Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

3 กรกฎาคม 2556 ปลายปีต่างแต่แรงทั้งคู่!! AISmPAY เตรียมดึงคนเป็นล้านขึ้นBTS(แรบบิตการ์ด)ผ่านมือถือ(เพียงซิมการ์ดอัจฉริยะและระบบ NFC) // TRUE MONEY เตรียมออกบัตร VISA



ประเด็นหลัก



"ระบบความปลอดภัยของผู้ให้บริการเอ็ม-คอมเมิร์ซยกระดับขึ้นมามากแล้ว ไม่ใช่แค่ OTP หรือ One-Time Password ประกอบด้วยระบบหลังบ้านที่ซับซ้อนมากขึ้น"

นอกจากนี้ เอ็มเปย์ให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลลูกค้า เพื่อเพิ่มความรู้ในการใช้งาน คาดว่าจะดึงมาใช้งานได้เพิ่มกว่า 1 ล้านรายในสิ้นปี เป็นผู้ใช้ประจำทุกเดือนมากกว่า 2.5 แสนราย และภายในเดือน ต.ค.นี้ บริษัทจะร่วมมือกับแรบบิตการ์ด และเปิดบริการ AIS mPAY Master Card ซึ่งแรบบิตการ์ดอยู่ในช่วงทดลองมีรูปแบบการใช้แบบ Touch & Go หรือนำโทรศัพท์มือถือไปแตะกับเครื่องอ่านข้อมูลก็ชำระเงินได้ หากมีซิมการ์ดอัจฉริยะ และระบบ NFC รวมถึงผูกผู้มีบัญชีกับบริษัทโดยตรง

สำหรับ AIS mPAY Master Card เปิดใช้แล้ว เป็นบัตรจำลองที่รูดซื้อสินค้าได้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยผูกกับบัญชีของผู้ใช้เอ็มเปย์ แต่ใช้ได้กับเว็บไซต์ที่ผูกบัญชีกับธนาคารที่อยู่ในไทย รวมถึงเว็บไซต์มีเซิร์ฟเวอร์ในไทยเช่นกัน เพราะติดเรื่องข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อนุญาตให้ทำธุรกรรมรูปแบบดังกล่าวเท่านั้น ถ้ารูดซื้อสินค้าออนไลน์ได้ในต่างประเทศมีโอกาสที่ลูกค้าจะเพิ่มขึ้นมาก

ด้านนายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด เปิดเผยว่า ใช้เวลากว่า 8 เดือน พัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อปรับโฉมหน้า "เอ็ม-คอมเมิร์ซ" ด้วย "True Money Wallet" ที่ใช้งานได้กับทุกค่ายมือถือ ต่างจากเดิมที่ผูกอยู่กับเบอร์โทรศัพท์ของแต่ละค่าย โดยแอปนี้จะโอนเงิน, เติมเงิน และชำระค่าบริการต่าง ๆ ได้ และในช่วงแรกมีโปรโมชั่นลดค่าธรรมเนียมการจ่ายบิลต่าง ๆ เหลือ 5 บาท จากปกติ 7 บาท ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 10-15 บาทต่อบิล เปิดให้ดาวน์โหลดกับระบบปฏิบัติการไอโอเอส วันที่ 15 ก.ค.นี้ ส่วนแอนดรอยด์จะได้เดือน ต.ค.การเติมเงินทำได้โดยผ่านบัญชีธนาคาร, เอทีเอ็ม, ทรูช็อป รวมถึงซีพี เฟรชมาร์ท และตู้ทรู มันนี่ สูงสุด 5 หมื่นบาทต่อวัน หากต้องการเติมมากกว่านั้น ต้องไปแสดงตัวที่ทรูช็อป ส่วนความปลอดภัย บริษัทลงทุนเฉพาะเรื่องนี้ 20-30 ล้านบาทต่อปี

