Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 สิงหาคม 2556 ICT ใช้แผนสำรอง!! ขอ กสทช. เอาคลื่นวางของ DTAC 25 MHz มาใช้งานโดยส่งเรื่องอีกครั้ง ( โดยใช้วิธีการปรับปรุงคลื่นความถี่ )


ประเด็นหลัก

ทั้งนี้ สิทธิปรับปรุงคลื่นความถี่ กสท เป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของไอซีที และเมื่อมองย้อนไป 3 ปี ก่อนที่จะมีการใช้กฎหมายตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) นั้น กสท มีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1800 ต่อเนื่อง และ กสท ได้ยื่นหนังสือถึง กสทช.ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ไม่ใช่การคืนคลื่น

แนวทางเบื้องต้นเพื่อให้กสทได้ใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้รับมอบตามสัญญาสร้าง-โอน-บริการ (บีทีโอ) จะพิจารณากับกทค.ถึงความเป็นไปว่าจะนำคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ที่เป็นคลื่นเปล่าไม่ได้ใช้งาน ของบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) มาให้กสทดูแลลูกค้าต่อไป ซึ่งต้องเจรจากัน 3 ฝ่ายในภายหลัง คือ ไอซีที กสท และกทค.ว่าหากนำคลื่นเปล่าของดีแทคมาให้กสทให้บริการ และบริหารงานต่อจะทำได้หรือไม่ ซึ่งต้องหารือกับกสทด้วยเพราะดีแทคมีสัญญาสัมปทานกับกสทถึงปี 2561


รายงานข่าวแจ้งว่า กสทช.ได้รับรายงานล่าสุดจากคณะกรรมการกลั่นกรอง ชุดนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานซึ่งมอบให้กระทรวงไอซีที ไปเจรจากับกสทช.โดยคณะกรรมการกลั่นกรองครม.รับทราบ แต่ไม่มีการเห็นชอบตามที่ไอซีทีขอใช้คลื่นถึงปี 2568 ดังนั้น กสทช.จะได้สิทธินำคลื่นมาเปิดประมูล 4จีต่อไป















______________________________________




ไอซีที'รุกขอคลื่นดีแทคให้กสท.บริหารต่อ


"ไอซีที"พร้อมถก"กทค."สัปดาห์นี้ หาทางออกให้ "กสท."หลังคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ปัดข้อเสนอขอใช้คลื่น1800 ของทรูมูฟ-ดีพีซี หลังหมดสัญญาสัมปทาน


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้จะเดินทางเข้าพบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อหาทางออกให้บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อให้สามารถรับช่วงการให้บริการต่อ และสามารถบริหารทรัพย์สินอย่างเต็มประสิทธิภาพ หลังได้รับการโอนสินทรัพย์ทางโทรคมนาคมที่ กสท จะได้รับจากคู่สัญญาสัมปทานหลังบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.2556 นี้

โดยเบื้องต้นเป็นการหาทางออกให้ กสท หลังมีความเป็นไปได้แล้วว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะไม่ยอมให้ กสท ได้สิทธิบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์หลังสัมปทานสิ้นสุดยาวไปถึงปี 2568 ตามใบอนุญาตประเภทที่ 3 และตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 84 ที่ให้สิทธิในการปรับปรุงคลื่นความถี่ต่อ ดังนั้น คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะได้สิทธินำคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ไปเปิดประมูล 4จีต่อไป ตามที่ได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ สิทธิปรับปรุงคลื่นความถี่ กสท เป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของไอซีที และเมื่อมองย้อนไป 3 ปี ก่อนที่จะมีการใช้กฎหมายตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) นั้น กสท มีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1800 ต่อเนื่อง และ กสท ได้ยื่นหนังสือถึง กสทช.ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ไม่ใช่การคืนคลื่น

