Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กรกฎาคม 2556 (เหนือเมฆ) ศาลรัฐธรรมนูญชี้ พรบ.โทรคมนาคมฯขัดรธน.ม.39 (หลัง 3BB ถูกฟ้องฐานลักทรัพย์ หรือรับของโจร ทำให้โครงข่ายโทรคมนาคมเสียหาย จึงร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ)



ประเด็นหลัก



ภายหลังจากที่ตุลาการศาลรับธรรมนูญได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 มาตรา 78 เป็นบทบัญญัติที่เป็นการสันนิษฐานความผิดของจำเลย และผลักภาระการพิสูจน์ข้อโต้แย้ง หรือหักล้างข้อสันนิษฐานนั้นไปให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น จึงเป็นบทบัญญัติที่ละเมิดหลักประกันแห่งสิทธิและเสรีภาพ ของผู้ต้องหาหรือจำเลย เกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองว่าในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 39 วรรคสอง ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 3 เห็นว่าพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 มาตรา 78 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรคสอง ส่วนคำขออื่นไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้เกิดผลเปลี่ยนแปลง
     


______________________________________






ศาลรัฐธรรมนูญชี้ พรบ.โทรคมนาคมฯขัดรธน.ม.39




วันนี้ (10 ก.ค.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสารข่าว ภายหลังการประชุมของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ได้พิจารณาคำร้องที่ศาลจังหวัดสระบุรี ส่งคำโต้แย้งของจำเลย เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ว่า พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 มาตรา 78 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรคสอง มาตรา 40 (5) และมาตรา 30 หรือไม่
       
ภายหลังจากที่ตุลาการศาลรับธรรมนูญได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 มาตรา 78 เป็นบทบัญญัติที่เป็นการสันนิษฐานความผิดของจำเลย และผลักภาระการพิสูจน์ข้อโต้แย้ง หรือหักล้างข้อสันนิษฐานนั้นไปให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น จึงเป็นบทบัญญัติที่ละเมิดหลักประกันแห่งสิทธิและเสรีภาพ ของผู้ต้องหาหรือจำเลย เกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองว่าในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 39 วรรคสอง ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 3 เห็นว่าพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 มาตรา 78 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรคสอง ส่วนคำขออื่นไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้เกิดผลเปลี่ยนแปลง
       
 สำหรับกรณีดังกล่าวนั้นศาลสระบุรี ได้ส่งคำโต้แย้งของจำเลย (บริษัท ทริปเปิ้ลที อินเทอร์เน็ต จำกัด กับพวก 11 คน ถูกฟ้องฐานลักทรัพย์ หรือรับของโจร ทำให้โครงข่ายโทรคมนาคมเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ,84,86,91,334,357,และ358 ประกอบกับพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 มาตรา 44,72และ 78 ซึ่งจำเลยทั้ง 11 คนได้ให้การปฏิเสธ และจำเลยที่ 3 -11 นั้น ได้ร้องขอต่อศาลสระบุรีให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 211 เนื่องจากโต้แย้งว่าพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 มาตรา 78 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรคสอง มาตรา 40 (5) และมาตรา 30 เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ที่บัญญัติว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บัญญัตินั้นเป็นการใช้บังคับไม่ได้


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=190528:--39&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.