นายปุณณมาศกล่าวต่อว่า ปลายปีนี้จะออกบัตรแข็งร่วมกับ VISA เพื่อใช้ซื้อสินค้าตามร้านค้าปลีกได้ บัตรนี้จะผูกกับบัญชีทรู มันนี่ คล้ายบัตรเดบิต เมื่อรวมทุกปัจจัย มีโอกาสที่ลูกค้า และมูลค่าทรานเซ็กชั่นผ่าน ทรู มันนี่ จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 หมื่นล้านบาท จากเดิม 3 หมื่นล้านบาท ส่วนลูกค้ากลุ่มที่ใช้ประจำจะเพิ่มเป็น 1 ล้านราย ทำให้มีรายได้เกินพันล้านบาท




______________________________________






ค่ายมือถือระเบิดศึกเอ็ม-คอมเมิร์ซ "เอ็มเปย์"ปะทะ"ทรูมันนี่"ดันยอดใช้ทะลุแสนล้าน


ค่ายมือถือระเบิดศึกเอ็ม-คอมเมิร์ซ "เอไอเอส" ดัน "เอ็มเปย์" ผนึก "แรบบิตการ์ด" บุกตลาดออฟไลน์ ดีเดย์ ต.ค.นี้ จับมือ "มาสเตอร์การ์ด" รูดออนไลน์ ดันยอดทรานเซ็กชั่นทะลุ 6 หมื่นล้านบาท ฟาก "ทรู มันนี่" ยกเครื่องบริการใช้ได้ทุกค่าย เตรียมออก "เดบิตวีซ่า" รูดซื้อสินค้า



นายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอ็ดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด ในเครือเอไอเอส ผู้ให้บริการรับชำระค่าบริการผ่านโทรศัพท์มือถือ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดรวมเอ็ม-คอมเมิร์ซ หรือการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือเติบโตขึ้นรวดเร็วจากราคาสมาร์ทโฟนที่มีราคาถูกลงมาก ประกอบกับผู้บริโภคที่หันมาทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น เติมเงิน หรือโอนเงินไปใช้บนโลกออนไลน์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มูลค่าตลาดรวมยังไม่ชัดเจนนัก แต่การเติบโตอ้างอิงจากการใช้งาน "เอ็มเปย์" ได้ เพราะ 2-3 ปีมานี้ ในแง่ทรานเซ็กชั่นเพิ่มขึ้น 30-40% โดยในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าถึง 3 หมื่นล้านบาท มาจากการเติมเงิน และชำระค่าบริการเอไอเอส เป็นหลัก มีลูกค้าลงทะเบียนเกือบล้านไอดีและปีนี้ ยอดทรานเซ็กชั่นจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว หรือเป็น 6 หมื่นล้านบาท จากความไว้ใจของผู้บริโภคมีมากขึ้น โดยเฉพาะการชำระบิลที่เพิ่มขึ้น 50-60% ทำให้ขึ้นมามีสัดส่วน 30-35% จากทรานเซ็กชั่นทั้งหมด เทียบเท่ากับการเติมเงิน และชำระค่าบริการมือถือที่ลดลงมาเหลือ 30-35% ส่วนการเติมเงินเกมออนไลน์ และช็อปปิ้งออนไลน์มี 5-10% คาดว่าอีกไม่กี่ปีจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ



"ระบบความปลอดภัยของผู้ให้บริการเอ็ม-คอมเมิร์ซยกระดับขึ้นมามากแล้ว ไม่ใช่แค่ OTP หรือ One-Time Password ประกอบด้วยระบบหลังบ้านที่ซับซ้อนมากขึ้น"

นอกจากนี้ เอ็มเปย์ให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลลูกค้า เพื่อเพิ่มความรู้ในการใช้งาน คาดว่าจะดึงมาใช้งานได้เพิ่มกว่า 1 ล้านรายในสิ้นปี เป็นผู้ใช้ประจำทุกเดือนมากกว่า 2.5 แสนราย และภายในเดือน ต.ค.นี้ บริษัทจะร่วมมือกับแรบบิตการ์ด และเปิดบริการ AIS mPAY Master Card ซึ่งแรบบิตการ์ดอยู่ในช่วงทดลองมีรูปแบบการใช้แบบ Touch & Go หรือนำโทรศัพท์มือถือไปแตะกับเครื่องอ่านข้อมูลก็ชำระเงินได้ หากมีซิมการ์ดอัจฉริยะ และระบบ NFC รวมถึงผูกผู้มีบัญชีกับบริษัทโดยตรง

