04 เมษายน 2558 Microsoft ปรับภาพระบบแชตสำหรับธุรกิจด้วย Skype for Business ผสานจุดเด่นระหว่าง Microsoft Lync และ Skype ( Skype ทั่วโลกจะมีลูกค้าราว 300 ล้านราย ป็นผู้ใช้ที่มีการใช้งานทุกเดือนราว 250 ล้านราย )
ประเด็นหลัก
ปัจจุบัน ในส่วนของฐานลูกค้าสไกป์ทั่วโลกจะมีลูกค้าราว 300 ล้านราย เป็นผู้ใช้ที่มีการใช้งานทุกเดือนราว 250 ล้านราย ในขณะที่ลิงก์แต่เดิมมีผู้ใช้ราว 100 ล้านราย เป็นลูกค้าในไทยประมาณ 1 แสนราย และคาดว่าจะเติบโตขึ้นหลังจากเปลี่ยนเป็นสไกป์ฟอร์บิสสิเนส 200% ภายใน 1 ปีนับจากเริ่มให้บริการ
_____________________________________________________
ไมโครซอฟท์ จับ Lync แต่งตัวใหม่เป็น “Skype for Business”
ไมโครซอฟท์ เร่งเครื่องตลาดองค์กร ปรับภาพระบบแชตสำหรับธุรกิจด้วย Skype for Business ผสานจุดเด่นระหว่าง Microsoft Lync และ Skype เข้าด้วยกัน หวังเพิ่มฐานลูกค้าใช้งาน 200% ภายใน 1 ปี โดยจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2558
จิโอวานนี่ เมสเกค ผู้จัดการทั่วไปผลิตภัณฑ์สไกป์สำหรับธุรกิจ ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์จะมีโปรแกรมสนทนาสำหรับองค์กรในชื่อ Microsoft Lync (ลิงก์) และเมื่อมีการเข้าซื้อสไกป์จึงเกิดแนวคิดที่จะนำจุดเด่นของสไกป์และลิงก์ เข้ามาผสานกันออกมาเป็น Skype for Business เพื่อให้บริการแก่ลูกค้า
“สิ่งที่สไกป์ฟอร์บิสสิเนสทำได้คือเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในกลุ่มองค์กร ที่ต้องการติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่หลากหลาย และที่สำคัญคือสามารถเข้าไปใช้งานได้ในทุกๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง ด้านการแพทย์ ร่วมกับอุปกรณ์ไอทีสวมใส่ได้”
โดยเหตุผลที่ไมโครซอฟท์ได้ทำการรีแบรนด์ระบบการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจากเดิมในชื่อ ลิงก์ มาเป็นสไกป์ฟอร์บิสสิเนส เนื่องจากมองว่าตัวแบรนด์อย่างสไกป์ ถือเป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้บริโภคอยู่แล้ว จึงน่าจะทำให้ลูกค้าหันมาเลือกใช้งานเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบัน ในส่วนของฐานลูกค้าสไกป์ทั่วโลกจะมีลูกค้าราว 300 ล้านราย เป็นผู้ใช้ที่มีการใช้งานทุกเดือนราว 250 ล้านราย ในขณะที่ลิงก์แต่เดิมมีผู้ใช้ราว 100 ล้านราย เป็นลูกค้าในไทยประมาณ 1 แสนราย และคาดว่าจะเติบโตขึ้นหลังจากเปลี่ยนเป็นสไกป์ฟอร์บิสสิเนส 200% ภายใน 1 ปีนับจากเริ่มให้บริการ
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ไมโครซอฟท์ จับ Lync แต่งตัวใหม่เป็น “Skype for Business”
นางสาวปัญจพร วิทยเลิศพันธุ์ ผู้จัดการอาวุโสกลุ่มผลิตภัณฑ์ออฟฟิศ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า การเปลี่ยนผ่านจากลิงก์ไปสู่สไกป์ฟอร์บิสสิเนส ในช่วงแรกจะเริ่มจากลูกค้าในกลุ่มที่ใช้งานไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 365 ก่อน ซึ่งผู้ใช้งานแต่ละรายจะสามารถเข้าใช้งานได้ฟรี
ส่วนลูกค้าที่ใช้งานไมโครซอฟท์ ลิงก์เดิมภายในองค์กรแบบติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเองก็สามารถทำการเทสต์ระบบให้ผ่านการรับรอง หลังจากนั้นก็สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องทันที โดยจะเริ่มเปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2558
