Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 เมษายน 2558 สุภาพ คลี่ขจาย ชี้ การที่รัฐกลับมาควบคุมทีวีดิจิตอลดูแลอีกครั้งก็เหมือนเป็นการให้วงการโทรทัศน์ถอยหลังลงคลอง



ประเด็นหลัก



เมื่อวันที่ 7 เมษายน นายสุภาพ คลี่ขจาย ประธานชมรมผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิตอลต่างให้ความกังวลเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลทั้ง 10 ฉบับที่กำลังจะออกมาเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่มีการนำคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปเป็นอีก 1 องค์ประกอบคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เนื่องจากรูปแบบของกฎหมายดังกล่าวเปรียบเสมือนให้ กสทช.กลับเข้าไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่มีฝ่ายการเมืองครอบงำอีกชั้นหนึ่ง ส่งผลให้ กสทช.หมดความเป็นองค์กรอิสระอย่างที่ควรจะเป็นตามที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ระบุไว้

"สิ่งสำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน คือ การมีอิสรภาพ เมื่อครั้งประมูลทีวีดิจิตอลเชื่อได้ว่าผู้ประกอบการทุกรายหวังจะทำธุรกิจโทรทัศน์ในยุคที่ปราศจากการควบคุมของรัฐโดยสิ้นเชิง การที่รัฐกลับมาควบคุมดูแลอีกครั้งก็เหมือนเป็นการให้วงการโทรทัศน์ถอยหลังลงคลอง อีกทั้งใครจะรู้ว่าคนเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะเป็นคนดีหรือไม่ดี หากเกิดหมั่นไส้ช่องรายการใดก็มีอำนาจกระซิบไปยัง กสทช.ที่อยู่ใต้การควบคุมสามารถสั่งปิดได้สบาย" นายสุภาพกล่าว

_____________________________________________________











ห่วงการเมืองครอบงำ "ทีวีดิจิตอล" ทีดีอาร์ไอแนะออกกม.ลูกคุ้มครอง



สัปดาห์นี้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลนัดถกแก้ปมบรรจุ"กสทช."ในบอร์ดดีอี หวั่นรัฐใช้เป็นเครื่องมือคุมสื่อ ก่อนร้องรัฐเพิ่มเติมกฎหมายลูกคุ้มครอง

เมื่อวันที่ 7 เมษายน นายสุภาพ คลี่ขจาย ประธานชมรมผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิตอลต่างให้ความกังวลเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลทั้ง 10 ฉบับที่กำลังจะออกมาเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่มีการนำคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปเป็นอีก 1 องค์ประกอบคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เนื่องจากรูปแบบของกฎหมายดังกล่าวเปรียบเสมือนให้ กสทช.กลับเข้าไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่มีฝ่ายการเมืองครอบงำอีกชั้นหนึ่ง ส่งผลให้ กสทช.หมดความเป็นองค์กรอิสระอย่างที่ควรจะเป็นตามที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ระบุไว้

"สิ่งสำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน คือ การมีอิสรภาพ เมื่อครั้งประมูลทีวีดิจิตอลเชื่อได้ว่าผู้ประกอบการทุกรายหวังจะทำธุรกิจโทรทัศน์ในยุคที่ปราศจากการควบคุมของรัฐโดยสิ้นเชิง การที่รัฐกลับมาควบคุมดูแลอีกครั้งก็เหมือนเป็นการให้วงการโทรทัศน์ถอยหลังลงคลอง อีกทั้งใครจะรู้ว่าคนเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะเป็นคนดีหรือไม่ดี หากเกิดหมั่นไส้ช่องรายการใดก็มีอำนาจกระซิบไปยัง กสทช.ที่อยู่ใต้การควบคุมสามารถสั่งปิดได้สบาย" นายสุภาพกล่าว

นายสุภาพกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้มีการปรึกษากับนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งนายสมเกียรติแนะนำว่าการที่สื่อจะปราศจากการครอบงำจากที่ฝ่ายการเมืองได้ต้องมีกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนออกมาป้องกัน ซึ่ง 1-2 วันข้างหน้าทางผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิตอลจะหารือกันเพื่อหาแนวทางดำเนินการเรียกร้องและมาตรการเพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายลูกขึ้นมาป้องกัน

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า การทำหน้าที่ของ กสทช.ภายใต้กฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอล ยอมรับว่าอำนาจของ กสทช.จะต้องไปอยู่ภายใต้บอร์ดดีอีจริง เช่น ในกฎหมายระบุว่าหากบอร์ด กสทช.ไม่สามารถตัดสินใจหรือหาข้อสรุปในประเด็นใดได้ บอร์ดดีอีจะเป็นผู้ตัดสินใจแทนให้ หรือจะเห็นได้ว่าในขณะนี้ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เองสามารถสั่งการมาที่สำนักงาน กสทช.ได้โดยตรงในการอนุมัติให้เพิ่มเงื่อนไขการแลกคูปองทีวีดิจิตอลในส่วนของกล่องที่รับสัญญาณภาคพื้นดินหรือทีวีดาวเทียมได้ในตัว (กล่องไฮบริด) แทนที่จะให้บอร์ด กสทช.เป็นผู้ตัดสินใจ




ที่มา : นสพ.มติชน



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428467854

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.