Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กันยายน 2557 PSI ยังดีอยู่ จากเป้าต้นปี 3.5 ล้านกล่อง สิ้นปีจึงขยับเป้าเป็น 4.1 ล้านกล่อง สถานการณ์ธุรกิจปัจจุบัน ยังมีคนขอขึ้นช่องใหม่บนแพลตฟอร์มของเราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ประเด็นหลัก


- สถานการณ์ธุรกิจปัจจุบัน

เติบโตจากปีก่อนพอสมควร ถึงแม้กระแสทีวีดาวเทียมจะเงียบไปบ้าง แต่ก็ยังมีคนขอขึ้นช่องใหม่บนแพลตฟอร์มของเราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นช่องทางที่ใช้โฆษณาที่เหมาะกับธุรกิจขายตรง หรือสินค้าอื่น ๆ ที่อาจไม่คุ้มทุนหากไปลงโฆษณาทางฟรีทีวี หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยตัวสินค้าที่อาจจะเฉพาะกลุ่มเกินไป ดังนั้น การทำช่องทีวีจึงตอบโจทย์เพราะเสนอผลิตภัณฑ์ได้เต็มรูปแบบ รวมถึงถ้ามีคนดูเยอะก็สามารถขายเวลาโฆษณาให้กับเจ้าอื่น ๆ มาซื้อได้อีก แต่ทางพีเอสไอก็คอยมอนิเตอร์ตลอดว่ามีอะไรที่ผิดกฎหมายหรือไม่

ตอนนี้ก็มีช่องเป็นหลักร้อยแล้ว รายได้ กว่า 80% ของพีเอสไอ บรอดคาสติ้ง ก็มาจากการทำแพลตฟอร์มขึ้นช่องทีวีดาวเทียม ส่วนการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ระดับแม่เหล็กก็ทำให้เรามีรายได้จากการขายโฆษณาอีกทางหนึ่ง แม้ยังไม่เยอะ

- เตรียมรับมือคูปองทีวีดิจิทัลอย่างไร

กำลังวางแผนจะสู้กับกระแสการแลกคูปองส่วนลดซื้อกล่องทีวีดิจิทัลของกสทช.อาจได้เห็นพีเอสไอยอมเจ็บตัวเปิดให้ลูกค้าเอาคูปองของ กสทช.มาเป็นส่วนลดแลกกล่องดาวเทียมพีเอสไอได้ แต่พีเอสไอจะเอาคูปองไปขึ้นเงินกับ กสทช.ไม่ได้

จะชัดเจนอย่างไรต้องรอให้คูปองตัวจริงออกมาก่อน แต่ตอนนี้คิดว่ายอดขายกล่อง PSI ยังเป็นไปตามเป้า แม้จะมีกระแสทีวีดิจิทัล ครึ่งปีแรกขายได้เกือบ 3 ล้านกล่อง จากเป้าต้นปี 3.5 ล้านกล่อง สิ้นปีจึงขยับเป้าเป็น 4.1 ล้านกล่อง ปัจจัยที่ทำให้กล่องขายได้เพราะมีคอนเทนต์ที่แข็ง

- เป้าหมายปีนี้

ต้องหารายการใหม่ ๆ มาเพิ่ม การจับมือกับผู้ถือลิขสิทธิ์รายการทั้งในไทยและต่างประเทศ ก่อนนี้จับมือกับซีทีเอชผู้ถือครองลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกอังกฤษ ออกโปรโมชั่นรายฤดูกาลแค่เดือนละ 180 บาท ถูกที่สุดในตลาด และเร่งเจรจา 7 ช่องพาร์ตเนอร์ต่างประเทศ ซึ่งปกติต้องจ่ายเงินดู แต่คราวนี้จะให้มาดูฟรีผ่านพีเอสไอ





______________________________




พีเอสไอ ฝ่าสมรภูมิบรอดแคสต์ ดึงคอนเทนต์พาร์ตเนอร์เพิ่มแต้มต่อธุรกิจ


จากผู้ผลิตและจำหน่ายจานดาวเทียมสัญชาติไทยเมื่อ 15 ปีก่อน ปัจจุบันกลุ่ม "พีเอสไอ" ได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจคอนเทนต์โพรไวเดอร์สมบูรณ์แบบ โดยมีฟันเฟืองสำคัญ "บริษัท พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง จำกัด" ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับความนิยมของทีวีดาวเทียม และถ้าพูดถึง "พีเอสไอ" อีกชื่อหนึ่งที่คนในวงการนึกถึงคู่กัน คือ "อ.สมพร ธีระโรจนพงษ์" ผู้บุกเบิกธุรกิจ และปัจจุบันนั่งในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง ส่งไม้ต่องานด้านบรอดแคสต์ให้ "วรสิทธิ์ ลีลาบูรณพงศ์" ลูกหม้อที่ทำงานในพีเอสไอกว่า 16 ปีมาดูแลงานฝั่งบรอดแคสต์ที่กำลังเติบโตในตำแหน่ง "ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร" พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสได้พูดคุยกับ "วรสิทธิ์" เกี่ยวกับทิศทางธุรกิจดังนี้



