Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 พฤศจิกายน 2557 ร.ต.อ. ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล ระบุ กรณีแคมเปญคีบไอโฟนของ "เสี่ยตัน" หรือตัน ภาสกรนที ถ้าใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบลุ้นโชค เสี่ยงโชคบ่อยๆ คนที่ตกเป็นเหยื่อมากที่สุดก็คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน

ประเด็นหลัก


ทีมข่าวได้ต่อสายตรงไปขอความรู้ในประเด็นดังกล่าวกับ ร.ต.อ. ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยนักวิชาการท่านนี้บอกว่า การจัดให้มีการแถมพก หรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค โดยวิธีใดๆ ในการประกอบกิจการค้าหรืออาชีพ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตก่อนจึงจะทําได้ ซึ่งในกรณีนี้หากได้รับอนุญาตแล้วก็ถือว่าไม่ผิดกฏหมาย
     
        "เรื่องธุรกิจแบบเสี่ยงโชค มันมีมานานแล้ว ถ้าจะถูกกฎหมายก็ต้องขออนุญาตก่อน อย่างกรณีของคุณตัน เขาคงจะขออนุญาตแล้ว ซึ่งกฎหมายปัจจุบัน กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ออกใบอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค โดยมีหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตคือ ต้องทำเป็นชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ใช่ทำต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งถ้าทำแบบนี้ในต่างประเทศ ผมเชื่อว่าจะต้องมีการลงมาควบคุม เพราะตัวสินค้าต้องขายได้ด้วยคุณภาพ หรือความเป็นแบรนด์"
     
       นักวิชาการคนเดียวกัน ยังชวนให้คิดตามต่อว่า ถ้าหลายๆ แบรนด์ลุกขึ้นมาจัดแคมเปญในลักษณะเดียวกันนี้ นี่คือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในสังคมไทย
     
       "ผู้บริโภคก็จะหมกมุ่นอยู่กับของรางวัลจากการเสี่ยงโชค ส่วนผู้ผลิตก็จะไม่มุ่งเน้นพัฒนาสินค้า กลับไปเน้นพัฒนาเทคนิคการขายมากกว่า บางคนอาจจะบอกว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มันพัฒนาไปถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่ครับ สินค้าจะต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
     
       แล้วอีกอย่างการโฆษณาเชิญชวนตรงนี้ มันมีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนที่ยังมีความคิดความอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่ ถ้าอยากได้ของแจกก็ต้องดื่มน้ำเหล่านี้ เกิดเป็นพฤติกรรมการบริโภคแบบไม่มีเหตุไม่มีผล"
     
       เกมการตลาด บ่มเพาะนิสัยการพนัน?
     
       ดังนั้น กลยุทธ์ทางตลาดในลักษณะนี้ อาจเปรียบได้กับการส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมอยากเอาชนะ และบ่มเพาะนิสัยการพนันในอนาคต
     
        "ที่ต้องพูดแบบนี้ เพราะผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหลายยี่ห้อ รัฐได้ประโยชน์มากจากภาษีสรรพสามิต เพราะฉะนั้นรัฐเองก็ไม่ได้ไปสนใจ หรือเข้าไปควบคุมเท่าไร ยิ่งมีการแข่งขันกันหลายบริษัทด้วยแล้ว มันก็ยิ่งทำให้ตลาดยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆ รัฐก็ชอบใจโดยไม่สนใจผลกระทบทางอ้อม นั่นก็คือ พฤติกรรมติดหวาน ติดกาเฟอีนในกลุ่มเด็กและเยาวชน กลายเป็นการส่งเสริมให้เป็นนักบริโภคที่นิยมการเสี่ยงโชคโดยไม่รู้ตัว และอาจนำไปสู่การพนันชนิดอื่นๆ ตามมา" เขาบอก "แต่เรื่องนี้ ยังไม่มีงานวิจัยออกมารองรับนะ ต้องตามเก็บข้อมูลกันต่อไป"
     
       ท้ายนี้ นักวิชาการคนเดิม ฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวกับผู้บริโภคออกมาเคลื่อนไหว เพราะเป็นห่วงผลกระทบที่ตามมาจากการตลาดในลักษณะนี้
     
       "ถ้าใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบลุ้นโชค เสี่ยงโชคบ่อยๆ คนที่ตกเป็นเหยื่อมากที่สุดก็คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน เนื่องจากเป็นกลุ่มคนในวัยเรียน และยังไม่มีรายได้ การจัดรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคอย่างคีบไอโฟน ย่อมเชิญชวนคนกลุ่มนี้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ที่มีกำลังซื้อไอโฟน" เขาขยายความ พร้อมกับฝากให้คิดว่า การจูงใจให้อยากเล่น อยากลอง หรืออยากเสี่ยงโชค หากไม่ควบคุมดูแล อาจบานปลายไปสู่ปัญหาร้ายลึกจนยากที่จะตามแก้ไข














______________________________



คีบไอโฟน 6 พลัส..เกมการตลาด หรือพนันอันร้ายลึก?!