แนวทางเบื้องต้นเพื่อให้กสทได้ใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้รับมอบตามสัญญาสร้าง-โอน-บริการ (บีทีโอ) จะพิจารณากับกทค.ถึงความเป็นไปว่าจะนำคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ที่เป็นคลื่นเปล่าไม่ได้ใช้งาน ของบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) มาให้กสทดูแลลูกค้าต่อไป ซึ่งต้องเจรจากัน 3 ฝ่ายในภายหลัง คือ ไอซีที กสท และกทค.ว่าหากนำคลื่นเปล่าของดีแทคมาให้กสทให้บริการ และบริหารงานต่อจะทำได้หรือไม่ ซึ่งต้องหารือกับกสทด้วยเพราะดีแทคมีสัญญาสัมปทานกับกสทถึงปี 2561

"เมื่อเราไม่ได้รับสิทธิในย่านนั้นแล้ว ก็ต้องมองทางออกหรือแผนสำรองอื่นๆ ว่า จะดำเนินการอย่างไรกับกสท หลังจากที่ได้รับสิทธิในเสาโครงข่ายบีทีโอ โอนมาจากเอกชน ดังนั้นเมื่อคลื่น 1800 ของดีแทคไม่ได้ใช้งาน และอุปกรณ์ของทรูมูฟก็เป็นย่านเดียวกันจึงมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการ"

รายงานข่าวแจ้งว่า กสทช.ได้รับรายงานล่าสุดจากคณะกรรมการกลั่นกรอง ชุดนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานซึ่งมอบให้กระทรวงไอซีที ไปเจรจากับกสทช.โดยคณะกรรมการกลั่นกรองครม.รับทราบ แต่ไม่มีการเห็นชอบตามที่ไอซีทีขอใช้คลื่นถึงปี 2568 ดังนั้น กสทช.จะได้สิทธินำคลื่นมาเปิดประมูล 4จีต่อไป


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130813/522849/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B
5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8
%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%84%E0
%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97.%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B
4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD.html


________________________________________________

‘อนุดิษฐ์’อ้อน‘กสทช.’ขอคลื่นดีแทคให้กสท


“อนุดิษฐ์” พบ กรรมการ กสทช.สัปดาห์นี้ อ้อนขอคลื่นความถี่โทรคมนาคม ดีแทค ภายใต้สัมปทาน กสท 25 เมกะเฮิรตซ์ ให้ กสท ดำเนินธุรกิจสร้างรายได้ให้กับองค์กร จนกว่าสัญญาสัมปทานจะหมดในปี 61

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้ จะหารือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถึงกรณีคลื่นความถี่จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ไม่ได้ใช้งาน โดยบริษัท โทเทิ่ล แอ็สเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ถืออยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561

ทั้งนี้ กระทรวงไอซีที มีแนวคิดที่จะขอให้คืนคลื่นดังกล่าวจากดีแทค เพื่อให้ กสท นำมาดำเนินธุรกิจเพื่อหารายได้ หรือสร้างรายได้ให้กับองค์กรบนโครงข่ายเดิมของ กสท จนกว่าจะหมดสัญญาสัมปทาน เพราะปัจจุบันจำนวนคลื่นดังกล่าว ดีแทคไม่ได้ใช้งานอะไร ดังนั้นตามหลักการแล้วคลื่นความถี่โทรคมนาคมถือเป็นสมบัติของชาติ ที่ต้องนำมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะการให้บริการประชาชน

“การที่กระทรวงไอซีทีมีความเห็นว่าควรนำคลื่นความถี่ที่ไม่ใช้งานมาให้ กสท ดำเนินธุรกิจจะเป็นประโยชน์และรองรับการใช้งานของผู้ใช้บริการ ซึ่งดีกว่านำมาจัดสรรหรือประมูลในช่วงนี้ เพราะสัญญาสัมปทานคลื่นดังกล่าวก็ยังไม่หมด หากประมูลในเวลาอันใกล้จะส่งผลกระทบต่อแผนการดำเนินงานของ กสท ด้วย ทั้งนี้ผลการหารือก็จะขึ้นอยู่กับมติของ กสทช.เพราะถือเป็นผู้มีอำนาจโดยตรงในการบริหารจัดการคลื่นความถี่” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว.

http://www.dailynews.co.th/technology/225486

_____________________________________________


เบรก “กสท” ขอใช้คลื่น1800 “โต้ง” ยันต้องคืนให้กสทช.


