz ของดีแทค จะมีการเพิ่มแพกเกจใหม่ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกจับคู่การใช้อินเทอร์เน็ตและ โทร.ได้ตามการใช้งานจริง โดยอยู่บนฐานของ 3 ตัวเลือกหลักในแต่ละมุม คือ การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็ว 3G ได้ 750 MB ที่ราคา 249 บาท 1.5 GB ที่ราคา 349 บาท และ 3 GB 449 บาท คู่กับ โทร.ฟรีทุกเครือข่าย 250 นาที 400 นาที และ 800 นาที ในระดับราคา 180 บาท 300 บาท และ 500 บาทตามลำดับ
     
       “ก่อนหน้านี้ผู้บริโภคจะไม่ได้เห็นแพกเกจที่ โทร.น้อย ใช้เน็ตเยอะ หรือ โทร.เยอะ ใช้เน็ตน้อย แต่จากแพกเกจใหม่ของดีแทค ตามแนวคิด More Choice จะช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้งานมากขึ้น ขณะที่ในส่วนของการปรับลดราคา 15% อยากให้มองเทียบกับแพกเกจราคาปกติ ไม่ใช่ราคาโปรโมชันเฉพาะช่วงเวลา”
     
       ***ทรูมูฟเอชข่ม 4G รายแรก
     
       ด้านทรูมูฟ เอช ที่มองว่าใบอนุญาต 2.1 GHz สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ (Neutral Technology) รวมถึงปัจจุบันทรูมูฟ เอช ได้ให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz ได้ครอบคลุมทั่วประเทศอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะนำเทคโนโลยีทางการสื่อสารไร้สายยุคล่าสุดอย่าง 4G LTE มาให้บริการ
     
     


     
       ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า จะเลือกนำ 4G LTE มาให้บริการเฉพาะบริเวณที่มีปริมาณการใช้งานดาต้าหนาแน่น ทำให้เลือกพื้นที่ในการติดตั้งจำนวน 2,000 สถานีฐานไว้ 15 หัวเมืองในปีนี้เท่านั้น ส่วนพื้นที่อื่นก็จะทยอยติดตั้งสถานีฐาน 3G บนคลื่น 2.1 GHz เข้ามาเสริมกับการให้บริการ 3G คลื่น 850 MHz ในปัจจุบัน
     
       ส่งผลให้วัตถุดิบที่ทรูมูฟ เอชมีอยู่ในมือประกอบไปด้วยการให้บริการ 3G 850 MHz จากบริษัท เรียลมูฟ ที่เป็นสัญญาโครงการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ระหว่าง กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรู และใบอนุญาต 2.1 GHz จาก กสทช.ของบริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด มาให้บริการทั้ง 3G และ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในประเทศไทย
     
       ในขณะที่แพกเกจการให้บริการ 3G นั้น ก่อนหน้านี้ทรูมูฟ เอช ได้มีการเปิดตัวแพกเกจใหม่ในกลุ่ม iTalk iNet iSmart และ iPlay ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแพกเกจดังกล่าวจะนำมาใช้กับการให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz ด้วย และทางผู้บริหารก็ยืนยันเช่นกันว่าทำตามข้อกำหนดของ กสทช.เรียบร้อยแล้ว
     
     


     
       แต่สิ่งที่น่าจับตามองต่อไปของการให้บริการ 4G ของทรูมูฟ เอช คือการเปิดตัวราคาแพกเกจในช่วงแรกที่ประกอบไปด้วยระดับราคา 699 บาท 899 บาท และ 1,099 บาท ที่ให้ปริมาณการใช้งานความเร็วสูงสุดของ 4G ก่อนจะปรับความเร็วลดลงเหลือ 128 Kbps ที่ 2 GB 3 GB และ 4 GB ตามลำดับ เพราะในงานเปิดตัวได้มีการแสดงระยะเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดไฟล์ขนาด 25 GB ด้วยความเร็วสูงสุดของ 4G ปรากฏว่าใช้เวลาเพียง 6.15 นาที ซึ่งถ้ามีการนำไปใช้งานจริงแบบผิดประเภทขึ้นมา ผู้บริโภครายนั้นคงเศร้าใจกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ระหว่างรอบบิลนั้นทันที
     