- ทั้ง 2 บริษัทรับผิดชอบธุรกิจต่างกัน

อาจารย์สมพรเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโฮลดิ้ง ส่วนบรอดแคสติ้งเป็นผม พีเอสไอ โฮลดิ้งจะเป็นบริษัทดูแลเรื่องการผลิต การขนส่งสินค้าไปในที่ต่าง ๆ ส่วนพีเอสไอบรอดแคสต์เป็นเหมือนผู้ช่วยของโฮลดิ้งให้ขายกล่องดาวเทียมให้ได้มากขึ้นผ่านรายการที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นรายได้หลักของโฮลดิ้ง ผมจะดูภาพรวมของบริษัท เน้นไปที่การทำตลาดและหาช่องรายการใหม่เพื่อแพร่ภาพในระบบของบริษัท

- สถานการณ์ธุรกิจปัจจุบัน

เติบโตจากปีก่อนพอสมควร ถึงแม้กระแสทีวีดาวเทียมจะเงียบไปบ้าง แต่ก็ยังมีคนขอขึ้นช่องใหม่บนแพลตฟอร์มของเราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นช่องทางที่ใช้โฆษณาที่เหมาะกับธุรกิจขายตรง หรือสินค้าอื่น ๆ ที่อาจไม่คุ้มทุนหากไปลงโฆษณาทางฟรีทีวี หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยตัวสินค้าที่อาจจะเฉพาะกลุ่มเกินไป ดังนั้น การทำช่องทีวีจึงตอบโจทย์เพราะเสนอผลิตภัณฑ์ได้เต็มรูปแบบ รวมถึงถ้ามีคนดูเยอะก็สามารถขายเวลาโฆษณาให้กับเจ้าอื่น ๆ มาซื้อได้อีก แต่ทางพีเอสไอก็คอยมอนิเตอร์ตลอดว่ามีอะไรที่ผิดกฎหมายหรือไม่

ตอนนี้ก็มีช่องเป็นหลักร้อยแล้ว รายได้ กว่า 80% ของพีเอสไอ บรอดคาสติ้ง ก็มาจากการทำแพลตฟอร์มขึ้นช่องทีวีดาวเทียม ส่วนการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ระดับแม่เหล็กก็ทำให้เรามีรายได้จากการขายโฆษณาอีกทางหนึ่ง แม้ยังไม่เยอะ

- รายได้ฝั่งบรอดแคสต์

ยอมรับว่าถึงดาวเทียมจะบูมแค่ไหน แต่รายได้จากฝั่งบรอดแคสต์ยังเป็นแค่ 30% ของรายได้รวม 3,000 ล้านบาทของพีเอสไอ โฮลดิ้ง แต่คิดว่าปีหน้าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 50% ของรายได้รวม จากการมีช่องมากขึ้นและการขายโฆษณาบนช่องรายการคุณภาพที่มีมากขึ้น

- กสทช.มีผลกับธุรกิจ ?

ตอนแรกก็กลัวเพราะไม่เคยโดนควบคุมมาก่อน และอาจมีผลให้อุตสาหกรรมไม่โต จึงต่อต้านพอสมควร แต่เวลาผ่านไปมีโอกาสพูดคุยกับ กสทช.มากขึ้น ทำให้รู้ว่ามีโอกาสหลายช่องทางถ้าเรายอมรับและปฏิบัติตามกฎที่ กสทช.สร้างขึ้นมา ที่ดีคือเราสามารถรู้ว่าทิศทางของอุตสาหกรรมนี้จะเดินไปทางไหน จากเดิมที่ทุกคนปากกัดตีนถีบ ทำกันอย่างสะเปะสะปะ ที่สำคัญถูกกฎหมายแน่นอน ถ้า กสทช.ขออะไรมาเราก็จะทำตาม และพยายามหาช่องทางทำธุรกิจอย่างถูกต้องให้ได้มากที่สุด

ถามว่าทำให้แผนเราเปลี่ยนหรือไม่ นิดหน่อย เช่น การเรียงช่องรายการ และการมอนิเตอร์ช่องต่าง ๆ ที่อยู่ในแพลตฟอร์ม แต่อยากให้ กสทช.แจ้งล่วงหน้าหรือเรียกผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมเข้าไปหารือหากจะออกกฎ ไม่ใช่ประกาศกะทันหัน

- ทีวีดิจิทัลกระทบ ?

