Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กุมภาพันธ์ 2557 กสทช.สุภิญญา ชี้การถามการกฤษฎีกา โดยเฉพาะการคุ้มเนื้อหารายการนั้นเพื่อความรอบคอบต่อการใช้อำนาจของ กสทช.ที่อาจขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ


ประเด็นหลัก




______________________________________

?“สุภิญญา” เผยจับตาประชุม กสท. นำร่างฯคุมเนื้อหารายการพิจารณาอีกครั้ง?
จันทร์นี้ ประชุม กสท.ทบทวนมติ ชงกฤษฎีกาตีความอำนาจ การออกประกาศคุมเนื้อหา จับตานำร่างประกาศฉบับเดิมที่วิชาชีพสื่อ และนักวิชาการเคยคัดค้านกลับมาเข้ามาพิจารณาอีกครั้ง


   วันนี้( 8 ก.พ.)น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า  ในวันจันทร์ที่10ก.พ. นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จะมีการพิจารณาวาระสำคัญและน่าจับตา ได้แก่ ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ เสนอขอทบทวนมติ กสท.ครั้งที่ 1/2557 เรื่อง การส่ง(ร่าง)ประกาศเนื้อหาตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 หรือ หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. … ต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาในประเด็นที่ “กสทช. มีอำนาจออกประกาศฉบับนี้หรือไม่ อย่างไร และ เนื้อหาในร่างประกาศฯ มีลักษณะเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของกสทช. หรือไม่ อย่างไร” เนื่องเพราะเห็นว่า คปก.ไม่มีอำนาจตรวจสอบกฎหมายในลำดับรอง อย่าง ประกาศ พร้อมเสนอให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช.พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องแทน

   “เมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) ได้ทำหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ ถึง กสทช. เรื่องการออก(ร่าง)ประกาศ กสทช.ควบคุมเนื้อหารายการ ว่า ไม่มีอำนาจในการจัดทำร่างประกาศฯ เนื่องจากอาจขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมาย  ซึ่ง กสท. ได้พิจารณาและมีมติส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตีความทางกฎหมายต่ออำนาจ และขอบเขตการออกประกาศกำกับเนื้อหาฉบับนี้ เพื่อความรอบคอบต่อการใช้อำนาจของ กสทช.ที่อาจขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลรายใหม่24ช่อง และสื่อวิทยุ – ทีวี จึงขอฝากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจสอบและติดตาม พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับแนวความคิดเรื่องเสรีภาพสื่อกันต่อ เพราะดูเหมือนว่าอาจจะมีการนำร่างประกาศฉบับเดิมที่วิชาชีพสื่อ และนักวิชาการเคยคัดค้านกลับมาเข้ามาพิจารณาอีกครั้ง”

    น.ส.สุภิญญา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กสท. เตรียมพิจารณาร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการแข่งขัน 2 ฉบับ แบบมาตรการบังคับก่อน(Ex-ante) (ร่าง)ประกาศ กสทช.หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้องกับกิจการฯ และมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน พ.ศ. ... และ แบบมาตรการบังคับหลัง(Ex-post) (ร่าง)ประกาศ กสทช.หลักเกณฑ์การพิจารณาและกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อแก้ไขผลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการฯ พ.ศ. ....

    หลังจากที่มติครั้งที่แล้วได้เห็นชอบในหลักการ และมอบหมายทีมที่ปรึกษาโครงการนำร่างฯดังกล่าว เข้าหารือกับ กสท. เพื่อพิจารณาปรับปรุงและเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญต่างๆ ก่อนนำกลับเข้าที่ประชุมเพื่อเห็นชอบ และดำเนินการรับฟังความเห็นสาธารณะต่อไป.

http://www.dailynews.co.th/Content/IT/214741/%E2%80%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E2%80%9D+%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1+%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97.+%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AF%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87

__________________________________


ลุ้น บอร์ด กสท.ทบทวนมติกำกับดูแลเนื้อหารายการ
หน้าหลัก » วิทยาการ-ไอที

บอร์ด กสท. เตรียมทบทวนมติกำกับดูแลเนื้อหารายการ ชงกฤษฎีกาตีความอำนาจการออกประกาศฯ และแนวทางการออกใบอนุญาตทีวีดิจิตอล...

เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 57 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (10 ก.พ.) ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. จะพิจารณาวาระความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ที่เสนอขอทบทวนมติ กสท. เรื่อง การส่ง (ร่าง) ประกาศเนื้อหาตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ.2551 หรือหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. … ต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อพิจารณาว่า กสทช. มีอำนาจออกประกาศฉบับนี้หรือไม่ อย่างไร และเนื้อหาในร่างประกาศฯ มีลักษณะขยายขอบเขตอำนาจของ กสทช. หรือไม่

เนื่องจากเห็นว่า คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ไม่มีอำนาจตรวจสอบกฎหมายอย่างประกาศดังกล่าว เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา คปก. ได้ทำหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะถึง กสทช. เรื่องการออก (ร่าง) ประกาศ ควบคุมเนื้อหารายการว่าไม่มีอำนาจในการจัดทำ เพราะอาจขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง กสท. พิจารณาและมีมติส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตีความทางกฎหมายต่ออำนาจ และขอบเขตการออกประกาศกำกับเนื้อหาฉบับนี้ เพื่อความรอบคอบต่อการใช้อำนาจของ กสทช.ที่อาจขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ โดยเฉพาะการบังคับใช้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลรายใหม่ 24 ช่อง และสื่อวิทยุ ทีวี จึงขอฝากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจสอบและติดตาม เพราะอาจจะมีการนำร่างประกาศฉบับเดิมที่วิชาชีพสื่อ และนักวิชาการเคยคัดค้านกลับมาเข้ามาพิจารณาอีกครั้ง

นอกจากนี้ กสท. เตรียมพิจารณาร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการแข่งขัน 2 ฉบับ แบบมาตรการบังคับก่อน (ร่าง) ประกาศ กสทช. หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้องกับกิจการฯ และมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน พ.ศ. ... และแบบมาตรการบังคับหลัง (ร่าง) ประกาศ กสทช.หลักเกณฑ์การพิจารณาและกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อแก้ไขผลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการฯ พ.ศ. .... หลังจากที่มติครั้งที่แล้วได้เห็นชอบในหลักการ และมอบหมายทีมที่ปรึกษาโครงการนำร่างฯ ดังกล่าว เข้าหารือกับ กสท. เพื่อพิจารณาปรับปรุง และเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญก่อนนำกลับเข้าที่ประชุมเห็นชอบ และรับฟังความเห็นสาธารณะต่อไป

ส่วนวาระอื่นน่าติดตาม ได้แก่ การพิจารณาแนวทางการพิจารณาออกใบอนุญาตทีวีดิจิตอล แนวปฏิบัติต่อผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อยู่ในวันที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2553 ใช้บังคับ ซึ่งมีลักษณะการประกอบกิจการโดยการอนุญาตสัมปทาน และวาระการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาร่วมดำเนินการให้บริการทางสายระบบบอกรับสมาชิกระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรูวิชั่นส์ เคเบิ้ล จำกัด (มหาชน) การพิจารณาสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่เอ็มเอ็มดีเอส ระหว่าง อสมท กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/402420

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.