23 พฤศจิกายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) แจสโมบาย ชี้ กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มที่ใช้ดาต้ามาก เรามีบุคลากร 6 พันคนทั่วประเทศ มี 350 ช็อปคีออสก์ พอเกิด 4G ก็ต่อยอดได้ทันที
ประเด็นหลัก
แม้จะเป็น "นิวคัมเมอร์" แต่เขาย้ำว่า "สู้ได้" และว่ามีพาร์ตเนอร์กว่า 5 รายสนใจเข้ามาเป็นพันธมิตรทั้งเกาหลี, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและยุโรป หากมีไลเซนส์ในมือยิ่งทำให้บริษัทมีมูลค่ามากขึ้น
"กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มที่ใช้ดาต้ามาก และต้องมีกลยุทธ์ จุดแข็งอันดับแรก คือ ประสิทธิภาพการบริหารงาน กลุ่มเราคุมค่าใช้จ่ายได้ดีมาก สูงที่สุดในอุตสาหกรรม แต่ละบริษัทบริหารจัดการไม่เหมือนกัน ช็อปคนอื่นอาจโก้หรู แต่ของเราเล็ก ๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้คุมค่าใช้จ่ายได้ดี เรามีบุคลากร 6 พันคนทั่วประเทศ มี 350 ช็อปคีออสก์ พอเกิด 4G ก็ต่อยอดได้ทันที"
__________________
"แจสโมบาย" ม้านอกสายตา ทุ่ม 3.8 หมื่นล. ตัวแปรเพิ่มดีกรีแข่งดุ
กลายเป็นน้องใหม่มาแรงที่ได้รับการจับตามากทีเดียว สำหรับ "แจสโมบาย บรอดแบนด์" นับตั้งแต่ประกาศตัวว่าจะเข้าประมูลใบอนุญาต 4G ทั้งคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz เพราะเป็นหน้าใหม่หนึ่งเดียวที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจมือถือ ต่างจากคู่แข่งที่ล้วนแล้วแต่เคี่ยวกรำสังเวียนทั้งสิ้น
ถึงอย่างนั้น "แจส" ก็ไม่ใช่หน้าใหม่ในธุรกิจโทรคมนาคม ด้วยเป็นบริษัทในกลุ่มจัสมินผู้ถือหุ้น "ทีทีแอนด์ที" ผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านในต่างจังหวัด หรือรู้จักกันดีในปัจจุบันในบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ "3BB", ผู้พัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ยุคแรก ๆ, เว็บไซต์ดังเอ็มไทย, เจ้าของช่องทีวีดิจิทัล "โมโน" ฯลฯ
ย้อนไปไกลกว่านั้น "ดร.อดิศัย โพธารามิก" ผู้ก่อตั้ง "กลุ่มจัสมิน" เป็นหนึ่งในยุคบุกเบิกธุรกิจสื่อสารไทย เคียงบ่าเคียงไหล่ตระกูลชินวัตรและเบญจรงคกุล
ปัจจุบัน "พิชย์ โพธารามิก" รับช่วงบริหารธุรกิจต่อจากผู้เป็นพ่อ
อาจเป็น "หน้าใหม่" ในธุรกิจมือถือ แต่ประสบการณ์ธุรกิจไม่ธรรมดาทำให้ "แจส" เป็นตัวแปรสำคัญของการชิงชัยใบอนุญาต 4G อย่างมาก ด้วยว่ามีใบอนุญาตอย่างละ 2 ใบสำหรับ 1800 MHz และ 2 ใบสำหรับ 900 MHz
ผู้เข้าประมูลมากกว่าใบอนุญาตอยู่แล้ว แต่การเข้ามาของ "แจส" เพิ่มดีกรีแข่งขันให้ร้อนแรงขึ้นมาก
ที่การประมูลคลื่น 1800 MHz ยืดเยื้อยาวนานกว่า 2 วัน ก็เพราะแจส
ก่อนหน้านี้ "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "พิชญ์ โพธารามิก" เรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยเขาระบุชัดว่า ต้องการทำ "4G"
"ฟิกซ์บรอดแบนด์แข็งแรงแล้ว เราตั้งใจจะไปต่อที่โมบาย แต่ไม่ได้มองแค่โมบาย แต่มองถึงการ Connectivity คนดูเฟซบุ๊กก็อัพรูปขึ้นไอจี และใช้มือถือ แต่ความเร็วในการส่งข้อมูลทุกวันนี้ยังไม่ใช่ของจริง 3G เรียกว่าโมบายอินเทอร์เน็ตได้ แต่ไม่ถึงโมบายบรอดแบนด์"
