Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 (Whoscall) แอปพลิเคชั่นช่วยกรองและจัดการสายเรียกเข้า กล่าวว่า เข้ามาศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และทำตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท Never ของเกาหลีใต้ จำนวน 17 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเด็นหลัก


นายยูทิง ลิว ผู้จัดการประจำประเทศไทย "ฮูส์คอล" (Whoscall) แอปพลิเคชั่นช่วยกรองและจัดการสายเรียกเข้า กล่าวว่า เข้ามาศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และทำตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท Never ของเกาหลีใต้ จำนวน 17 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศไต้หวัน ตั้งแต่ปี 2553 เริ่มจากระบบแอนดรอยด์ และจากจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนทั่วโลก

"ผู้ใช้สมาร์ทโฟนไม่ได้ต้องการคุยกับทุกสายที่โทร.เข้ามามีการสำรวจว่า53% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนชาวไทยแต่ละวันจะได้รับสายเรียกเข้าจากเบอร์ที่ไม่รู้จักอย่างน้อยวันละ 1 สาย ซึ่งแอปพลิเคชั่นฮูส์คอล แก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ณ ก.พ.ปีที่แล้ว เรามียอดดาวน์โหลดในไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย รวมกว่า 10 ล้านดาวน์โหลด และใน เม.ย.และ ธ.ค.เปิดใช้งานบนระบบวินโดวส์โฟน และ iOS ตามลำดับ ณ ม.ค.ปี 2558 นี้มียอดดาวน์โหลดรวมกว่า 20 ล้านดาวน์โหลด"






______________________________________________




"ฮูส์คอล"สบช่องผู้บริโภคหน่ายเทเลเซลโหมปั๊มยอดโหลด


"ฮูส์คอล" แอปพลิเคชั่นจัดการสายเรียกเข้าสบช่องรุกทำตลาดในเมืองไทย เกาะกระแสสมาร์ทโฟนบูม ชูจุดเด่นกรองเบอร์โทร.เข้า-ดัดหลังเซลส์ขายของผ่านมือถือ ย้ำผลสำรวจ 53% คนใช้สมาร์ทโฟนในไทยโดนรบกวนจากเบอร์ที่ไม่รู้จักเฉลี่ย 1 ครั้งต่อวัน เน้นทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ โหมปั๊มยอดดาวน์โหลดเพิ่ม 100%


นายยูทิง ลิว ผู้จัดการประจำประเทศไทย "ฮูส์คอล" (Whoscall) แอปพลิเคชั่นช่วยกรองและจัดการสายเรียกเข้า กล่าวว่า เข้ามาศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และทำตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท Never ของเกาหลีใต้ จำนวน 17 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศไต้หวัน ตั้งแต่ปี 2553 เริ่มจากระบบแอนดรอยด์ และจากจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนทั่วโลก

"ผู้ใช้สมาร์ทโฟนไม่ได้ต้องการคุยกับทุกสายที่โทร.เข้ามามีการสำรวจว่า53% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนชาวไทยแต่ละวันจะได้รับสายเรียกเข้าจากเบอร์ที่ไม่รู้จักอย่างน้อยวันละ 1 สาย ซึ่งแอปพลิเคชั่นฮูส์คอล แก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ณ ก.พ.ปีที่แล้ว เรามียอดดาวน์โหลดในไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย รวมกว่า 10 ล้านดาวน์โหลด และใน เม.ย.และ ธ.ค.เปิดใช้งานบนระบบวินโดวส์โฟน และ iOS ตามลำดับ ณ ม.ค.ปี 2558 นี้มียอดดาวน์โหลดรวมกว่า 20 ล้านดาวน์โหลด"



จากจุดเด่นของแอปพลิเคชั่นนี้ที่สามารถช่วยให้ผู้ที่รับสายเลือกรับสายที่ต้องการรับได้และป้องกันเทเลเซลผ่านการแสดงหมายเลขเหล่านี้เป็นหมายเลขที่มีแหล่งที่มาจากที่ใด วิเคราะห์จากฐานข้อมูลเลขหมายที่มีกว่า 700 ล้านเลขหมายทั่วโลก ซึ่งจะมีการอัพเดตตลอดเวลา ด้วยการเก็บรวบรวมจาก 1.ผู้ใช้งานรายงานมายังแอปพลิเคชั่นฮูส์คอล 2.เป็นพันธมิตรกับหนังสือหน้าเหลืองในประเทศและต่างประเทศ และ 3.มีโปรแกรมเมอร์วิเคราะห์เลขหมาย

"แอปพลิเคชั่นนี้ใช้ได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ และมีฟีเจอร์การจัดการสายเรียกเข้าอื่น ๆ อาทิ บล็อกสายเรียกเข้า และสามารถปรับและจัดการข้อมูลของสายเรียกเข้า แต่การแสดงผลเลขหมายจะทำได้เฉพาะบนแอนดรอยด์และวินโดวส์เท่านั้น"

สำหรับฐานข้อมูลเลขหมายปัจจุบันในประเทศไทยจะแสดงได้ถึง3ใน5เลขหมายที่มีการโทร.เข้า โดยในทุกเดือนจะมีผู้ใช้รายงานเลขหมายที่มีการรบกวนกว่า 3,000 เลขหมาย/เดือน ปัจจุบันรองรับกว่า 20 ภาษา ผู้ใช้งานหลักอยู่ในไต้หวัน เกาหลีใต้ และไทย

"ปีนี้เราพยายามตั้งเป้ายอดการดาวน์โหลดให้เติบโต 100% ทั่วโลก ในประเทศไทยก็จะพยายามให้ใกล้เคียงกันเพราะถือว่าเพิ่งเข้ามาทำตลาด ปัจจุบันยังไม่มีรายได้เนื่องจากคาดหวังเป้าการเติบโตของผู้ใช้งานเป็นหลัก"

สำหรับแผนการทำตลาดเน้นในระบบออนไลน์เช่นรีวิวการใช้งาน,โฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊กเป็นต้น รวมถึงโฆษณาทางโทรทัศน์ ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศหลักในภูมิภาคอาเซียนจากการเติบโตของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน

"เราจะพยายามสร้างระบบให้สะดวกต่อผู้รับสายมากยิ่งขึ้นจากนั้นค่อยเปลี่ยนโมเดลธุรกิจมาหารายได้อย่างในไต้หวันเริ่มมีการทดลองระบบหารายได้แล้วเช่นมีการช่วยเหลือระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจหรือบีทูบี"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441261585

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.