Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มีนาคม 2557 Huawei และ พันธมิตรด้านอุตสาหกรรม 29 ราย ได้ก่อตั้ง LTE (eLTE) Solution Alliance ซึ่งจะช่วยพัฒนาความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและผู้รวบรวมเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์


ประเด็นหลัก



บริษัท หัวเว่ย ผู้ให้บริการด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เข้าร่วมการประชุม Global Professional LTE Summit 2014 ที่นานจิง ประเทศจีน ร่วมกับสถาบันวิจัยด้านโทรคมนาคม (Telecommunications Research Institute) ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (MIIT) ในการส่งเสริมให้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ (long term evolution :LTE) เข้าสู่รูปแบบธุรกิจนั้น หัวเว่ยพร้อมด้วยพันธมิตรด้านอุตสาหกรรม 29 ราย ได้ก่อตั้ง LTE (eLTE) Solution Alliance ซึ่งจะช่วยพัฒนาความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและผู้รวบรวมเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์ ที่จะช่วยจัดหาโซลูชั่นและเทคโนโลยี eLTE broadband trunking ในเชิงพาณิชย์คุณภาพสูง ให้กับรัฐบาลและลูกค้าเอกชน รวมถึงการส่งเสริมให้นำ LTE ไปใช้อย่างหลากหลาย เช่น ในเมืองอัจฉริยะ

ในระหว่างการประชุม หัวเว่ยจะหารือเกี่ยวกับแนวโน้ม LTE ล่าสุด และข้อปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ร่วมกับลูกค้า พันธมิตร และบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน หัวเว่ยยังได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิค และประสบการณ์ที่นำไปใช้ได้จริงด้วย ขอบข่ายบริการ eLTE ประกอบด้วยกล้องวิดีโอวงจรปิด, อุปกรณ์ระบุตำแหน่งมือถือ, บรอดแบรนด์แบบ trunking, rapid deployment single eNodeBs และสื่อกลางการสื่อสารแบบฉุกเฉิน ที่ได้นำมาจัดแสดงในงานประชุมนี้


______________________________________







หัวเว่ย ร่วมตั้งกลุ่มพันธมิตรหนุนพัฒนาโซลูชั่นสื่อสาร eLTE




หัวเว่ย ร่วมแบ่งปันมุมมองเทคโนโลยี Enterprise LTE Technologies ที่งาน 2014 Global Professional LTE Summit หนุนการใช้ LTE เข้าสู่ภาคธุรกิจ พร้อมพันธมิตร 29 ราย ก่อตั้ง eLTE สานความร่วมมือในการส่งเสริมให้นำ LTE ไปใช้ในหลากหลายด้าน...

บริษัท หัวเว่ย ผู้ให้บริการด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เข้าร่วมการประชุม Global Professional LTE Summit 2014 ที่นานจิง ประเทศจีน ร่วมกับสถาบันวิจัยด้านโทรคมนาคม (Telecommunications Research Institute) ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (MIIT) ในการส่งเสริมให้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ (long term evolution :LTE) เข้าสู่รูปแบบธุรกิจนั้น หัวเว่ยพร้อมด้วยพันธมิตรด้านอุตสาหกรรม 29 ราย ได้ก่อตั้ง LTE (eLTE) Solution Alliance ซึ่งจะช่วยพัฒนาความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและผู้รวบรวมเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์ ที่จะช่วยจัดหาโซลูชั่นและเทคโนโลยี eLTE broadband trunking ในเชิงพาณิชย์คุณภาพสูง ให้กับรัฐบาลและลูกค้าเอกชน รวมถึงการส่งเสริมให้นำ LTE ไปใช้อย่างหลากหลาย เช่น ในเมืองอัจฉริยะ

ในระหว่างการประชุม หัวเว่ยจะหารือเกี่ยวกับแนวโน้ม LTE ล่าสุด และข้อปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ร่วมกับลูกค้า พันธมิตร และบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน หัวเว่ยยังได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิค และประสบการณ์ที่นำไปใช้ได้จริงด้วย ขอบข่ายบริการ eLTE ประกอบด้วยกล้องวิดีโอวงจรปิด, อุปกรณ์ระบุตำแหน่งมือถือ, บรอดแบรนด์แบบ trunking, rapid deployment single eNodeBs และสื่อกลางการสื่อสารแบบฉุกเฉิน ที่ได้นำมาจัดแสดงในงานประชุมนี้




นายแพททริก จาง ประธานแผนกโซลูชั่นและการตลาดของกลุ่มบริษัทหัวเว่ย กล่าวว่า การเปลี่ยนสู่เมืองอย่างรวดเร็ว ได้ก่อให้เกิดอุปสรรคท้าทายต่างๆ มามากมาย เช่น การจราจรที่ติดขัด และการขาดแคลนทรัพยากร รวมถึงความต้องการที่สูงในด้านการสื่อสารทางเสียงและทางภาพ เพื่อให้แน่ใจเรื่องความปลอดภัยและการปกป้องคุ้มครองของเมืองต่างๆ ในการเข้าถึงความต้องการนี้ หัวเว่ยต้องพัฒนาขอบเขตการให้บริการจากโซลูชั่นด้าน eLTE เช่น ระบบ trunking dispatch, กล้องวิดีโอวงจรปิด และแพลตฟอร์มเครือข่ายข้อมูลบรอดแบรนด์ประสิทธิภาพสูง ที่สามารถให้บริการได้หลากหลายประเภท ช่วยให้รัฐบาลและบริษัทดำเนินงานได้อย่างชาญฉลาด ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ประธานแผนกโซลูชั่นและการตลาดของกลุ่มบริษัทหัวเว่ย กล่าวต่อว่า ในฐานะบริษัทแรกที่ใช้เทคโนโลยี LTE ในโดเมนทั่วองค์กร โซลูชั่น broadband trunking ประกอบด้วย การส่งผ่านเสียงด้วยกล้องวิดีโอวงจรปิดที่มีความคมชัดสูง (HD) แบบไร้สาย และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่มีแบนด์วิธสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับบริษัทลูกค้าในหลายธุรกิจ ประกอบด้วย การคมนาคม อุตสาหกรรมพลังงานและไฟฟ้า ที่ช่วยในการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะที่มีความปลอดภัย




นายแพทริก กล่าวด้วยว่า เนื่องจากหัวเว่ยยึดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องความต้องการของลูกค้า บริษัทจึงยังคงออกแบบและพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่น eLTE เพื่อให้บริการลูกค้าแต่ละราย ในด้านการใช้งานเฉพาะ เช่น ด้วยกล้องวิดีโอวงจรปิดที่มีความคมชัดสูง หน่วยงานรัฐสามารถจับตาดูพื้นที่/เขตสำคัญๆ ได้แบบเรียลไทม์ และตอบสนองเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว เมื่อจัดการกับเรื่องความปลอดภัยสาธารณะ หน่วยงานรัฐต่างๆ สามารถใช้การโทรแบบ voice trunking group call เพื่อส่งความสั่งไปยังกลุ่มนักดับเพลิงหรือตำรวจ เพื่อรวบรวมเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเดียวกันหรือต่างหน่วยงาน ในการดำเนินการช่วยเหลือเพื่อรับรองความปลอดภัยของประชาชน ขณะเดียวกัน แผนกต่างๆ ของรัฐ สามารถติดต่อกันเพื่อทำงานที่ใดก็ได้ผ่านบรอดแบรนด์มือถือที่ใช้โซลูชั่น eLTE ซึ่งช่วยพัฒนาความสามารถในการจัดการ และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของภาครัฐ.



โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์

http://m.thairath.co.th/content/tech/408043

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.