Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูล4G) วิเชียร CEO AIS ( ขอเร่งแก้ไขด้านคุณภาพ 3G 2100 รับลูกค้าใช้มากรองรับไม่พอ) เข้าประมูลคลื่น 1800 แน่นอนเพราะคลื่น 1800 ถือเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าสูงมาก


ประเด็นหลัก



เขา เล่าว่า ปัจจุบันเอไอเอสมีลูกค้าใช้ 3จีใหม่บนเอดับบลิวเอ็นแล้ว 4.3 ล้านราย มีเครือข่ายครอบคลุมหัวเมือง 67 จังหวัด ด้วยสถานีฐาน 6,000 สถานีฐาน นอกจากนั้น เดือนส.ค.นี้จะครอบคลุมหัวเมืองทั้ง 77 จังหวัด ด้วยจำนวนสถานีฐานมากกว่า 8,000 แห่ง และเครือข่ายในอาคารมากกว่า 1,000 แห่ง

ดังนั้น เอไอเอสจะร่วมกับพาร์ทเนอร์ 3 แบรนด์ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ เพราะวางจำหน่ายโทรศัพท์มือถือโออีเอ็มมาให้บริการแก่ลูกค้าวงกว้างมากขึ้น และกระจายไปยังลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัด โดยประกอบด้วย เอเซอร์ สามารถ ไอ-โมบาย และแซดทีอี ซึ่งจะแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในเดือน ก.ค.นี้

"การตลาดที่ทำอยู่ เราไม่หวังแย่งลูกค้าจากคู่แข่ง แต่ทุกรายมุ่งไปที่การรักษาฐานลูกค้าเดิม ด้วยการนำเสนอแฮนด์เซ็ต คุณภาพโครงข่าย บวกกับคอนเท้นต์ที่มีให้เลือกหลากหลาย"


"ถามว่าเราจะเข้าประมูลคลื่น 1800 หรือไม่ เอไอเอสยืนยันมาตลอดว่าประสงค์จะเข้าประมูลคลื่น 1800 หรือ 4จีอย่างแน่นอน เพราะคลื่น 1800 ถือเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าสูงมาก"

นอกจากนี้ ยอมรับว่า คลื่น 3จี 2100 ที่มีอยู่ หากปริมาณลูกค้ายังมีเข้ามา แน่นอนว่ามีไม่เพียงพอ และเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับทีโอที เดือนต.ค.2558 เอไอเอสก็ยินดีที่จะให้ กสทช. นำคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ไปเปิดประมูลพร้อมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อไม่ต้องมีช่วงเวลาการเยียวยาลูกค้า

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านและการออกมาตรการเยียวยาลูกค้า กทค. ไม่ควรเปลี่ยนแปลงรายละเอียด หรือเงื่อนไขที่แตกต่างจากสัมปทานเดิมที่ใช้มานานกว่า 15 ปี ทั้งการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ และการให้สิทธิการให้บริการลูกค้า

ชำแหละอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์

แนวความคิดการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์) ร่วมกับโอเปอเรเตอร์อีก 2 ราย โดยการนำเสาสัญญาณโทรคมนาคมทั้งหมด มาเป็นสินทรัพย์ในกองทุนดังกล่าว ทั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องเสาสัญญาณภายในสิ้นปีนี้ตามที่เป็นข่าวไป ขณะนี้ ยังสรุปไม่ได้ว่าจะจัดตั้งได้สำเร็จหรือไม่

เขา อธิบายว่า หน่วยงานที่ต้องเป็นตัวกลาง หรือเป็นเจ้าภาพหากต้องการจะทำให้อินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ หรือแม้แต่การจัดตั้งบริษัท ทาวเวอร์ คัมพะนี จำกัด ต้องให้ทีโอที และกสท โทรคมนาคม หรืออาจจะมีนโยบายออกมาจากผู้กำกับดูแลเลย

