Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 พฤศจิกายน 2557 ดร.เสรี วงศ์มณฑา กรณีเรียงช่องใหม่ กสทช. ชี้ ทางแก้ไขที่ดี ควรให้โอกาสผู้ประกอบการดาวเทียมและเคเบิลคุยกันว่าจะกำหนดให้กลุ่มช่องทีวี ดิจิทัลไปอยู่ในเลขช่องใด

ประเด็นหลัก


ฟาก ดร.เสรี วงศ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน มองว่า กสทช.ควรพิจารณาว่า การดูแลผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และนำประกาศฉบับนี้มาใช้เป็นธรรมกับทุกฝ่ายจริงหรือไม่ ทำไมไม่ให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดาวเทียมและเคเบิลไปตกลงกันเองว่าอยากให้ ช่องทีวีดิจิทัลออกอากาศได้ในลำดับช่องใด เช่น ช่อง 101-136 หรือ 201-236 เป็นต้น

"ถ้าเรตติ้งทีวีดิจิทัลไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ต้องการ ทำไม กสทช.ไม่ช่วยเหลือด้วยวิธีอื่น การกำหนดหมายเลขให้ตรงกันกับกล่องดิจิทัล อาจเป็นภาระกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดาวเทียมและเคเบิลเกินไปหรือไม่ เช่น คุณมาฝากขายสินค้า แต่กลับนำสินค้าชนิดนั้นไปไว้ในจุดที่น่าสนใจที่สุด หรือเป็นทำเลทอง โดยเจ้าของร้านไม่ได้อะไรเลย"

ดร.เสรีระบุว่า ทางแก้ไขที่ดี ควรให้โอกาสผู้ประกอบการดาวเทียมและเคเบิลคุยกันว่าจะกำหนดให้กลุ่มช่องทีวี ดิจิทัลไปอยู่ในเลขช่องใด กสทช.ไม่ควรเข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์ ควรบังคับให้น้อยที่สุด





______________________________



"ดาวเทียม-เคเบิล" ยื้อเรียงช่อง ดับเครื่องชน "กสทช.-ทีวีดิจิทัล"



ร้อนแรงและแบ่งข้างกันชัดเจนระหว่างผู้ประกอบการ "ทีวีดิจิทัล" กับ "เคเบิลทีวี-ทีวีดาวเทียม" ในเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างประกาศ กสทช.เพื่อ "จัดเรียงช่อง" ใหม่ จากเดิมให้เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมที่ได้รับใบอนุญาตสามารถจัดเรียงช่อง ลำดับที่ 1-10 ได้เอง แต่ประกาศฉบับใหม่กำหนดให้ทุกแพลตฟอร์มเรียงช่องเหมือนกันหมด โดยเฉพาะช่องลำดับที่ 1-36 ต้องเป็นของ "ทีวีดิจิทัล" ด้วยเหตุผลว่าเพื่อป้องกันความสับสน

ในฝั่งฟากผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลย่อมเห็นดีเห็นงามอย่างแน่นอน เพราะถ้าทุกแพลตฟอร์มเรียงช่องเหมือนกันจะทำให้ผู้บริโภคจดจำเลขช่องได้ง่าย ขึ้น ขณะที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีเห็นไปในทิศทางตรงกัน ข้าม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ทรูวิชั่นส์"

นางศุภสรณ์ โหรชัยยะ ตัวแทนจาก บมจ.ทรูวิชั่นส์ ระบุว่า การนำช่องรายการของบริษัทไปให้ทีวีดิจิทัลออกอากาศ ไม่ต่างอะไรกับการริบทรัพย์สินของบริษัท เพราะเลขช่องเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบกิจการ ยิ่งเลขช่องลำดับต้น ๆ ยิ่งมีมูลค่าในเชิงธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบกิจการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมมีสิทธิใช้ประโยชน์และบริหาร จัดการได้อย่างเต็มที่ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญา "การริบทรัพย์สิน" ต้องมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่ให้อำนาจในการริบทรัพย์สิน และผู้ที่จะสั่ง "ริบทรัพย์สิน" ได้ต้องเป็นศาลเท่านั้น

"กรณีนี้ จึงมีข้อครหาได้ว่า กสทช.ไม่ใช่ศาล รวมถึงข้อครหาได้ว่า การที่ กสทช.ช่วยเหลือเฉพาะผู้ประกอบการดิจิทัลทีวีที่จ่ายเงินประมูล โดยผลักภาระให้ผู้ประกอบการเคเบิลดาวเทียม เป็นการเอื้อประโยชน์ดิจิทัลทีวี เป็นการออกกฎระเบียบสองมาตรฐาน สร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ชอบ" ตัวแทนจากทรูวิชั่นส์ย้ำ

