Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2558 Ericsson.บัญญัติ ระบุ ปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ใช้งานโมบายล์บรอดแบนด์สูงเป็นอันดับ 3 ของเออีซี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความต้องการคลื่นความถี่มากขึ้น

ประเด็นหลัก


นายบัญญัติ กล่าวอีกว่า สังคมเครือข่าย (Network Society) ถือเป็นพื้นฐานของดิจิตอล อีโคโนมี โดยมีเทคโนโลยี 3 ประการเป็นตัวแปรในการกำหนด คือ โมบิลิตี้ คลาวด์ และบรอดแบนด์ สอดคล้องกับความต้องการใช้งานมือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านของเลขหมายและปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ ประเทศไทยจะมีผู้ใช้มือถือราว 103 ล้านเลขหมาย และ 50% ของจำนวนดังกล่าวเป็นสมาร์ทโฟน จากสิ้นปี 2557 ที่มีจำนวน 97.7 ล้านเลขหมาย ส่วนความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตมือถือ หรือ โมบายล์บรอดแบนด์นั้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกกว่า 5 เท่าตัว ภายในปี 2557-2563 ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวยังทำให้เกิดโอกาสในการขยายตัวของตลาดนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นตามมาด้วย

"ปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ใช้งานโมบายล์บรอดแบนด์สูงเป็นอันดับ 3 ของเออีซี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความต้องการคลื่นความถี่มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบเรื่องคลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการเครือข่าย (โอเปอเรเตอร์) ของไทยมีกับประเทศอื่น เช่น สิงคโปร์หรือมาเลเซีย ก็จะพบว่าไทยยังมีคลื่นความถี่เป็นจำนวนน้อยมาก ส่วนเรื่องการอัพเกรดโครงข่ายจาก 3จี สู่ 4จี นั้น เชื่อว่าทุกโอเปอเรเตอร์ต่างมองเห็นความสำคัญดังกล่าวและมีความพร้อมแล้ว เพราะผู้ให้บริการต่างต้องการนำเสนอบริการที่มีความรวดเร็วและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้"


_____________________________________________________


















สมาร์ทโฟนพลิกโลก! เผยมนุษย์สร้าง 'สังคมเครือข่าย' ใช้ชีวิตติดโซเชียลฯ


"อีริคสัน" คาดคนรุ่นใหม่ ชีวิตในเมือง และสมาร์ทโฟน เป็น 3 ปัจจัยขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยี ส่วนสมาร์ทโฟนและโมบายล์บรอดแบนด์ ถูกยกเป็นคู่รักที่ห้ามพรากจากกัน แถมความต้องการใช้งานสูงต่อเนื่อง…

จากความนิยมใช้งานสมาร์ทโฟนและดาต้า (อินเทอร์เน็ตบนมือถือ) ส่งผลให้ผู้บริโภคทั่วโลกเกิดพฤติกรรมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้ากับไลฟ์สไตล์ประจำวัน จนกลายเป็นเทรนด์การใช้เทคโนโลยีอย่างหนึ่ง... โดย นายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย เปิดเผยว่า ไลฟ์สไตล์ดังกล่าวเรียกว่าคอนเนคเต็ด ไลฟ์สไตล์ (Connected Lifestyle)

"อีริคสัน คาดการณ์ว่าในปี 2558 จะเกิดเทรนด์เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีกับผู้บริโภคชาวไทย จากการใช้สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเคยชินในการใช้งานเทคโนโลยี รวมถึงการชมรับวิดีโอและแอพพลิเคชั่นผ่านมือถือ นอกจากนี้ 1 ใน 4 ของคนไทยในปัจจุบันยังมองว่าโซเชียลมีเดียคือศูนย์กลางในการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา เพราะทั้งสามารถหาข้อมูล ติดต่อสื่อสาร หรือหาความบันเทิงได้จากโซเชียลฯ โดยกว่า 89% คนไทยยังมีพฤติกรรมใช้โซเชียลฯ ไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้งอีกด้วย"

สำหรับปัจจัยที่ทำให้คนไทยหันมาใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้น มี 3 ปัจจัย คือ 1. การขับเคลื่อนจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีความเคยชินในการใช้งานเทคโนโลยี 2. การขยายตัวของชุมชนเมือง ซึ่งจะมีผู้คนเข้ามาใช้ชีวิตในลักษณะของการทำงานมากขึ้น คาดว่าภายในอีก 5 ปี 70% ของคนทั่วโลกจะมีวิถีการเข้าใช้ชีวิตในเมืองมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความวุ่นวายและความต้องการใช้เทคโนโลยีอย่างมาก 3. การใช้สมาร์ทโฟน ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง



บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย

นายบัญญัติ กล่าวอีกว่า สังคมเครือข่าย (Network Society) ถือเป็นพื้นฐานของดิจิตอล อีโคโนมี โดยมีเทคโนโลยี 3 ประการเป็นตัวแปรในการกำหนด คือ โมบิลิตี้ คลาวด์ และบรอดแบนด์ สอดคล้องกับความต้องการใช้งานมือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านของเลขหมายและปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ ประเทศไทยจะมีผู้ใช้มือถือราว 103 ล้านเลขหมาย และ 50% ของจำนวนดังกล่าวเป็นสมาร์ทโฟน จากสิ้นปี 2557 ที่มีจำนวน 97.7 ล้านเลขหมาย ส่วนความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตมือถือ หรือ โมบายล์บรอดแบนด์นั้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกกว่า 5 เท่าตัว ภายในปี 2557-2563 ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวยังทำให้เกิดโอกาสในการขยายตัวของตลาดนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นตามมาด้วย

"ปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ใช้งานโมบายล์บรอดแบนด์สูงเป็นอันดับ 3 ของเออีซี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความต้องการคลื่นความถี่มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบเรื่องคลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการเครือข่าย (โอเปอเรเตอร์) ของไทยมีกับประเทศอื่น เช่น สิงคโปร์หรือมาเลเซีย ก็จะพบว่าไทยยังมีคลื่นความถี่เป็นจำนวนน้อยมาก ส่วนเรื่องการอัพเกรดโครงข่ายจาก 3จี สู่ 4จี นั้น เชื่อว่าทุกโอเปอเรเตอร์ต่างมองเห็นความสำคัญดังกล่าวและมีความพร้อมแล้ว เพราะผู้ให้บริการต่างต้องการนำเสนอบริการที่มีความรวดเร็วและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้"

นายบัญญัติ กล่าวอีกว่า ส่วนดิจิตอล อีโคโนมีนั้น ส่วนตัวมองว่าหากภาครัฐต้องการเดินหน้าเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ก็จำเป็นต้องผลักดันความรู้ การศึกษาของประชาชนด้วย เพื่อส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ภาคประชากร ขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องปรับเปลี่ยนระบบด้วย เช่น เรื่องเอกสารที่ปัจจุบันยังต้องใช้การแสดงเอกสารในรูปแบบกระดาษกับหน่วยงานภาครัฐ เพราะเรื่องดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบองค์รวมหรือทั้งระบบ หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องทำทั้งหมดไปพร้อมกัน.


http://www.thairath.co.th/content/476412

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.