Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 กสทช.ประวิทย์ ระบุ หากยังไม่เปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวในอนาคตไม่เกิน 10 ปี จะเกิดปัญหาการเข้าเว็บไซต์ได้ล่าช้า เพราะมีเว็บใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แต่เว็บเก่าที่ปิดตัวลงหรือโดนปิดยังมีชื่อค้างอยู่ในระบบ (เซิร์ฟเวอร์) จนเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักในการค้นหาและเชื่อมต่อเว็บต่างๆ

ประเด็นหลัก







นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กสทช. เปิดเผยในเวทีระดับชาติว่าด้วยการอภิบาลอินเตอร์เน็ตของไทย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมว่า การกำกับดูแลอินเตอร์เน็ตของไทยมีขอบเขตการทำงานที่คาบเกี่ยวของ 2 หน่วยงานคือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ดูด้านเนื้อหา มีหน้าที่ปิดเว็บไซต์ตามหมายศาลด้านเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ส่วนเรื่องการกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) เป็นหน้าที่ กสทช. ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่การกำกับดูแลอินเตอร์เน็ตทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวจะมาจากหน่วยงานเดียวกัน เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน

นายประวิทย์กล่าวว่า หากยังไม่เปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวในอนาคตไม่เกิน 10 ปี จะเกิดปัญหาการเข้าเว็บไซต์ได้ล่าช้า เพราะมีเว็บใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แต่เว็บเก่าที่ปิดตัวลงหรือโดนปิดยังมีชื่อค้างอยู่ในระบบ (เซิร์ฟเวอร์) จนเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักในการค้นหาและเชื่อมต่อเว็บต่างๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่มีแนวโน้มจะโอนย้ายงานการดูแลอินเตอร์เน็ตทั้งหมดมาที่ กสทช. ยอมรับว่า กสทช.เวลานี้ยังไม่มีความพร้อม เพราะจำนวนไอเอสพีและผู้เปิดใช้งานเว็บไซต์มีจำนวนมากŽ นายประวิทย์กล่าว และว่า หากต้องดำเนินการจริงคงต้องใช้ระบบการมีส่วนร่วมจากประชาชน และสร้างทีมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพื่อดูแลเนื้อหา









____________________________



กสทช.หวั่นอนาคตใช้งานเน็ตอืด เหตุเซิร์ฟเวอร์แน่นเคลียร์เว็บเก่าไม่ได้ หนุนดึงงานไอซีทีรวมหน่วยเดียว



กสทช.ยังไม่พร้อมรับงานคุมอินเตอร์เน็ต แต่หนุนให้รวบงานจากไอซีทีมารวมด้วย ช่วยให้งานคล่องตัวเหมือนต่างประเทศ หวั่นไม่ทำจะเกิดปัญหาใช้งานค้นหาเว็บช้าเป็นเต่าคลาน

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กสทช. เปิดเผยในเวทีระดับชาติว่าด้วยการอภิบาลอินเตอร์เน็ตของไทย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมว่า การกำกับดูแลอินเตอร์เน็ตของไทยมีขอบเขตการทำงานที่คาบเกี่ยวของ 2 หน่วยงานคือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ดูด้านเนื้อหา มีหน้าที่ปิดเว็บไซต์ตามหมายศาลด้านเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ส่วนเรื่องการกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) เป็นหน้าที่ กสทช. ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่การกำกับดูแลอินเตอร์เน็ตทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวจะมาจากหน่วยงานเดียวกัน เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน

นายประวิทย์กล่าวว่า หากยังไม่เปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวในอนาคตไม่เกิน 10 ปี จะเกิดปัญหาการเข้าเว็บไซต์ได้ล่าช้า เพราะมีเว็บใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แต่เว็บเก่าที่ปิดตัวลงหรือโดนปิดยังมีชื่อค้างอยู่ในระบบ (เซิร์ฟเวอร์) จนเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักในการค้นหาและเชื่อมต่อเว็บต่างๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่มีแนวโน้มจะโอนย้ายงานการดูแลอินเตอร์เน็ตทั้งหมดมาที่ กสทช. ยอมรับว่า กสทช.เวลานี้ยังไม่มีความพร้อม เพราะจำนวนไอเอสพีและผู้เปิดใช้งานเว็บไซต์มีจำนวนมากŽ นายประวิทย์กล่าว และว่า หากต้องดำเนินการจริงคงต้องใช้ระบบการมีส่วนร่วมจากประชาชน และสร้างทีมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพื่อดูแลเนื้อหา

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. กล่าวว่า ปัจจุบัน สพธอ.เป็นหน่วยงานหลักดูแลการใช้งานอินเตอร์เน็ต มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่นไวรัส ภัยคุกคามต่างๆ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หากชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอลผ่านจะมีคณะอนุกรรมการอภิบาลอินเตอร์เน็ต เป็นชุดย่อยของคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด ดีอี) ดูแลงานดังกล่าว





ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437720011

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.