ฟาก ดร.เสรี วงศ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน มองว่า กสทช.ควรพิจารณาว่า การดูแลผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และนำประกาศฉบับนี้มาใช้เป็นธรรมกับทุกฝ่ายจริงหรือไม่ ทำไมไม่ให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดาวเทียมและเคเบิลไปตกลงกันเองว่าอยากให้ ช่องทีวีดิจิทัลออกอากาศได้ในลำดับช่องใด เช่น ช่อง 101-136 หรือ 201-236 เป็นต้น

"ถ้าเรตติ้งทีวีดิจิทัลไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ต้องการ ทำไม กสทช.ไม่ช่วยเหลือด้วยวิธีอื่น การกำหนดหมายเลขให้ตรงกันกับกล่องดิจิทัล อาจเป็นภาระกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดาวเทียมและเคเบิลเกินไปหรือไม่ เช่น คุณมาฝากขายสินค้า แต่กลับนำสินค้าชนิดนั้นไปไว้ในจุดที่น่าสนใจที่สุด หรือเป็นทำเลทอง โดยเจ้าของร้านไม่ได้อะไรเลย"

ดร.เสรีระบุว่า ทางแก้ไขที่ดี ควรให้โอกาสผู้ประกอบการดาวเทียมและเคเบิลคุยกันว่าจะกำหนดให้กลุ่มช่องทีวี ดิจิทัลไปอยู่ในเลขช่องใด กสทช.ไม่ควรเข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์ ควรบังคับให้น้อยที่สุด

ขณะที่ "จิตรลัดดา เฮงยศมาศ" ตัวแทน บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัล กล่าวว่า การประมูลช่องทีวีดิจิทัลที่มีราคาสูง เกิดจากหมายเลขช่องที่เป็นตัวเพิ่มมูลค่า รวมทั้งการเกิดขึ้นของกฎ "มัสแครี่" ทั้งแพลตฟอร์มดาวเทียมและเคเบิล ทำให้มั่นใจว่าช่องทีวีดิจิทัลจะได้ออกอากาศในทุกแพลตฟอร์ม และคาดหวังว่าทุกแพลตฟอร์มจะนำเสนอในเลขช่องที่ประมูลได้ โดยที่ประชาชนไม่สับสน

"ประกาศ ฉบับนี้ตรงกับความเข้าใจของผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัลแต่แรก เพราะมีเลขช่องที่เดียวกัน ในส่วนการแข่งขัน ผู้ชมจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าช่องใดมีคุณภาพ"

ส่วน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า การแก้ไขประกาศฉบับใหม่ กำหนดให้ช่อง 1-36 เป็นช่องทีวีดิจิทัลเหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้ประชาชนผู้รับชมเข้าถึงง่ายขึ้น โดยไม่สับสน ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดาวเทียมเคเบิลก็จะจัดเรียงช่องได้ง่ายขึ้น โดยส่วนตัวเห็นว่าเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

"กสท.ไม่ ได้มีเป้าในใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าต้องเป็นอย่างไร ผู้ประกอบการดาวเทียมเคเบิลจะมีภาระเพิ่มบ้าง แต่ประชาชนได้ประโยชน์ในการจัดเรียงช่อง จากการรับฟังก็มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทางสำนักงาน กสทช.จะสรุปความเห็นเสนอเข้าที่ประชุม กสท.เพื่อพิจารณา ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดาวเทียมเคเบิลรายใดไม่เห็นด้วย ก็สามารถใช้สิทธิในกระบวนการทางกฎหมายได้"

โดยส่วนตัวคิดว่า หากมีกระบวนการทางกฎหมายเกิดขึ้น ก็อาจต้องใช้ระยะเวลาทำให้ช้าออกไป แต่หากเป็นไปตามขั้นตอนปกติ จะประกาศใช้ได้ในปีนี้ประมวลความคิดเห็นทุกฝ่าย เชื่อได้ว่านี่คือหนังชีวิต ไม่แพ้ครั้ง กสท.มีปัญหากับช่อง 3
เพราะด้านหนึ่งต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา นำช่อง 1-10 มาสร้างประโยชน์ให้กับตัวเองมหาศาล เนื่องจากจดจำง่าย แต่อีกด้านหนึ่งต้องยอมรับว่า ช่องดังกล่าว เอกชน โดยเฉพาะเคเบิลและดาวเทียมเป็นฝ่ายลงทุนทั้งสิ้น โดยที่แทบไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากทีวีดิจิทัล และ กสทช.แม้แต่น้อย แม้ กสท.จะยืนยันว่า ผู้ที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ในท้ายที่สุดคือคนดูก็ตาม


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1415559449

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.