ส่วนใหญ่แล้วไม่ อย่างแรกคือช่วยเพิ่มช่องให้เราอัตโนมัติ (อีก 36 ช่อง) และส่วนใหญ่ผู้บริโภคก็ดูทีวีผ่านดาวเทียมไปแล้ว เพราะบางพื้นที่โครงข่ายยังเข้าไปไม่ถึง การรับชมทีวีดิจิทัลผ่านดาวเทียมน่าจะคุ้มกว่า มีช่องให้ดูเพิ่มอีก 200 กว่าช่อง

การโดนทีวีดิจิทัลเบียดแบนด์วิดท์บนดาวเทียมไทยคมก็ไม่ได้มากเท่าไร พอสิ้นสุดช่วงทดลองออกอากาศก็จะมีเนื้อที่เหลือกลับมา ซึ่งพีเอสไอจะเข้าไปเช่าพื้นที่ทั้งหมด ทำให้มี 3 ทรานสปอนเดอร์ในการส่งสัญญาณตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.

- ตลาดทีวีดาวเทียมแข่งขันสูง

ราคากล่องแข่งกันน้อยลงมาก ไม่เหมือนช่วงที่แกรมมี่เข้ามาใหม่ ๆ ตอนนั้นทุกค่ายดัมพ์ราคากันสุดตัว แต่ตอนนี้เหลือแต่แข่งกับตัวเอง ที่สำคัญปัจจุบันทุกคนมีคอนเทนต์เหมือนกัน เช่น พรีเมียร์ลีกอังกฤษ ดังนั้น เกมหลักคือต้องทำให้ลูกค้าเลือกมาจ่ายกับระบบของตัวเองให้ได้ โดยพีเอสไอเลือกวิธีจ่ายเป็นรายฤดูกาล (14 เดือน) ไม่ใช่เติมเงินทุกเดือน วิธีนี้น่าจะช่วยสร้างยอดขายกล่องซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัทเพิ่ม รวมถึงลูกค้าเก่ากว่า 17 ล้านกล่อง

- ปรับตัวรับเพย์ทีวี-จอดำคอนเทนต์ลิขสิทธิ์

เหลือกล่องรุ่นเก่าที่เข้ารหัสไม่ได้ หรือไม่มี OTA (อัพเดตช่องอัตโนมัติ) ไม่ได้แค่ 5-6 แสนกล่อง เพราะลูกค้าทยอยซื้อกล่องใหม่ไปก่อนหน้านี้แล้ว ตั้งแต่มีปัญหาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ตอนนั้นเราก็จูงใจด้วยโปรโมชั่นกล่องเก่าแลกกล่องใหม่แค่ 499 บาท แต่ถ้าอยากจะดูช่อง HD ก็เพิ่มเงินนิดหน่อย

- เตรียมรับมือคูปองทีวีดิจิทัลอย่างไร

กำลังวางแผนจะสู้กับกระแสการแลกคูปองส่วนลดซื้อกล่องทีวีดิจิทัลของกสทช.อาจได้เห็นพีเอสไอยอมเจ็บตัวเปิดให้ลูกค้าเอาคูปองของ กสทช.มาเป็นส่วนลดแลกกล่องดาวเทียมพีเอสไอได้ แต่พีเอสไอจะเอาคูปองไปขึ้นเงินกับ กสทช.ไม่ได้

จะชัดเจนอย่างไรต้องรอให้คูปองตัวจริงออกมาก่อน แต่ตอนนี้คิดว่ายอดขายกล่อง PSI ยังเป็นไปตามเป้า แม้จะมีกระแสทีวีดิจิทัล ครึ่งปีแรกขายได้เกือบ 3 ล้านกล่อง จากเป้าต้นปี 3.5 ล้านกล่อง สิ้นปีจึงขยับเป้าเป็น 4.1 ล้านกล่อง ปัจจัยที่ทำให้กล่องขายได้เพราะมีคอนเทนต์ที่แข็ง

- เป้าหมายปีนี้

ต้องหารายการใหม่ ๆ มาเพิ่ม การจับมือกับผู้ถือลิขสิทธิ์รายการทั้งในไทยและต่างประเทศ ก่อนนี้จับมือกับซีทีเอชผู้ถือครองลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกอังกฤษ ออกโปรโมชั่นรายฤดูกาลแค่เดือนละ 180 บาท ถูกที่สุดในตลาด และเร่งเจรจา 7 ช่องพาร์ตเนอร์ต่างประเทศ ซึ่งปกติต้องจ่ายเงินดู แต่คราวนี้จะให้มาดูฟรีผ่านพีเอสไอ



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1411546055

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.