ขณะที่การจำหน่ายสไกป์ฟอร์บิสสิเนสสำหรับนำไปใช้งานจะประกอบไปด้วย 3 รูปแบบ คือ การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ “Skype for Business Server 2015” โดยมีราคาจำหน่ายเท่ากับ Lync Server ในปัจจุบัน เริ่มต้นที่ผู้ใช้งาน 10 ราย ราคาเริ่มต้นที่ 2 แสนบาท
ถัดมาคือรูปแบบการให้บริการผ่านระบบคลาวด์ของไมโครซอฟท์ ภายใต้การเช่าใช้ Office 365 รายปีจะอยู่ที่ 2,200 บาทต่อคนต่อปี โดยจะสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ในชุด Office 365 ได้ด้วย สุดท้ายคือ การทำตลาดร่วมกับพาร์ตเนอร์กว่า 10 รายในประเทศไทย ที่นำบริการสไกป์เซอร์วิสมาติดตั้งไว้ในประเทศเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งราคาในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับทางพาร์ตเนอร์ที่ให้บริการ
โดยจุดที่แตกต่างระหว่าง ลิงก์ และสไกป์ฟอร์บิสสิเนส คือการเพิ่มรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่มากขึ้น ผู้ใช้สามารถประชุมสายได้สูงสุด 250 คนในเวลาเดียวกัน สามารถแชร์หน้าจอพาวเวอร์พอยต์เพื่อพรีเซนต์งานได้ทันที รวมกับฟังก์ชันเด่นอื่นๆ ของสไกป์อย่างการแปลภาษา และที่สำคัญคือยังนำความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรจากลิงก์มาใช้งานด้วย ทำให้ได้ทั้งฟังก์ชันที่หลากหลายบนมาตรฐานความปลอดภัย
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายหลักของการทำตลาดสไกป์ฟอร์บิสสิเนส จะเน้นช่องทางจำหน่ายร่วมกับพาร์ตเนอร์เป็นหลัก โดยจะเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีการลงทุนทางด้านไอทีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงินการธนาคาร ธุรกิจประกัน อุตสาหกรรมการผลิต และค้าปลีก
http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000038716
ปัจจุบัน ในส่วนของฐานลูกค้าสไกป์ทั่วโลกจะมีลูกค้าราว 300 ล้านราย เป็นผู้ใช้ที่มีการใช้งานทุกเดือนราว 250 ล้านราย ในขณะที่ลิงก์แต่เดิมมีผู้ใช้ราว 100 ล้านราย เป็นลูกค้าในไทยประมาณ 1 แสนราย และคาดว่าจะเติบโตขึ้นหลังจากเปลี่ยนเป็นสไกป์ฟอร์บิสสิเนส 200% ภายใน 1 ปีนับจากเริ่มให้บริการ
_____________________________________________________
ไมโครซอฟท์ จับ Lync แต่งตัวใหม่เป็น “Skype for Business”
ไมโครซอฟท์ เร่งเครื่องตลาดองค์กร ปรับภาพระบบแชตสำหรับธุรกิจด้วย Skype for Business ผสานจุดเด่นระหว่าง Microsoft Lync และ Skype เข้าด้วยกัน หวังเพิ่มฐานลูกค้าใช้งาน 200% ภายใน 1 ปี โดยจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2558
จิโอวานนี่ เมสเกค ผู้จัดการทั่วไปผลิตภัณฑ์สไกป์สำหรับธุรกิจ ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์จะมีโปรแกรมสนทนาสำหรับองค์กรในชื่อ Microsoft Lync (ลิงก์) และเมื่อมีการเข้าซื้อสไกป์จึงเกิดแนวคิดที่จะนำจุดเด่นของสไกป์และลิงก์ เข้ามาผสานกันออกมาเป็น Skype for Business เพื่อให้บริการแก่ลูกค้า
“สิ่งที่สไกป์ฟอร์บิสสิเนสทำได้คือเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในกลุ่มองค์กร ที่ต้องการติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่หลากหลาย และที่สำคัญคือสามารถเข้าไปใช้งานได้ในทุกๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง ด้านการแพทย์ ร่วมกับอุปกรณ์ไอทีสวมใส่ได้”