แม้จะเป็น "นิวคัมเมอร์" แต่เขาย้ำว่า "สู้ได้" และว่ามีพาร์ตเนอร์กว่า 5 รายสนใจเข้ามาเป็นพันธมิตรทั้งเกาหลี, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและยุโรป หากมีไลเซนส์ในมือยิ่งทำให้บริษัทมีมูลค่ามากขึ้น
"กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มที่ใช้ดาต้ามาก และต้องมีกลยุทธ์ จุดแข็งอันดับแรก คือ ประสิทธิภาพการบริหารงาน กลุ่มเราคุมค่าใช้จ่ายได้ดีมาก สูงที่สุดในอุตสาหกรรม แต่ละบริษัทบริหารจัดการไม่เหมือนกัน ช็อปคนอื่นอาจโก้หรู แต่ของเราเล็ก ๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้คุมค่าใช้จ่ายได้ดี เรามีบุคลากร 6 พันคนทั่วประเทศ มี 350 ช็อปคีออสก์ พอเกิด 4G ก็ต่อยอดได้ทันที"
"พิชญ์" กล่าวอีกว่า ในธุรกิจมือถือ เสาสัญญาณคือค่าใช้จ่ายหลักที่ผู้ประกอบการทุกรายต้องลงทุนมาก แต่ปัจจุบันมีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมให้เช่า บริษัทไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
"จริง ๆ เป็นสิ่งที่คุณพ่ออยากทำมาตั้งแต่สมัยก่อน เราเคยได้ไลเซนส์มือถือที่อินเดีย พอปี 1997 วิกฤตเศรษฐกิจ ทุกอย่างล้มไปหมด วันนี้เป็นสิ่งที่เรามาสานต่อ และถ้าไม่ทำวันนี้ โอกาสที่บรอดแบนด์จะมีปัญหามี ถ้าต่อไปมี 5G ล่ะ คนจะหันมาใช้มือถือเยอะขึ้น การลุย 4G จึงทำให้เราอยู่ในโพซิชันนิ่งที่ได้เปรียบ"
ฟังความในใจของแม่ทัพกลุ่มจัสมินแล้ว คงยิ่งชัดเจนว่า "แจส" ไม่ธรรมดา ยิ่งเมื่อเห็นราคาสุดท้ายที่ 38,996 ล้านบาทด้วย เท่ากับย้ำว่า สิ่งที่เขาพูดว่าต้องการทำ 4G ไม่ได้เกินจริง
"พิชญ์" ย้ำในวันนั้นด้วยว่าถ้าประมูลครั้งแรกไม่ได้ ครั้งต่อไปก็ต้องได้ คือต้องได้สักใบ เห็นทีศึกชิงคลื่น 900 ครั้งต่อไปจะมันไม่แพ้ครั้งนี้เป็นแน่
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447680269
แม้จะเป็น "นิวคัมเมอร์" แต่เขาย้ำว่า "สู้ได้" และว่ามีพาร์ตเนอร์กว่า 5 รายสนใจเข้ามาเป็นพันธมิตรทั้งเกาหลี, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและยุโรป หากมีไลเซนส์ในมือยิ่งทำให้บริษัทมีมูลค่ามากขึ้น
"กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มที่ใช้ดาต้ามาก และต้องมีกลยุทธ์ จุดแข็งอันดับแรก คือ ประสิทธิภาพการบริหารงาน กลุ่มเราคุมค่าใช้จ่ายได้ดีมาก สูงที่สุดในอุตสาหกรรม แต่ละบริษัทบริหารจัดการไม่เหมือนกัน ช็อปคนอื่นอาจโก้หรู แต่ของเราเล็ก ๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้คุมค่าใช้จ่ายได้ดี เรามีบุคลากร 6 พันคนทั่วประเทศ มี 350 ช็อปคีออสก์ พอเกิด 4G ก็ต่อยอดได้ทันที"
__________________
"แจสโมบาย" ม้านอกสายตา ทุ่ม 3.8 หมื่นล. ตัวแปรเพิ่มดีกรีแข่งดุ
กลายเป็นน้องใหม่มาแรงที่ได้รับการจับตามากทีเดียว สำหรับ "แจสโมบาย บรอดแบนด์" นับตั้งแต่ประกาศตัวว่าจะเข้าประมูลใบอนุญาต 4G ทั้งคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz เพราะเป็นหน้าใหม่หนึ่งเดียวที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจมือถือ ต่างจากคู่แข่งที่ล้วนแล้วแต่เคี่ยวกรำสังเวียนทั้งสิ้น
ถึงอย่างนั้น "แจส" ก็ไม่ใช่หน้าใหม่ในธุรกิจโทรคมนาคม ด้วยเป็นบริษัทในกลุ่มจัสมินผู้ถือหุ้น "ทีทีแอนด์ที" ผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านในต่างจังหวัด หรือรู้จักกันดีในปัจจุบันในบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ "3BB", ผู้พัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ยุคแรก ๆ, เว็บไซต์ดังเอ็มไทย, เจ้าของช่องทีวีดิจิทัล "โมโน" ฯลฯ
