Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กุมภาพันธ์ 2557 นักวิเคราะห์ชี้ ยักษ์ใหญ่จากฝั่งยุโรป และฝั่งอเมริกา กำลังพ่ายเทคโนโลยีจากฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะ ซัมซุง-เลอโนโว (ทำดีกว่าด้วยต้นทุนถูก)


ประเด็นหลัก

    จากสถานการณ์เช่นนี้ ต้องบอกว่า ณ จุดนี้ยักษ์ใหญ่จากฝั่งยุโรป และฝั่งอเมริกา กำลังพ่ายเทคโนโลยีจากฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะ ซัมซุง-เลอโนโว หรือแม้แต่โซนี่เองมีจุดแข็งเรื่องของการพัฒนาการถ่ายภาพที่มีความคมชัด และโดดเด่น และที่สำคัญต้นทุนในการผลิตสินค้าถูกกว่าฝั่งยุโรป นั่นจึงเป็นที่มาที่กลุ่มทุนเอเชีย ยอมควักเงินก้อนโตซื้อแบรนด์มือถือจาก "โมโตโรล่า-อีริคสัน" มาเพิ่มจุดแข็งเพื่อต่อยอดให้กับกลุ่มธุรกิจ


______________________________________

มือถือถึงยุคเปลี่ยนผ่าน



 อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านจากเดิมต้นกำเนิดของการพัฒนาและผลิตอยู่ที่กลุ่มทุนยุโรป และกลุ่มทุนจากอเมริกา  altมาในยุคโลกของสมาร์ทโฟน (โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เป็นมากกว่าการโทร.เข้าและรับสาย) เปลี่ยนผ่านมาอยู่ในกลุ่มทุนเอเชียอย่างสิ้นเชิงเพราะกลุ่มทุนเอเชีย ได้เข้าไปซื้อกิจการมือถือเข้ามาบริหารจัดการบ้างแล้ว


 *** "เลอโนโว" เทก "โมโต"
    สร้างความฮือฮาไม่ใช่น้อยเมื่อ กูเกิล (Google)ได้ประกาศขายกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โมโตโรล่า  ที่เข้าไปเทกโอเวอร์ "โมโตโรล่า" เมื่อปี 2555 ด้วยมูลค่า 12,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ผ่านไปแค่ปีกว่าๆ ปรากฏว่า กูเกิล ได้ตัดสินใจขายทิ้ง "โมโตโรล่า" ให้กับ เลอโนโว กลุ่มทุนจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยมูลค่า 2.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯเลยทีเดียว
alt    ภายใต้การซื้อขายของทั้ง 2 ฝ่ายครั้งนี้ มีเงื่อนไขที่ว่า "กูเกิล" ยังครองสิทธิบัตรส่วนใหญ่ของ โมโตโรล่า เอาไว้ด้วยเช่นกัน
    หลายปีก่อนหน้านี้ เลอโนโว ได้เข้าไปเทกโอเวอร์ธุรกิจคอมพิวเตอร์ของยักษ์สีฟ้า ไอบีเอ็ม และใช้ชื่อแบรนด์ว่า "ธิงค์แพด"
    อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจาก เลอโนโว จะทำการผลิตคอมพิวเตอร์แล้ว เมื่อปีที่ผ่านมา เลอโนโว ก็เริ่มรุกตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้แบรนด์ "เลอโนโว" เช่นเดียวกัน และเริ่มทำในตลาดประเทศไทยบ้างแล้ว
    สำหรับมุมมองของคนในแวดวงอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ได้มีการวิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันว่า เลอโนโว ต้องการเข้ามาทำตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างจริงจัง โดยจะใช้แบรนด์ "โมโตโรล่า" จับตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนแบรนด์ "เลอโนโว" บุกตลาดในภูมิภาคเอเชีย และประเด็นสำคัญ คือ ต้องการแข่งขันกับซัมซุง และแอปเปิล
** ย้อนรอยโมโตโรล่า
    บริษัท โมโตโรล่า โมบิลิตี้ โฮลดิ้งส์, อิงค์ ได้ขายกิจการธุรกิจมือถือให้กับเสิร์ชเอนจินรายใหญ่ของโลกนั่นก็คือ "กูเกิล" หรือ Google
    ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ โมโตโรล่า ถือเป็นเจ้าตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุด มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 โดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นกระติกน้ำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคของโลกอะนาล็อก
    จากนั้นโมโตโรล่าได้พัฒนาสินค้าเป็นฝาพับถือว่าเป็นจุดขายที่สำคัญ แต่ดูเหมือนว่าการชูจุดเด่นเรื่องของฝาพับแต่เพียงอย่างเดียวต่างจากคู่แข่งอย่าง "โนเกีย" ที่พัฒนาสินค้าและมีลูกเล่นที่หลากหลายมากกว่า เช่น หน้าจอโทรศัพท์ที่เป็นจอสี  เป็นต้น
alt *** โนเกีย ขายให้ ไมโครซอฟท์
    ไม่เพียงแต่ โมโตโรล่า ยักษ์ใหญ่จากทวีปอเมริกา จะขายทิ้งกิจการมือถือออกไปแล้ว เมื่อปีที่ผ่านมา โนเกียก็ได้ตัดสินใจขายทิ้งธุรกิจมือถือให้กับ "ไมโครซอฟท์" ผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ระดับโลก ด้วยมูลค่าวงเงิน 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    หลังจาก ไมโครซอฟท์ เข้ามาเทกโอเวอร์โนเกีย แล้วดูเหมือนว่า โนเกีย เริ่มกลับมารุกตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนที่มีขนาดหน้าจอ 5 นิ้วแต่ไม่เกิน 7 นิ้วที่เรียกกันว่า แฟ็บเล็ต (Phablet)  พร้อมส่ง ลูเมีย รุ่น 1520 ลงตลาดแล้ว และในปีนี้มีการประมาณการว่ามูลค่าตลาดสมาร์ทโฟนจะอยู่ที่ 20 ล้านเครื่อง เนื่องจากมีการย้ายลูกค้ามาใช้งานในระบบ 3 จี

 *** ยักษ์แดนปลาดิบ ซื้อ "อีริคสัน"
    นอกจาก เลอโนโว จากแดนมังกรเข้าซื้อ โมโตโรล่า แล้ว ยักษ์จากแดนปลาดิบ อย่าง โซนี่ ได้เข้าไปเทกโอเวอร์ธุรกิจมือถือจาก "อีริคสัน" เช่นเดียวกัน แม้หลังจากเข้าเทกโอเวอร์แล้ว ดูเหมือนว่ายอดขายมือถือ "โซนี่" ก็ยังอยู่ในสภาวะที่ทรงตัวไม่หวือหวา เหมือนซัมซุง และ แอปเปิล

alt *** บีบี ตั้งท่าโบกมือลาวงการ
    หลังจาก โมโตโรล่า-โนเกีย-อีริคสัน ยักษ์ใหญ่จากแดนยุโรป และทวีปอเมริกา ได้ตัดสินใจขายทิ้งธุรกิจมือถือไปแล้วเนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน เช่นเดียวกับ บีบี ที่มีจุดแข็งในเรื่องของ "บีบี แชต" ซึ่ง 3 ปีก่อนหน้านี้โทรศัพท์เคลื่อนที่ "บีบี" ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีโดยเฉพาะการแลก "พิน" คุยข้อความสนทนาผ่านโปรแกรมแชตของ "บีบี" แต่สุดท้ายเมื่อระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อย่าง ซัมซุง และระบบปฏิบัติการ iOs ของ ไอโฟน เข้ามาบุกตลาด ดูเหมือนว่ากระแสของ บีบี เริ่มแผ่วลงมา จนมีข่าวว่าประสบปัญหาขาดทุน และจะขายกิจการออกไปเหมือน 3 ค่ายยักษ์เช่นเดียวกัน
    แต่ปรากฏว่า ผู้บริหารของ บีบี ออกมายืนยันว่าจะไม่มีการขายทิ้งธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่จะพัฒนาแพลตฟอร์ม "บีบี 10" และ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เซอร์วิส 10 (บีอีเอส 10) ออกสู่ตลาด เพื่อกลับมาผงาดอีกครั้งหนึ่ง

    จากสถานการณ์เช่นนี้ ต้องบอกว่า ณ จุดนี้ยักษ์ใหญ่จากฝั่งยุโรป และฝั่งอเมริกา กำลังพ่ายเทคโนโลยีจากฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะ ซัมซุง-เลอโนโว หรือแม้แต่โซนี่เองมีจุดแข็งเรื่องของการพัฒนาการถ่ายภาพที่มีความคมชัด และโดดเด่น และที่สำคัญต้นทุนในการผลิตสินค้าถูกกว่าฝั่งยุโรป นั่นจึงเป็นที่มาที่กลุ่มทุนเอเชีย ยอมควักเงินก้อนโตซื้อแบรนด์มือถือจาก "โมโตโรล่า-อีริคสัน" มาเพิ่มจุดแข็งเพื่อต่อยอดให้กับกลุ่มธุรกิจ


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=217443:2014-02-04-07-33-23&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.UveCBUKSwcs

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.