Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2558 TOT อยากนำคลื่น 900 ร่วมให้บริการ 3G 2100 (ส่วนกรณี MVNO รอให้บอร์ดเลือกพันธมิตร ทำให้ 3G ทั้งของทีโอทีและ MVNO ชะงักไป ) แต่รับภาระค่าบำรุงรักษาโครงข่าย 2100 รวมถึงจ่ายหนี้ธนาคารอีก 900 ล้านบาท ทุก 6 เดือน มีรายได้แต่ละปี 100-200 ล้านบาทเท่านั้น

ประเด็นหลัก



แผนการใช้คลื่น 900 MHz ในอนาคตของทีโอทีจะนำไปใช้ร่วมกับ 2100 MHz โดยเชื่อมต่อโครงข่ายตามสัมปทานของ "เอไอเอส" 25,000 สถานีฐาน เข้ากับ 3G ของทีโอที 5,320 สถานีฐาน จะใช้เงินราว 5,000 ล้านบาท และคลื่น 900 MHz จะใช้เพื่อความมั่นคงด้วยส่วนหนึ่ง

แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทีโอทีชะลอทั้งหมด เพื่อรอให้บอร์ดเลือกพันธมิตร ทำให้ 3G ทั้งของทีโอทีและ MVNO ชะงักไป ปัจจุบันมีลูกค้าอยู่220,000 เลขหมาย ส่วน MVNO มี 400,000 เลขหมาย แต่รับภาระค่าบำรุงรักษาโครงข่ายรวมถึงจ่ายหนี้ธนาคารอีก 900 ล้านบาท ทุก 6 เดือน มีรายได้แต่ละปี 100-200 ล้านบาทเท่านั้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดให้ทีโอทีสรุปประโยชน์ที่องค์กรและประเทศจะได้จากการให้สิทธิทีโอทีใช้คลื่นต่อเพื่อเสนอให้คณะกรรมการเตรียมการเศรษฐกิจดิจิทัลและคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะเกิดจากการนำคลื่นไปประมูล ซึ่งรัฐบาลต้องการให้ได้ข้อยุติปัญหาคลื่น 900 MHz ส.ค.นี้


_____________________________________________________













"ทีโอที" ดิ้นเฮือกสุดท้าย ปฏิบัติการยื้อคลื่น 900 MHz



ขณะที่ "กสทช." เดินหน้าประชาพิจารณ์หลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz "ทีโอที" รัฐวิสาหกิจเจ้าของสัมปทานความถี่ 900 MHz กำลังเดินหน้ายื้อคลื่นเต็มรูปแบบ ล่าสุด 10 ส.ค.ที่ผ่านมา ผู้บริหารนำโดย "มนต์ชัย หนูสง" รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที พร้อมเลขาธิการ กสทช. "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เข้าพบคณะทำงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเกี่ยวกับสิทธิ และความจำเป็นในการถือครองคลื่น 900 MHz โดย "ทีโอที" ยืนยันว่าต้องการใช้คลื่น 900 MHz ต่อไปทั้ง 20 MHz ฟาก "กสทช." ก็ว่าตามกฎหมายระบุว่าเมื่อสิ้นสุดสัมปทานต้องนำคลื่นกลับมาจัดสรรใหม่ด้วยการประมูล ทำให้การหารือดังกล่าวยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้

"ดร.ชิต เหล่าวัฒนา" กรรมการ บมจ.ทีโอที กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทีโอทีได้เสนอแนวคิดจะให้รัฐบาลผลักดันให้นำคลื่น 900 MHz มาใช้เพื่อให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง (USO) ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการเติบโตตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลเร็วขึ้น แม้ขณะนี้ กสทช.จะเริ่มกระบวนการประชาพิจารณ์หลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 900 MHz แล้ว แต่ยังมีหนทางที่จะได้คลื่นมาให้บริการได้แน่นอน

ฟากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที "อนุชิต ธูปเหลือง" ประธานสหภาพแรงงาน ออกแถลงการณ์จุดยืน กรณี กสทช.นำคลื่น 900 MHz ออกไปประมูลใหม่ โดยระบุว่า สิทธิในการใช้คลื่นได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เพราะทีโอทีได้รับการจัดสรรคลื่นจาก กบถ. ไม่มีกำหนดเวลาแม้จะเป็นรูปแบบสัมปทาน กสทช.ไม่ควรมายึดคืนไปได้ อีกทั้งทีโอทีได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการถึงปี 2568 สิทธิในคลื่นจึงควรถึงปี 2568 เป็นอย่างน้อย

การจัดประมูลคลื่นจึงกระทบสิทธิในการใช้คลื่นของทีโอทีทำให้อุปกรณ์โครงข่ายและทรัพย์สินต่างๆที่ได้รับโอนมาตามสัมปทานหมดค่าลง เพราะไม่สามารถนำไปใช้งานต่อและไม่สามารถนำไปให้บริการ 2G ต่อได้ ทำให้ประเทศเสียหาย แต่ถ้าให้ทีโอทีได้ใช้คลื่นต่อจะทำผลกำไรได้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท เทียบกับเงินที่จะได้การประมูล พบว่า มีความเสียหายจากการไม่สามารถนำโครงข่ายไปให้บริการ มีค่ามากกว่าเงินรายได้จากการประมูล ทั้งการยกเลิก 2G ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศเพื่อซื้ออุปกรณ์ใหม่แทน รวมถึงสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงขอให้ กสทช.ยุติการนำคลื่น 900 MHz ไปประมูลใหม่




"สหภาพไม่ได้ขัดขวางการพัฒนาบริการแต่เชื่อว่าไทยยังไม่ถึงเวลายุติ 2G คลื่น 900 MHz ไม่ได้นิยมให้บริการ 4G ยังมี 1800 MHz, 2600 MHz ที่นำไปประมูลได้"

"พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี" กรรมการสหภาพทีโอที เสริมว่า ความเสียหายจากการไม่มีคลื่นไปให้บริการภายใต้โครงข่ายที่ได้รับโอนจากสัมปทานและการที่ลูกค้าที่ยังใช้ 2G โดนบังคับให้เปลี่ยนเครื่องเป็นมติที่ กสทช.ไม่ได้นำมาคำนึงถึง

"เราไม่ได้มองแค่ว่า ทีโอทีต้องอยู่รอด แต่มองถึงประเทศที่ต้องไม่เสียหาย เรื่องนี้คงไปจบที่ศาลปกครอง"

แผนการใช้คลื่น 900 MHz ในอนาคตของทีโอทีจะนำไปใช้ร่วมกับ 2100 MHz โดยเชื่อมต่อโครงข่ายตามสัมปทานของ "เอไอเอส" 25,000 สถานีฐาน เข้ากับ 3G ของทีโอที 5,320 สถานีฐาน จะใช้เงินราว 5,000 ล้านบาท และคลื่น 900 MHz จะใช้เพื่อความมั่นคงด้วยส่วนหนึ่ง

แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทีโอทีชะลอทั้งหมด เพื่อรอให้บอร์ดเลือกพันธมิตร ทำให้ 3G ทั้งของทีโอทีและ MVNO ชะงักไป ปัจจุบันมีลูกค้าอยู่220,000 เลขหมาย ส่วน MVNO มี 400,000 เลขหมาย แต่รับภาระค่าบำรุงรักษาโครงข่ายรวมถึงจ่ายหนี้ธนาคารอีก 900 ล้านบาท ทุก 6 เดือน มีรายได้แต่ละปี 100-200 ล้านบาทเท่านั้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดให้ทีโอทีสรุปประโยชน์ที่องค์กรและประเทศจะได้จากการให้สิทธิทีโอทีใช้คลื่นต่อเพื่อเสนอให้คณะกรรมการเตรียมการเศรษฐกิจดิจิทัลและคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะเกิดจากการนำคลื่นไปประมูล ซึ่งรัฐบาลต้องการให้ได้ข้อยุติปัญหาคลื่น 900 MHz ส.ค.นี้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1439440249

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.