Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 ตุลาคม 2557 TOT จับมือ ICT เจรจา กสทช. ให้คลื่นความถี่ 900 แก่ TOT หลังหมดสัมปทาน AIS เพื่อบริการสาธารณประโยชน์ (ICT.พรชัย ระบุ กรณี TOT 3G 2100 ต้องบริหารจัดการรอบคอบ )

ประเด็นหลัก


    นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที โดย บมจ. ทีโอที ขอให้ไอซีทีช่วยเจรจากับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ บมจ.ทีโอทีได้สิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ต่อไป หลังสิ้นสุดสัมปทานกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเดือน ก.ย.2558





อย่างไรก็ตาม บอร์ด ทีโอที ได้เสนอทางออกในการดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด โดยเสนอขอคลื่นความถี่ย่าน900เมกะเฮิร์ตซ ที่จะหมดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)ในเดือน ก.ย. 58นี้ โดยจะต้องเจรจากับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)เพื่อทีโอทีจะขอบริหารจัดการคลื่นความถี่ดังกล่าวเพื่อบริการสาธารณประโยชน์ อีกทั้ง ยังมีคลื่นความถี่อื่นๆ ที่ทีโอที บริหารจัดการอยู่ อย่างคลื่น1900เมกะเฮิร์ตซ เพื่อให้บริการ3จี จะต้องบริหารจัดการอย่างรอบคอบและเกิดรายได้ เพราะมีการลงทุนที่สูงแต่ยังมีรายได้น้อยอยู่













______________________________




รมว.ไอซีทีมั่นใจแก้ปัญหาทุจริตทีโอที พร้อมเป็นตัวกลางขอคลื่นความถี่โทรคมคืน




 รมว.ไอซีทีมั่นใจแก้ปัญหาทุจริตทีโอที พร้อมเป็นตัวกลางขอคลื่นความถี่โทรคมคืน
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

        รมว.ไอซีทีหมดห่วงทีโอที พร้อมมุ่งมั่นแก้ปัญหาทุจริต เตรียมลงลึกดูกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง แนะทีโอทีต้องแยกบัญชีรายรับระหว่างการให้บริการสาธารณะกับการให้บริการเชิง ธุรกิจ ออกจากกัน ถึงจะรอด รับปากเป็นตัวกลางนำเรื่องคลื่นความถี่โทรคมนาคมเจรจาร่วมกสทช.เพื่อขอคืนให้ทีโอที มาทำธุรกิจเอง ส่วนเรื่องคดีข้อพิพาทกับ กสท มั่นใจเจรจากันได้ ลั่นทุกอย่างต้องจบภายในรัฐบาลนี้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังจากผลพวงทางการเมือง
     
       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังการเดินทางเข้าตรวจเยี่ยมและรับฟังบรรยายสรุปการดำเนินงาน ผลประกอบการ รวมทั้งประเด็นที่ขอรับการสนับสนุนจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ว่า ก่อนหน้านี้ทีโอทีคือองค์กรในกำกับของไอซีทีที่น่าเป็นห่วงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธุรกิจ รายได้ และเรื่องปัญหาการทุจริต แต่เมื่อได้มาเข้าพบและรับฟังแผนการดำเนินงานแล้วก็รู้สึกหายห่วงมากขึ้น โดยมั่นใจว่าทีโอทียังมีทางรอดและต้องดำเนินการสางปัญหาให้จบภายในรัฐบาลนี้ หากไม่จบจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะจะมีปัจจัยเรื่องการเมือง พวกพ้องมาเกี่ยวข้อง
     
       “ปัญหาเรื่องการทุจริตในทีโอทีที่มีมาอย่างยาวนาน ผมบอกได้แค่เพียงว่าผมมีความมุ่งมั่นที่จะไม่ให้มันเกิดขึ้น แต่ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ต้องลงไปดูที่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างว่าปัญหาเกิดจากอะไร ซึ่งทางรอดของทีโอทียังมีอยู่หากมีการแยกบัญชีกันอย่างชัดเจนระหว่างรายได้จากการให้บริการสาธารณะกับรายได้จากการทำธุรกิจ ซึ่งต้องมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อมาวิเคราะห์เรื่องนี้”
     
       ทั้งนี้ ทีโอทีได้ขอให้ รมว.ไอซีทีช่วยนำคลื่นความถี่ 900 MHz ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเดือน ก.ย.ปี 2558 นั้นกลับมาให้ทีโอทีเป็นผู้บริหารแทนที่จะคืนให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำไปประมูล ซึ่งจะทำให้ทีโอทีอยู่รอดได้นั้น รมว.ไอทีซี กล่าวว่า จะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับคณะทำงานที่ตั้งขึ้นระหว่างไอซีทีกับ กสทช.ในวันที่ 10 ต.ค.นี้ พร้อมกับการเจรจาเรื่องคลื่นความถี่อื่นๆ ที่ทีโอทีครอบครองอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นคลื่น 900, 1900, 2300 และ 2700 MHz ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งทีโอทีก็ต้องทำแผนธุรกิจไว้รองรับทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะได้หรือไม่ได้ความถี่ก็ตาม
     