เพราะขณะนี้ หากนำทรัพย์สิน อุปกรณ์โทรคมนาคมมารวมกัน เอกชนต้องพิจารณาอีกว่า เมื่อลงทุนทำไปแล้ว ผู้มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นคือใคร หากสรุปว่าเป็นของรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 องค์กรดังกล่าว แล้วผู้ถือหุ้นใหญ่ของ 2 องค์กรก็คือกระทรวงการคลัง ดังนั้น จึงหนีไม่พ้นที่จะตกเป็นของรัฐบาลไปโดยปริยาย












______________________________________




วิเชียร เมฆตระการ บนความเสี่ยงเกม "3จี"

โดย : ปานฉัตร สินสุข


3จี 2100เมกะเฮิรตซ์ เปิดให้บริการมากว่า 2เดือน แต่ด้วยความคาดหวังและชื่อชั้นของเอไอเอสทำให้มีเสียงบ่นถึงบริการที่ยังถือว่าต่ำกว่า "มาตรฐาน"


3จี 2100 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หรือ เอดับบลิวเอ็น ภายใต้เงาบริษัทแม่อย่าง "เอไอเอส" เปิดให้บริการ มากว่า 2 เดือน และพยายามเร่งความเร็วกวาดลูกค้ามาได้มากที่สุดในบรรดาทั้ง 3 ค่ายมือถือคือ 4.3 ล้านราย แต่ด้วยความคาดหวังและชื่อชั้นของเอไอเอสทำให้ยังมีเสียงบ่นจากลูกค้าถึงบริการที่ยังถือว่าต่ำกว่า "มาตรฐาน"

"วิเชียร เมฆตระการ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล้ายอมรับว่า ทุกวันนี้โครงข่าย 3จี 2100 ของเอดับบลิวเอ็นยังไม่เสถียร และอาจมีปัญหาด้านการใช้งานอยู่บ้างในบางพื้นที่ ซึ่งทำให้การใช้งานดาต้า หรือโมบาย บรอดแบนด์ สะดุดไป หรือความเร็วลดลง แต่เรื่องนี้บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจแน่นอน และพยายามปิดช่องโหว่ให้เร็วที่สุด

บริการ"3จี"ความเสี่ยงที่รออยู่

เขา เล่าว่า ปัจจุบันเอไอเอสมีลูกค้าใช้ 3จีใหม่บนเอดับบลิวเอ็นแล้ว 4.3 ล้านราย มีเครือข่ายครอบคลุมหัวเมือง 67 จังหวัด ด้วยสถานีฐาน 6,000 สถานีฐาน นอกจากนั้น เดือนส.ค.นี้จะครอบคลุมหัวเมืองทั้ง 77 จังหวัด ด้วยจำนวนสถานีฐานมากกว่า 8,000 แห่ง และเครือข่ายในอาคารมากกว่า 1,000 แห่ง

คาดว่าภายในเดือนธ.ค.นี้ จะครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ ด้วยจำนวนสถานีฐานเบื้องต้นมากกว่า 10,000 แห่ง พร้อมเครือข่ายในอาคารมากกว่า 1,500 แห่ง โดยงบประมาณสำหรับการลงทุนรวมทั้งหมด 3จียังอยู่ที่ 70,000 ล้านบาท และไม่ว่าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จะตกต่ำลงตามเศรษฐกิจโลก แต่การลงทุนก็ยังต้องเป็นไปตามเดิม ยกเลิกไม่ได้แล้ว

"เอไอเอสก็เหมือนธนูที่เหนี่ยวไกออกไปแล้ว ผมไม่รู้ว่าอนาคตการแข่งขันจะแรงขนาดไหน เราจะสู้กับคู่แข่งได้หรือไม่ ทุกวันนี้การให้บริการยอมรับว่ามีความเสี่ยงอยู่มาก ตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังผัวผวน แต่ 3จี ผมทำแล้ว เอไอเอสลงทุนไปแล้ว เราถอยไม่ได้"