สำหรับ AIS mPAY Master Card เปิดใช้แล้ว เป็นบัตรจำลองที่รูดซื้อสินค้าได้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยผูกกับบัญชีของผู้ใช้เอ็มเปย์ แต่ใช้ได้กับเว็บไซต์ที่ผูกบัญชีกับธนาคารที่อยู่ในไทย รวมถึงเว็บไซต์มีเซิร์ฟเวอร์ในไทยเช่นกัน เพราะติดเรื่องข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อนุญาตให้ทำธุรกรรมรูปแบบดังกล่าวเท่านั้น ถ้ารูดซื้อสินค้าออนไลน์ได้ในต่างประเทศมีโอกาสที่ลูกค้าจะเพิ่มขึ้นมาก

ด้านนายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด เปิดเผยว่า ใช้เวลากว่า 8 เดือน พัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อปรับโฉมหน้า "เอ็ม-คอมเมิร์ซ" ด้วย "True Money Wallet" ที่ใช้งานได้กับทุกค่ายมือถือ ต่างจากเดิมที่ผูกอยู่กับเบอร์โทรศัพท์ของแต่ละค่าย โดยแอปนี้จะโอนเงิน, เติมเงิน และชำระค่าบริการต่าง ๆ ได้ และในช่วงแรกมีโปรโมชั่นลดค่าธรรมเนียมการจ่ายบิลต่าง ๆ เหลือ 5 บาท จากปกติ 7 บาท ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 10-15 บาทต่อบิล เปิดให้ดาวน์โหลดกับระบบปฏิบัติการไอโอเอส วันที่ 15 ก.ค.นี้ ส่วนแอนดรอยด์จะได้เดือน ต.ค.การเติมเงินทำได้โดยผ่านบัญชีธนาคาร, เอทีเอ็ม, ทรูช็อป รวมถึงซีพี เฟรชมาร์ท และตู้ทรู มันนี่ สูงสุด 5 หมื่นบาทต่อวัน หากต้องการเติมมากกว่านั้น ต้องไปแสดงตัวที่ทรูช็อป ส่วนความปลอดภัย บริษัทลงทุนเฉพาะเรื่องนี้ 20-30 ล้านบาทต่อปี

"การโจรกรรมข้อมูลช่วยให้ True Money Wallet มีผู้ใช้มากขึ้น เพราะลูกค้าลดการใช้ธนาคาร หรือการให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อช็อปปิ้งออนไลน์ แต่หันมาใช้เอ็ม-คอมเมิร์ซ ที่กรอกข้อมูลครั้งเดียว แต่ชำระเงินได้ทุกรูปแบบทุกร้านค้าใช้ได้ทุกค่าย ถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะเดิมลูกค้าค่ายไหนจะใช้ได้กับค่ายนั้น ทรู มันนี่ มีผู้ใช้บริการ 6 ล้านราย เป็นผู้ที่ใช้งานเป็นประจำ 5 แสนราย"

นายปุณณมาศกล่าวต่อว่า ปลายปีนี้จะออกบัตรแข็งร่วมกับ VISA เพื่อใช้ซื้อสินค้าตามร้านค้าปลีกได้ บัตรนี้จะผูกกับบัญชีทรู มันนี่ คล้ายบัตรเดบิต เมื่อรวมทุกปัจจัย มีโอกาสที่ลูกค้า และมูลค่าทรานเซ็กชั่นผ่าน ทรู มันนี่ จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 หมื่นล้านบาท จากเดิม 3 หมื่นล้านบาท ส่วนลูกค้ากลุ่มที่ใช้ประจำจะเพิ่มเป็น 1 ล้านราย ทำให้มีรายได้เกินพันล้านบาท

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1372925947

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.