Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มีนาคม 2558 แหล่งข่าวระบุ TOT ขอให้สิทธิคลื่น 900 MHz ที่กำลังจะหมดสัมปทานใน ก.ย.นี้ ชดเชยกับการคืนคลื่น 2300 MHz เพราะเมื่อหมดสัมปทานแล้ว โดยจะเสนอ คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ประเด็นหลัก


ด้านแหล่งข่าวจากคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีการเสนอแนวคิดที่จะให้ บมจ.ทีโอที คืนคลื่นความถี่ในย่าน 2300 MHz ที่ถือครองอยู่ จำนวน 64 MHz ให้ กสทช.นำไปจัดสรรใหม่ เนื่องจากเป็นคลื่นที่มีแถบความถี่กว้างพอให้บริการบนเทคโนโลยี 4G ความเร็วสูงได้ รวมถึงได้อนุมัติแผนบรอดแบนด์แห่งชาติที่จะรวมเสาโทรคมนาคม และเคเบิลใยแก้วนำแสงที่อยู่ในมือของภาครัฐและเอกชนมาไว้ในบริษัทกลางที่รัฐ และเอกชนจะถือหุ้นร่วมกัน

"กรณีคลื่น 2300 MHz หากทีโอทีจะถือครองต่อไป ก็ต้องมีการลงทุนใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากคลื่นที่มี ถามว่าใครจะยอมอนุมัติให้ลงทุนในเมื่อคลื่น 2100 MHz ที่มีก่อนใคร และทำ 3G ไปก่อน แต่เสร็จช้ากว่าใคร และแพงกว่าด้วย มีปัญหามาโดยตลอด ดังนั้นการเช่าโครงข่ายจากบริษัทกลางไปให้บริการจะดีกว่าแล้วปรับปรุงจุดอ่อนที่บริการลาสไมล์ให้ดีขึ้น"

อย่างไรก็ตามเพื่อให้ทีโอทียังทำธุรกิจต่อได้จึงมีแนวคิดว่าควรให้ทีโอทีได้สิทธิ์ในคลื่น 900 MHz ที่กำลังจะหมดสัมปทานใน ก.ย.นี้ ชดเชยกับการคืนคลื่น 2300 MHz เพราะเมื่อหมดสัมปทานแล้ว ทีโอทีจะได้สิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมและลูกค้าเดิม หากมีคลื่นก็ให้บริการต่อได้โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม โดยให้สิทธิ์การถือครองสิ้นสุดพร้อม 2100 MHz ในปี 2568 หากนำคลื่น 900 MHz ไปประมูลก็ไม่ได้แถบคลื่นกว้างพอที่จะนำไปให้บริการ 4G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า แผนบรอดแบนด์แห่งชาติทำให้ทีโอทีต้องปรับตัว แต่ควรได้สิทธิ์ในคลื่น 900 MHz เพื่อให้หารายได้จากบริการโทรศัพท์มือถือได้ หากนำมาให้บริการผสมกับ 2100 MHz ซึ่งมีแผนแยกส่วนธุรกิจออกมาต่างหาก เพื่อให้การบริหารงานคล่องตัวขึ้น ได้แก่ ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ บรอดแบนด์ และดาต้าเซ็นเตอร์

นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ทีโอทีและอสมท ใช้คลื่นความถี่ไม่เต็มที่ จึงควรมีการเจรจาเพื่อเรียกคืนมาจัดสรรใหม่ ในฐานะหน่วยงานรัฐต้องทำงานให้สอดคล้องกับนโยบาย แต่ควรมีมาตรการเยียวยาที่เหมาะสม ข้อเสนอที่จะให้ทีโอทีได้สิทธิ์ในคลื่น 900 MHz ไอซีทีจะไม่เข้าไปก้าวก่าย เพราะ กสทช.เตรียมนำ 900 และ1800 MHz ออกประมูล ส่วนย่านอื่น คงไม่ใช่ใน ส.ค.นี้ เนื่องจากต้องศึกษาข้อมูลรอบด้าน

ด้านนายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การผลักดันของรัฐบาลที่จะให้ประมูล 4G ใน ส.ค.นี้ ส่งผลบวกกับทั้งบริษัทและภาพรวมของประเทศ เพราะผลวิจัยของอีริคสันชี้ชัดว่า การใช้ดาต้าจะเพิ่มสูงขึ้นมาก จากที่มีการใช้งานสูงอยู่แล้ว สำหรับ 4G ไม่ว่าจะใช้คลื่นใดได้หมด ทั้ง 900/1800/2300/2600 MHz แต่ 1800 MHz เป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก พัฒนามาจาก 2G ที่ทุกประเทศใช้อยู่แล้ว ทำให้เครื่องราคาไม่แพง ส่วน 2600 MHz ใช้ในยุโรปเป็นส่วนใหญ่

