Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2556 สำนักงาน กสทช. จี้รัฐบาล ออกเงินเดือน!! ให้ กสทช.11ราย หลังออกไปก่อนกว่า1ปี7เดือน แล้ว!! (ส่วนรถ ยังอิงเทียบเท่ารัฐมนตรี ซึ่งครม. กำหนดให้กสทช. เทียบเท่าปลัดกระทรวง )



ประเด็นหลัก



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า นับตั้งแต่คณะกรรมการ กสทช. เริ่มทำงานตามหน้าที่เมื่อเดือน ต.ค.2554 ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ รวมระยะเวลา 1 ปี 7 เดือน กสทช.ทั้ง 11 คนยังไม่ได้รับเงินเดือนตามทื่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเงินเดือนแต่ละเดือนที่ได้รับอยู่นั้นเป็นของสำนักงาน กสทช. ที่ยืมจ่ายให้กับทั้ง กสทช. 11 คนจ่ายไปก่อน

เลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า สำหรับการขออนุมัติเงินเดือน กสทช. 11 คน นั้น ได้ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้วเมื่อเดือน ม.ค.2556 ที่ผ่านมา หลังจากนั้นได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีการ่าง เพื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา แต่เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรรมการ กสทช. และกรรมการ กสท. กล่าวว่า ขณะนี้ เงินเดือนที่ กสทช.11 คน ได้รับมาเป็นเงินยืมในส่วนงบประมาณของสำนักงาน กสทช. โดยอิงจากอัตราเงินเดือนขั้นต่ำที่องค์กรอิสระพึงได้ อยู่ที่คนละ 1 แสนบาท ส่วนอัตราที่ ครม.อนุมัติ ตำแหน่งประธาน กสทช. อยู่ที่ 3.3 แสนบาท ส่วนตำแหน่งกรรมการ 10 คน อยู่ที่ 2.5 แสนบาท พร้อมยอมรับว่าไม่เข้าใจว่าขั้นตอนติดขัดอยู่ที่ส่วนไหน เหตุใด กสทช. ไม่ได้รับเงินเดือนที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม หากประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็จะได้รับย้อนหลัง แต่ต้องเสียภาษีอัตรา 35% ซึ่งเท่ากับต้องเสียเสียภาษีย้อนหลังจำนวนเกินกว่า 1.6 ล้านบาท



ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2554 จนถึงปัจจุบัน กสทช.ทั้ง 11 คน ยังไม่ได้รับเงินเดือนที่แท้จริงตามที่กฎหมายกำหนด และไม่เข้าใจว่าติดขัดที่ขั้นตอนใด โดยเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบันคือการยืมงบของสำนักงานกสทช. ซึ่งอิงจากอัตราเงินเดือนขั้นต่ำที่องค์กรอิสระพึงได้ที่คนละ 1 แสนบาท ขณะที่อัตราที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจริง คือ 3.3 แสนบาท สำหรับประธาน กสทช. และ 2.5 แสนบาท สำหรับกรรมการ 10 คน

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องรถประจำตำแหน่งที่จะต้องพิจารณาว่าจะจัดการอย่างไร เนื่องจากมติ ครม. ไม่ตรงกับมาตรฐานอ้างอิงเดิมของ กสทช.




______________________________________






กสท.ยื้อเคาะไลเซนส์โครงข่าย"ทีวีดิจิตอล"


บอร์ด กสท. ยังไม่เคาะไลเซนส์โครงข่าย-บิวตี้ คอนเทสต์ ช่องสาธารณะ มึนยังไม่ได้รับเงินเดือนจริง

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ด กสท. วันที่ 3 มิ.ย. ยังไม่มีวาระพิจารณาการให้ใบอนุญาต (ไลเซนส์) ผู้ให้บริการโครงข่าย (Multiplexer หรือ Mux) รวมถึงใบอนุญาตช่องรายการสาธารณะแบบบิวตี้ คอนเทสต์

ทั้งนี้ การที่จะได้ข้อสรุปของทั้งสองเรื่อง ขึ้นอยู่กับว่า พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท. จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาเมื่อใด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากรายละเอียดที่ยังไม่ชัดเจนว่าควรจะให้ไลเซนส์กับผู้ให้บริการรายใดบ้าง เนื่องจากมีผู้สนใจเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายมากกว่าจำนวนไลเซนส์

