Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 ตุลาคม 2557 (ไม่คืบ) ช่อง 3 อนาล็อก จับมือ ช่อง 3 ดิจิตอล (บริษัทแม่คนเดียวกัน) ชี้ไม่ออกคู่ขนานเพราะคนละนิติบุคคล // กสทช.สุภิญญา และ กสทช.นที ชี้ สามารถออกคู่ขนานได้ 100 %

ประเด็นหลัก


 ต่อมาในเวลา 17.00 น. ตัวแทนจากบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด และ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ประกอบด้วย นายประสาร มาลีนนท์ นายฉัตรชัย เทียมทอง นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ และนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ เดินทางเข้าพบคณะกรรมการกสท. เพื่อหารือเรื่องแนวทางการออกอากาศคู่ขนานตามคำเชิญของคณะกรรมการ กสท.ซึ่งมีกรรมการเข้าร่วมประชุม 4 คนได้แก่ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และพ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า ขาดเพียงกรรมการกสท.อีกคนหนึ่งคือพล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ ติดภารกิจดูงานที่ประเทศเยอรมัน
     
       อย่างไรก็ตาม นายสุรินทร์ กล่าวเพียงสั้นๆก่อนเข้าห้องประชุมว่า ตัวแทนผู้บริหารทั้งหมดเดินทางมาในนามทั้ง 2 บริษัท โดย บีอีซี-มัลติมีเดีย มาในฐานะการหารือตามมติกสท.เรื่องการให้ออกอากาศคู่ขนาน ขณะที่ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ มาในฐานะที่ศาลปกครองที่บอกให้มาเจรจากันเรื่องปัญหาช่อง 3 ที่เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ว่าผู้บริหารจะมาในนามของบริษัทใดก็ยังยืนยันว่าเป็นคนละนิติบุคคล ขณะที่นายฉัตรชัย ก็ตอบสื่อมวลชนในทิศทางเดียวกันว่าการมาครั้งนี้สวมหมวกหลายใบ
     
       หลังจากนั้นเวลา 18.22 น. นายสุรินทร์ กล่าวภายหลังการหารือเรื่องดังกล่าวว่า ยังไม่มีข้อสรุปต้องกลับไปดูวิธีการในทางปฏิบัติว่าหากทำตามมติกสท.แล้วทั้ง 2 บริษัทต้องไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้นขณะนี้บริษัทจึงยังไม่มีการดำเนินการยื่นผังรายการเข้ามาให้กสท.พิจารณา เพราะนับจากนี้ไปบริษัทยังมีเวลาในการกลับไปดูเงื่อนไขแม้จะเป็นเวลาค่อนข้างสั้น ก็ตาม
     
       'เราต้องกลับมาเคลียร์กันก่อนว่าทำได้จริง โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย เราจึงยังทำไม่ได้ในทันที เรายังมีข้อกังวลเรื่องแนวทางการปฏิบัติว่าทำได้จริงหรือไม่ รวมถึงเรื่องลิขสิทธิ์รายการที่เราซื้อมา ธุรกิจทีวีของเราทำหลายรูปแบบดังนั้นผังรายการของเราจึงมีเงื่อนไข บางรายการเราให้คนอื่นเช่น บางรายการเราซื้อมาออก บางรายการเราก็ทำเอง การจะยกผังรายการทั้ง 100% ไปออกในช่องดิจิตอลมันไม่ง่าย'
     

     
       ด้านนางสาวสุภิญญา กรรมการกสท.กล่าวว่า การหารือครั้งนี้เพื่อยืนยันถึงมติของกสท.เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ว่าช่อง 3 ควรทำอย่างไร ซึ่งทางผู้บริหารก็เข้าใจและยินดีในการออกอากาศคู่ขนาน นอกจากนี้กสท.ยังได้ชี้แจงว่า ทั้ง 3 บริษัท คือ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด และบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด มีฐานะเป็นโฮลดิ้ง คอมพานี คือเป็นบริษัทที่มีความสัมพันธ์แบบธุรกิจครอบครัว ผู้บริหารจากบริษัทดังกล่าวจึงไม่ได้ติดใจเรื่องนิติบุคคลแล้ว ดังนั้นช่อง 3 ต้องส่งผังรายการมานำเสนอเพื่อให้กสท.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์ช่อง 3 เป็นเรื่องการบริหารจัดการในองค์กรของเขาเองอย่าโยนภาระให้กับกสท.
     
       'ส่วนผังรายการอาจจะเป็นผังจากอนาล็อก 100% หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่าผังนั้นเข้าตามเงื่อนไขในใบอนุญาตทีวีดิจิตอลหรือไม่ เช่น มีเนื้อหาข่าว รายการเด็ก หรือละครในสัดส่วนที่เงื่อนไขกำหนดหรือไม่ หากเข้าเงื่อนไขก็สามารถนำมาออกได้ทั้ง 100% หากไม่เข้าตามเงื่อนไขก็ต้องปรับ หรืออาจนำเนื้อหาไปออกในช่องดิจิตอลอีก 2 ช่อง ที่ช่อง 3 ประมูลมาได้ '
     
       ทั้งนี้ทางกสท.ยืนยันว่าได้ทำเต็มที่แล้วกับเรื่องนี้และคงไม่ทำอะไรมากกว่านี้จนเกินงามจนทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นเห็นว่าเป็นการทำเพื่อช่อง 3 เพียงรายเดียว ส่วนเรื่องการตั้งคณะทำงานทางกสท.ไม่มีแนวคิดตามที่ช่อง 3 กล่าว
     
       ขณะที่ พ.อ.นที ประธานกสท.กล่าวว่า เมื่อช่อง 3 มาหารือกันในครั้งนี้ตัวแทนผู้บริหารต้องกลับไปพิจารณาร่วมกับผู้บริหารช่องอีกครั้งหนึ่ง แต่กสท.ยืนยันว่าไม่มีแนวคิดในการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อแก้ปัญหาให้ช่อง 3 ส่วนเรื่องที่ว่าช่อง 3 จะสามารถออกคู่ขนานได้ 100 % หรือไม่นั้นก็ยังไม่แน่ใจว่าท้ายที่สุดแล้วจะออกมาเป็นรูปแบบไหน แต่ตามความเห็นของกสท.คือต้องการให้ออกคู่ขนาน












______________________________




เจรจาช่อง 3 ไม่คืบ กสท.เปิดทางไม่ต้องคู่ขนาน 100 % ได้



        ช่อง 3 ร่วมเจรจากับ กสท. หาแนวทางการออกอากาศคู่ขนาน แต่ยังไร้ข้อสรุป 'สุรินทร์' แจงยังไม่เสนอผังรายการทันทีเพราะมีรายละเอียดที่ต้องลงลึก และต้องแน่ใจว่าปฏิบัติได้โดยไม่ขัดกฎหมาย พร้อมเสนอตั้งคณะทำงานร่วม กสท. เพื่อแก้ปัญหาโดยเฉพาะ ด้าน กสท.ยันไม่มีการตั้งคณะทำงาน 'สุภิญญา' เปิดทางไม่ต้องคู่ขนาน 100% เผยทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว เกรงถูกกล่าวหาทำเพื่อช่อง 3 มากเกินไป ด้าน 'นที' เผยอยากเห็นการออกคู่ขนาน 100% แต่ก็ไม่แน่ใจว่าท้ายที่สุดจะออกมารูปแบบไหน
     
       เมื่อวันที่ 30 ก.ย. เวลาประมาณ 10.00 น. ตัวแทนจาก บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3 ดิจิตอล) เข้ามายื่นหนังสือถึง พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อเชิญ กสท.เข้าร่วมหารือเพื่อแก้ปัญหาการออกอากาศคู่ขนานตามคำสั่งศาลปกครองโดยมีนายพสุ ศรีหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและวิชาการกระจายเสียและโทรทัศน์ เป็นผู้รับหนังสือแทน
     
       ต่อมาในเวลา 17.00 น. ตัวแทนจากบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด และ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ประกอบด้วย นายประสาร มาลีนนท์ นายฉัตรชัย เทียมทอง นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ และนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ เดินทางเข้าพบคณะกรรมการกสท. เพื่อหารือเรื่องแนวทางการออกอากาศคู่ขนานตามคำเชิญของคณะกรรมการ กสท.ซึ่งมีกรรมการเข้าร่วมประชุม 4 คนได้แก่ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และพ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า ขาดเพียงกรรมการกสท.อีกคนหนึ่งคือพล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ ติดภารกิจดูงานที่ประเทศเยอรมัน
     
       อย่างไรก็ตาม นายสุรินทร์ กล่าวเพียงสั้นๆก่อนเข้าห้องประชุมว่า ตัวแทนผู้บริหารทั้งหมดเดินทางมาในนามทั้ง 2 บริษัท โดย บีอีซี-มัลติมีเดีย มาในฐานะการหารือตามมติกสท.เรื่องการให้ออกอากาศคู่ขนาน ขณะที่ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ มาในฐานะที่ศาลปกครองที่บอกให้มาเจรจากันเรื่องปัญหาช่อง 3 ที่เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ว่าผู้บริหารจะมาในนามของบริษัทใดก็ยังยืนยันว่าเป็นคนละนิติบุคคล ขณะที่นายฉัตรชัย ก็ตอบสื่อมวลชนในทิศทางเดียวกันว่าการมาครั้งนี้สวมหมวกหลายใบ
     
       หลังจากนั้นเวลา 18.22 น. นายสุรินทร์ กล่าวภายหลังการหารือเรื่องดังกล่าวว่า ยังไม่มีข้อสรุปต้องกลับไปดูวิธีการในทางปฏิบัติว่าหากทำตามมติกสท.แล้วทั้ง 2 บริษัทต้องไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้นขณะนี้บริษัทจึงยังไม่มีการดำเนินการยื่นผังรายการเข้ามาให้กสท.พิจารณา เพราะนับจากนี้ไปบริษัทยังมีเวลาในการกลับไปดูเงื่อนไขแม้จะเป็นเวลาค่อนข้างสั้น ก็ตาม
     
       'เราต้องกลับมาเคลียร์กันก่อนว่าทำได้จริง โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย เราจึงยังทำไม่ได้ในทันที เรายังมีข้อกังวลเรื่องแนวทางการปฏิบัติว่าทำได้จริงหรือไม่ รวมถึงเรื่องลิขสิทธิ์รายการที่เราซื้อมา ธุรกิจทีวีของเราทำหลายรูปแบบดังนั้นผังรายการของเราจึงมีเงื่อนไข บางรายการเราให้คนอื่นเช่น บางรายการเราซื้อมาออก บางรายการเราก็ทำเอง การจะยกผังรายการทั้ง 100% ไปออกในช่องดิจิตอลมันไม่ง่าย'
     
       อย่างไรก็ตามจากการเข้ามาหารือกับกสท.ครั้งนี้ทำให้บริษัทมีความหวังนับจากนี้ 1-2 วัน อาจจะเข้ามาหารือกับกสท.อีกครั้งหนึ่งอาจจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ ส่วนเรื่องนิติบุคคลตอนนี้คิดว่าเป็นเรื่องของรายละเอียดแล้ว
     
       ด้านนางสาวสุภิญญา กรรมการกสท.กล่าวว่า การหารือครั้งนี้เพื่อยืนยันถึงมติของกสท.เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ว่าช่อง 3 ควรทำอย่างไร ซึ่งทางผู้บริหารก็เข้าใจและยินดีในการออกอากาศคู่ขนาน นอกจากนี้กสท.ยังได้ชี้แจงว่า ทั้ง 3 บริษัท คือ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด และบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด มีฐานะเป็นโฮลดิ้ง คอมพานี คือเป็นบริษัทที่มีความสัมพันธ์แบบธุรกิจครอบครัว ผู้บริหารจากบริษัทดังกล่าวจึงไม่ได้ติดใจเรื่องนิติบุคคลแล้ว ดังนั้นช่อง 3 ต้องส่งผังรายการมานำเสนอเพื่อให้กสท.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์ช่อง 3 เป็นเรื่องการบริหารจัดการในองค์กรของเขาเองอย่าโยนภาระให้กับกสท.
     
