Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มกราคม 2558 สปช.เห็นชอบคิดบริการมือถือตามใช้งานจริงเป็นวินาทีมติ 211 ต่อ 3 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง เพื่อส่งให้ คสช. พิจารณาดำเนินการต่อไป

ประเด็นหลัก



ทั้งนี้ หลังจากสมาชิก สปช.อภิปรายครบทุกคนแล้ว ที่ประชุม สปช.จึงให้ความเห็นชอบรายงานดังกล่าวของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยมติ 211 ต่อ 3 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง เพื่อส่งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป

_____________________________________________________















สปช.เห็นชอบคิดบริการมือถือตามใช้งานจริงเป็นวินาที



วันที่ 6 มกราคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มี น.ส.ทัศนา บุญครอง รองประธาน สปช.ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณารายงานการศึกษาเรื่อง การกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามระยะเวลา การใช้งานที่เป็นจริงโดยคิดเป็นวินาที ตามที่คณะ กมธ.ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาเสร็จแล้ว

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะ กมธ. ชี้แจงว่า ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่กำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ โดยผู้ใช้บริการจะถูกเก็บค่าบริการเป็นนาที แม้จะใช้งานจริงต่อครั้งไม่ถึงนาที ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้งาน แม้จะไม่ขัดต่อกฎหมายกำกับการประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่ไม่มีหลักเกณฑ์เรื่องการให้ผู้ประกอบการคิดค่าบริการตามเวลาการใช้งานจริงเป็นวินาที แต่การกระทำของผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในวงกว้าง จึงควรกำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิให้ผู้ใช้ บริการจ่ายค่าบริการตามที่ใช้งานจริง

น.ส.สารี กล่าวต่อว่า ขณะนี้รายได้ผู้ประกอบการ บริษัท ทรู มีรายได้รวมปี 56 มูลค่า 9.6 หมื่นล่านบาท ดีแทค มีรายได้ 9.4 หมื่นล้านบาท และเอไอเอส มีรายได้ 1.4 แสนล้าน ขอยกตัวอย่างการคิดค่าบริการของสหภาพยุโรป มีข้อกำหนดเรื่องการคิดค่าบริการข้ามแดนอัตโนมัติ (โรมมิ่ง) โดยคิดค่าโทรขั้นต่ำที่ 30 วินาทีแรก จากนั้นตั้งแต่วินาที 31 เป็นต้นไป ให้คิดค่าโทรตามระยะเวลาการใช้งานจริงเป็นวินาทีทั้งหมด ทั้งนี้จากการสำรวจการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของ กสทช.ค่าบริการในระบบเติมเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 341 บาทต่อเดือน

ส่วนระบบรายเดือนอยู่ที่ 716 บาท ถ้าเฉลี่ยทั้งสองระบบมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 415 บาทต่อเดือน โดยค่าโทรระบบเติมเงินอยู่ที่ 1.20 บาท ระบบรายเดือนอยู่ที่ 1.70 บาท เฉลี่ยทั้งสองระบบค่าโทรอยู่ที่ 1.30 บาท ส่วนเรื่องความเสียหายต่อผู้บริโภคนั้น คิดกันง่าย ๆ หากมีการคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที จะช่วยประหยัดค่าโทรศัพท์ได้วันละ 1 นาที คิดเป็น 1.33 บาท ซึ่ง 1 เดือน จะประหยัดได้ 40 บาทต่อคน ประเทศไทยมีหมายเลขโทรศัพท์ 94 ล้านเลขหมาย จะประหยัดเงินได้เดือนละ 3,591 ล้านบาท หรือปีละ 43,092 ล้านบาท

"สิ่งที่ กมธ.ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ จะช่วยประหยัดได้กว่า 3,000 ล้านบาทต่อเดือน เป็นการลดการเอารัดเอาเปรียบ ดังนั้น ขอเสนอให้ สปช.เห็นชอบหลักการกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามระยะเวลาการใช้งานจริง โดยคิดเป็นวินาที และส่งเรื่องต่อคสช.ให้ความเห็นชอบหลักการกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามระยะเวลาการใช้งานจริงโดยคิดเป็นวินาที" น.ส.สารีกล่าว และว่า นอกจากนี้ขอให้ สปช.ส่งเรื่องให้ กสทช.ดำเนินการใช้อำนาจตามมาตรา 31 วรรคสอง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีคำสั่งห้ามผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่คิดค่าบริการโดยปัดเศษวินาทีเป็นหนึ่งนาที เพราะเป็นการค้ากำไรเกินควร โดยให้คิดค่าบริการตามระยะเวลาที่ใช้งานจริงเป็นวินาที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น สมาชิก สปช.ได้อภิปรายสนับสนุนข้อเสนอของคณะ กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค โดยให้คิดค่าบริการโทรศัทพ์ตามระยะเวลาการโทรจริงเป็นวินาที เพื่อลดการเอาเปรียบผู้บริโภค

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สปช. อภิปรายว่า การดูแลไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภคในเรื่องดังกล่าว เป็นหน้าที่ของ กสทช.โดยตรง แต่ที่ผ่านมาเหตุใด กสทช.จึงไม่ยอมดำเนินการ

ทั้งนี้ ขอให้คณะ กมธ.ไปพิจารณาศึกษาเพิ่มเติมว่า จะมีช่องทางใดให้บริษัทเอกชนเหล่านี้พิจารณาคืนเงินย้อนหลังที่ประชาชนถูกเอาเปรียบคืนให้กับผู้บริโภคด้วย

ทั้งนี้ หลังจากสมาชิก สปช.อภิปรายครบทุกคนแล้ว ที่ประชุม สปช.จึงให้ความเห็นชอบรายงานดังกล่าวของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยมติ 211 ต่อ 3 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง เพื่อส่งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป




ที่มา : มติชนออนไลน์


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1420528530

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.