13 กันยายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) รมว.ไอซีที ไม่ต้องการให้ กสท โทรคมนาคม นำเรื่องความถี่ 5MHz ที่จะให้ กสทช.ไปประมูล กับเรื่องขยายเวลาของความถี่ 1800 MHz จำนวน 20 MHz มาโยงเป็นเรื่องเดียวกัน จึงต้องขอรอดูความชัดเจนเรื่องข้อกฎหมาย
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ พ.อ.สรรพชัย กล่าวภายหลังการหารือว่า รมว.ไอซีที ไม่ต้องการให้ กสท โทรคมนาคม นำเรื่องความถี่ 5MHz ที่จะให้ กสทช.ไปประมูล กับเรื่องขยายเวลาของความถี่ 1800 MHz จำนวน 20 MHz มาโยงเป็นเรื่องเดียวกัน จึงต้องขอรอดูความชัดเจนเรื่องข้อกฎหมาย และรอที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) ชุดใหม่พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง รมว.ไอซีทีเห็นว่าการคืนคลื่นดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
ขณะที่ในเวลาต่อมาคือ 14.30 น. ผู้บริหารบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็ได้เข้าพบ รมว.ไอซีทีเช่นกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการขอคลื่น 900 MHz มาดำเนินธุรกิจเอง แต่ไม่มีการให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด โดยก่อนหน้านั้น นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพทีโอที กล่าวยอมรับว่าเมื่อมีการเปลี่ยน รมว.ไอซีที คนใหม่ การเจรจาขอนำคลื่น 900 MHz มาทำเองในสมัยนายพรชัย รุจิประภา เป็น รมว.ไอซีทีอยู่ ซึ่งมีท่าทีที่ดีอาจมีผลกระทบ และไม่มั่นใจว่าจะได้คลื่นดังกล่าวหรือไม่
______________________________________________
“ฐากร” ชี้ส่อเค้าประมูล 1800 MHz ใบละ 12.5 MHz
เลขาธิการ กสทช.ชี้ประมูล 1800 MHz วันที่ 11 พ.ย.นี้ ส่อเค้าประมูลที่ใบอนุญาตละ 12.5 MHz หลัง กสท โทรคมนาคม ส่งสัญญาณอาจคืนคลื่นไม่ทัน 25 ก.ย.นี้ ขณะที่ รมว.ไอซีทีคนใหม่ นัด กสท โทรคมนาคม-ทีโอที ถกเคลียร์คลื่น แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงประเด็นที่ พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) รายงานถึงความคืบหน้าในกระบวนการคืนคลื่น 1800 MHz จำนวน 5 MHz เพื่อมาประมูล 4G ว่าอยู่ระหว่างการสอบถามไปยังคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ว่าจะต้องแก้ไขสัญญาสัมปทานกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค หรือไม่ตามที่กระทรวงการคลังท้วงติงมานั้น ตนเองคาดว่าต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าที่จะได้ความชัดเจนจาก คนร. และอาจจะไม่ทันในวันที่ 25 ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นวันที่เปิดให้ผู้สนใจมาซื้อซองเงื่อนไขการเข้าร่วมประมูล ทำให้สำนักงานเองต้องกลับไปยึดการประมูลแบบเดิม คือ ใบอนุญาตละ 12.5 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต แทนใบอนุญาตละ 15 MHz หาก กสท โทรคมนาคม ดำเนินกระบวนการคืนได้ทัน แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ทำให้ส่งผลกระทบต่อการประมูลที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 11 พ.ย.นี้แต่อย่างใด
ส่วนความคืบหน้าในการประมูลคลื่น 900 MHz หลังจากดำเนินการรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) สิ้นสุดลง ต่อไปจะเปิดรับฟังความเห็นในเว็บไซต์ และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช.ในวันที่ 27 ก.ย.นี้ โดยประเด็นที่ต้องพิจารณาให้ได้ข้อสรุปคือ การกำหนดวันประมูลย่าน 900 MHz ว่าจะเป็นวันใด ภายหลังจากที่คลื่น 1800 MHz กำหนดแล้วว่าจะจัดในวันที่ 11 พ.ย.นี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะต้องสรุปราคาของคลื่นโดยการจัดสรรใบอนุญาต จำนวน 2 ใบ ขนาด 10 MHz x2 ใบ เป็นระยะเวลา 15 ปี (ก.ย.2573) เบื้องต้น ราคาตั้งต้นประมูลที่ราคา 11,260 ล้านบาท โดยคิดที่ 70% ของมูลค่าคลื่น ขณะที่มูลค่าคลื่น 100%จะอยู่ที่ 16,085 ล้านบาท แต่ขณะนี้ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีความเป็นไปได้ที่จะปรับราคาตั้งต้นขึ้นเป็น 80% ให้เหมือนกับใบอนุญาตคลื่น 1800 MHzโดยราคาตั้งต้นใหม่ของคลื่น 900 MHz อาจจะอยู่ที่ 12,867 ล้านบาท
