Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 สิงหาคม 2556 (แก้พ.ร.บ. กสทช.!!) กสทช.เศรษฐพงค์ ชี้ มาตรา 45 ที่ต้องให้ประมูลอย่างเดียวมันไม่สามารถทำได้ทุกเรื่อง // TDRI ชี้กฎหมายไม่ได้เป็นปัญหา นอกจากจะจงใจเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย


ประเด็นหลัก




โดย "น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" รัฐมนตรีไอซีทีระบุว่า ที่ต้องขอปรับแก้ พ.ร.บ.กสทช. เนื่องจากเนื้อหาบางประเด็นไม่ชัดเจน

ส่งผลให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตีความต่างกัน จนมีปัญหาในการดำเนินงาน และได้มีการหารือกันมาหลายรอบแล้วกับผู้เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่ายต่างเห็นด้วย

"ตอนบังคับใช้มีการตีความต่างกัน แม้แต่ กสทช.ยังโดนฟ้องร้อง เมื่อต้องปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.บ.นี้ การแก้ไขอาจต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปี เพราะต้องเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ"

ประเด็นที่ "ไอซีที" เห็นว่ามีปัญหา คือ มาตรา 46 ที่ระบุว่า การใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิ์เฉพาะตัวจะโอนแก่กันมิได้ ผู้ได้รับ

ใบอนุญาตต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง แต่อีกมาตราระบุให้มีการเช่าใช้โครงข่ายหรือสินทรัพย์ร่วมกันได้ ทำให้กฎหมายขัดกันเอง ขณะเดียวกัน ในส่วนของบทเฉพาะกาลควรสร้างความชัดเจน

เกี่ยวกับสิทธิ์ของรัฐวิสาหกิจเจ้าของสัมปทาน ทั้งสิทธิ์ในคลื่นหลังหมดสัมปทาน และการนำส่งรายได้จากส่วนแบ่งสัมปทานเข้าคลังโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละฝ่ายตีความต่างกัน ชี้ให้เห็นว่ากฎหมายมีจุดที่ไม่สมบูรณ์

ฝั่ง "กสทช.-พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" กล่าวว่า มีหลายประเด็นที่เป็นปัญหาควรแก้ไข หากกระทรวงไอซีทีเสนอให้มีการแก้ไขเมื่อใด "กสทช." ในฐานะผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายจะทำความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องแก้ไข เพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติเข้าไปด้วย

"มาตรา 45 กำหนดให้ต้องใช้วิธีประมูลเพื่อจัดสรรใบอนุญาตใช้คลื่น คือปัญหาที่เห็นได้ชัดว่าใช้ไม่ได้กับทุกเรื่อง อย่างการประมูลคลื่นในอวกาศเพื่อกิจการดาวเทียม ประมูลคลื่นที่ต้องนำไปใช้บนเครื่องบิน ไม่ได้

ใช้งานเฉพาะในเขตแดนประเทศไทย ผมถามหลายฝ่าย แม้กระทั่งคนที่ร่างกฎหมายนี้แล้วว่าจะทำได้อย่างไร ในเมื่อเป็นคลื่นสากลที่ประเทศทั่วโลกใช้ร่วมกัน ไทยไม่ใช่เจ้าของ เราจะเอามาประมูลเพื่อจัดสรรให้ใบอนุญาตได้อย่างไร ก็ไม่มีใครตอบได้"

ขณะที่การใช้คลื่นร่วมกัน (สเป็กตรัมแชริ่ง) ในมาตรา 46 ห้ามไม่ให้ทำ ก็ควรต้องมีการแก้ไข เพราะวิวัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้าไปจนมีโมเดลใหม่ ๆ ในการใช้คลื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิมมาก


ฟาก "ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยเฉพาะในการ

กำหนดให้ใช้วิธีการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ระบุว่า เป็นเรื่องปกติที่กฎหมายเมื่อประกาศใช้ไปแล้วจะมีการแก้ไขปรับปรุงให้เข้ายุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง แต่ในส่วนของ พ.ร.บ.กสทช.ประเด็นที่มีการหยิบยกมาว่าควรแก้ไข โดยส่วนตัวมองว่าไม่ได้เป็นประเด็น ไม่มีส่วนใดที่คลุมเครือหรือไม่ชัดเจน

"บทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.ที่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจอย่าง บมจ.ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ต้องนำส่งส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานเข้าสู่รัฐโดยตรง ก็เขียนไว้ชัดอยู่แล้ว การต้องให้ส่งคืนคลื่นหลังหมดสัมปทานก็เขียนไว้ชัดยิ่งกว่าชัด ไม่มีประเด็นไหนที่ไม่ชัด ยกเว้นว่าจะมีเจตนาจะฝ่าฝืนเลยอ้างว่ากฎหมายเขียนไว้ไม่ชัด

ขณะที่การจัดสรรคลื่นโดยการประมูลไม่ใช่อุปสรรค ปัญหาที่ผ่านมาในการจัดประมูลคลื่นของ กสทช.อยู่ที่การออกแบบการประมูลที่มีปัญหา และมองว่าไม่มีวิธีจัดสรรอื่นที่ดีกว่านี้สำหรับวงการโทรคมนาคม ก่อนหน้าที่จะมี พ.ร.บ.กสทช. กำหนดให้ต้องจัดสรรคลื่นด้วยการประมูล ตอนที่ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะจัดสรรคลื่น 2.1 GHz ก็เลือกใช้การประมูลเหมือนกัน ขณะที่กิจการบรอดแคสต์ยังไม่มีตัวอย่างที่จะเป็นปัญหา

สำหรับมาตรา 46 ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประกอบกิจการเอง "ดร.สมเกียรติ" อธิบายว่า แรก ๆ ก็มีข้อสงสัยว่าจะสามารถนำไปให้บริการแบบ MVNO ให้ผู้อื่นเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการได้หรือไม่ แต่เมื่อศึกษาข้อมูลแล้วพบว่าสามารถทำ MVNO ได้ ไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไร

"ผมมองว่ากฎหมายไม่ได้เป็นปัญหา นอกจากจะจงใจเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย หรือทำอะไรพิสดาร ๆ เช่น เอาคลื่นของรัฐวิสาหกิจไปให้เอกชนใช้ ฉะนั้น ถ้าทำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมาจะไม่เป็นปัญหา อย่างกรณีที่ กทค.ตัดสินใจยืดเวลาให้สัมปทานคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟและดีพีซีที่จะหมดสัมปทานในเดือน ก.ย.นี้ ก่อนหน้านี้ก็ยืนยันมาตลอดว่าจะจัดประมูลให้ทันก่อนสัมปทานหมด แต่เพิ่งมาเปลี่ยนใจเอง" ดร.สมเกียรติย้ำ






















______________________________________




"พ.ร.บ.กสทช." มีปัญหาต้องแก้ไข ปลดล็อกหรือเอื้อประโยชน์ ?


19 ธ.ค. 2553 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ไม่ถึง 3 ปี แต่ฝั่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เตรียมชงให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แก้ไขในหลายมาตรา

โดย "น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" รัฐมนตรีไอซีทีระบุว่า ที่ต้องขอปรับแก้ พ.ร.บ.กสทช. เนื่องจากเนื้อหาบางประเด็นไม่ชัดเจน

ส่งผลให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตีความต่างกัน จนมีปัญหาในการดำเนินงาน และได้มีการหารือกันมาหลายรอบแล้วกับผู้เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่ายต่างเห็นด้วย

"ตอนบังคับใช้มีการตีความต่างกัน แม้แต่ กสทช.ยังโดนฟ้องร้อง เมื่อต้องปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.บ.นี้ การแก้ไขอาจต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปี เพราะต้องเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ"

ประเด็นที่ "ไอซีที" เห็นว่ามีปัญหา คือ มาตรา 46 ที่ระบุว่า การใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิ์เฉพาะตัวจะโอนแก่กันมิได้ ผู้ได้รับ



ใบอนุญาตต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง แต่อีกมาตราระบุให้มีการเช่าใช้โครงข่ายหรือสินทรัพย์ร่วมกันได้ ทำให้กฎหมายขัดกันเอง ขณะเดียวกัน ในส่วนของบทเฉพาะกาลควรสร้างความชัดเจน