       ***3G 2100 ตัวจริง มาตรฐานโลก
     
       ปิดท้ายที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) หลังจากที่บริษัทลูกอย่าง แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (AWN) ได้ใบอนุญาตก็เริ่มเดินหน้าลงทุนติดตั้งสถานีฐานเพื่อให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ทันที
     
       สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ จากช่วงเวลา 4-5 เดือนหลังได้รับใบอนุญาตก็สามารถติดตั้งโครงข่ายได้กว่า 5,000 สถานีฐาน ครอบคลุม 20 จังหวัด และให้คำมั่นว่าหลังจากนี้จะมีการติดตั้งสถานีฐานเพิ่มเดือนละกว่า 800 สถานีฐาน เพื่อให้จนถึงสิ้นปีจะติดตั้งได้กว่า 11,000 สถานีฐานซึ่งจะครอบคลุม 77 จังหวัด หรือคิดเป็น 70% ของประชากร ก่อนขยายให้ครอบคลุม 90% ของประชากรในช่วงปี 2557
     
     


     
       วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า ในช่วงเวลา 4-5 เดือนเอไอเอส สามารถให้บริการ 3G 2.1 GHz ได้ครอบคลุม 50% ของจำนวนประชากรแล้ว ดังนั้นจึงเร็วกว่าข้อกำหนดที่ กสทช.ตั้งไว้ว่าต้องครอบคลุม 50% ภายใน 2 ปีแรก และ 80% ภายใน 4 ปี
     
     


     
       ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเปิดให้ลูกค้าที่สนใจลงทะเบียนขอรับการอัปเกรดจากเครือข่ายเดิมเป็นเครือข่ายใหม่ในช่วงต้นเดือนเมษายนจนถึงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีมากกว่า 1.7 ล้านราย ซึ่งเอไอเอสก็ได้เร่งดำเนินการอัปเกรดให้แก่ลูกค้าได้กว่า 8 แสนเลขหมายในปัจจุบัน และได้เปิดให้ลูกค้าที่สนใจทยอยเข้าไปทำเรื่องอัปเกรดเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการได้ทันที หลังจากที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ
     
       เมื่อผ่านเงื่อนไขลำดับแรกแล้ว สิ่งที่เอไอเอสเดินหน้าต่อไปคือการออกแพกเกจการใช้งานสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการ AIS 3G 2100 ใหม่ทั้งหมด โดยคิดคำนวณจากค่าบริการเดิมที่ใช้ในวันที่ 7 ธันวาคม 2555 ซึ่ง กสทช.ได้เก็บข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ยของโปรโมชัน ในการคำนวณว่าโปรโมชันที่ออกใหม่บน 2.1 GHz จะต้องมีอัตราค่าบริการลดลง 15%
     
     


     


     
       เพียงแต่เอไอเอส รวมถึงอีก 2 ค่ายที่เหลือเลือกใช้วิธีการเพิ่มปริมาณในการใช้งาน แต่ยังคงระดับราคาเท่าเดิมไว้ ซึ่งถ้าลองดูรายละเอียดเปรียบเทียบแล้วก็จะพบว่ามีมูลค่ามากกว่า 15% ตามที่ กสทช.กำหนดไว้ ในขณะที่ทาง กสทช.ก็ยังไม่มีการเปิดเผยถึงค่าเฉลี่ยที่เก็บข้อมูลไป ทำผู้บริโภคส่วนหนึ่งเกิดความสงสัยว่าได้มีการปรับลดราคาหรือไม่
     

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000056035

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.