"...พรุ่งนี้ใครว่างแวะไปเล่นตู้จับตุ๊กตาตู้นี้กัน ซื้ออิชิตันหน้างานราคาพิเศษ 10 บาท รับสิทธิ์ร่วมสนุกลุ้นจับ iphone6 plus จอใหญ่กลับบ้านไปเลยง่ายๆ..." ถ้อยคำดึงดูดใจผ่านแคมเปญคีบไอโฟนของ "เสี่ยตัน" หรือตัน ภาสกรนที ปลุกนักดื่มชา และนักเสี่ยงโชคนับหมื่นให้ออกมายืนต่อแถวยาวเหยียดเพื่อลุ้นมือถือรุ่นดังผ่านตู้เกมสุดฮิต
     
       ทว่าท่ามกลางกระแสฮือฮา กลับมีการตั้งคำถามตามมามากมายถึงการตลาดในครั้งนี้ บ้างก็บอกว่าเป็นดาบสองคม ปลูกฝังค่านิยมฟุ้งเฟ้อ หรือบ่มเพาะนิสัยการเสี่ยงโชคจนอาจนำไปสู่วงจรการพนันอันร้ายลึกตามมา
     
       เปลี่ยนตุ๊กตา เป็นไอโฟน 6 พลัส
     
        ยั่วใจนักดื่มชา และนักเสี่ยงโชคได้มากทีเดียว สำหรับการตลาดอิชิตันล่าสุด เมื่อเสี่ยชาเขียว ปิ้งไอเดีย ผุดแคมเปญคีบไอโฟน โดยดัดแปลงตู้คีบตุ๊กตาสุดฮิต ให้กลายเป็นตู้คีบไอโฟน 6 พลัส วัตถุนิยมรุ่นใหม่ที่ใครหลายคนอยากได้มาครอบครอง
     
       "พรุ่งนี้ใครว่างแวะไปเล่นตู้จับตุ๊กตาตู้นี้กัน ซื้ออิชิตันหน้างานราคาพิเศษ 10 บาท รับสิทธิ์ร่วมสนุกลุ้นจับ iphone6 plus จอใหญ่กลับบ้านไปเลยง่ายๆ เจอกันพรุ่งนี้ สิบโมง ถึง สองทุ่ม ทางเชื่อมรถไฟฟ้า หน้าสยามวัน , จำกัดสิทธิ์คนได้รางวัล 1 คน 1 เครื่อง ห้ามมาเหมานะคับ แบ่งๆ กันเล่น แบ่งๆ กันลุ้น หนุกหนานๆ แล้วเจอกัน"
     
       เป็นข้อความในเฟซบุ๊กแฟนเพจของ 'เสี่ยตัน' ที่ลงเชิญชวนไว้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน สร้างปรากฎการณ์รอคีบไอโฟนจนยาวเหยียดในวันรุ่งขึ้น (3 พฤศจิกายน) บริเวณห้างสยามสแคว์วัน โดยมีนักดื่มชา และนักเสี่ยงโชคมาต่อแถวรอคีบมือถือรุ่นดังกว่าหมื่นคน แต่มีเพียง 3 คนที่คีบสำเร็จ
     
        ทั้งนี้ หลังจากที่ทีมงาน ASTVผู้จัดการ Live ได้รายงานกระแสคีบไอโฟนผ่านข่าว "บ้าไปแล้ว! 'เสี่ยตัน' เข็นตู้จับไอโฟน 6 พลัสยั่วใจนักดื่มชาเสี่ยงโชค" ก็มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มองว่า เกมการตลาดในครั้งนี้ อาจเป็นดาบสองคมที่ประชาชนตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว และนี่คือความเห็นบางส่วนที่ทีมข่าวขอหยิบยกมานำเสนอต่อเพื่อให้เห็นแง่มุมความคิดในอีกด้าน
     
       "ยิ่งกว่าตู้ม้า" มอมเมาสังคม
     
       "เสี่ยตันแกหลอกขายน้ำหวานใส่สี โดยปลูกฝังข้านิยมฟุ้งเฟ้อ และการพนันในสังคมไทย วีธีมอมเมาประชาชน" เด็กชายกระโถนเขวี้ยงไอโฟน ลงคอห่าน
     
       "วิธีแบบนี้ ทำร้ายสังคม ไม่น่าศรัทธา" ตันเสื่อม
     
       "สรุปน้ำดื่มมันไม่ดีใช่ไหม ถึงต้องเอาการพนันมาล่อสรุปเมิงขายน้ำ หรือขายไอโฟน" หนูน้อยผจญภัย
     
       "ธุรกิจบนความโลภ ไม่ต่างอะไรกับ การพนันบนดิน" 3310 พาคนรวยกว่าไอโฟน
     
       ขณะที่บางส่วนก็ออกมาชื่นชมกับไอเดียการตลาดในครั้งนี้
     
       "นายเก่งวะ" ชอบๆ
     
       "เข้าใจทำโปรโมชั่น" สวดยอด
     
       ว่าด้วยเรื่อง พ.ร.บ.การพนัน
     
       ไม่เพียงแต่ความเห็นข้างต้นเท่านั้น ยังมีความเห็นจากชาวเน็ตท่านหนึ่ง ตั้งข้อสงสัยว่าเกมการตลาดในครั้งนี้ เข้าข่าย พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 หรือไม่
     