       'ส่วนผังรายการอาจจะเป็นผังจากอนาล็อก 100% หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่าผังนั้นเข้าตามเงื่อนไขในใบอนุญาตทีวีดิจิตอลหรือไม่ เช่น มีเนื้อหาข่าว รายการเด็ก หรือละครในสัดส่วนที่เงื่อนไขกำหนดหรือไม่ หากเข้าเงื่อนไขก็สามารถนำมาออกได้ทั้ง 100% หากไม่เข้าตามเงื่อนไขก็ต้องปรับ หรืออาจนำเนื้อหาไปออกในช่องดิจิตอลอีก 2 ช่อง ที่ช่อง 3 ประมูลมาได้ '
     
       ทั้งนี้ทางกสท.ยืนยันว่าได้ทำเต็มที่แล้วกับเรื่องนี้และคงไม่ทำอะไรมากกว่านี้จนเกินงามจนทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นเห็นว่าเป็นการทำเพื่อช่อง 3 เพียงรายเดียว ส่วนเรื่องการตั้งคณะทำงานทางกสท.ไม่มีแนวคิดตามที่ช่อง 3 กล่าว
     
       ขณะที่ พ.อ.นที ประธานกสท.กล่าวว่า เมื่อช่อง 3 มาหารือกันในครั้งนี้ตัวแทนผู้บริหารต้องกลับไปพิจารณาร่วมกับผู้บริหารช่องอีกครั้งหนึ่ง แต่กสท.ยืนยันว่าไม่มีแนวคิดในการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อแก้ปัญหาให้ช่อง 3 ส่วนเรื่องที่ว่าช่อง 3 จะสามารถออกคู่ขนานได้ 100 % หรือไม่นั้นก็ยังไม่แน่ใจว่าท้ายที่สุดแล้วจะออกมาเป็นรูปแบบไหน แต่ตามความเห็นของกสท.คือต้องการให้ออกคู่ขนาน


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000112594


_________________________





ช่อง3 ยังไม่ส่งผังให้กสท.-ชี้อาจต้องตั้งคณะทำงานร่วม

วันนี้(30ก.ย.)ที่อาคารเอ็กซิมแบงก์ เวลา 17.00 น. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)ได้หารือกับผู้บริหารช่อง 3 ประกอบด้วย นายประสาร มาลีนนท์ รองประธานกรรมการบริหาร นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์ รองกรรมการผู้จัดการ และนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย


ภายหลังใช้เวลาหารือกันร่วม2ชั่วโมงนายสุรินทร์  เปิดเผยว่าการหารือของช่อง 3 ในครั้งนี้มาในนามบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ต้องการให้คู่กรณีเจรจากัน และมาในนามบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด เพื่อสอบถามความชัดเจนจากมติบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 29 กันยายน ซึ่งระบุให้ช่อง 3 นำผังรายการมาส่งบอร์ด กสท. ให้พิจารณา เพื่อไปสู่การออกอากาศได้ทันที โดยหลังจากทางช่อง 3 หารือกับบอร์ด กสท. แล้ว พบว่ายังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนทางกฎหมาย ที่นำไปสู่การปฏิบัติในการออกอากาศคู่ขนานทั้งในระบบอนาล็อก และดิจิตอล
   
หลังจากนี้อาจมีการนัดหารืออีกครั้ง ซึ่งทาง กสท. ก็ต้องยืนยันความถูกต้องในแต่ละประเด็นที่เรากังวลให้ได้ หรือไม่จนกว่าจะถึงกำหนดทุเลาคำสั่งศาลปกครองกลางในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ ทาง กสท. จะมีเสนอทางออกอื่นให้พิจารณาหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ กสท. แต่หากเป็นแนวทางที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ทำให้เราหายกังวลได้ ทางช่อง 3 ก็พร้อมจะออกคู่ขนานทันที

"เร็วๆนี้อาจจะมีการตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายร่วมกันระหว่างช่อง 3 และกสทช . เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณากรณีของช่อง 3 แก้ปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการออกอากาศคู่ขนาน หรือ การที่ บีอีซี มัลติมีเดีย เจ้าของช่อง 33 เอชดี ต้องดำเนินการเพื่อนำช่อง 3 อะนาล็อกมาออกอากาศ เนื่องจากในขณะนี้มีข้อจำกัดเรื่องของเวลาที่ต้องหาทางออกให้ได้ก่อนวันที่11ต.ค. นี้"