"เอไอเอสต้องการคลื่นกลุ่ม Low Band และ Hi Band เพื่อให้บริการได้เต็มประสิทธิภาพ และมีการหารือกับทีโอที 2 เรื่องคือเป็นพันธมิตรธุรกิจเพื่อพัฒนาธุรกิจร่วมกันอีกเรื่องคือสัมปทานที่จะหมด เพื่อคืนเสาสัญญาณ 1.2-1.3 หมื่นต้น"









_____________________________________________________











"ทีโอที" ยอมคายคลื่น2300MHz แลกสิทธิ์ใช้ความถี่900MHz


"หม่อมอุ๋ย" เสียงอ่อน ประมูล 4G เดือน ส.ค.นี้ได้แค่ 900-1800 MHz กระทุ้ง "กสทช." เร่งเจรจาเรียกคืนคลื่นย่านอื่น ฟาก "ทีโอที" ชงไอเดียคายคลื่น 2300 MHz แลกสิทธิ์ใช้คลื่น 900 MHz หวังผนึก 2100 MHz พลิกธุรกิจมือถือ ฟาก "อีริคสัน"แนะวางแผนจัดสรรความถี่ ขณะที่ยักษ์ "เอไอเอส" เตรียมทีมพร้อมประมูลคลื่นทำ 4G ยอมรับถ้าเจอโรคเลื่อนมีสิทธิ์กระทบคุณภาพบริการ เหตุโครงข่ายใกล้เต็ม


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ในงานสัมมนา "ก้าวสู่ Digital Government ภายใต้นโยบาย Digital Economy" เมื่อ23 มี.ค. 2558 ที่ผ่านมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คลื่นที่พร้อมจัดประมูล 4G ได้ทันทีมีเพียงคลื่น900 MHz และ 1800 MHz เท่านั้น ส่วนย่านความถี่อื่นเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องไปเจรจาเรียกคืนจากหน่วยงานอื่นเพื่อนำมาจัดสรรใหม่ เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ กสทช.ทำได้

ด้านแหล่งข่าวจากคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีการเสนอแนวคิดที่จะให้ บมจ.ทีโอที คืนคลื่นความถี่ในย่าน 2300 MHz ที่ถือครองอยู่ จำนวน 64 MHz ให้ กสทช.นำไปจัดสรรใหม่ เนื่องจากเป็นคลื่นที่มีแถบความถี่กว้างพอให้บริการบนเทคโนโลยี 4G ความเร็วสูงได้ รวมถึงได้อนุมัติแผนบรอดแบนด์แห่งชาติที่จะรวมเสาโทรคมนาคม และเคเบิลใยแก้วนำแสงที่อยู่ในมือของภาครัฐและเอกชนมาไว้ในบริษัทกลางที่รัฐ และเอกชนจะถือหุ้นร่วมกัน

"กรณีคลื่น 2300 MHz หากทีโอทีจะถือครองต่อไป ก็ต้องมีการลงทุนใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากคลื่นที่มี ถามว่าใครจะยอมอนุมัติให้ลงทุนในเมื่อคลื่น 2100 MHz ที่มีก่อนใคร และทำ 3G ไปก่อน แต่เสร็จช้ากว่าใคร และแพงกว่าด้วย มีปัญหามาโดยตลอด ดังนั้นการเช่าโครงข่ายจากบริษัทกลางไปให้บริการจะดีกว่าแล้วปรับปรุงจุดอ่อนที่บริการลาสไมล์ให้ดีขึ้น"

อย่างไรก็ตามเพื่อให้ทีโอทียังทำธุรกิจต่อได้จึงมีแนวคิดว่าควรให้ทีโอทีได้สิทธิ์ในคลื่น 900 MHz ที่กำลังจะหมดสัมปทานใน ก.ย.นี้ ชดเชยกับการคืนคลื่น 2300 MHz เพราะเมื่อหมดสัมปทานแล้ว ทีโอทีจะได้สิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมและลูกค้าเดิม หากมีคลื่นก็ให้บริการต่อได้โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม โดยให้สิทธิ์การถือครองสิ้นสุดพร้อม 2100 MHz ในปี 2568 หากนำคลื่น 900 MHz ไปประมูลก็ไม่ได้แถบคลื่นกว้างพอที่จะนำไปให้บริการ 4G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า แผนบรอดแบนด์แห่งชาติทำให้ทีโอทีต้องปรับตัว แต่ควรได้สิทธิ์ในคลื่น 900 MHz เพื่อให้หารายได้จากบริการโทรศัพท์มือถือได้ หากนำมาให้บริการผสมกับ 2100 MHz ซึ่งมีแผนแยกส่วนธุรกิจออกมาต่างหาก เพื่อให้การบริหารงานคล่องตัวขึ้น ได้แก่ ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ บรอดแบนด์ และดาต้าเซ็นเตอร์

นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ทีโอทีและอสมท ใช้คลื่นความถี่ไม่เต็มที่ จึงควรมีการเจรจาเพื่อเรียกคืนมาจัดสรรใหม่ ในฐานะหน่วยงานรัฐต้องทำงานให้สอดคล้องกับนโยบาย แต่ควรมีมาตรการเยียวยาที่เหมาะสม ข้อเสนอที่จะให้ทีโอทีได้สิทธิ์ในคลื่น 900 MHz ไอซีทีจะไม่เข้าไปก้าวก่าย เพราะ กสทช.เตรียมนำ 900 และ1800 MHz ออกประมูล ส่วนย่านอื่น คงไม่ใช่ใน ส.ค.นี้ เนื่องจากต้องศึกษาข้อมูลรอบด้าน

ด้านนายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การผลักดันของรัฐบาลที่จะให้ประมูล 4G ใน ส.ค.นี้ ส่งผลบวกกับทั้งบริษัทและภาพรวมของประเทศ เพราะผลวิจัยของอีริคสันชี้ชัดว่า การใช้ดาต้าจะเพิ่มสูงขึ้นมาก จากที่มีการใช้งานสูงอยู่แล้ว สำหรับ 4G ไม่ว่าจะใช้คลื่นใดได้หมด ทั้ง 900/1800/2300/2600 MHz แต่ 1800 MHz เป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก พัฒนามาจาก 2G ที่ทุกประเทศใช้อยู่แล้ว ทำให้เครื่องราคาไม่แพง ส่วน 2600 MHz ใช้ในยุโรปเป็นส่วนใหญ่

"อีริคสันคาดว่าจากความต้องการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นทำให้โอเปอเรเตอร์หนึ่งรายอาจต้องมีคลื่นอย่างน้อย4ย่านความถี่ เพื่อรองรับการใช้งาน ดังนั้นภาครัฐต้องมีการวางแผนระยะยาวในการจัดสรรคลื่น และต้องเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานในประเทศด้วย ในเอเชียมีการใช้โมบายดาต้าเยอะ เพราะฟิกซ์บรอดแบนด์ยังไม่ครอบคลุม ต่างจากในยุโรป ส่วนต้นทุนในการลงทุนในแต่ละความถี่ไม่ต่างกัน แต่ต้องมีการบริหารจัดการ"

ขณะที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า บริษัทได้เตรียมทีมงานเพื่อศึกษาข้อมูลและจัดเตรียมงบประมาณไว้ส่วนหนึ่งแล้วเพื่อเข้าประมูลคลื่นความถี่ใหม่แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้จนกว่าจะได้รับการอนุมัติจากบอร์ดบริษัท

"คงรอกสทช.ก่อน เพราะยังไม่มีความชัดเจนทั้งเรื่องราคาตั้งต้น, วิธีประมูล และจะเอาคลื่นไหนมาประมูลบ้าง แผนตอนนี้จัดทำมาแค่กรณีประมูล 900-1800 MHz ส่วน 2300 และ 2600 MHz อยู่ระหว่างศึกษา แต่ถึงจะประมูลทั้งหมดก็ไม่มีผลต่องบประมาณที่จะใช้ประมูล เราหวังว่า ส.ค.นี้จะได้ประมูลแน่ถ้าเลื่อนออกไปขีดความสามารถของโครงข่ายเอไอเอสจะรองรับได้ถึง ธ.ค.ปีนี้เนื่องจากมีลูกค้าในระบบ 44.3 ล้านเลขหมายโครงข่ายรองรับได้ถึง 50 ล้านเลขหมาย"

และคลื่นความถี่ที่เหมาะในการให้บริการ 4G ต้องมีแถบกว้างอย่างน้อย 10-20 MHz ย่านที่ได้รับความนิยมคือ 1800 MHz เป็นคลื่นอันดับที่ 2 หลังจากผู้คิดค้นเทคโนโลยี 4G LTE นำคลื่น 2600 MHz มาทดลองให้บริการในกลุ่มยุโรปเป็นครั้งแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะค่าใช้จ่ายในการประมูลสูงเกินไป

"เอไอเอสต้องการคลื่นกลุ่ม Low Band และ Hi Band เพื่อให้บริการได้เต็มประสิทธิภาพ และมีการหารือกับทีโอที 2 เรื่องคือเป็นพันธมิตรธุรกิจเพื่อพัฒนาธุรกิจร่วมกันอีกเรื่องคือสัมปทานที่จะหมด เพื่อคืนเสาสัญญาณ 1.2-1.3 หมื่นต้น"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1427344369

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.