       นอกจากนี้ ทีโอทีต้องเร่งจัดทำโครงสร้างธุรกิจ 6 กลุ่มให้เสร็จโดยเร็ว ได้แก่ 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2. โครงสร้างเสาโทรคมนาคม 3. บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำ 4. ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 5. ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ และ 6. บริการไอที ไอดีซี และคลาวด์ ตามมติคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
     
       “เรื่องไวไฟ ไฟเบอร์ออปติก หรือบรอดแบนด์ ทีโอทีกับแคทต้องเจรจากันว่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่ ยกตัวอย่าง โครงข่ายสายไฟเบอร์ออปติก ทีโอทีมีอยู่ 84,000 กิโลเมตร ขณะที่ กสท มี 35,000 กิโลเมตร ถือว่าเป็นโครงข่ายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย หากสามารถบริหารจัดการและทำธุรกิจร่วมกันได้ จะสร้างรายได้ให้ทั้งสององค์กร”
     
       อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมาทั้งทีโอทีและบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยังมีคดีข้อพิพาทร่วมกันอยู่หลายเรื่อง แต่ตนเองก็มั่นใจว่าจะสามารถตกลงและแก้ไขปัญหาร่วมกันได้เพราะเป็นคดีระหว่างรัฐกับรัฐ ซึ่งยืนยันว่าต้องทำให้จบภายในรัฐบาลนี้เช่นกัน


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114917

____________________________________


"ทีโอที" ดิ้นสุดเฮือกฮุบคลื่น 900


ยืมมือ “ไอซีที” ออกหน้าชน กสทช.หวังต่อลมหายใจ

นายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยหลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้คณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหารบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ว่า ได้มอบหมายให้บอร์ดและฝ่ายบริหารไปจัดทำโครงสร้างธุรกิจ 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2. โครงสร้างเสาโทรคมนาคม 3. บริการอินเตอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำ 4.ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 5.ธุรกิจอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ และ 6.บริการไอที ไอดีซีและคลาวด์ ตามมติคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซุปเปอร์บอร์ดที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

ขณะเดียวกัน ต้องเจรจาหารือกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมมือกันทางธุรกิจด้วย เช่น โครงข่ายสาย ไฟเบอร์ออฟติกทีโอทีมีอยู่ 84,000 กิโลเมตร (กม.) ขณะที่ กสท มี 35,000 กม. ถือว่าเป็นโครงข่ายที่ยาวที่สุดของประเทศ ฉะนั้นหากสามารถบริหารจัดการและทำธุรกิจร่วมกันได้ ก็จะสร้างรายได้ให้ทั้งสององค์กร

ส่วนประเด็นที่ทีโอทีต้องการใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ต่อไปหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2558 ได้มอบหมายให้คณะกรรมการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับโทรคมนาคมทั้งระบบ ที่มีนางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงไอซีที เป็นประธานและนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นรองประธาน โดยให้นำประเด็นคลื่น 900 ไปหารือกันด้วย เนื่องจากทีโอทียืนยันว่า หากได้คลื่น 900 มาบริหารจัดการต่อไป จะทำให้ทีโอทีมีรายได้และอยู่รอดไม่ขาดทุนไม่เป็นภาระรัฐบาล ส่วนจะเจรจาได้คลื่นหรือไม่ ทีโอทีต้องมีแผนเตรียมการรองรับไว้ทั้งสองรูปแบบด้วยเช่นกัน

นายพรชัยกล่าวว่า ปัญหาต่างๆของทีโอทีจะต้องจัดการให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลนี้ หากปล่อยให้ยืดเยื้อก็คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะหลายเรื่องสะสมกันมายาวนาน ซึ่งได้เร่งรัดบอร์ดจ้างที่ปรึกษาในการศึกษาการปรับโครงสร้างธุรกิจ คาดว่าภายใน 3 เดือนจะเห็นแนวทางชัดเจน และ 5-6 เดือนข้างหน้าก็จะเห็นผลเป็นรูปธรรมที่ชัดมากยิ่งขึ้น.


http://www.thairath.co.th/content/455086


_________________________________






ทีโอทีอ้อนวอนไอซีที ช่วยยื้อคลื่น900MHz




  ทีโอทีวอนไอซีทีช่วยเจรจา กสทช. ขอต่ออายุคลื่น 900 หวังช่วยองค์กรผ่านวิกฤติ
    นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที โดย บมจ. ทีโอที ขอให้ไอซีทีช่วยเจรจากับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ บมจ.ทีโอทีได้สิทธิ์การถือครองคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ต่อไป หลังสิ้นสุดสัมปทานกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเดือน ก.ย.2558
    ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.กสทช. 2553 กำหนดให้ต้องนำคลื่นความถี่ที่หมดสัมปทานแล้วมาเปิดประมูล ซึ่ง กสทช. เตรียมแผนเปิดประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 พร้อมกับคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้น ไอซีทีจะให้คณะทำงานร่วมไอซีที-กสทช. ที่ได้ตั้งขึ้นนั้น ทำหน้าที่ศึกษาในเรื่องนี้ว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ให้ที่จะให้ บมจ.ทีโอทีได้ถือครองคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ต่อไป
    อีกทั้ง บมจ.ทีโอทียืนยันว่า ถ้ายังมีสิทธิ์ในคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จะเป็นตัวช่วยสำคัญให้พลิกวิกฤติองค์กรจากขาดทุนได้แน่นอน ซึ่งให้ บมจ.ทีโอทีทำแผนให้ชัดเพื่อเสนอ กสทช. ว่า จะนำคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ไปให้บริการอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ ยังได้ให้ บมจ.ทีโอทีทำแผนสร้างรายได้อีก 3 คลื่นความถี่ที่มีอยู่ คือ 470, 1900 และ 2300 เมกะเฮิรตซ์ รวมถึงแผนลดความซ้ำซ้อนทางธุรกิจกับ กสท โทรคมนาคม ด้วย
    อย่างไรก็ตาม บมจ.ทีโอที จัดเป็นรัฐวิสาหกิจที่กำลังวิกฤติหนักอีกแห่งหนึ่ง โดยผลประกอบการในปี 2557 จะขาดทุนสูงถึง 10,000 ล้านบาท.


http://www.thaipost.net/news/071014/97228

_____________________________________________


?รมว.ไอซีที สั่งทีโอที แยกบัญชีธุรกิจกับสาธารณะ?


รมว.ไอซีที ระบุ ทีโอทีต้องแยกบัญชีด้านธุรกิจและสาธารณะออกจากกันให้ชัดเจน สอดรับดิจิทัล อีโคโนมี ยอมรับ หายห่วงทีโอที หลังฟังแผนฟื้นฟูธุรกิจหลังหมดสัญญาสัมปทานมือถือ


วันนี้(6ต.ค.)ที่บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)กล่าวภายหลังเข้ารับฟังแผนการดำเนินธุรกิจของ ทีโอที ว่า ทีโอทีจะต้องแยกบัญชีให้ชัดเจน โดยแยกบัญชีกลุ่มธุรกิจก็จะต้องแยกออกเป็นธุรกิจ และบัญชีบริการสาธารณะก็ต้องแยกเป็นบัญชีสาธารณะ โดยต้องมีทีมที่ปรึกษามาดูแลเพื่อให้โครงสร้างธุรกิจสอดรับกับดิจิตอล อีโคโนมีนอกจากนี้ ในส่วนของการลงทุนที่ซ้ำซ้อนกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) จะต้องเจรจาทั้ง6กลุ่มธุรกิจให้ชัดเจนโดยเร็ว ซึ่งตนได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันไปแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มของไฟเบอร์ออฟติก ที่ควรนำมาบริหารจัดการร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม บอร์ด ทีโอที ได้เสนอทางออกในการดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด โดยเสนอขอคลื่นความถี่ย่าน900เมกะเฮิร์ตซ ที่จะหมดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)ในเดือน ก.ย. 58นี้ โดยจะต้องเจรจากับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)เพื่อทีโอทีจะขอบริหารจัดการคลื่นความถี่ดังกล่าวเพื่อบริการสาธารณประโยชน์ อีกทั้ง ยังมีคลื่นความถี่อื่นๆ ที่ทีโอที บริหารจัดการอยู่ อย่างคลื่น1900เมกะเฮิร์ตซ เพื่อให้บริการ3จี จะต้องบริหารจัดการอย่างรอบคอบและเกิดรายได้ เพราะมีการลงทุนที่สูงแต่ยังมีรายได้น้อยอยู่

"หลังจากฟังแผนดำเนินธุรกิจของทีโอที ก็ทำให้ลดความกังวลลงบ้างจากก่อนหน้านี้ที่มีความเป็นห่วงสูงกว่าหน่วยงานในสังกัดอื่นๆโดยทีโอที จะต้องเจรจาทั้ง กสท เพื่อการดำเนินธุรกิจที่ไม่ซ้ำซ้อน และทีมกระทรวงไอซีทีจะมีปลัดไอซีที เป็นคณะทำงานร่วมหาทางออกกับ กสทช.คอยประสานงานในเรื่องของคลื่นความถี่และกฎหมายต่างๆ ซึ่งหากทั้ง ทีโอที และ กสท หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่สามารถตกลงกันได้ ก็ให้ส่งเรื่องมายังกระทรวงไอซีที และกระทรวงไอซีทีจะส่งเรื่องไปให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)เป็นผู้ตัดสินใจ"นายพรชัย กล่าว


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/271898/รมว.ไอซีที+สั่งทีโอที+แยกบัญชีธุรกิจกับสาธารณะ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.