Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 กรกฎาคม 2556 ศ.เข็มชัย ชุติวงศ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด ( ชี้ ไม่มีกฏหมายใดให้ กสทช. ขยายอายุสป. CAT ที่ทำต่อ TRUEMOVE และ GSM1800 ) ต้องคืนคลื่นเท่านั้น


ประเด็นหลัก


ศ.เข็มชัย ชุติวงศ์ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด แสดงความเห็นว่า ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่มีข้อใดที่อนุญาตให้สามารถขยายเวลาให้บริการต่อได้เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุด เนื่องจาก พ.ร.บ. องค์กรฯ พ.ศ. 2553 กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นความถี่ที่ชัดเจนอยู่แล้วตามแผนแม่บทฯ ที่กำหนดให้คืนคลื่นเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ตามเจตนารมณ์ของการตรา พ.ร.บ. องค์กรฯ พ.ศ. 2553 นั้นมีความชัดเจนว่า ต้องการให้คลื่นความถี่เปลี่ยนจากการเป็นสมบัติชาติมาเป็นสมบัติสาธารณะ โดยมี กสทช. เป็นผู้จัดการ จึงต้องการให้คลื่นความถี่ที่หมดพันธะได้รับการส่งคืนมายัง กสทช.


______________________________________




เอกซเรย์แรงหนุน-ค้านต่อสัญญาสัมปทาน1800




เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)  เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเห็นชอบร่างประกาศ กสทช.

เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... ตามมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2556 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และ มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
    กรณีการออกร่างประกาศดังกล่าวสืบเนื่องจาก บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ซึ่งได้รับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สิ้นสุดภายในกลางเดือนกันยายน 2556 ดังนั้น กทค. จึงได้ออกมาตรการกำกับดูแลลูกค้าจำนวน 17 ล้านรายของ ทรูมูฟ และ 8 หมื่นรายของ ดีพีซี ด้วยการให้บริการคลื่นความถี่ต่อไปอีก 1 ปี
    ประเด็นดังกล่าวมีทั้งฝ่ายสนับสนุน และ ฝ่ายคัดค้าน ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมความคิดเห็นของทั้ง 2 ฝ่ายติดตามได้จากนี้



แก้วสรร อติโพธิแก้วสรร อติโพธิ*** แก้วสรร ชี้ไม่ขัด
    นายแก้วสรร อติโพธิ ประธานคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์  ออกมายืนยันว่า กสทช. มีหน้าที่ออกมาตรการกำกับดูแลเพื่อให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญา  และให้ผู้ประกอบการเร่งโอนย้ายผู้ใช้บริการให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันสิ้นสุดสัญญา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการต่ออายุสัมปทาน และไม่ใช่การจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ตามมาตรา 45 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ แต่เป็นการกำกับดูแลเพื่อไม่ให้ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบ


*** เศรษฐพงค์ แจงบอร์ด กสทช.ไม่ได้ละเลยการปฏิบัติหน้าที่
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ    เช่นเดียวกับ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธาน กทค. ก็ออกมายืนยันว่า กสทช.ชุดนี้ไม่ได้ละเลยการปฏิบัติหน้าที่เกือบ 2 ปีนั้นการออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์ ดิจิตอล พีซีเอ็น 1800 2 สิ่งนี้ได้มีการทำคู่ขนาน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 และคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบรายละเอียดการได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2555 โดยคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุดได้รายงานผลการพิจารณาต่อ กทค.ในช่วงต้นปี 2556 ทั้งนี้มีประเด็นข้อกฎหมายเรื่องสิทธิในการใช้คลื่นเมื่อสัมปทานสิ้นสุด ซึ่งได้ส่งให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษา กสทช.ให้ความเห็น ทำให้ประเด็นข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจนมีความชัดเจนขึ้น


สุภิญญา กลางณรงค์สุภิญญา กลางณรงค์*** "สุภิญญา- หมอลี่" ไม่เห็นด้วย
    นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช.  ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ ได้ทวิตข้อความ @ Supinya  ก่อนหน้านี้ว่า ไม่เห็นด้วยต่อการออกร่างประกาศดังกล่าวพร้อมกับตั้งคำถามว่าการออกร่างประกาศในครั้งนี้เป็นการต่อสัญญาสัมปทานหรือไม่ ที่สำคัญ กสทช. ไม่ดำเนินการเรื่องนี้ตั้งแต่วันรับตำแหน่งที่มีเวลา 2 ปี ที่เตรียมการในการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์
    ไม่เพียงเท่านั้น เธอยังเขียนข้อความอีกว่า กรณีคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ว่าจะมองมุมไหนนั้นก็คือการต่ออายุสัญญาสัมปทาน นอกจากขอคืนคลื่นความถี่ 1800-2300 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อที่จะนำมาประมูลคลื่นความถี่ 4 จีแล้ว แต่ทางออกไม่ใช่มาขอคืนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ของฝั่งกิจการโทรทัศน์เพื่อนำคลื่นความถี่ออกไปประมูล
    เช่นเดียวกับ น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา  (หมอลี่)กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตั้งคำถามว่า การออกร่างประกาศนั้นเน้นความต่อเนื่องการใช้งานของผู้บริโภค หรือเน้นความสำคัญของผู้ให้บริการที่ได้รับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เมื่อสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่หมดอายุผู้ให้บริการก็ต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบข้อมูลและให้ขอสิทธิ์โอนเลขหมายไประบบอื่น
  น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศาน.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา  "ไม่ใช่จะชอบเจ้าไหนก็จะให้เจ้านั้น กรณีถ้าเอกชนต้องการเยียวยาลูกค้าเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานก็ต้องบอกลูกค้าให้ชัดเจน เรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ได้กำหนดนโยบายชัดเจนล่วงหน้า"
    หมอลี่ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า   สมาคมจีเอสเอ็ม (The GSM Association: GSMA) ได้มีการกำหนดนโยบายไว้ล่วงหน้าหากสัญญาสัมปทานใกล้หมดอายุต้องกำหนดแนวทางภายในระยะเวลา 3-5 ปี เช่นเดียวกับที่ประเทศอังกฤษ กำหนดแนวทางการหมดอายุสัญญาสัมปทานไว้ 5 ปี ไม่ใช่สัญญาสัมปทานหมดอายุ 2-3 เดือนถึงออกกฎกติกาดังนั้น กสทช. ต้องสร้างความชัดเจน เช่นเดียวกับ การออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ต้องออกมาตรการชัดเจนล่วงหน้า 3-5 ปีหลังจากที่ใบอนุญาตหมดอายุลงภายใน 15 ปี
    "สมาคม GSMA ได้มีกรอบมีแผนปฏิบัติการในเรื่องนี้แต่ กสทช. ไม่ได้ศึกษาในเรื่องนี้อย่างจริงจังเพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านโครงสร้างอุตสาหกรรม การทำแบบนี้อ้างผู้บริโภคเป็นตัวประกัน เมื่อสัญญาสัมปทานใกล้หมดอายุ กสทช.ในฐานะกำกับดูแลต้องเตรียมแผนล่วงหน้าแล้วนี้ยังมีสัญญาสัมปทานของ เอไอเอส เหลืออีก 2 ปี และ ดีแทค อีก 5 ปีเรื่องนี้ต้องมีความชัดเจนเช่นเดียวกัน"


*** "นิด้า-อัยการสูงสุด"ชี้ขัดกฎหมาย
    ขณะที่นักวิชาการแสดงความไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ โดยนายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย เพราะขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายเพราะช่วงเวลานี้อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เพราะการเปลี่ยนผ่านต้องทำล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน
    นอกจากนี้แล้วเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา กสทช. มีการประชุมสรุปการประชุมประเด็นข้อกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุมโดย ศ.เข็มชัย ชุติวงศ์ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด แสดงความเห็นว่า ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่มีข้อใดที่อนุญาตให้สามารถขยายเวลาให้บริการต่อได้เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุด เนื่องจาก พ.ร.บ. องค์กรฯ พ.ศ. 2553 กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นความถี่ที่ชัดเจนอยู่แล้วตามแผนแม่บทฯ ที่กำหนดให้คืนคลื่นเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ตามเจตนารมณ์ของการตรา พ.ร.บ. องค์กรฯ พ.ศ. 2553 นั้นมีความชัดเจนว่า ต้องการให้คลื่นความถี่เปลี่ยนจากการเป็นสมบัติชาติมาเป็นสมบัติสาธารณะ โดยมี กสทช. เป็นผู้จัดการ จึงต้องการให้คลื่นความถี่ที่หมดพันธะได้รับการส่งคืนมายัง กสทช.

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=190315:-1800&catid=123:2009-02-08-11-
44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.