เบรก “กสท” ขอใช้คลื่น1800

“โต้ง” ยันต้องคืนให้กสทช.

นำไปเปิดประมูลระบบ4G

มีรายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า  กสทช.ได้รับรายงานล่าสุดจาก คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ชุดที่มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกลั่นกรองฯว่า ตามที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที)ได้เสนอขอให้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์(MHz)ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ ไปจนถึงปี 2568 นั้น คณะกรรมการกลั่นกรองฯไม่เห็นชอบตามที่ไอซีทีตามเสนอ

“มติครม. ที่ออกมาต้องไม่ขัดกับกฎหมาย คณะกรรมการกลั่นกรองฯจึงไม่เห็นด้วย พร้อมมอบหมายให้ กระทรวงไอซีที ไปเจรจากับ กสทช.อีกครั้ง” รายงานข่าวระบุ

ด้าน น.อ.อนุ ดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที  กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้จะเดินทางไปเข้าพบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อหาทางออกให้กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  เพื่อให้สามารถรับช่วงการให้บริการต่อ และสามารถบริหารทรัพย์สินอย่างเต็มประสิทธิหลังจากที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง

พร้อมกันนี้ จะเป็นการหา ทางออกให้แก่กสท โทรคมนาคม หลังจาก ครม. คงจะไม่ยอมให้ กสท ได้ใช้สิทธิบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ภายหลังจากที่สัมปทานสิ้นสุด หรือที่ขอใช้ไปถึงปี 2568  ดังนั้น กสทช. จะได้สิทธินำคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ไปเปิดประมูลคลื่น 4G ต่อไป ตามที่ได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

รมว.ไอซีที กล่าวว่า อย่างไรก็ดี กสท ยังมีคลื่นจำนวน 25 MHz และให้สัมปทานกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค  และเป็นคลื่นเปล่าไม่ได้มีการใช้งานมากว่า 20 ปี ประเด็นนี้จะมีการพิจารณากับกทค.ถึงความเป็นไปว่า จะนำคลื่น 1800 MHz  จำนวน 25 MHz  มาให้ กสท มาให้บริการลูกค้าต่อไป ซึ่งเรื่องดังกล่าว ต้องมีการเจรจากัน 3 ฝ่ายในภายหลังคือ ไอซีที กสท และกทค.

“หากจะเอาคลื่นเปล่าที่ไม่มีการใช้งานของดีแทคมาให้ กสท ให้บริการ และบริหารงานต่อนั้นจะสามารถทำได้หรือไม่ ต้องมีการหารือกับ กสท ขณะที่ ดีแทค มีสิทธิตามสัญญาสัมปทานถึงปี 2561”

รมว.ไอซีที กล่าวว่าที่ผ่านมา และ กสท ได้ยื่นหนังสือถึง กสทช.ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ไม่ใช่การคืนคลื่น ทั้งนี้ กสท เป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ไอซีที และเมื่อมองย้อนไป 3 ปี หรือก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฏหมายตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) นั้น กสท มีหน้าที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1800 MHz

ก่อนหน้านี้ บอร์ด กทค. ได้อนุมัติแผนการประมูลกระบวนการให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHzสำหรับประมูลใบอนุญาต(ไลเซ่นส์) 4G อย่างเป็นทางการ พร้อมคาดว่าจะเริ่มประมูลได้ในเดือนกันยายน 2557 และประกาศผลผู้ชนะการประมูลในช่วงเดือนเดียวกัน หลังจากนั้นประมาณเดือนตุลาคมจะเริ่มให้ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลดำเนินการตามเงื่อนไขก่อนได้รับใบอนุญาต และกลางเดือนตุลาคมจะเริ่มให้ใบอนุญาตแก่เอกชนอย่างเป็นทางการ


http://www.naewna.com/business/64037

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.