Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤศจิกายน 2557 (บทความ) อนาคต "กทค." (กสทช.) อนาคตประมูลคลื่น 4G? // ประเมินการใช้คลื่น 2300 และ 2600 MHz สำหรับโครงข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย ซึ่งต้องเจรจากับผู้ถือครองคลื่น TOT โดยรผลักดันคลื่นย่าน E-Band (70-80 GHz) นำมาใช้ Fixed Link

ประเด็นหลัก


"ปัญหาของไทยคือต่ออายุใบอนุญาตไม่ได้เหมือนในต่างประเทศ ต้องประมูลใหม่ ถ้ายังประมูลคลื่น 900 MHz ไม่ได้ ก็จะต้องมีการเยียวยาคล้ายกรณีคลื่น 1800 MHz ซึ่งแม้เอกชนยังไม่นำเงินส่งเข้ารัฐ แต่ท้ายที่สุดแล้วรัฐไม่เสียประโยชน์แน่นอน แต่เชื่อว่าการประมูลคลื่นจะเกิด แม้ไม่ทัน ก.ย."

เรื่องที่ 2 คือ ทบทวนรายละเอียดการประมูลคลื่นย่าน 900/1800 MMHz เพื่อให้เริ่มได้รวดเร็วหลังพ้นช่วงชะลอการประมูลตามคำสั่งคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (ก.ค.2558) โดย "กทค." จะเริ่มประชุมตั้งแต่ ม.ค.เป็นต้นไป

"เชื่อว่าถ้าไม่มีปัญหาข้อกฎหมายก็จะใช้การประมูลแบบเดียวกับ 3 จี แต่จะประมูลโดยแยกคลื่นเป็นส่วน ๆ เท่าที่มี หรือประมูลล่วงหน้ารวม คลื่น 1800 ของ ดีแทคที่จะสิ้นสุดสัมปทานในปี 2561 ด้วย"

เรื่องที่ 3 คือการติดตามการใช้คลื่น 2100 MHz ของเอไอเอส, ดีแทค และทรู

เรื่องที่ 4 การคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ใช้บริการที่มีคุณภาพในราคายุติธรรม และเรื่องสุดท้ายคือรวบรวมปัญหาอุปสรรคทางกฎหมายในการปฏิบัติงานเพื่อเสนอ สนช. พิจารณา

นอกจากนี้ ยังต้องประเมินการใช้คลื่น 2300 และ 2600 MHz สำหรับโครงข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย ซึ่งต้องเจรจากับผู้ถือครองคลื่น "ทีโอที" เพื่อขอคืนมาใช้ประโยชน์ ในเบื้องต้นจะตั้งคณะทำงานเจรจาข้อเสนอ ถัดมาเป็นการผลักดันคลื่นย่าน E-Band (70-80 GHz) นำมาใช้ Fixed Link โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือใช้เป็นเครือข่ายภายในองค์กร และยังต้องกำกับดูแลตามแผนการใช้คลื่นในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2557-2561 การวางแนวทางการกำกับดูแลกิจการดาวเทียม

______________________________







อนาคต "กทค." (กสทช.) อนาคตประมูลคลื่น 4G?


จะอยู่หรือไป และโดนบอนไซลดฐานะเหลือแค่องค์การมหาชนในสังกัดกระทรวง "ดิจิทัล" หรือเปล่า ต้องรอดูกันต่อไป แต่ในมุมมองของ "พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ระบุว่า ต้องใช้เวลาอย่างน้อยปีกว่า เพราะต้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอ และมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนจึงจะพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องได้ บทบาทของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงยังไม่เปลี่ยนแปลง

"กรณีที่ว่าจะลดบทบาทเป็น "องค์การมหาชน" ภายใต้กระทรวงไอซีที หรือโอนไปอยู่กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ถ้า พ.ร.บ. กสทช. ยังไม่ยกเลิก กสทช. ก็ยังประมูลคลื่นความถี่ได้ หากมีการยกเลิกก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ แล้วแต่ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติจะพิจารณา"

และต่อให้มีการยกเลิก แต่ถ้าได้ประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว "กทค." ก็ยังจะประมูลคลื่นย่าน 900 และ 1800 MHz ต่อไป อีกทั้งนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการประมูลคลื่น ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ควรต้องทำ