        ทีมข่าวได้ต่อสายตรงไปขอความรู้ในประเด็นดังกล่าวกับ ร.ต.อ. ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยนักวิชาการท่านนี้บอกว่า การจัดให้มีการแถมพก หรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค โดยวิธีใดๆ ในการประกอบกิจการค้าหรืออาชีพ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตก่อนจึงจะทําได้ ซึ่งในกรณีนี้หากได้รับอนุญาตแล้วก็ถือว่าไม่ผิดกฏหมาย
     
        "เรื่องธุรกิจแบบเสี่ยงโชค มันมีมานานแล้ว ถ้าจะถูกกฎหมายก็ต้องขออนุญาตก่อน อย่างกรณีของคุณตัน เขาคงจะขออนุญาตแล้ว ซึ่งกฎหมายปัจจุบัน กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ออกใบอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค โดยมีหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตคือ ต้องทำเป็นชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ใช่ทำต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งถ้าทำแบบนี้ในต่างประเทศ ผมเชื่อว่าจะต้องมีการลงมาควบคุม เพราะตัวสินค้าต้องขายได้ด้วยคุณภาพ หรือความเป็นแบรนด์"
     
       นักวิชาการคนเดียวกัน ยังชวนให้คิดตามต่อว่า ถ้าหลายๆ แบรนด์ลุกขึ้นมาจัดแคมเปญในลักษณะเดียวกันนี้ นี่คือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในสังคมไทย
     
       "ผู้บริโภคก็จะหมกมุ่นอยู่กับของรางวัลจากการเสี่ยงโชค ส่วนผู้ผลิตก็จะไม่มุ่งเน้นพัฒนาสินค้า กลับไปเน้นพัฒนาเทคนิคการขายมากกว่า บางคนอาจจะบอกว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มันพัฒนาไปถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่ครับ สินค้าจะต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
     
       แล้วอีกอย่างการโฆษณาเชิญชวนตรงนี้ มันมีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนที่ยังมีความคิดความอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่ ถ้าอยากได้ของแจกก็ต้องดื่มน้ำเหล่านี้ เกิดเป็นพฤติกรรมการบริโภคแบบไม่มีเหตุไม่มีผล"
     
       เกมการตลาด บ่มเพาะนิสัยการพนัน?
     
       ดังนั้น กลยุทธ์ทางตลาดในลักษณะนี้ อาจเปรียบได้กับการส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมอยากเอาชนะ และบ่มเพาะนิสัยการพนันในอนาคต
     
        "ที่ต้องพูดแบบนี้ เพราะผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มหลายยี่ห้อ รัฐได้ประโยชน์มากจากภาษีสรรพสามิต เพราะฉะนั้นรัฐเองก็ไม่ได้ไปสนใจ หรือเข้าไปควบคุมเท่าไร ยิ่งมีการแข่งขันกันหลายบริษัทด้วยแล้ว มันก็ยิ่งทำให้ตลาดยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆ รัฐก็ชอบใจโดยไม่สนใจผลกระทบทางอ้อม นั่นก็คือ พฤติกรรมติดหวาน ติดกาเฟอีนในกลุ่มเด็กและเยาวชน กลายเป็นการส่งเสริมให้เป็นนักบริโภคที่นิยมการเสี่ยงโชคโดยไม่รู้ตัว และอาจนำไปสู่การพนันชนิดอื่นๆ ตามมา" เขาบอก "แต่เรื่องนี้ ยังไม่มีงานวิจัยออกมารองรับนะ ต้องตามเก็บข้อมูลกันต่อไป"
     
       ท้ายนี้ นักวิชาการคนเดิม ฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวกับผู้บริโภคออกมาเคลื่อนไหว เพราะเป็นห่วงผลกระทบที่ตามมาจากการตลาดในลักษณะนี้
     
       "ถ้าใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบลุ้นโชค เสี่ยงโชคบ่อยๆ คนที่ตกเป็นเหยื่อมากที่สุดก็คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน เนื่องจากเป็นกลุ่มคนในวัยเรียน และยังไม่มีรายได้ การจัดรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคอย่างคีบไอโฟน ย่อมเชิญชวนคนกลุ่มนี้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ที่มีกำลังซื้อไอโฟน" เขาขยายความ พร้อมกับฝากให้คิดว่า การจูงใจให้อยากเล่น อยากลอง หรืออยากเสี่ยงโชค หากไม่ควบคุมดูแล อาจบานปลายไปสู่ปัญหาร้ายลึกจนยากที่จะตามแก้ไข
     
       ข่าวโดย ASTVผู้จัดการ Live
     

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000127161

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.