Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2557 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท อยู่ระหว่างกระบวนการสรรหา CEO เนื่องจากครบวาระการทำงาน 4 ปี ได้มีการเปิดรับสมัครไปแล้วโดยมีคนนอกจำนวน 3 คน และ คนใน 1 คน


ประเด็นหลัก


อีกหน่วยงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท อยู่ระหว่างกระบวนการสรรหา ซีอีโอ เนื่องจากสิ้นเดือนสิงหาคม 2557 นางสาว อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่  ปณท ครบวาระการทำงาน 4  ปี ได้มีการเปิดรับสมัครไปแล้วโดยมีคนนอกจำนวน 3 คน และ คนใน 1 คน  และองค์กรสุดท้ายบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หลัง นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ ได้ลาออกจากกรรมการผู้จัดการใหญ่เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557  เนื่องจากมีข้อขัดแย้งในการบริหารงานจนถูกกดดันให้ลาออก ขณะนี้ยังมีการสรรหา
    ดูกันต่อไปว่าการเข้ามาปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ล้างบางขั้วการเมืองในครั้งนี้ของ คสช.จะได้ผลแต่ไหนโปรดติดตามตอนต่อไป !!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

______________________________________

เร่งสรรหาซีอีโอคุมทิศทางรัฐวิสาหกิจ

 ปฏิบัติการจัดระเบียบปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเริ่มเป็นจริงทันตาเห็นหลัง พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ผู้บัญชาการกองทัพบก หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจการปกครอง มีการส่ง"ซิก" จนประธานบอร์ด และบอร์ด จนถึงผู้นำองค์กรหรือซีอีโอ ต่างทยอยไขก๊อกกันโกลาหลเพื่อเปิดทางให้คสช.เข้ามากำกับนโยบายได้อย่างเต็มที่
    altจากการสำรวจพบว่ามีรัฐวิสาหกิจ แบงก์รัฐกว่า 10 แห่งในขณะนี้ต้องตกอยู่ในสภาพขาดภาวะผู้นำตัวจริง และอีกหลายองค์กรเริ่มออกอาการ ร้อน ๆ หนาว ๆ  ไปตามๆกัน ไล่ตั้งแต่การบินไทยหลังพล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง  ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจคสช. ในฐานะประธานบอร์ดการบินไทย ล่าสุดบอร์ดได้ตัดสินใจส่งพล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ เป็นตัวแทนบอร์ดไปแอกติ้งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่( ดีดี) แทนโชคชัย ปัญญายงค์ เพื่อหวังฝ่ามรสุมการบินไทยพร้อมประกาศสรรหาดีดีตัวจริงภายในเดือนกันยายนนี้

++แนะตั้งกฎเอาผิดถ้าบริหารเจ๊ง
    ต่อเรื่องนี้นายดำรง ไวยคณี  ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การบินไทย กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าที่ผ่านมาดีดี ที่มาจากการสรรหาไม่มีใครอยู่ครบเทอม เพราะฝ่ายการเมืองไม่ได้มองหาคนที่จะเข้ามาแก้ปัญหา เราจึงเรียกร้องให้ปฏิรูปมาตลอด เพราะเมื่อบริหารล้มเหลวก็ทำให้การบินไทยแย่  จึงอยากเสนอให้ คสช.ตั้งกฎว่าเมื่อบริหารแล้วทำความเสียหายให้กับองค์กรก็น่าจะมีบทลงโทษ ทั้งบอร์ดและดีดี  ที่ผ่านมาดีดีถ้าไม่ลาออกก็ถูกบีบให้ออก แต่การบินไทยไม่ได้อะไร  ประธานสหภาพแรงงานการบินไทย ให้ความเห็น
    ส่วนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีการเปิดสรรหา ผู้ว่าการคนใหม่แทนนายธวัชชัย อรัญญิก ที่จะครบวาระเดือนมีนาคม 2558 ซึ่งปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม แต่ไม่มีใครสมัครเพราะเห็นลางจากการที่บอร์ดลาออกถึง 4 คน ทำให้ นายสุวัตร สุทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในฐานะประธานสรรหาจึงตัดสินใจยกเลิกการสรรหาโดยอ้างเหตุบอร์ดไม่ครบองค์ประชุมซึ่งลึก ๆ แล้ว เหตุมาจากบอร์ดได้มีการแต่งตั้งมาจากฝ่ายการเมืองก่อนที่คสช.จะยึดอำนาจนั่นเอง
++ กองสลากหาผู้กล้ารื้อโควตาหวย
    อีกองค์กรหนึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาลไหนกล้าเข้าไปแตะ หลังการลาออกของ พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์  ธารีฉัตร ผอ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม เกิดขึ้นหลังคสช.เข้ามาบริหารประเทศเพียง 4วัน (22พ.ค.) จึงเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุการลาออกเป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ส่วนหนึ่ง แม้เจ้าตัวจะอ้างปัญหาด้านสุขภาพก็ตาม ต่อมานายราฆพ ศรีศุภอรรถ อดีตอธิบดีกรมศุลกากร ในฐานะประธานบอร์ดได้ลาออกตามมา
   alt ทั้งนี้เป็นที่รู้กันดีว่ากองสลากเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ที่เกี่ยวโยงผลประโยชน์กับบุคคลหลายกลุ่มโดยเฉพาะระบบโควตาสลาก ที่ล้วนมีบิ๊กการเมือง บิ๊กข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า เข้ามาเอี่ยวทั้งสิ้น ดังนั้นการเข้าไป "รื้อระบบโควตา" จึงไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะมีผู้กล้า แต่ก็ต้องรู้อยู่แก่ใจว่าต้องสู้กับใคร ดังนั้นจึงต้องหาผอ.ที่มีพาวเวอร์ทั้งอำนาจและบารมี ให้สมน้ำสมเนื้อที่พอจะเข้าไปล้างอิทธิพลได้
++ 3 แบงก์รัฐยังไร้ผู้นำ
    ฟากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) ซึ่งมีส่วนเอื้อกับนโยบายหาเสียงของฝ่ายการเมืองเริ่มจาก ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์หรือธอท.)หลังจากนายธานินทร์ อังสุวรังษี ผู้จัดการ ยื่นหนังสือลาออก มีผลเมื่อวันที่  30 มิถุนายน 2556  เหตุจากพนักงานแต่งดำประท้วงหลังการบริหารงานล้มเหลวทำให้แบงก์ตกอยู่ในสภาพที่ตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ มีความเสียหายจากการชะลอธุรกรรมธนาคาร โดยมีรายงานข่าวอ้างว่าเป็นคนสายตรงของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังในขณะนั้น
    ต่อมาบอร์ดได้แต่งตั้งให้นายธงรบ ด่านอำไพ กรรมการทำหน้าที่รักษาการผู้จัดการ แต่ภายหลังทำหน้าที่เพียง 3เดือน "ธงรบ" ตัดสินใจยื่นหนังสือลาออกจากทุกตำแหน่งในธนาคาร มีผลในวันที่ 1 ตุลาคมซึ่งเดิมทีเจ้าตัวเข้ามาเป็นกรรมการด้วยคุณสมบัติมืออาชีพอิสระด้านกฎหมายมีความสามารถด้านการปรับโครงสร้างหนี้และยังวางตัวเป็นแคนดิเดตว่าที่ผู้จัดการคนถัดไปด้วย
    สาเหตุการลาออกนั้นเจ้าตัวระบุชัดว่าถูกกดดันเนื่องจากความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่าง "เจ้ากระทรวง"และผู้บริหารไอแบงก์ ปัจจุบันได้วางตัว นายครรชิต สิงห์สุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการนั่งรักษาการผู้จัดการเวลานี้กระทรวงการคลังและคสช.อยู่ในช่วงการคัดเลือกคณะกรรมการที่ยังว่างอยู่อีก 7ตำแหน่งจากทั้งหมด 11ตำแหน่ง หากสามารถแต่งตั้งบอร์ดได้ครบจำนวนถึงจะเริ่มสรรหาผู้จัดการคนใหม่ได้
    ส่วนธนาคารออมสินเจอพิษจากการหาเงินจ่ายจำนำข้าว ส่งผลให้ นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน  ตัดสินใจยื่นใบลาออก เพื่อโชว์สปิริตแสดงความรับผิดชอบต่อการปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (18 ก.พ.57)  หลังมีเงินไหลออกจากธนาคารนับแสนล้านบาท  ขณะนี้ขบวนการสรรหารอ คสช.เข้ามาตัดสินใจ เช่นกัน
++ เอสเอ็มอีแบงก์เปิดสรรหา 3 รอบ
    ขณะที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) มติบอร์ดซึ่งมีนายนริศ  ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ ประธานบอร์ดมีมติเลิกจ้าง นายมนูญรัตน์ เลิศโกมลสุข กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ ( 6 ก.พ.57 ) พร้อมแต่งตั้ง นางสาวปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการขึ้นมาแอกติ้ง
    อย่างไรก็ดีแม้ที่ผ่านมาจะมีกระบวนการสรรหาถึง 3 ครั้ง ด้วยครั้งแรกมีผู้สมัคร 3 รายแต่ไม่เข้าตากรรมการจนต้องเปิดรับครั้งที่ 2 แต่ก็ยังไม่ใครมาสมัครอีก จึงขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 17 มิถุนายน จนมีผู้สมัคร 5 คน โดยวงในระบุว่า ผู้สมัครรวมทั้ง 8 คนมีผู้ที่สมบัติและตัวเลือกแต่จึงไม่ขยายเวเลาเพิ่มอีก แต่เมื่อวันที่ 3มิถุนายน  บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์ นำโดย นายนริศได้ยกทีมยื่นใบลาออกแล้ว ทำให้ขบวนการสรรหาต้องขึ้นอยู่กับซุปเปอร์บอร์ดตัดสินใจต่อไป
++ รอคสช.ตัดสินใจอีกเพียบ
    นอกจากนี้ยังพบว่ายังมีรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคมอีก 3 แห่งที่ยังขาดหัวไม่ว่าจะเป็น การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) หลังร.ต.วิโรจน์ จงชาณสิทโธ  ผู้อำนวยการลาออกเพราะถูกสหภาพกทท.กดดันอย่างหนักและมีการสรรหามาแล้ว 3 ครั้งแต่ก็ยังไร้วี่แววผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านการ คัดเลือกแถมประธานบอร์ด พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ได้ลาออก จึงต้องรอบอร์ดใหม่ ซึ่งมีพล.ร.อ.อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ อดีตประะานที่ปรึกษากองทัพเรือ เป็นประธานเข้ามาดำเนินการ
    ตามด้วยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) หลัง นายโอภาส  เพชรมุณี ผอ.ขสมก.ครบวาระ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2556 มีการแต่งตั้งบอร์ดสรรหาโดยมี พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว รองประธานบอร์ดเป็นประธาน ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนยังอยู่ในขั้นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัคร  เช่นเดียวกับบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด(แอร์พอร์ตลิงค์) หลังนายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ถูกยกเลิกจ้างเพราะขาดสมบัติเมื่อเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2557 ขณะนี้ยังไม่มีการสรรหาเกิดขึ้น
    อีกหน่วยงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท อยู่ระหว่างกระบวนการสรรหา ซีอีโอ เนื่องจากสิ้นเดือนสิงหาคม 2557 นางสาว อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่  ปณท ครบวาระการทำงาน 4  ปี ได้มีการเปิดรับสมัครไปแล้วโดยมีคนนอกจำนวน 3 คน และ คนใน 1 คน  และองค์กรสุดท้ายบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หลัง นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ ได้ลาออกจากกรรมการผู้จัดการใหญ่เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557  เนื่องจากมีข้อขัดแย้งในการบริหารงานจนถูกกดดันให้ลาออก ขณะนี้ยังมีการสรรหา
    ดูกันต่อไปว่าการเข้ามาปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ล้างบางขั้วการเมืองในครั้งนี้ของ คสช.จะได้ผลแต่ไหนโปรดติดตามตอนต่อไป !!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=238217:2014-07-09-06-25-29&catid=94:2009-02-08-11-26-28&Itemid=417#.U8KrAlZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.