สำหรับเรื่องบิวตี้ คอนเทสต์ ช่องสาธารณะนั้น บอร์ดชุดใหญ่ได้ตีกลับมาให้บอร์ด กสท. พิจารณารายละเอียด ซึ่งจะรอดูอีก 2 สัปดาห์

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2554 จนถึงปัจจุบัน กสทช.ทั้ง 11 คน ยังไม่ได้รับเงินเดือนที่แท้จริงตามที่กฎหมายกำหนด และไม่เข้าใจว่าติดขัดที่ขั้นตอนใด โดยเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบันคือการยืมงบของสำนักงานกสทช. ซึ่งอิงจากอัตราเงินเดือนขั้นต่ำที่องค์กรอิสระพึงได้ที่คนละ 1 แสนบาท ขณะที่อัตราที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจริง คือ 3.3 แสนบาท สำหรับประธาน กสทช. และ 2.5 แสนบาท สำหรับกรรมการ 10 คน

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องรถประจำตำแหน่งที่จะต้องพิจารณาว่าจะจัดการอย่างไร เนื่องจากมติ ครม. ไม่ตรงกับมาตรฐานอ้างอิงเดิมของ กสทช.

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B
8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/225963/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97-
%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B
9%84%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%84%
E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8
%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5

_________________________________________________


กสทช.โวยรัฐ ทำงานเกือบ2ปี ยังไม่ได้รับเงินเดือน


“สุภิญญา กลางณรงค์” กก.กสทช. ตั้งคำถามเหตุใด กสทช. ทั้ง 11 คน ยังไม่ได้รับเงินเดือนจริงตั้งแต่เริ่มทำงานเมื่อ ต.ค.54 หลังผ่านความเห็นชอบ ครม. และถึงมือคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว...

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า นับตั้งแต่คณะกรรมการ กสทช. เริ่มทำงานตามหน้าที่เมื่อเดือน ต.ค.2554 ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ รวมระยะเวลา 1 ปี 7 เดือน กสทช.ทั้ง 11 คนยังไม่ได้รับเงินเดือนตามทื่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเงินเดือนแต่ละเดือนที่ได้รับอยู่นั้นเป็นของสำนักงาน กสทช. ที่ยืมจ่ายให้กับทั้ง กสทช. 11 คนจ่ายไปก่อน

เลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า สำหรับการขออนุมัติเงินเดือน กสทช. 11 คน นั้น ได้ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้วเมื่อเดือน ม.ค.2556 ที่ผ่านมา หลังจากนั้นได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีการ่าง เพื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา แต่เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรรมการ กสทช. และกรรมการ กสท. กล่าวว่า ขณะนี้ เงินเดือนที่ กสทช.11 คน ได้รับมาเป็นเงินยืมในส่วนงบประมาณของสำนักงาน กสทช. โดยอิงจากอัตราเงินเดือนขั้นต่ำที่องค์กรอิสระพึงได้ อยู่ที่คนละ 1 แสนบาท ส่วนอัตราที่ ครม.อนุมัติ ตำแหน่งประธาน กสทช. อยู่ที่ 3.3 แสนบาท ส่วนตำแหน่งกรรมการ 10 คน อยู่ที่ 2.5 แสนบาท พร้อมยอมรับว่าไม่เข้าใจว่าขั้นตอนติดขัดอยู่ที่ส่วนไหน เหตุใด กสทช. ไม่ได้รับเงินเดือนที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม หากประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็จะได้รับย้อนหลัง แต่ต้องเสียภาษีอัตรา 35% ซึ่งเท่ากับต้องเสียเสียภาษีย้อนหลังจำนวนเกินกว่า 1.6 ล้านบาท

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า นอกจากเงินเดือนแล้ว ยังมีเงินส่วนของสวัสดิการ โดยเฉพาะรถประจำตำแหน่ง ที่ครม. กำหนดให้กสทช. เทียบเท่าปลัดกระทรวง ส่งผลให้รถประจำตำแหน่งมีราคาไม่เกิน 2.5 ล้านบาท แต่เนื่องจาก กสทช. อิงตามอัตราของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) เดิม ซึ่งเทียบเท่ารัฐมนตรี อาจกระทบถึงกรรมการหลายคน ซึ่งหลังจากอัตราเงินเดือนประกาศในราชกิจจาฯ แล้ว ต้องพิจารณาว่าจะจัดการเรื่องที่ผ่านมาอย่างไร





โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/348665

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.