"กสทช.จะไม่เกียร์ว่าง หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เรายังเป็นองค์กรอิสระ และทำหน้าที่ตามเดิมต่อไป ส่วนตัวอยากให้รวมให้เหลือบอร์ดเดียว เพราะที่ผ่านมาแยก 2 ชุด พอเกิดปัญหาก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งที่เป็นเรื่องที่อีกฝ่ายไม่ได้รับทราบข้อมูลมาก่อน แต่คงต้องแก้ พ.ร.บ. กสทช. กว่า 70% เชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วอาจมี กสทช. ชุดเดียว มีกรรมการ 7 - 9 คน และการสรรหาไม่ซับซ้อนเกินไป"

นอกจากนี้ยังอยากให้แก้กฎหมาย ไม่บังคับให้ต้องประมูลคลื่น เพราะบางคลื่นไม่ได้ใช้เชิงพาณิชย์ ส่วนเงินที่ได้จากการประมูลให้เสนอแผนการใช้จ่ายให้รัฐสภาอนุมัติด้วย

สำหรับแผนการดำเนินงานด้านกิจการโทรคมนาคม ในปีหน้า "พ.อ.เศรษฐพงค์" กล่าวว่า มี 5 เรื่อง ได้แก่ การเตรียมการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 900 MHz ของเอไอเอส (ก.ย. 2558) ที่ยังมีลูกค้าค้างอยู่อีก 5.1 ล้านราย จึงต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

"ปัญหาของไทยคือต่ออายุใบอนุญาตไม่ได้เหมือนในต่างประเทศ ต้องประมูลใหม่ ถ้ายังประมูลคลื่น 900 MHz ไม่ได้ ก็จะต้องมีการเยียวยาคล้ายกรณีคลื่น 1800 MHz ซึ่งแม้เอกชนยังไม่นำเงินส่งเข้ารัฐ แต่ท้ายที่สุดแล้วรัฐไม่เสียประโยชน์แน่นอน แต่เชื่อว่าการประมูลคลื่นจะเกิด แม้ไม่ทัน ก.ย."

เรื่องที่ 2 คือ ทบทวนรายละเอียดการประมูลคลื่นย่าน 900/1800 MMHz เพื่อให้เริ่มได้รวดเร็วหลังพ้นช่วงชะลอการประมูลตามคำสั่งคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (ก.ค.2558) โดย "กทค." จะเริ่มประชุมตั้งแต่ ม.ค.เป็นต้นไป

"เชื่อว่าถ้าไม่มีปัญหาข้อกฎหมายก็จะใช้การประมูลแบบเดียวกับ 3 จี แต่จะประมูลโดยแยกคลื่นเป็นส่วน ๆ เท่าที่มี หรือประมูลล่วงหน้ารวม คลื่น 1800 ของ ดีแทคที่จะสิ้นสุดสัมปทานในปี 2561 ด้วย"

เรื่องที่ 3 คือการติดตามการใช้คลื่น 2100 MHz ของเอไอเอส, ดีแทค และทรู

เรื่องที่ 4 การคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ใช้บริการที่มีคุณภาพในราคายุติธรรม และเรื่องสุดท้ายคือรวบรวมปัญหาอุปสรรคทางกฎหมายในการปฏิบัติงานเพื่อเสนอ สนช. พิจารณา

นอกจากนี้ ยังต้องประเมินการใช้คลื่น 2300 และ 2600 MHz สำหรับโครงข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย ซึ่งต้องเจรจากับผู้ถือครองคลื่น "ทีโอที" เพื่อขอคืนมาใช้ประโยชน์ ในเบื้องต้นจะตั้งคณะทำงานเจรจาข้อเสนอ ถัดมาเป็นการผลักดันคลื่นย่าน E-Band (70-80 GHz) นำมาใช้ Fixed Link โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือใช้เป็นเครือข่ายภายในองค์กร และยังต้องกำกับดูแลตามแผนการใช้คลื่นในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2557-2561 การวางแนวทางการกำกับดูแลกิจการดาวเทียม



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416463018

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.