โดยเหตุผลที่ไมโครซอฟท์ได้ทำการรีแบรนด์ระบบการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจากเดิมในชื่อ ลิงก์ มาเป็นสไกป์ฟอร์บิสสิเนส เนื่องจากมองว่าตัวแบรนด์อย่างสไกป์ ถือเป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้บริโภคอยู่แล้ว จึงน่าจะทำให้ลูกค้าหันมาเลือกใช้งานเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบัน ในส่วนของฐานลูกค้าสไกป์ทั่วโลกจะมีลูกค้าราว 300 ล้านราย เป็นผู้ใช้ที่มีการใช้งานทุกเดือนราว 250 ล้านราย ในขณะที่ลิงก์แต่เดิมมีผู้ใช้ราว 100 ล้านราย เป็นลูกค้าในไทยประมาณ 1 แสนราย และคาดว่าจะเติบโตขึ้นหลังจากเปลี่ยนเป็นสไกป์ฟอร์บิสสิเนส 200% ภายใน 1 ปีนับจากเริ่มให้บริการ
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ไมโครซอฟท์ จับ Lync แต่งตัวใหม่เป็น “Skype for Business”
นางสาวปัญจพร วิทยเลิศพันธุ์ ผู้จัดการอาวุโสกลุ่มผลิตภัณฑ์ออฟฟิศ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า การเปลี่ยนผ่านจากลิงก์ไปสู่สไกป์ฟอร์บิสสิเนส ในช่วงแรกจะเริ่มจากลูกค้าในกลุ่มที่ใช้งานไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 365 ก่อน ซึ่งผู้ใช้งานแต่ละรายจะสามารถเข้าใช้งานได้ฟรี
ส่วนลูกค้าที่ใช้งานไมโครซอฟท์ ลิงก์เดิมภายในองค์กรแบบติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเองก็สามารถทำการเทสต์ระบบให้ผ่านการรับรอง หลังจากนั้นก็สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องทันที โดยจะเริ่มเปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2558
ขณะที่การจำหน่ายสไกป์ฟอร์บิสสิเนสสำหรับนำไปใช้งานจะประกอบไปด้วย 3 รูปแบบ คือ การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ “Skype for Business Server 2015” โดยมีราคาจำหน่ายเท่ากับ Lync Server ในปัจจุบัน เริ่มต้นที่ผู้ใช้งาน 10 ราย ราคาเริ่มต้นที่ 2 แสนบาท
ถัดมาคือรูปแบบการให้บริการผ่านระบบคลาวด์ของไมโครซอฟท์ ภายใต้การเช่าใช้ Office 365 รายปีจะอยู่ที่ 2,200 บาทต่อคนต่อปี โดยจะสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ในชุด Office 365 ได้ด้วย สุดท้ายคือ การทำตลาดร่วมกับพาร์ตเนอร์กว่า 10 รายในประเทศไทย ที่นำบริการสไกป์เซอร์วิสมาติดตั้งไว้ในประเทศเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งราคาในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับทางพาร์ตเนอร์ที่ให้บริการ
โดยจุดที่แตกต่างระหว่าง ลิงก์ และสไกป์ฟอร์บิสสิเนส คือการเพิ่มรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่มากขึ้น ผู้ใช้สามารถประชุมสายได้สูงสุด 250 คนในเวลาเดียวกัน สามารถแชร์หน้าจอพาวเวอร์พอยต์เพื่อพรีเซนต์งานได้ทันที รวมกับฟังก์ชันเด่นอื่นๆ ของสไกป์อย่างการแปลภาษา และที่สำคัญคือยังนำความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรจากลิงก์มาใช้งานด้วย ทำให้ได้ทั้งฟังก์ชันที่หลากหลายบนมาตรฐานความปลอดภัย
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายหลักของการทำตลาดสไกป์ฟอร์บิสสิเนส จะเน้นช่องทางจำหน่ายร่วมกับพาร์ตเนอร์เป็นหลัก โดยจะเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีการลงทุนทางด้านไอทีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงินการธนาคาร ธุรกิจประกัน อุตสาหกรรมการผลิต และค้าปลีก
http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000038716
ไม่มีความคิดเห็น: