Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 สิงหาคม 2557 TOT ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก โดยสิ้นปี 2557 จะขาดทุน 8,900 ล้านบาท เนื่องจากไม่สามารถหารายได้ทดแทนจากสัญญาสัมปทาน

ประเด็นหลัก

รายงานข่าวจาก บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ส.ค. จะมีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ขุดใหม่เป็นครั้งแรก หลังจากที่กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งแต่งตั้งบอร์ดชุดใหม่ ภายใต้การบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)​ เมื่อต้นเดือนส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งบอร์ดชุดใหม่ต้องเร่งกำหนดทิศทางนโยบายการพลิกฟื้นธุรกิจทีโอที หลังจากประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก โดยสิ้นปี 2557 จะขาดทุน 8,900 ล้านบาท




______________________________




บอร์ดทีโอทีเร่งพลิกฟื้นองค์กรหลังขาดทุนอื้อ


บอร์ดชุดใหม่ทีโอที เร่งกำหนดทิศทางพลิกฟื้นองค์กร หลังผลประกอบการปีนี้ขาดทุน 8,900 ล้านบาท

รายงานข่าวจาก บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ส.ค. จะมีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ขุดใหม่เป็นครั้งแรก หลังจากที่กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งแต่งตั้งบอร์ดชุดใหม่ ภายใต้การบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)​ เมื่อต้นเดือนส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งบอร์ดชุดใหม่ต้องเร่งกำหนดทิศทางนโยบายการพลิกฟื้นธุรกิจทีโอที หลังจากประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก โดยสิ้นปี 2557 จะขาดทุน 8,900 ล้านบาท

ทั้งนี้ ที่ประชุมบอร์ดจะเลือกพล.อ. สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ รองเสนาธิการทหารบกให้ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดตามที่กำหนดไว้  หลังจากนั้นจะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูง โดยนายยงยุทธ วัฒนสินธิ์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ รายงานสถานะแผนยุทธศาสตร์ของทีโอที และผลประกอบการในปี 2557 ที่จะขาดทุน 8,900 ล้านบาท โดยมีรายได้  5.76 หมื่นล้านบาท ค่าใช้จ่าย  6.65 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ผลประกอบการ 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) มีรายได้ 3.24 หมื่นล้านบาท ค่าใช้จ่าย  3.37 หมื่นล้านบาท ขาดทุน 1,300 ล้านบาท นอกจากนี้ในปี2558 ทีโอทีจะประสบปัญหาการขาดทุนและขาดสภาพคล่องทางเงิน  เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ทำให้ต้องนำเงินสดสะสมท่ีมีอยู่ประมาณ 3-5 หมื่นล้านบาท ออกมาใช้จ่าย และเงินสะสมที่ได้นำไปลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อสร้างรายได้และพัฒนาบริการ

สำหรับสาเหตุที่ทีโอทีขาดทุนอย่างมากนั้น เนื่องจากไม่สามารถหารายได้ทดแทนจากสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือที่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินตาม มาตรา84 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.)

อย่างไรก็ตาม คสช. ได้อนุมัติแผนลงทุนระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่าบประเทศของทีโอที ระยะเวลา 3 ปี (2557-2559) แบ่งเป็นการใช้เงินกู้ในการลงทุน 3,289.8 ล้านบาท หรือ 54% ของเงินลงทุนทั้งหมด และเงินรายได้ของทีโอที 2,689.3 ล้านบาท

แผนลงทุนประกอด้วย 3 เส้นทาง คือ เส้นทางเอเชีย-ยุโรป (AAE1) วงเงิน 1,408 ล้านบาท เส้นทางเซ้าท์อีสต์เอเชีย-มิดเดิล อีสต์ เวสต์เทิร์น ยุโรป 5 (SEA-ME-WE 5) วงเงิน 1,376 ล้านบาท และเส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ญี่ปุ่น (SJC) วงเงิน 2,278 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายภายในประเทศ วงเงิน 417.9 ล้านบาท



http://www.posttoday.com/ธุรกิจ-ตลาด/เศรษฐกิจภาครัฐ/313244/บอร์ดทีโอทีเร่งพลิกฟื้นองค์กรหลังขาดทุนอื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.