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 4 ก.ย. เวลาประมาณ 13.30 น. ผู้บริหาร กสท โทรคมนาคม โดย พ.อ.สรรพชัย ได้เข้าพบ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เพื่อหารือในการสร้างความชัดเจนเรื่องคลื่นโทรคมนาคม โดยเฉพาะแผนที่ต้องการให้คลื่น 1800 MHz ที่เหลืออีก 20 MHz หลังจากแสดงเจตนาในการนำไปให้ กสทช.ประมูล 4 G จำนวน 5 MHz ได้รับการขยายเวลาการหมดอายุใบอนุญาตจากเดิมที่ กสทช.บอกให้ครบกำหนดภายในปี 61 เป็นปี 68
ทั้งนี้ พ.อ.สรรพชัย กล่าวภายหลังการหารือว่า รมว.ไอซีที ไม่ต้องการให้ กสท โทรคมนาคม นำเรื่องความถี่ 5MHz ที่จะให้ กสทช.ไปประมูล กับเรื่องขยายเวลาของความถี่ 1800 MHz จำนวน 20 MHz มาโยงเป็นเรื่องเดียวกัน จึงต้องขอรอดูความชัดเจนเรื่องข้อกฎหมาย และรอที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) ชุดใหม่พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง รมว.ไอซีทีเห็นว่าการคืนคลื่นดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
ขณะที่ในเวลาต่อมาคือ 14.30 น. ผู้บริหารบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็ได้เข้าพบ รมว.ไอซีทีเช่นกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการขอคลื่น 900 MHz มาดำเนินธุรกิจเอง แต่ไม่มีการให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด โดยก่อนหน้านั้น นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพทีโอที กล่าวยอมรับว่าเมื่อมีการเปลี่ยน รมว.ไอซีที คนใหม่ การเจรจาขอนำคลื่น 900 MHz มาทำเองในสมัยนายพรชัย รุจิประภา เป็น รมว.ไอซีทีอยู่ ซึ่งมีท่าทีที่ดีอาจมีผลกระทบ และไม่มั่นใจว่าจะได้คลื่นดังกล่าวหรือไม่
http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000100642
ทั้งนี้ พ.อ.สรรพชัย กล่าวภายหลังการหารือว่า รมว.ไอซีที ไม่ต้องการให้ กสท โทรคมนาคม นำเรื่องความถี่ 5MHz ที่จะให้ กสทช.ไปประมูล กับเรื่องขยายเวลาของความถี่ 1800 MHz จำนวน 20 MHz มาโยงเป็นเรื่องเดียวกัน จึงต้องขอรอดูความชัดเจนเรื่องข้อกฎหมาย และรอที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) ชุดใหม่พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง รมว.ไอซีทีเห็นว่าการคืนคลื่นดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
ขณะที่ในเวลาต่อมาคือ 14.30 น. ผู้บริหารบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็ได้เข้าพบ รมว.ไอซีทีเช่นกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการขอคลื่น 900 MHz มาดำเนินธุรกิจเอง แต่ไม่มีการให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด โดยก่อนหน้านั้น นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพทีโอที กล่าวยอมรับว่าเมื่อมีการเปลี่ยน รมว.ไอซีที คนใหม่ การเจรจาขอนำคลื่น 900 MHz มาทำเองในสมัยนายพรชัย รุจิประภา เป็น รมว.ไอซีทีอยู่ ซึ่งมีท่าทีที่ดีอาจมีผลกระทบ และไม่มั่นใจว่าจะได้คลื่นดังกล่าวหรือไม่
______________________________________________
“ฐากร” ชี้ส่อเค้าประมูล 1800 MHz ใบละ 12.5 MHz
เลขาธิการ กสทช.ชี้ประมูล 1800 MHz วันที่ 11 พ.ย.นี้ ส่อเค้าประมูลที่ใบอนุญาตละ 12.5 MHz หลัง กสท โทรคมนาคม ส่งสัญญาณอาจคืนคลื่นไม่ทัน 25 ก.ย.นี้ ขณะที่ รมว.ไอซีทีคนใหม่ นัด กสท โทรคมนาคม-ทีโอที ถกเคลียร์คลื่น แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงประเด็นที่ พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) รายงานถึงความคืบหน้าในกระบวนการคืนคลื่น 1800 MHz จำนวน 5 MHz เพื่อมาประมูล 4G ว่าอยู่ระหว่างการสอบถามไปยังคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ว่าจะต้องแก้ไขสัญญาสัมปทานกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค หรือไม่ตามที่กระทรวงการคลังท้วงติงมานั้น ตนเองคาดว่าต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าที่จะได้ความชัดเจนจาก คนร. และอาจจะไม่ทันในวันที่ 25 ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นวันที่เปิดให้ผู้สนใจมาซื้อซองเงื่อนไขการเข้าร่วมประมูล ทำให้สำนักงานเองต้องกลับไปยึดการประมูลแบบเดิม คือ ใบอนุญาตละ 12.5 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต แทนใบอนุญาตละ 15 MHz หาก กสท โทรคมนาคม ดำเนินกระบวนการคืนได้ทัน แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ทำให้ส่งผลกระทบต่อการประมูลที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 11 พ.ย.นี้แต่อย่างใด
ส่วนความคืบหน้าในการประมูลคลื่น 900 MHz หลังจากดำเนินการรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) สิ้นสุดลง ต่อไปจะเปิดรับฟังความเห็นในเว็บไซต์ และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช.ในวันที่ 27 ก.ย.นี้ โดยประเด็นที่ต้องพิจารณาให้ได้ข้อสรุปคือ การกำหนดวันประมูลย่าน 900 MHz ว่าจะเป็นวันใด ภายหลังจากที่คลื่น 1800 MHz กำหนดแล้วว่าจะจัดในวันที่ 11 พ.ย.นี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะต้องสรุปราคาของคลื่นโดยการจัดสรรใบอนุญาต จำนวน 2 ใบ ขนาด 10 MHz x2 ใบ เป็นระยะเวลา 15 ปี (ก.ย.2573) เบื้องต้น ราคาตั้งต้นประมูลที่ราคา 11,260 ล้านบาท โดยคิดที่ 70% ของมูลค่าคลื่น ขณะที่มูลค่าคลื่น 100%จะอยู่ที่ 16,085 ล้านบาท แต่ขณะนี้ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีความเป็นไปได้ที่จะปรับราคาตั้งต้นขึ้นเป็น 80% ให้เหมือนกับใบอนุญาตคลื่น 1800 MHzโดยราคาตั้งต้นใหม่ของคลื่น 900 MHz อาจจะอยู่ที่ 12,867 ล้านบาท
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 4 ก.ย. เวลาประมาณ 13.30 น. ผู้บริหาร กสท โทรคมนาคม โดย พ.อ.สรรพชัย ได้เข้าพบ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เพื่อหารือในการสร้างความชัดเจนเรื่องคลื่นโทรคมนาคม โดยเฉพาะแผนที่ต้องการให้คลื่น 1800 MHz ที่เหลืออีก 20 MHz หลังจากแสดงเจตนาในการนำไปให้ กสทช.ประมูล 4 G จำนวน 5 MHz ได้รับการขยายเวลาการหมดอายุใบอนุญาตจากเดิมที่ กสทช.บอกให้ครบกำหนดภายในปี 61 เป็นปี 68
ทั้งนี้ พ.อ.สรรพชัย กล่าวภายหลังการหารือว่า รมว.ไอซีที ไม่ต้องการให้ กสท โทรคมนาคม นำเรื่องความถี่ 5MHz ที่จะให้ กสทช.ไปประมูล กับเรื่องขยายเวลาของความถี่ 1800 MHz จำนวน 20 MHz มาโยงเป็นเรื่องเดียวกัน จึงต้องขอรอดูความชัดเจนเรื่องข้อกฎหมาย และรอที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) ชุดใหม่พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง รมว.ไอซีทีเห็นว่าการคืนคลื่นดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
ขณะที่ในเวลาต่อมาคือ 14.30 น. ผู้บริหารบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็ได้เข้าพบ รมว.ไอซีทีเช่นกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการขอคลื่น 900 MHz มาดำเนินธุรกิจเอง แต่ไม่มีการให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด โดยก่อนหน้านั้น นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพทีโอที กล่าวยอมรับว่าเมื่อมีการเปลี่ยน รมว.ไอซีที คนใหม่ การเจรจาขอนำคลื่น 900 MHz มาทำเองในสมัยนายพรชัย รุจิประภา เป็น รมว.ไอซีทีอยู่ ซึ่งมีท่าทีที่ดีอาจมีผลกระทบ และไม่มั่นใจว่าจะได้คลื่นดังกล่าวหรือไม่
http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000100642
ไม่มีความคิดเห็น: