Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 กรกฎาคม 2557 GFK สนใจเข้าร่วมประมูลทีวีเรตติ้งไทย ชี้ นภาพรวมไทยยังเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการทำธุรกิจการวิจัย ไทยถือเป็นอันดับที่ 26 ของโลก และเป็นอันดับที่ 6 ของเอเซียแปซิฟิก


ประเด็นหลัก

  ทั้งนี้ ในเบื้องต้นบริษัทฯ คาดว่าจะต้องลงทุนขั้นต่ำประมาณ 100-150 ล้านบาท ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร และการคัดสรรครัวเรือนตัวอย่างที่จะเข้ามาอยู่ในกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าเท่าใด เพราะแต่ละประเทศกลุ่มครัวเรือนมีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ พฤติกรรมการชมสื่อ เป็นต้น และในช่วงปีต่อไปคาดว่าจะต้องลงทุนอีกไม่ต่ำกว่า 150-200 ล้านบาท ซึ่งจีเอฟเคมีความพร้อมอยู่แล้ว ด้วยประสบการณ์ที่ทำวิจัยทั้งทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์มานานกว่า 40 ปี
       
       นางดารณีกล่าวต่อถึงตลาดรวมวิจัยในไทยว่า ในช่วงครึ่งปีแรกนี้คาดว่าตลาดรวมไม่มีการเติบโตและแต่ละบริษัทฯ ก็อยู่ในภาวะเหมือนกัน เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่ผ่านมา โดยในส่วนของบริษัทเองก็พลาดเป้าหมายไม่ถึงเป้าหมาย ต่ำกว่าที่คาดการณ์ 50% คาดว่าทั้งปีตลาดรวมจะเติบโตประมาณ 7% ซึ่งปีที่แล้วก็เติบโตประมาณ 7% จากตลาดรวม 5,153 ล้านบาท
       
       “แต่ในภาพรวมไทยยังเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการทำธุรกิจการวิจัย ไทยถือเป็นอันดับที่ 26 ของโลก และเป็นอันดับที่ 6 ของเอเซียแปซิฟิก โดยมูลค่ายังน้อยยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เช่น เมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่ใช้ต่อการวิจัยต่อคนพบว่า ไทยใช้เพียง 2.39 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ขณะที่เม็ดเงินทางด้านโฆษณาเฉลี่ย 62.21 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี แต่ประเทศที่เป็นตลาดใหญ่เช่น ออสเตรเลีย ใช้งบวิจัยประมาณ 32.18 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี และใช้งบโฆษณามากถึง 599.61 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี หรือนิวซีแลนด์ใช้เงินประมาณ 21.55 ดอลลาร์สหรัฐในแง่การทำวิจัย และใช้ประมาณ 374.53 ดอล่าร์ต่อคนต่อปีในแง่การโฆษณา”


______________________________________

“GFK” จ้องทีวีเรตติ้งไทย ตลาดวิจัยครึ่งปีแรกวูบ



       “จีเอฟเค”สนใจเข้าร่วมประมูลทีวีเรตติ้งไทย เตรียมความพร้อมเรียบร้อย รอแค่ไลเซนส์ และทีโออาร์จาก กสทช.ที่ชัดเจนเท่านั้น ชี้หลายชาติพุ่งเป้ามาที่ไทย เพราะโอกาสจะเปิดประมูลในโลกนี้มีน้อยมาก เบื้องต้นคาดลงทุน 150 ล้านบาท วางระบบ เผยตลาดรวมวิจัยนิ่งผลกระทบการเมืองเศรษฐกิจ
     
       นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตไว้ส์ จำกัด เปิดเผยว่า ทางกลุ่มบริษัท จีเอฟเค ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่เยอรมนีมีความสนใจที่จะเข้าร่วมการประมูลทีวีเรตติ้งในไทย ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเตรียมการและการศึกษาหาข้อมูล เช่นเดียวกับที่มีหลายบริษัทสนใจประมูลเช่นกัน ขณะที่ในส่วนของหน่วยงานที่กำกับดูแลคือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เท่าที่ทราบมาคือ อยู่ระหว่างการเตรียมการ แต่ยังไม่มีข้อสรุปออกมาถึงรายละเอียดต่างๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งในเรื่องของการออก พ.ร.บ. หรือทีโออาร์มารองรับ
     
       “โอกาสที่ในโลกนี้จะมีการประมูลทำวิจัยทีวีเรติติ้งนี้มีน้อยมาก เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างประเทศไทยเองก็ว่างเว้นการประมูลมานานกว่า10 ปีแล้ว หลังจากที่มีการประมูลกันเมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้รายเก่าก็ยังทำอยู่ หลายประเทศก็สนใจตลาดทีวีเรตติ้งไทย แต่ที่ล่าสุดทางกลุ่มจีเอฟเคเพิ่งจะชนะการประมูลทำทีวีเรตติ้งที่ประเทศบราซิล และซาอุดิอาระเบีย ซึ่งในส่วนของเราก็มีผู้บริหารระดับสูง คือ โกลบัลไดเรกเตอร์ทางด้านทีวีเรตติ้งและมีเดีย และเฮดออฟรีจินัลจากสิงคโปร์มาร่วมประชุมวางแนวทางไว้แล้วเมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง อีกทั้งยังมีการเข้าร่วมประชุมกับทาง กสทช.เพื่อทราบถึงนโยบายและแนวทางต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันด้วย”
     
       อย่างไรก็ตาม เอกชนยังไม่ทราบรายละเอียดและความชัดเจนของทีโออาร์และการดำเนินงานของ กสทช.ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร คาดว่าน่าจะเป็นปลายปีนี้จึงจะมีความชัดเจนได้ ทีโออาร์เป็นอย่างไร เพราะแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน เช่น ในบราซิล เราชนะประมูลเมื่อปี 2556 ได้สัญญานาน 5 ปี จะเริ่มปี 2558 มีประชากรกว่า 190 ล้านคน ใช้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 6,000 ครัวเรือน ขณะที่ซาอุดีอาระเบียเราชนะประมูลเมื่อต้นปีนี้ได้สิทธิ์ 5 ปี และคาดว่าจะเริ่มดำเนินงานปีหน้า มีประชากรแค่ 28 ล้านคน ก็ใช้กลุ่มตัวอย่างไม่เท่ากัน หรือที่เยอรมนีมีประชากรแค่ 80 ล้านคน แต่จำนวนกลุ่มตัวอย่างประมาณ 5,000 ครัวเรือน
     
       ทั้งนี้ ในเบื้องต้นบริษัทฯ คาดว่าจะต้องลงทุนขั้นต่ำประมาณ 100-150 ล้านบาท ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร และการคัดสรรครัวเรือนตัวอย่างที่จะเข้ามาอยู่ในกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าเท่าใด เพราะแต่ละประเทศกลุ่มครัวเรือนมีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ พฤติกรรมการชมสื่อ เป็นต้น และในช่วงปีต่อไปคาดว่าจะต้องลงทุนอีกไม่ต่ำกว่า 150-200 ล้านบาท ซึ่งจีเอฟเคมีความพร้อมอยู่แล้ว ด้วยประสบการณ์ที่ทำวิจัยทั้งทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์มานานกว่า 40 ปี
       
       นางดารณีกล่าวต่อถึงตลาดรวมวิจัยในไทยว่า ในช่วงครึ่งปีแรกนี้คาดว่าตลาดรวมไม่มีการเติบโตและแต่ละบริษัทฯ ก็อยู่ในภาวะเหมือนกัน เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่ผ่านมา โดยในส่วนของบริษัทเองก็พลาดเป้าหมายไม่ถึงเป้าหมาย ต่ำกว่าที่คาดการณ์ 50% คาดว่าทั้งปีตลาดรวมจะเติบโตประมาณ 7% ซึ่งปีที่แล้วก็เติบโตประมาณ 7% จากตลาดรวม 5,153 ล้านบาท
       
       “แต่ในภาพรวมไทยยังเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการทำธุรกิจการวิจัย ไทยถือเป็นอันดับที่ 26 ของโลก และเป็นอันดับที่ 6 ของเอเซียแปซิฟิก โดยมูลค่ายังน้อยยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เช่น เมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่ใช้ต่อการวิจัยต่อคนพบว่า ไทยใช้เพียง 2.39 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ขณะที่เม็ดเงินทางด้านโฆษณาเฉลี่ย 62.21 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี แต่ประเทศที่เป็นตลาดใหญ่เช่น ออสเตรเลีย ใช้งบวิจัยประมาณ 32.18 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี และใช้งบโฆษณามากถึง 599.61 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี หรือนิวซีแลนด์ใช้เงินประมาณ 21.55 ดอลลาร์สหรัฐในแง่การทำวิจัย และใช้ประมาณ 374.53 ดอล่าร์ต่อคนต่อปีในแง่การโฆษณา”
     
       อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์เริ่มดีขึ้น โดยสังเกตจากบริษัทฯ เราเองที่มีปริมาณลูกค้าและยอดบิลลิ่งเริ่มเข้ามามากเพียงแค่ 2 สัปดาห์แรกเดือนนี้เทียบเท่ากับปริมาณงานและยอดบิลลิ่งครึ่งปีแรกนี้เลยทีเดียว มีทั้งลูกค้าเก่าที่ชะลองานไว้ ลูกค้าใหม่ รวมทั้งต่างประเทศที่ติดต่อเข้ามาด้วย เช่น เอสซีจีกรุ๊ป เป๊ปซี่โคเซอร์วิส โตโยต้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
     
       ทั้งนี้ ครึ่งปีหลังบริษัทฯ มีแผนที่จะออกนวัตกรรมใหม่ในการทำงานให้กับลูกค้า คือ Market Opportunity and Innovation หรือ MoI คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เน้นนวัตกรรมการเสนอ/สร้างโอกาสสำหรับความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่ และมีแผนที่จะรวมบริษัทในเครืออีกแห่งคือ บริษัท จีเอฟเครีเทล แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด มาเข้ารวมกันเป็น บริษัท วัน จีเอฟเค เข้ามาอยู่ในบริษัทเดียวกันชื่อใหม่ว่า บริษัท วัน จีเอฟเค



http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000079828&Keyword=%A1%CA%B7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.