Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 กรกฎาคม 2557 กสทช. เคาะราคาคูปองทีวีดิจิตอล 690 บาท แลกทีวีดิจิตอล และกล่องรับสัญญาณ DVB-T2 ประชาชน 22.9 ล้านครัวเรือน 4 จังหวัดนำร่อง คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชียงใหม่ สงขลา และนครราชสีมา

ประเด็นหลัก


กสทช. เคาะราคาคูปองทีวีดิจิตอล 690 บาท แลกทีวีดิจิตอล และกล่องรับสัญญาณ DVB-T2 แก่ประชาชน 22.9 ล้านครัวเรือน ตามฐานข้อมูลกรมการปกครอง นำร่องแจกก่อน 4 จังหวัด ภายในเดือนกันยายน 2557 ทั้งนี้ เตรียมพิจารณาส่งร่างให้ทาง คสช.อีกครั้งหลังประชุมบอร์ดในวันที่ 30 กรกฎาคม 2557

       ในส่วนของแผนการแจกคูปองทั้ง 22.9 ล้านครัวเรือน จะเริ่มดำเนินการภายในเดือนกันยายน 2557 ซึ่งจะเริ่มทยอยแจกคูปองใน 4 จังหวัดนำร่อง คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชียงใหม่ สงขลา และนครราชสีมา (ทาง กสทช.ขอแก้ไขจากขอนแก่น) ส่วนที่เหลือจะทยอยแจกตามกรอบเวลา 3 ปี ตามพื้นที่ออกอากาศทีวีดิจิตอล
   
       “ทางสำนักงาน กสทช.ได้วางกำหนดในการแจกคูปองครบ 50% ตามพื้นที่โครงข่ายที่ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะสามารถแจกคูปองได้ราว 11 ล้านใบ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีประชาชนราว 30% ที่ไม่นำคูปองมาใช้สิทธิ”
   


______________________________




เคาะคูปองทีวีดิจิตอล 690 บาท ก่อนส่ง คสช.เห็นชอบต่อไป


       กสทช. เคาะราคาคูปองทีวีดิจิตอล 690 บาท แลกทีวีดิจิตอล และกล่องรับสัญญาณ DVB-T2 แก่ประชาชน 22.9 ล้านครัวเรือน ตามฐานข้อมูลกรมการปกครอง นำร่องแจกก่อน 4 จังหวัด ภายในเดือนกันยายน 2557 ทั้งนี้ เตรียมพิจารณาส่งร่างให้ทาง คสช.อีกครั้งหลังประชุมบอร์ดในวันที่ 30 กรกฎาคม 2557
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การประชุมบอร์ด กสทช. ในวันนี้ (24 ก.ค.) ได้มีวาระพิเศษเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ได้ข้อสรุปกำหนดมูลค่าคูปองที่จะนำไปแจกเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลที่ราคา 690 บาท โดยสามารถใช้แลกเป็นส่วนลดทีวีดิจิตอล และอุปกรณ์แปลงสัญญาณระบบดิจิตอล มาตรฐาน DVB-T2 ที่ผ่านการรับรองจาก กสทช. พร้อมอุปกรณ์เสริม
     
       “มูลค่าคูปองที่ทาง กสทช. กำหนดไว้ได้สะท้อนถึงราคากล่อง แต่เป็นคูปองที่จะส่งต่อให้ประชาชนในการเปลี่ยนผ่านเพื่อแลกส่วนลดโทรทัศน์ดิจิตอล และกล่องรับสัญญาณพร้อมส่วนควบ ซึ่งไม่ใช่การกำหนดราคากลาง คิดเป็นมูลค่าเบื้องต้นประมาณ 15,801 ล้านบาท”
     
       นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาถึงการแจกคูปองตามฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง เมื่อเดือนมีนาคม 2557 ที่ 22.9 ล้านครัวเรือน โดยใช้การแจกคูปองผ่านไปรษณีย์ตอบรับ โดยประสานเรื่องข้อมูลกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
     
       ส่วนวิธีการจัดพิมพ์คูปอง จะใช้วิธีการจ้างหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะต้องมีการป้องกันการปลอมแปลงที่เหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด ซึ่งงบประมาณในการจัดพิมพ์และจัดส่ง จะเป็นค่าใช้จ่ายจากงบประมาณของสำนักงาน กสทช.
     
       ยังมีมติเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติบริษัทที่เข้าร่วมในโครงการให้มาเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้ง โดยมีสาระสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ มีเงินวางประกัน ทุนจดทะเบียน จุดจำหน่าย จุดให้บริการหลังการขายที่เพียงพอ และที่สำคัญคือ ไม่กีดกันผู้เข้าแข่งขันรายย่อย ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริษัทที่สนใจเข้าร่วมหลังจากทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบ
     
       ในส่วนของแผนการแจกคูปองทั้ง 22.9 ล้านครัวเรือน จะเริ่มดำเนินการภายในเดือนกันยายน 2557 ซึ่งจะเริ่มทยอยแจกคูปองใน 4 จังหวัดนำร่อง คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชียงใหม่ สงขลา และนครราชสีมา (ทาง กสทช.ขอแก้ไขจากขอนแก่น) ส่วนที่เหลือจะทยอยแจกตามกรอบเวลา 3 ปี ตามพื้นที่ออกอากาศทีวีดิจิตอล
     
       “ทางสำนักงาน กสทช.ได้วางกำหนดในการแจกคูปองครบ 50% ตามพื้นที่โครงข่ายที่ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะสามารถแจกคูปองได้ราว 11 ล้านใบ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีประชาชนราว 30% ที่ไม่นำคูปองมาใช้สิทธิ”
     
       สำหรับวิธีการใช้คูปอง หลังจากที่ส่งออกไปถึงประชาชนทุกครัวเรือน ให้ประชาชนนำบัตรประชาชนพร้อมกับคูปอง ไปแลกที่จุดให้บริการ เมื่อแลกเสร็จจะใช้สติกเกอร์ที่ติดบนกล่องมาติดบนคูปอง หลังจากนั้นนำมาขึ้นเงินต่อทาง กสทช. เพื่อเป็นหลักประกันระยะเวลารับประกัน 2 ปี ที่จะสามารถนำสินค้ามาเคลมได้ และช่วยให้ทาง กสทช. สามารถตรวจสอบกับทางผู้จำหน่ายว่ามีการใช้คูปองแลกเปลี่ยนจริง
     
       อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มีข้อเสนอเข้ามาในเรื่องของมูลค่าคูปองที่นำไปแลก ทั้งมูลค่าของคูปองที่ระบุว่า ก่อนหน้านี้ราคากล่องที่อาร์เอสเสนอต่อ กสทช. คือ 475 บาท จึงอยากให้ตรวจสอบมูลค่าให้เหมาะสม ส่วนวิธีการจัดส่งคูปองได้นำเสนอให้ใช้วิธีที่ประชาชนเข้ามาลงทะเบียนสิทธิเพื่อขอรับคูปอง เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ
     
       “ในส่วนของวิธีการแจกที่ทาง สตง. อยากให้ประชาชนมาลงทะเบียนยืนยันสิทธิของตนเอง หลังจากนั้น สำนักงาน กสทช. ค่อยแจกออกไป ที่ประชุมเห็นว่า จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ต้องมายืนยันสิทธิ และทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านช้าลงไปอีก จึงเห็นว่าใช้ข้อมูลจากฐานของกรมการปกครอง”
     
       ทั้งนี้ ที่ประชุม กสทช. ได้กำหนดให้มีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 เพื่อพิจารณาหนังสือที่จะยกร่างดังกล่าวเสนอต่อ คสช. ผ่านคณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไป
     



http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000083824

_____________________________


บอร์ด กสทช.เคาะราคาคูปองทีวีดิจิตอลอยู่ที่ 690 บาท




บอร์ด กสทช. มติเอกฉันท์ เคาะราคาคูปองทีวีดิจิตอล 690 บาท เตรียมส่งเรื่องให้ คสช.พิจารณา 30 ก.ค.นี้ โดยประชาชนจะแลกได้เฉพาะทีวีที่มีตัวรับสัญญาณ และกล่องรับสัญญาณแบบดีวีบี ที2 เท่านั้น ส่วนกล่องทีวีดาวเทียม-เคเบิลไม่เกี่ยว...

เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2557 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. มีมติเอกฉันท์ 10 เสียง อนุมัติราคาคูปองทีวีดิจิตอล อยู่ที่ 690 บาท โดยมีเงื่อนไขแลกว่าจะต้องรับได้เฉพาะกล่องรับสัญญาณดิจิตอลภาคพื้นดิน หรือ ดีวีบี ที2 และโทรทัศน์ที่มีเครื่องรับทีวีดิจิตอล ไม่รวมกล่องดาวเทียมอื่นๆ ซึ่งราคาคูปองมีอายุ 6 เดือน และเตรียมเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. พิจารณาในวันที่ 30 ก.ค.2557 นี้

เลขาธิการ กสทช.กล่าวต่อว่า สำหรับกรอบการดำเนินการ ทาง กสทช.จะเริ่มแจกคูปองได้ในช่วงเดือน ก.ย.2557 โดยจะดำเนินการนำร่องใน 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เชียงใหม่ สงขลา และ ขอนแก่น ตามพื้นที่โครงข่ายเข้าถึง ก่อนจะทยอยแจกให้ครบ 22 ล้าน 9 แสนครัวเรือนตามข้อมูลของกรมการปกครอง ณ เดือน มีนาคม 2557

นายฐากร กล่าวอีกว่า ขณะที่วิธีการแจกจัดส่งทางไปรษณีย์ ประสานทะเบียนราษฎร กับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยยึดหลักการลดค่าใช้จ่าย ส่วนวิธีการพิมพ์ จ้างหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการ และให้จัดตั้งคณะกรรมการจัดพิมพ์ จัดส่ง และเรียกเก็บเงินจาก กสทช. โดยใช้เงินจากสำนักงาน กสทช. จ่าย สำหรับประชาชน เมื่อได้รับคูปองแล้ว ให้นำบัตรประชาชนไปแสดงตัวตน เพื่อเป็นหลักฐานพร้อมคูปอง จากนั้นทางร้านจะนำสติกเกอร์ที่ติดอยู่ที่กล่องมาติดไว้บนคูปอง ก่อนให้นำไปแลกซื้อ

"เงื่อนไขการใช้คูปองที่เปลี่ยนจากเดิมที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์หรือ กสท. กำหนดเงื่อนไขให้แลกรับได้ 4 ประเภท คือ กล่อง ดีวีบี ที2 เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และ สมาร์ททีวี เหลือ 2 ประเภท เนื่องจากได้รับการทักท้วงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ที่เห็นว่าการแลกรับกล่องดาวเทียมอื่นๆ นั้นไม่ถูกต้องตามประกาศ

สำหรับบริษัทผู้ผลิตกล่องที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด คือ มีเงินค้ำประกัน 2 ล้านบาท รับประกันกล่อง 3 ปี สามารถเปลี่ยนได้ทันทีหากกล่องมีปัญหา และมีจุดแลกซื้อคูปองในวันที่เริ่มต้นแจก" เลขาธิการ กสทช.กล่าว

นายฐากร กล่าวด้วยว่า คาดว่าจะมีประชาชนร้อยละ 30 ไม่มาแลกคูปอง โดยเงินตรงนี้จะถูกส่งกลับไปเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ขณะที่มูลค่าการคูปอง 15,801 ล้านบาท คำนวณจากราคาคูปอง 690 บาท คูณ 22 ล้าน 9 แสนครัวเรือน ส่วนประเด็น แลกกล่องดาวเทียม เคเบิลไม่ได้นั้น กสทช. มีความเห็นว่าช่วงเริ่มต้นเปลี่ยนผ่าน เป็นการสนับสนุนภาคพื้นดิน แล้วต่อไปค่อยไปสนับสนุนดาวเทียมภายหลัง ขณะที่ สตง. มีความเห็นว่า กล่องดาวเทียม ต้องไปแข่งขันกันด้านธุรกิจ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการประมูลทีวีดิจิตอล

รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมเพื่อการเคาะราคาครั้งนี้ พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. ไม่ได้เข้าร่วมประชุม.


http://www.thairath.co.th/content/438648

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.