เกี่ยวกับสิทธิ์ของรัฐวิสาหกิจเจ้าของสัมปทาน ทั้งสิทธิ์ในคลื่นหลังหมดสัมปทาน และการนำส่งรายได้จากส่วนแบ่งสัมปทานเข้าคลังโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละฝ่ายตีความต่างกัน ชี้ให้เห็นว่ากฎหมายมีจุดที่ไม่สมบูรณ์

ฝั่ง "กสทช.-พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" กล่าวว่า มีหลายประเด็นที่เป็นปัญหาควรแก้ไข หากกระทรวงไอซีทีเสนอให้มีการแก้ไขเมื่อใด "กสทช." ในฐานะผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายจะทำความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องแก้ไข เพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติเข้าไปด้วย

"มาตรา 45 กำหนดให้ต้องใช้วิธีประมูลเพื่อจัดสรรใบอนุญาตใช้คลื่น คือปัญหาที่เห็นได้ชัดว่าใช้ไม่ได้กับทุกเรื่อง อย่างการประมูลคลื่นในอวกาศเพื่อกิจการดาวเทียม ประมูลคลื่นที่ต้องนำไปใช้บนเครื่องบิน ไม่ได้

ใช้งานเฉพาะในเขตแดนประเทศไทย ผมถามหลายฝ่าย แม้กระทั่งคนที่ร่างกฎหมายนี้แล้วว่าจะทำได้อย่างไร ในเมื่อเป็นคลื่นสากลที่ประเทศทั่วโลกใช้ร่วมกัน ไทยไม่ใช่เจ้าของ เราจะเอามาประมูลเพื่อจัดสรรให้ใบอนุญาตได้อย่างไร ก็ไม่มีใครตอบได้"

ขณะที่การใช้คลื่นร่วมกัน (สเป็กตรัมแชริ่ง) ในมาตรา 46 ห้ามไม่ให้ทำ ก็ควรต้องมีการแก้ไข เพราะวิวัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้าไปจนมีโมเดลใหม่ ๆ ในการใช้คลื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิมมาก

โดยแนวทางที่ "กสทช.-เศรษฐพงค์" อยากให้แก้ไข คือ ให้สามารถใช้โมเดลในการจัดสรรคลื่นที่หลากหลายได้ ไม่จำเป็นต้องใช้การประมูลอย่างเดียว แต่ให้เป็นการผสมระหว่างการประมูลกับการประกวดเงื่อนไขในการให้บริการ ซึ่งไม่ได้ดูเฉพาะ "ราคา" แต่พิจารณาจากข้อเสนอที่จะให้บริการประชาชน อาทิ ระยะเวลาในการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมคุณภาพ และอัตราค่าบริการ เป็นต้น แม้แต่ในประเทศพม่ายังใช้โมเดลนี้ เพราะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์มากกว่าการทุ่มเงินมาสู้กัน

ส่วนการเปิดให้มีการใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน จะอนุญาตแค่ให้ใช้งานร่วมกัน เป็นการ "แชร์ใช้" เพื่อให้มีการใช้คลื่นอย่างคุ้มค่าที่สุด ไม่ใช่อนุญาตให้มีการโอนขายคลื่นความถี่ไปให้ผู้ประกอบการรายอื่นได้

"ที่กังวลว่าต้องประมูลเพราะปิดทางคอร์รัปชั่น ถ้ามองจุดนี้เป็นหลักแสดงว่าคุณไม่เชื่อในกระบวนการกลั่นกรอง ระบบการคัดเลือก กสทช.ที่ออกแบบมาเอง ที่เขียน ๆ มาก็ล้มเหลวทั้งหมด ฉะนั้นเมื่อเลือกให้มาเป็น กสทช.แล้วขอให้เชื่อในการทำงาน เพราะต้องยอมรับว่าการประมูลบางอย่างทำไม่ได้จริงในทางปฏิบัติ ไม่ใช่มาแถ เหตุที่เกิดขึ้นเพราะเราใช้นักวิชาการที่ไม่เคยปฏิบัติจริงมายกร่างกฎหมาย จึงไม่รู้ปัญหา ยกร่างมาแต่สิ่งที่ดูสวยหรู ถ้าสุดท้ายแล้วไม่สามารถแก้ พ.ร.บ.นี้ได้ก็จะพยายามหาทางออกเพื่อให้ทำงานได้ต่อไป เพราะไม่ได้เป็นอุปสรรคถึงขั้นต้องหยุดเดิน แต่เป็นอุปสรรคในการทำให้ประเทศพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

ฟาก "ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยเฉพาะในการ

กำหนดให้ใช้วิธีการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ระบุว่า เป็นเรื่องปกติที่กฎหมายเมื่อประกาศใช้ไปแล้วจะมีการแก้ไขปรับปรุงให้เข้ายุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง แต่ในส่วนของ พ.ร.บ.กสทช.ประเด็นที่มีการหยิบยกมาว่าควรแก้ไข โดยส่วนตัวมองว่าไม่ได้เป็นประเด็น ไม่มีส่วนใดที่คลุมเครือหรือไม่ชัดเจน

"บทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.ที่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจอย่าง บมจ.ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ต้องนำส่งส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานเข้าสู่รัฐโดยตรง ก็เขียนไว้ชัดอยู่แล้ว การต้องให้ส่งคืนคลื่นหลังหมดสัมปทานก็เขียนไว้ชัดยิ่งกว่าชัด ไม่มีประเด็นไหนที่ไม่ชัด ยกเว้นว่าจะมีเจตนาจะฝ่าฝืนเลยอ้างว่ากฎหมายเขียนไว้ไม่ชัด

ขณะที่การจัดสรรคลื่นโดยการประมูลไม่ใช่อุปสรรค ปัญหาที่ผ่านมาในการจัดประมูลคลื่นของ กสทช.อยู่ที่การออกแบบการประมูลที่มีปัญหา และมองว่าไม่มีวิธีจัดสรรอื่นที่ดีกว่านี้สำหรับวงการโทรคมนาคม ก่อนหน้าที่จะมี พ.ร.บ.กสทช. กำหนดให้ต้องจัดสรรคลื่นด้วยการประมูล ตอนที่ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะจัดสรรคลื่น 2.1 GHz ก็เลือกใช้การประมูลเหมือนกัน ขณะที่กิจการบรอดแคสต์ยังไม่มีตัวอย่างที่จะเป็นปัญหา

สำหรับมาตรา 46 ที่กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประกอบกิจการเอง "ดร.สมเกียรติ" อธิบายว่า แรก ๆ ก็มีข้อสงสัยว่าจะสามารถนำไปให้บริการแบบ MVNO ให้ผู้อื่นเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการได้หรือไม่ แต่เมื่อศึกษาข้อมูลแล้วพบว่าสามารถทำ MVNO ได้ ไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไร

"ผมมองว่ากฎหมายไม่ได้เป็นปัญหา นอกจากจะจงใจเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย หรือทำอะไรพิสดาร ๆ เช่น เอาคลื่นของรัฐวิสาหกิจไปให้เอกชนใช้ ฉะนั้น ถ้าทำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมาจะไม่เป็นปัญหา อย่างกรณีที่ กทค.ตัดสินใจยืดเวลาให้สัมปทานคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟและดีพีซีที่จะหมดสัมปทานในเดือน ก.ย.นี้ ก่อนหน้านี้ก็ยืนยันมาตลอดว่าจะจัดประมูลให้ทันก่อนสัมปทานหมด แต่เพิ่งมาเปลี่ยนใจเอง" ดร.สมเกียรติย้ำ

งานนี้คงต้องดูว่า สุดท้ายบทสรุปจะออกมาเป็นเช่นไร ่ที่แน่ ๆ คงไม่ง่ายและไม่จบเร็วๆ เพราะกระทรวงไอซีทีเองก็ยังไม่ได้วางกรอบเวลาว่าจะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้า ครม.เพื่อให้มีการแก้ไขเมื่อใด

แต่ถึงกระนั้นก็ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเช่นกัน เพราะถ้าย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้น พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้เวลาร่างมากว่า 5 ปี แต่บทจะผ่านปุ๊บปั๊บ 3 วาระรวดแค่ 8 เดือนเท่านั้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1376367425

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.