Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 สิงหาคม 2556 บริษัทวิจัยระดับโลกชี้ตลาดยังคงชะลอตัว!! (ชัดเจนลดราคาแทบเล็ตเซอร์เฟซขายไม่ออกตามเป้า) คาดเริ่มกลับคึกคักอีกครั้งเมื่อไอแพดรุ่นใหม่จากค่ายแอ๊ปเปิ้ลออกว่างตลาด


ประเด็นหลัก


ไอโอเอสเสียแชมป์

บริษัทวิจัยไอดีซีรายงานว่า ยอดขายแทบเล็ตไตรมาสที่ 2 ทั่วโลกชะลอลงเล็กน้อย หากเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2556 พบว่าลดลงประมาณ 9.7% ทว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปี 2555 เติบโตขึ้นเกือบ 60% ยอดขาย 45.1 ล้านเครื่อง

ทั้งนี้ สาเหตุหลักเกิดจากลูกค้าชะลอตัดสินใจรอไอแพดรุ่นใหม่จากค่ายแอ๊ปเปิ้ล คาดว่าตลาดจะกลับมาคึกคักอย่างมากอีกครั้งช่วงปลายปีจนถึงต้นปีหน้าที่จะมีสินค้าใหม่จากหลายแบรนด์ผู้ผลิต เช่น แอ๊ปเปิ้ล และอะเมซอนออกจำหน่าย

ข้อมูลระบุว่า ไตรมาสเดียวกันนี้ไอแพดมียอดขาย 14.6 ล้านเครื่อง ลดลงจากปีก่อนหน้า 14.1% ที่มียอดขาย 17 ล้านเครื่อง แต่ยังครองอันดับ 1 ตลาดด้วยส่วนแบ่ง 32.4% ตามด้วยซัมซุง 8.1 ล้านเครื่อง 18% เอซุส 2 ล้านเครื่อง 4.5% เลอโนโว 1.5 ล้านเครื่อง 3.3% และเอเซอร์ 1.4 ล้านเครื่อง 3.1%

อย่างไรก็ตาม มองแง่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ครองส่วนแบ่งกว่า 62.6% ไอโอเอส 32.5% ตรงข้ามกับปีก่อนที่แอนดรอยด์มีเพียง 38% แอ๊ปเปิ้ล 60.3%


ดัมพ์ราคา“เซอร์เฟซ”

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ยักษ์ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ ประกาศลดราคาแทบเล็ตเซอร์เฟซรุ่นโปรอีก 100 ดอลลาร์ เพื่อแข่งขันกับไอแพดจากแอ๊ปเปิ้ลและคู่แข่งที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จากเดิมราคา 899 และ 999 ดอลลาร์ เหลือ 799 และ 899 ดอลลาร์ ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี เบื้องต้นราคาที่ลดลงมีแค่ที่ตลาดประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน แคนาดา และสหรัฐ ถึงวันที่ 29 ส.ค.เท่านั้น

ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์ลดราคาเซอร์เฟซอาร์ที 30% หลังจากยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า จาก 499 ดอลลาร์ เหลือ 349 ดอลลาร์



























______________________________________




โค้งสุดท้ายอุตฯไอที บนความเสี่ยงเกมธุรกิจ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สำรวจดัชนีบริษัทวิจัยระดับโลก-ผู้ประกอบการ สะท้อนตลาดไอทีช่วงรอยต่ออุตสาหกรรม


ท่ามกลางรอยต่อของอุตสาหกรรมไฮเทค ที่เส้นแบ่งระหว่างตลาดภาคธุรกิจและคอนซูเมอร์เริ่มเบาบาง ทับซ้อนกันจนแยกแทบไม่ออก บริษัทในแวดวงต่างกำลังเร่งปรับกลยุทธ์ พร้อมปลุกกระแสใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

ต่อไปนี้คือดัชนีชี้วัดที่น่าสนใจโดยบริษัทวิจัยระดับโลก และความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ประกอบการชั้นนำ อีกหนึ่งภาพสะท้อนตลาด แผนการปรับตัวเพื่อเพิ่มทางอยู่รอด และโอกาสธุรกิจที่ต้องยอมเสี่ยง...

ไอโอเอสเสียแชมป์

บริษัทวิจัยไอดีซีรายงานว่า ยอดขายแทบเล็ตไตรมาสที่ 2 ทั่วโลกชะลอลงเล็กน้อย หากเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2556 พบว่าลดลงประมาณ 9.7% ทว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปี 2555 เติบโตขึ้นเกือบ 60% ยอดขาย 45.1 ล้านเครื่อง

ทั้งนี้ สาเหตุหลักเกิดจากลูกค้าชะลอตัดสินใจรอไอแพดรุ่นใหม่จากค่ายแอ๊ปเปิ้ล คาดว่าตลาดจะกลับมาคึกคักอย่างมากอีกครั้งช่วงปลายปีจนถึงต้นปีหน้าที่จะมีสินค้าใหม่จากหลายแบรนด์ผู้ผลิต เช่น แอ๊ปเปิ้ล และอะเมซอนออกจำหน่าย

ข้อมูลระบุว่า ไตรมาสเดียวกันนี้ไอแพดมียอดขาย 14.6 ล้านเครื่อง ลดลงจากปีก่อนหน้า 14.1% ที่มียอดขาย 17 ล้านเครื่อง แต่ยังครองอันดับ 1 ตลาดด้วยส่วนแบ่ง 32.4% ตามด้วยซัมซุง 8.1 ล้านเครื่อง 18% เอซุส 2 ล้านเครื่อง 4.5% เลอโนโว 1.5 ล้านเครื่อง 3.3% และเอเซอร์ 1.4 ล้านเครื่อง 3.1%

อย่างไรก็ตาม มองแง่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ครองส่วนแบ่งกว่า 62.6% ไอโอเอส 32.5% ตรงข้ามกับปีก่อนที่แอนดรอยด์มีเพียง 38% แอ๊ปเปิ้ล 60.3%

รอลุ้นไอแพดใหม่

นายทอม ไมเนลลี ผู้อำนวยการวิจัย แทบเล็ต กล่าวว่า การเปิดตัวไอแพดรุ่นใหม่มักสร้างความตื่นเต้นให้ตลาดได้เสมอ ขณะเดียวกันส่งผลดีกับทั้งตัวแอ๊ปเปิ้ลและคู่แข่งรายอื่นๆ

นักวิเคราะห์ประเมินว่า ยอดขายแทบเล็ตจะเติบโตแบบก้าวกระโดดต่อเนื่อง ในตลาดที่พัฒนาแล้วมีโอกาสที่ตำแหน่งทางการตลาดปรับเปลี่ยนจากสินค้าตลาดแมสไปสู่ขั้นกว่าในฐานะหนึ่งในอุปกรณ์หลักที่คอนซูเมอร์ซี่งมีไลฟ์สไตล์อยู่บนโลกออนไลน์จำเป็นต้องมีไว้ใช้งาน

นายไรอัน ไรท์ นักวิเคราะห์สายงานโมบิลิตี้ ไอดีซี ชี้ว่า ตลาดแทบเล็ตยังอยู่ระหว่างการพัฒนา ดังนั้นผู้ผลิตทุกรายย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จหรือตกต่ำได้อย่างรวดเร็ว แอ๊ปเปิ้ลแม้ครองความเป็นผู้นำแต่ไม่อาจประมาทได้ เพราะรายอื่นๆ กำลังพยายามพัฒนากลยุทธ์และผลิตภัณฑ์เพื่อช่วงชิงความสำเร็จในระยะยาว

ดัมพ์ราคา“เซอร์เฟซ”

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ยักษ์ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ ประกาศลดราคาแทบเล็ตเซอร์เฟซรุ่นโปรอีก 100 ดอลลาร์ เพื่อแข่งขันกับไอแพดจากแอ๊ปเปิ้ลและคู่แข่งที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จากเดิมราคา 899 และ 999 ดอลลาร์ เหลือ 799 และ 899 ดอลลาร์ ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี เบื้องต้นราคาที่ลดลงมีแค่ที่ตลาดประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน แคนาดา และสหรัฐ ถึงวันที่ 29 ส.ค.เท่านั้น

ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์ลดราคาเซอร์เฟซอาร์ที 30% หลังจากยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า จาก 499 ดอลลาร์ เหลือ 349 ดอลลาร์

ยักษ์ฟ้าหั่นงบลดเสี่ยง

ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจช่วงครึ่งปีหลัง สืบเนื่องจากตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระทั่งผลักดันให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีหลายรายเร่งปรับตัวลดความเสี่ยง ล่าสุด “ไอบีเอ็ม” ที่ได้รับผลพวงจากยอดขายฮาร์ดแวร์ลดลง เตรียมลดค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานกลุ่มธุรกิจฮาร์ดแวร์ในสหรัฐบางส่วนออกไป

นายเจย์ แคดมัส โฆษก ประจำกลุ่มธุรกิจซิสเต็มส์แอนด์เทคโนโลยี ไอบีเอ็ม กล่าวว่า สัปดาห์ที่เป็นวันหยุดประจำปีของพนักงานทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดซื้อจัดจ้าง จากเดิมที่จ่ายเงินเดือนเต็มอัตราจะลดเหลือ 1 ใน 3 ส่วน ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงจะไม่ได้รับค่าตอบแทนระหว่างนั้นเลย

รายงานข่าวประเมินว่า ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากความพยายามของยักษ์ฟ้าที่จะตัดค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาส่วนต่างกำไรให้ได้มากที่สุด อุดช่องโหว่รายได้กลุ่มฮาร์ดแวร์ เช่น เซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ ดีไวซ์ ที่ลดลงต่อเนื่อง

โตชิบาตั้งโรงงานใหม่

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่รุนแรง โตชิบาร่วมมือกับแซนดิสก์ คอร์ป ตั้งโรงงานผลิตเมมโมรีใหม่ในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้งบลงทุนกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตครั้งใหญ่รอบ 2 ปี

รายงานข่าวกล่าวว่า โตชิบาวางแผนให้โรงงานดังกล่าวผลิตชิพขนาด 16-17 นาโนเมตร ทั้งมีเป้าหมายเพิ่มแต้มต่อการแข่งขันกับยักษ์อิเล็กทรอนิกส์แดนโสม “ซัมซุง” คาดว่าเริ่มดำเนินงานได้อย่างเป็นทางการภายปีงบประมาณหน้า ในภาพรวมจะช่วยเพิ่มกำลังผลิตต่อเดือนได้อีกกว่า 20%

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130807/521909/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%87
%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8
%B8%E0%B8%95%E0%B8%AF%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5-
%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8
%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0
%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.