ย้อนไปไกลกว่านั้น "ดร.อดิศัย โพธารามิก" ผู้ก่อตั้ง "กลุ่มจัสมิน" เป็นหนึ่งในยุคบุกเบิกธุรกิจสื่อสารไทย เคียงบ่าเคียงไหล่ตระกูลชินวัตรและเบญจรงคกุล
ปัจจุบัน "พิชย์ โพธารามิก" รับช่วงบริหารธุรกิจต่อจากผู้เป็นพ่อ
อาจเป็น "หน้าใหม่" ในธุรกิจมือถือ แต่ประสบการณ์ธุรกิจไม่ธรรมดาทำให้ "แจส" เป็นตัวแปรสำคัญของการชิงชัยใบอนุญาต 4G อย่างมาก ด้วยว่ามีใบอนุญาตอย่างละ 2 ใบสำหรับ 1800 MHz และ 2 ใบสำหรับ 900 MHz
ผู้เข้าประมูลมากกว่าใบอนุญาตอยู่แล้ว แต่การเข้ามาของ "แจส" เพิ่มดีกรีแข่งขันให้ร้อนแรงขึ้นมาก
ที่การประมูลคลื่น 1800 MHz ยืดเยื้อยาวนานกว่า 2 วัน ก็เพราะแจส
ก่อนหน้านี้ "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "พิชญ์ โพธารามิก" เรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยเขาระบุชัดว่า ต้องการทำ "4G"
"ฟิกซ์บรอดแบนด์แข็งแรงแล้ว เราตั้งใจจะไปต่อที่โมบาย แต่ไม่ได้มองแค่โมบาย แต่มองถึงการ Connectivity คนดูเฟซบุ๊กก็อัพรูปขึ้นไอจี และใช้มือถือ แต่ความเร็วในการส่งข้อมูลทุกวันนี้ยังไม่ใช่ของจริง 3G เรียกว่าโมบายอินเทอร์เน็ตได้ แต่ไม่ถึงโมบายบรอดแบนด์"
แม้จะเป็น "นิวคัมเมอร์" แต่เขาย้ำว่า "สู้ได้" และว่ามีพาร์ตเนอร์กว่า 5 รายสนใจเข้ามาเป็นพันธมิตรทั้งเกาหลี, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและยุโรป หากมีไลเซนส์ในมือยิ่งทำให้บริษัทมีมูลค่ามากขึ้น
"กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มที่ใช้ดาต้ามาก และต้องมีกลยุทธ์ จุดแข็งอันดับแรก คือ ประสิทธิภาพการบริหารงาน กลุ่มเราคุมค่าใช้จ่ายได้ดีมาก สูงที่สุดในอุตสาหกรรม แต่ละบริษัทบริหารจัดการไม่เหมือนกัน ช็อปคนอื่นอาจโก้หรู แต่ของเราเล็ก ๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้คุมค่าใช้จ่ายได้ดี เรามีบุคลากร 6 พันคนทั่วประเทศ มี 350 ช็อปคีออสก์ พอเกิด 4G ก็ต่อยอดได้ทันที"
"พิชญ์" กล่าวอีกว่า ในธุรกิจมือถือ เสาสัญญาณคือค่าใช้จ่ายหลักที่ผู้ประกอบการทุกรายต้องลงทุนมาก แต่ปัจจุบันมีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมให้เช่า บริษัทไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
"จริง ๆ เป็นสิ่งที่คุณพ่ออยากทำมาตั้งแต่สมัยก่อน เราเคยได้ไลเซนส์มือถือที่อินเดีย พอปี 1997 วิกฤตเศรษฐกิจ ทุกอย่างล้มไปหมด วันนี้เป็นสิ่งที่เรามาสานต่อ และถ้าไม่ทำวันนี้ โอกาสที่บรอดแบนด์จะมีปัญหามี ถ้าต่อไปมี 5G ล่ะ คนจะหันมาใช้มือถือเยอะขึ้น การลุย 4G จึงทำให้เราอยู่ในโพซิชันนิ่งที่ได้เปรียบ"
ฟังความในใจของแม่ทัพกลุ่มจัสมินแล้ว คงยิ่งชัดเจนว่า "แจส" ไม่ธรรมดา ยิ่งเมื่อเห็นราคาสุดท้ายที่ 38,996 ล้านบาทด้วย เท่ากับย้ำว่า สิ่งที่เขาพูดว่าต้องการทำ 4G ไม่ได้เกินจริง
"พิชญ์" ย้ำในวันนั้นด้วยว่าถ้าประมูลครั้งแรกไม่ได้ ครั้งต่อไปก็ต้องได้ คือต้องได้สักใบ เห็นทีศึกชิงคลื่น 900 ครั้งต่อไปจะมันไม่แพ้ครั้งนี้เป็นแน่
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447680269
ไม่มีความคิดเห็น: