Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กุมภาพันธ์ 2557 24 ช่องทีวีดิจิตอลผนึกกำลัง ตั้งชมรมผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน ระบุ กสทช.เหลือเวลาอีกเพียง 40 วัน ก่อนออกอากาศจริง ที่ต้องรีบจัดเรติ้ง ต้อง


ประเด็นหลัก


โดย นายสุภาพ เปิดเผยว่า การรวมกลุ่มครั้งนี้มีเป้าหมายจะยกระดับเป็นสมาคม แต่การตั้งสมาคมต้องใช้เวลาพอสมควร ในขั้นแรกจึงต้องตั้งเป็นชมรมก่อน และจากการประชุมนัดแรกผู้ประกอบการเห็นตรงกันว่า กำหนดการออกอากาศทีวีดิจิตอลซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 1 เมษายน ยังไม่เป็นที่รับรู้ในสังคม ทำให้อาจจะกระทบต่อรายได้ค่าโฆษณาของผู้ประกอบการ เพราะเชื่อว่าระยะแรกค่าโฆษณาน่าจะกระจุกตัวอยู่ในฟรีทีวีรายเดิม

ดังนั้นชมรมจะเข้าหารือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้ กสทช.เร่งประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ของประชาชน เพราะมองว่า กสทช.มีรายได้จากการประมูลใบอนุญาตจำนวนมาก ควรจะจัดสรรงบประมาณมาใช้ในการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเหลือเวลาอีกเพียง 40 วัน ทีวีดิจิตอลจะเริ่มออกอากาศแล้ว หาก กสทช.เร่งทำประชาสัมพันธ์น่าจะได้ผลมากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้ประกอบการดำเนินการเอง

"ประเมินว่าตลอดทั้งปีนี้จะมีเม็ดเงินโฆษณาประมาณ 8 หมื่นล้านบาท มีฟรีทีวี 4-5 ช่อง ช่วงชิงงบในส่วนนี้ ปีหน้าคาดว่าเม็ดเงินโฆษณาจะขยายตัวที่ร้อยละ 10 หรือประมาณ 9 หมื่นล้านบาท หากไม่ปรับตัวและประชาชนไม่เปลี่ยนมาดู 24 ช่องคงจะลำบาก" นายสุภาพ กล่าว


______________________________________







เอกชนผุด 'ชมรมทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน' สร้างก้าวใหม่ทีวี


24 ช่องทีวีดิจิตอลผนึกกำลัง ตั้งชมรมผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน ให้ "สุภาพ คลี่ขจาย" รักษาการประธานชมรม ส่งสัญญาณ กสทช.ควักกระเป๋าประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ของผู้ชมก่อนออกอากาศ ห่วงเรตติ้งไม่ดีไม่มีคนดู...

เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่ได้รับใบอนุญาตทั้ง 17 ราย รวม 24 ช่อง ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นชมรมผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน และมีการจัดประชุมเลือกคณะกรรมการขึ้นเป็นครั้งแรก โดยที่ประชุมเลือกนายสุภาพ คลี่ขจาย ในฐานะตัวแทนของทีวีพูล เป็นรักษาการประธานชมรม และมีตัวแทนจากไทยรัฐทีวี ไทยทีวีสี 3 ช่อง 7 เนชั่นทีวี โมโนกรุ๊ป TNN RS ทีวีพูลหรือไทยทีวี เดลินิวส์ ทีวี วอยซ์ทีวี และ GMM แกรมมี่ ร่วมเป็นกรรมการ



โดย นายสุภาพ เปิดเผยว่า การรวมกลุ่มครั้งนี้มีเป้าหมายจะยกระดับเป็นสมาคม แต่การตั้งสมาคมต้องใช้เวลาพอสมควร ในขั้นแรกจึงต้องตั้งเป็นชมรมก่อน และจากการประชุมนัดแรกผู้ประกอบการเห็นตรงกันว่า กำหนดการออกอากาศทีวีดิจิตอลซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 1 เมษายน ยังไม่เป็นที่รับรู้ในสังคม ทำให้อาจจะกระทบต่อรายได้ค่าโฆษณาของผู้ประกอบการ เพราะเชื่อว่าระยะแรกค่าโฆษณาน่าจะกระจุกตัวอยู่ในฟรีทีวีรายเดิม

ดังนั้นชมรมจะเข้าหารือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้ กสทช.เร่งประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ของประชาชน เพราะมองว่า กสทช.มีรายได้จากการประมูลใบอนุญาตจำนวนมาก ควรจะจัดสรรงบประมาณมาใช้ในการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเหลือเวลาอีกเพียง 40 วัน ทีวีดิจิตอลจะเริ่มออกอากาศแล้ว หาก กสทช.เร่งทำประชาสัมพันธ์น่าจะได้ผลมากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้ประกอบการดำเนินการเอง

"ประเมินว่าตลอดทั้งปีนี้จะมีเม็ดเงินโฆษณาประมาณ 8 หมื่นล้านบาท มีฟรีทีวี 4-5 ช่อง ช่วงชิงงบในส่วนนี้ ปีหน้าคาดว่าเม็ดเงินโฆษณาจะขยายตัวที่ร้อยละ 10 หรือประมาณ 9 หมื่นล้านบาท หากไม่ปรับตัวและประชาชนไม่เปลี่ยนมาดู 24 ช่องคงจะลำบาก" นายสุภาพ กล่าว

นายสุภาพ กล่าวด้วยว่า จากที่เคยไปดูงานการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากอนาล็อกสู่ดิจิตอลในต่างประเทศ หน่วยงานกลางที่มีหน้าที่คล้าย กสทช.มีการจัดแบ่งงบประมาณไว้เพื่อการประชาสัมพันธ์ ครบทุกแขนงทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ จนประชาชนเฝ้าคอยรับชมทีวีดิจิตอล ซึ่งเรื่องนี้ทางชมรมจะหารือเพิ่มเติมอีกครั้งในวันที่ 20 ก.พ.นี้ เพื่อผลักดันให้ กสทช.ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมารับชมทั้ง 24 ช่อง

ส่วนกรณีที่ กสทช.กำหนดอายุใบอนุญาตประกอบการที่กำหนดไว้ 15 ปี โดยเริ่มนับตั้งแต่ 1 เมษายนนี้ นายสุภาพระบุว่า หน่วยงานต่างๆ ยังไม่มีความพร้อม อาจจะพิจารณาว่าจะเสนอ กสทช.ขอยืดอายุใบอนุญาตหรือไม่ แต่ยืนยันว่าข้อเสนอของชมรมจะเป็นไปอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้สาธารณชนมองว่ากลุ่มผู้ประกอบการเห็นแก่ตัว หรือเห็นแก่ได้ แต่จะเรียกร้องในสิทธิ์ที่ควรได้โดยชอบธรรมเท่านั้น และยอมรับว่า สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจยังไม่พร้อม อาจจะทำให้ปีแรกของการเริ่มดำเนินการทีวีดิจิตอล ผู้ประกอบการจะต้องประสบปัญหาขาดทุน แต่ถือเป็นเรื่องที่รับได้

นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ประกอบการเป็นห่วงและต้องหารือกับ กสทช. คือ กฎมัสต์แครี่ เพราะหลังนำสัญญาณทีวีดิจิตอลไปออกอากาศผ่านดาวเทียมจะทำให้ประชาชนไม่สามารถจำเลขช่องได้ เนื่องจากเลขช่องจะไม่ตรงกับที่ประกาศไว้แต่แรก ดังนั้นเห็นว่า กสทช.ควรจะไปแก้ไขในส่วนนี้ด้วย

นายเอนก กล่าวอีกว่า การทำงานระยะต่อไปของสมาคมฯ ที่จะเปลี่ยนเป็นชมรมจะมีการพิจารณาเรื่องการจัดเรตติ้ง โดยจะร่วมมือกับเอเยนซี่โฆษณา เหมือนที่ต่างประเทศดำเนินการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกช่อง นอกจากนี้จะหารือเกี่ยวกับการกำกับดูแลกันเองและร่วมพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างวัฒนธรรมการรับรู้ของประชาชน.



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/404433

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.