ทั้งนี้ การขยายสถานีฐานนั้นถือได้ว่าเร็วกว่าเป้าหมายที่เคยวางไว้ราว 4-5 เดือน เพราะเดิมคาดว่าสถานีฐานจะครอบคลุมทั่วประเทศในปลายปี สิ่งที่เอไอเอสต้องเร่งเพราะลูกค้ามีเข้ามามาก หากสถานีฐานมีน้อย โครงข่ายไม่ครอบคลุม จนทำให้คุณภาพของบริการแย่ลง เป็นสิ่งที่บริษัทรับไม่ได้

อย่างไรก็ดี เป้าหมายของเอดับบลิวเอ็นยังยืนยันลูกค้า 3จี2100 ที่ 10 ล้านรายในปีนี้ จากที่เอไอเอสได้ขออนุมัติเลขหมาย 3จีจาก กสทช. ไปเมื่อต้นปีราว 14.5 ล้านเลข ในเมื่อมีเป้าหมายแล้ว สิ่งที่ทำได้ขณะนี้คือ ลงทุน ขยายโครงข่าย ให้บริการ เรื่องอื่นบริษัทไปกำหนดอะไรไม่ได้

เกมโอนลูกค้ามาสู่ใบอนุญาตใหม่

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส มองแนวโน้มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมครึ่งปีหลังว่า สภาพการแข่งขันของโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย จะเห็นการพยายามดึงลูกค้ามาสู่ใบอนุญาตใหม่ ด้วยเหตุผลหลักๆ คือการลดรายจ่ายด้านการกำกับดูแล คือ ปัจจุบันโอเปอเรเตอร์ในสัญญาสัมปทานต้องเสียส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ บมจ.ทีโอที กับ บมจ. กสท โทรคมนาคม รายละ 25-30% แต่เมื่อมาอยู่บนไลเซ่น 3จี 2100 ค่าใช้จ่ายจะเหลือเพียง 5.25%

"ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน ไม่ใช่เฉพาะเอไอเอส ทุกคนก็พยายามดึงลูกค้ามาในฐานให้ได้มากที่สุด ทุกรายเป็นบริษัทมหาชน มีผู้ถือหุ้นเป็นหลัก ดังนั้น หากเราไม่ย้ายลูกค้ามาก็จะตอบคำถามผู้ถือหุ้น หรือแม้แต่นักลงทุนในตลาดไม่ได้"

จากอัตราการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้โมบาย อินเทอร์เน็ตปีละ 30-35% คาดว่าปีนี้มีผู้ใช้โมบาย อินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายของเอไอเอสจะเพิ่มเป็น 15 ล้านราย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 13 ล้านราย ยอมรับว่าส่วนหนึ่งที่วงการใช้งานโมบาย อินเทอร์เน็ตยังมีข้อจำกัดที่อุปกรณ์รองรับ เครื่องลูกข่าย เพราะฐานลูกค้าโดยรวมของเอไอเอสยังมีมากถึง 36 ล้านราย

ดังนั้น เอไอเอสจะร่วมกับพาร์ทเนอร์ 3 แบรนด์ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ เพราะวางจำหน่ายโทรศัพท์มือถือโออีเอ็มมาให้บริการแก่ลูกค้าวงกว้างมากขึ้น และกระจายไปยังลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัด โดยประกอบด้วย เอเซอร์ สามารถ ไอ-โมบาย และแซดทีอี ซึ่งจะแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในเดือน ก.ค.นี้

"การตลาดที่ทำอยู่ เราไม่หวังแย่งลูกค้าจากคู่แข่ง แต่ทุกรายมุ่งไปที่การรักษาฐานลูกค้าเดิม ด้วยการนำเสนอแฮนด์เซ็ต คุณภาพโครงข่าย บวกกับคอนเท้นต์ที่มีให้เลือกหลากหลาย"

ประมูล1800-แผนคืนคลื่นเก่า

นายวิเชียร กล่าวว่า การหมดสัญญาสัมปทานของบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) บริษัทลูกเอไอเอสในเดือนก.ย.นี้ บริษัทยืนยันในเจตนามาตลอดว่า ดีพีซีเห็นด้วยในหลักการของ กสทช. ที่มีมติออกร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์