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในการหารือครั้งนี้ ช่อง 3 ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากมติบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การหารือในลำดับถัดไป ซึ่ง กสท. มีหน้าที่อธิบาย และช่วยหาทางออกเพื่อให้กระบวนการนำไปสู่การออกอากาศบนทีวีดิจิตอลง่ายขึ้น


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=248591:3--&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524#.VCtiO75Aeuw


____________________________



กสท.เจรจาช่อง 3 ติดกังวลกฎหมาย เสนอแนวทางตั้งคณะทำงานกฎหมายร่วมกัน แก้ปัญหา-ข้อสรุป ก่อน 11 ตค.นี้ ด้าน"สุภิญญา" วอนอย่าผลักภาระให้กสท . ส่วนงานเสวนา นักวิชาขอให้รอฟังคำสั่งศาลปกครอง


วันนี้(30ก.ย.)ที่อาคารเอ็กซิมแบงก์ เวลา 17.00 น. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)ได้หารือกับผู้บริหารช่อง 3 ประกอบด้วย นายประสาร มาลีนนท์ รองประธานกรรมการบริหาร นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์ รองกรรมการผู้จัดการ และนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย

นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์ เปิดเผยว่า การเจรจารอบนี้ยังกังวลเรื่องข้อกฎหมาย ความชัดเจนเกี่ยวกับมติของกสท. และศึกษาเงื่อนไขแนวทางปฎิบัติ ข้อกังวลเรื่องของลิขสิทธิ์ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในทางธุรกิจหากจะนำเอาคอนเทนต์ช่องอนาล็อกมาออกอากาศในช่องดิจิตอล ทั้งนี้การเจรจายังมีความหวังโดยคาดว่าในอีก 1-2 วันจะมีการหารือร่วมกันอีก รวมถึงอาจจะมีการตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายร่วมกันระหว่างช่อง 3 และกสทช . เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณากรณีของช่อง 3 แก้ปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการออกอากาศคู่ขนาน หรือ การที่ บีอีซี มัลติมีเดีย เจ้าของช่อง 33 เอชดี ต้องดำเนินการเพื่อนำช่อง 3 อะนาล็อกมาออกอากาศ เนื่องจากในขณะนี้มีข้อจำกัดเรื่องของเวลาที่ต้องหาทางออกให้ได้ก่อนวันที่11ต.ค. นี้

ด้านน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช . และกสท. กล่าวว่า การเจรจาวันนี้ ช่อง3 เข้าใจมากขึ้น แต่ยังมีความกังวลข้อกฎหมาย ซึ่งกสท.ก็ได้อธิบายจนครบ และยืนยันว่าทางออกของช่อง 3 สามารถดำเนินการได้คือ ให้บริษัทบีอีซีฯ เป็นผู้รับใบอนุญาตช่องดิจิตอล เจรจาบางกอกฯ ผู้รับใบอนุญาตช่องอนาล็อก ซึ่งทั้ง2 บริษัท อยู่ภายใต้บริษัท บีอีซีเวิล แล้วยื่นผังรายการ จากนั้น กสท. จะพิจารณา โดย บีอีซี สามารถนำรายการไหนของบางกอกฯ มาออกอากาศทางดิจิตอลช่อง 33 เอชดีได้ และมั่นใจว่าจะจบก่อนวันที่ 11 ต.ค.นี้

" ช่อง 3 ไม่กังวลเรื่องนิติบุคคล ซึ่งหากช่อง 3 ดำเนินการครบตามเงื่อนไขกสท. ก็จะดี เนื่องจากในขณะนี้มองว่าทั้งบีอีซี และบางกอกฯ ต้องไปบริหารจัดการกันเอง เนื่องจากอยู่ภายใต้บริษัทแม่เดียวกัน อย่ามาผลักภาระให้กสท. ทั้งนี้ได้ทำเต็มที่แล้ว หากทำมากกว่านี้จะดูไม่งามในฐานะกสท. "น.ส.สุภิญญา กล่าว

ในขณะเดียวกันเมื่อเวลา 13.30 น. ที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเสวนาช่อง 3 กับ กสทช. : ประเด็นทางกฎหมายและสังคม ที่มากกว่าภาวะ “จอดำ” บนเคเบิลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม” โดยนางอรพรรณ พนัสพัฒนา อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งที่กสท. ควรดำเนินการในขณะนี้ คือ หยุดเพื่อรอให้ศาลปกครองมีคำสั่ง เนื่องจากก่อนหน้านี้ช่อง 3 ได้ยื่นฟ้องเพิกถอนมติกสท. ที่สั่งให้สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นฟรีทีวี ส่งผลให้โครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลไม่ต้องมัสต์แครี่ โดยคดีนี้ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งใดๆ ดังนั้น กสท. ควรรอให้ศาลมีคำสั่งเสียก่อน

ส่วนการที่ กสท.ได้มีมติให้บีอีซี มัลติมีเดีย ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตดิจิตอล ซื้อรายการจากช่อง 3 อะนาล็อกในนามบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด มาออกอากาศ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเท่ากับเปิดทางให้บีอีซี ไปซื้อช่องดิจิตอลอื่นๆ ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบวุ่นวายมากขึ้นในอนาคต

สำหรับบรรยากาศในงานเสวนาครั้งนี้ มีผู้จัดละครของช่อง3 อาทิ นายพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นางสาวอรุโณชา ภาณุพันธุ์ นางจริยา แอนโฟเน่ นางสาวปาจารีย์ ณ นคร ที่ได้มีการสอบถามในฐานะผู้บริโภค เช่น การฟ้องร้องหากประชาชนไม่สามารถรับชมช่อง3 เป็นการปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการเข้าถึงผ่านระบบดาวเทียมและเคเบิล หรือไม่ และได้มีการแสดงความคิดเห็นว่า หากช่อง 3 จอดำ จะทำให้ผู้บริโภคที่รับชมเดือดร้อน


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/270629/ผลช่อง3+เจรจากสท.ยังกังวลข้อกฎหมาย


__________________________________


ช่อง3อ้างมติกสท.ยังไม่ชัดเจน ยื้อส่งผัง-รอตั้งกก.หาทางออก



30 ก.ย. 57 เมื่อเวลา 17 .00 น. ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในนาม บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด และบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด นำโดย นายประสาร มาลีนนท์ กรรมการผู้จัดการ นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์ รองกรรมการผู้จัดการ นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน และนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เดินทางมาหารือร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในประเด็นเรื่องการออกอากาศคู่ขนานทั้งในระบบอนาล็อก และดิจิตอล โดยการหารือใช้เวลาทั้งสิ้น ราว 2 ชั่วโมง

นายสุรินทร์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับทาง กสท. ว่า การหารือของช่อง 3 ในครั้งนี้มาในนามบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ต้องการให้คู่กรณีเจรจากัน และมาในนามบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด เพื่อสอบถามความชัดเจนจากมติบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งระบุให้ช่อง 3 นำผังรายการมาส่งบอร์ด กสท. ให้พิจารณา เพื่อไปสู่การออกอากาศได้ทันที โดยหลังจากทางช่อง 3 หารือกับบอร์ด กสท. แล้ว พบว่ายังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนทางกฎหมาย ที่นำไปสู่การปฏิบัติในการออกอากาศคู่ขนานทั้งในระบบทีวีอนาล็อก และทีวีดิจิตอลได้

อย่างไรก็ตามทางบีอีซี มัลติมีเดีย จะยังไม่ดำเนินการส่งผังรายการ ซึ่งเป็นผังรายการเดียวกับช่อง 3 อนาล็อก เพื่อออกอากาศคู่ขนานมายัง กสท. ตามมติบอร์ดดังกล่าว จนกว่าจะได้ความชัดเจนว่าวิธีการดังกล่าวนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย เนื่องจากในทางปฎิบัติ กสท. ในฐานะผู้กำกับดูแลอาจจะยังไม่ทราบเท่ากับผู้ประกอบการเอง ว่าในธุรกิจทีวีนั้น จะมีการผูกพันเรื่องลิขสิทธิ์รายการ ที่มีทั้งปล่อยให้ผู้อื่นเช่าเวลา จ้างผลิต และผลิตเอง การจะโยกจากช่องของบริษัทหนึ่ง ไปอีกช่องของอีกบริษัทหนึ่ง จึงต้องดูในทางปฏิบัติตามกฎหมายด้วย

นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า หลักจากนี้ภายในสัปดาห์นี้ อาจมีการนัดหารือเพิ่มอีกครั้ง ซึ่งทาง กสท. ก็ต้องยืนยันความถูกต้องในแต่ละประเด็นที่เรากังวลให้ได้ หรือไม่จนกว่าจะถึงกำหนดทุเลาคำสั่งศาลปกครองกลางในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ ทาง กสท. จะมีเสนอทางออกอื่นให้พิจารณาหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ กสท. แต่หากเป็นแนวทางที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ทำให้เราหายกังวลได้ ทางช่อง 3 ก็พร้อมจะออกคู่ขนานทันที เนื่องจากจุดยืนของช่อง 3 เวลานี้ ต้องการหาทางออกให้ได้โดยเร็วเพื่อไปแจ้งต่อศาล ในเร็วๆ นี้ทางช่อง 3 และ กสท. อาจมีการตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายร่วมกัน เพื่อหาทางออกในข้อกฎหมาย เนื่องจากเวลาที่เหลืออยู่ของช่อง 3 ค่อนข้างจำกัดลงแล้ว

ด้าน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในการหารือครั้งนี้ ช่อง 3 ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากมติบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การหารือในลำดับถัดไป ซึ่ง กสท. มีหน้าที่อธิบาย และช่วยหาทางออกเพื่อให้กระบวนการนำไปสู่การออกอากาศบนทีวีดิจิตอลง่ายขึ้น ส่วนการตั้งคณะกรรมการร่วม ยังไม่ได้มีการพูดถึงในการหารือกันแต่อย่างใด

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ในการหารือครั้งนี้ช่อง 3 ยังคงกังวลในปัญหานิติบุคคลระหว่าง 2 บริษัท แต่ส่วนตัวคิดว่า ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วในการอธิบายความชัดเจนตาม มาตราที่ 9 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และ มาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ที่ทั้ง 2 ฉบับว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิ์เฉพาะตัว จะโอนหรือมอบแก่กันไม่ได้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณี ทรูวิชั่นส์ ที่นำช่องบีบีซี หรือซีเอ็นเอ็น มาออกอากาศ ที่แม้ไม่ใช้เจ้าของช่องรายการ แต่ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหากเนื้อหารายการที่ออกอากาศนั้นขัดต่อกฎหมาย ส่วนปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์รายการ ก็เป็นเรื่องของช่อง 3 ที่จะต้องไปจัดการเอง อย่ามาผลักภาระให้ กสท.

ทั้งนี้ถ้าช่อง 3 ยอมรับข้อเสนอและส่งผังรายการมาให้ กสท. ทาง กสท. ก็จะพิจารณา ซึ่งสิ่งที่ กสท.จะตรวจก็เป็นเพียงแค่เนื้อหาของสัดส่วนรายที่นำเสนอบนทีวีดิจิตอล เป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาตหรือไม่ เช่น ต้องมีรายการข่าวสารและสาระในอัตรา 25% มีข่าวพระราชสำนัก ทั้งนี้ช่อง 3 ในระบบทีวีดิจิตอลจะนำเนื้อหารายการบนทีวีอนาล็อกมาออกอากาศไม่เหมือนกัน 100% ก็สามารถดำเนินการได้ หากพบว่าเนื้อหา หรือสัดส่วนรายการใด ยังขัดกับกติกาของ กสท.

“หากช่อง 3 ไม่รับข้อเสนอ ช่อง 3 ก็มีทางเลือกอื่น หากยังต้องการออกอากาศบนทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี โดยการมาขอใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี พร้อมทั้งทำตามกติกา แต่หากจะให้หาทางออกเพิ่มเติม แก้ไข หรือร่างกติกาข้อใด คงไม่ทำอีกแล้ว เพราะถือว่าทำอย่างดีที่สุดแล้ว เนื่องจากหาก กสท. ยังทำอะไรให้ช่อง 3 อีกจะไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการรายอื่น” น.ส.สุภิญญา กล่าว



http://www.naewna.com/business/123957

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.