ในแง่ของข้อเสนอแนะ ต้องการให้ กสทช. กำหนดวันเวลาที่ชัดเจนในการสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยา ซึ่งเขาเห็นว่า กรอบการเยียวยาการต่ออายุการใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 ต่อไปควรมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หรือต้องไม่เกินวันที่ 30 ก.ย.2557 และการประมูลคลื่น 1800 เพื่อนำมาทำประมูล 4จี และขั้นตอนการประมูลนั้นควรเสร็จให้ทันภายในปี 2557 ด้วย

"ถามว่าเราจะเข้าประมูลคลื่น 1800 หรือไม่ เอไอเอสยืนยันมาตลอดว่าประสงค์จะเข้าประมูลคลื่น 1800 หรือ 4จีอย่างแน่นอน เพราะคลื่น 1800 ถือเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าสูงมาก"

นอกจากนี้ ยอมรับว่า คลื่น 3จี 2100 ที่มีอยู่ หากปริมาณลูกค้ายังมีเข้ามา แน่นอนว่ามีไม่เพียงพอ และเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับทีโอที เดือนต.ค.2558 เอไอเอสก็ยินดีที่จะให้ กสทช. นำคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ไปเปิดประมูลพร้อมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อไม่ต้องมีช่วงเวลาการเยียวยาลูกค้า

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านและการออกมาตรการเยียวยาลูกค้า กทค. ไม่ควรเปลี่ยนแปลงรายละเอียด หรือเงื่อนไขที่แตกต่างจากสัมปทานเดิมที่ใช้มานานกว่า 15 ปี ทั้งการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ และการให้สิทธิการให้บริการลูกค้า

ชำแหละอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์

แนวความคิดการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์) ร่วมกับโอเปอเรเตอร์อีก 2 ราย โดยการนำเสาสัญญาณโทรคมนาคมทั้งหมด มาเป็นสินทรัพย์ในกองทุนดังกล่าว ทั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องเสาสัญญาณภายในสิ้นปีนี้ตามที่เป็นข่าวไป ขณะนี้ ยังสรุปไม่ได้ว่าจะจัดตั้งได้สำเร็จหรือไม่

เขา อธิบายว่า หน่วยงานที่ต้องเป็นตัวกลาง หรือเป็นเจ้าภาพหากต้องการจะทำให้อินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ หรือแม้แต่การจัดตั้งบริษัท ทาวเวอร์ คัมพะนี จำกัด ต้องให้ทีโอที และกสท โทรคมนาคม หรืออาจจะมีนโยบายออกมาจากผู้กำกับดูแลเลย

เพราะขณะนี้ หากนำทรัพย์สิน อุปกรณ์โทรคมนาคมมารวมกัน เอกชนต้องพิจารณาอีกว่า เมื่อลงทุนทำไปแล้ว ผู้มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นคือใคร หากสรุปว่าเป็นของรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 องค์กรดังกล่าว แล้วผู้ถือหุ้นใหญ่ของ 2 องค์กรก็คือกระทรวงการคลัง ดังนั้น จึงหนีไม่พ้นที่จะตกเป็นของรัฐบาลไปโดยปริยาย

แนวความคิดการจัดตั้งอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ หรือการตั้งทาวเวอร์ คัมพะนี จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ อยู่ที่ว่า เสาส่งมอบครบหมดแล้วหรือไม่ หรือยังไม่ส่งมอบ ต้องสรุปให้แน่จะทำอย่างไร และทุกรายในอุตสาหกรรมต้องปฎิบัติให้เหมือนกันด้วย


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130715/517288/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B
8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3-
%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B
8%A3-
%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%
B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1-
3%E0%B8%88%E0%B8%B5.html


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130715/517267/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8
%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%
E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%
81%E0%B8%A1-3%E0%B8%88%E0%B8%B5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.