Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 ธันวาคม 2558 ไอดีซี กล่าวว่า เมื่อกลางปีมองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลทำให้คาดการณ์การเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอทีในไทยไว้ที่ 3.8% และปรับลดเหลือ 2% คิดเป็นมูลค่า 3.72 แสนล้านบาท เมื่อแบ่งตามประเภทสินค้า กลุ่มสมาร์ทโฟนมีมูลค่าสูงสุดที่ 1.25 แสนล้านบาท,

ประเด็นหลัก


"จาริตร์ สินธุ" ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัย ไคลเอนต์ดีไวซ์ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า เมื่อกลางปีมองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลทำให้คาดการณ์การเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอทีในไทยไว้ที่ 3.8% และปรับลดเหลือ 2% คิดเป็นมูลค่า 3.72 แสนล้านบาท เฉพาะคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์ และระบบโครงข่าย ไม่รวมค่าประมูลคลื่น และค่าใช้จ่ายบริการโทรคมนาคมต่าง ๆ เป็นการเติบโตที่ต่ำกว่าจีดีพีเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี

สำหรับปีหน้า 2559 คาดว่าการเติบโตของการจับจ่ายไอทีจะอยู่ที่ 3% หรือคิดเป็นมูลค่า 3.83 แสนล้านบาท ยังน้อยกว่าจีดีพีที่คาดว่าเพิ่มขึ้น 3.5% อยู่ดี เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือนในไทยที่คิดเป็น 80% ของจีดีพีประเทศ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย และหากภาครัฐยังไม่แก้ปัญหาส่งออก จะทำให้เอกชนไม่ลงทุนไอที แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ



โดยในปีหน้าจะมีการนำนวัตกรรมใหม่ เช่น ไอโอที (IoT : Internet of Thing), สตาร์ตอัพ และหุ่นยนต์ที่ประมวลผลเอง มาคิดเป็นมูลค่าการจับจ่ายไอทีเพิ่มเติม เนื่องจากเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น

มูลค่าการจับจ่ายไอทีปีหน้า ประกอบด้วย ภาคผู้บริโภค 1.79 แสนล้านบาท, การสื่อสาร 5.8 แสนล้านบาท, ธุรกิจการเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท, โรงงานอุตสาหกรรม 3.3 ล้านบาท, ภาครัฐ 2 หมื่นล้านบาท, การศึกษา 10,000 ล้านบาท อื่น ๆ 32,000 ล้านบาท โดยทั้งหมดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงในรอบ 5 ปี

เมื่อแบ่งตามประเภทสินค้า กลุ่มสมาร์ทโฟนมีมูลค่าสูงสุดที่ 1.25 แสนล้านบาท, บริการต่าง ๆ 80,000 ล้านบาท, ระบบคอมพิวเตอร์ 54,000 ล้านบาท, อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก 46,000 ล้านบาท, ซอฟต์แวร์ 33,000 ล้านบาท, อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ 23,000 ล้านบาท







_______________________________________




เงิน (ไม่) สะพัดใช้จ่ายไอที "ไอดีซี" ฟันธงปี"59 โตแค่ 3%



ปี 2558 เป็นอีกปีที่ภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัวชัดเจน การเติบโตของ "จีดีพี" เพิ่มแค่ 2.9% จากปีก่อน จากปัญหาหนี้ครัวเรือน และการส่งออกที่ยังไม่ฟื้น มีเพียงภาครัฐเท่านั้นที่อัดฉีดเงินเข้ามา

"จาริตร์ สินธุ" ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัย ไคลเอนต์ดีไวซ์ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า เมื่อกลางปีมองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลทำให้คาดการณ์การเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอทีในไทยไว้ที่ 3.8% และปรับลดเหลือ 2% คิดเป็นมูลค่า 3.72 แสนล้านบาท เฉพาะคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์ และระบบโครงข่าย ไม่รวมค่าประมูลคลื่น และค่าใช้จ่ายบริการโทรคมนาคมต่าง ๆ เป็นการเติบโตที่ต่ำกว่าจีดีพีเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี

สำหรับปีหน้า 2559 คาดว่าการเติบโตของการจับจ่ายไอทีจะอยู่ที่ 3% หรือคิดเป็นมูลค่า 3.83 แสนล้านบาท ยังน้อยกว่าจีดีพีที่คาดว่าเพิ่มขึ้น 3.5% อยู่ดี เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือนในไทยที่คิดเป็น 80% ของจีดีพีประเทศ ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย และหากภาครัฐยังไม่แก้ปัญหาส่งออก จะทำให้เอกชนไม่ลงทุนไอที แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ



โดยในปีหน้าจะมีการนำนวัตกรรมใหม่ เช่น ไอโอที (IoT : Internet of Thing), สตาร์ตอัพ และหุ่นยนต์ที่ประมวลผลเอง มาคิดเป็นมูลค่าการจับจ่ายไอทีเพิ่มเติม เนื่องจากเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น

มูลค่าการจับจ่ายไอทีปีหน้า ประกอบด้วย ภาคผู้บริโภค 1.79 แสนล้านบาท, การสื่อสาร 5.8 แสนล้านบาท, ธุรกิจการเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท, โรงงานอุตสาหกรรม 3.3 ล้านบาท, ภาครัฐ 2 หมื่นล้านบาท, การศึกษา 10,000 ล้านบาท อื่น ๆ 32,000 ล้านบาท โดยทั้งหมดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงในรอบ 5 ปี

เมื่อแบ่งตามประเภทสินค้า กลุ่มสมาร์ทโฟนมีมูลค่าสูงสุดที่ 1.25 แสนล้านบาท, บริการต่าง ๆ 80,000 ล้านบาท, ระบบคอมพิวเตอร์ 54,000 ล้านบาท, อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก 46,000 ล้านบาท, ซอฟต์แวร์ 33,000 ล้านบาท, อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ 23,000 ล้านบาท

แท็บเลต 12,000 ล้านบาท, ฟีเจอร์โฟน4,300 ล้านบาท และสตอเรจ 3,700 ล้านบาทเติบโตเล็กน้อยในทุกกลุ่มสินค้า ยกเว้นฟีเจอร์โฟนที่โตลดลง 1,000 ล้านบาท ขณะที่บริการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นกว่า 8,000 ล้านบาท จากการมาถึงของ 4G

"4G เหมือนถนนเส้นใหม่ที่ให้อะไรก็ได้ขึ้นไปวิ่งบนความเร็วสูง กลุ่มที่ได้ประโยชน์โดยตรงคือ ซัพพลายเออร์อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก และผู้รับติดตั้ง เพราะโอเปอเรเตอร์ต้องเร่งขยายโครงข่าย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คาดว่าจะมีเงินสะพัดกว่า 5 หมื่นล้านบาทในการติดตั้งโครงข่าย 4G ส่วนทางอ้อมเป็นเรื่องความเร็วที่ทำให้เอสเอ็มบี และอีคอมเมิร์ซเกิดมากขึ้น และในระยะยาวยังกระทบบริการ OTT (Over the Top) ที่สร้างธุรกิจได้เร็วขึ้นเช่นกัน"

สำหรับเครื่องสมาร์ทโฟนปัจจุบันที่รองรับ 3G มี 80% ของยอดขายโทรศัพท์มือถือในไทย ส่วนที่รองรับ 3G และ 4G มี 20% เพราะต้นทุนยังสูงทำให้ผู้ใช้ช่วงแรกเป็นกลุ่มระดับกลาง-บน แม้โอเปอเรเตอร์จะมีเครื่อง 4G ราคาต่ำกว่า 2,000 บาท แต่ไม่มีผลมากนักเพราะผู้บริโภคระดับเริ่มต้นเพิ่งซื้อ 3G ไปเมื่อปีก่อน แต่ในปี 2560 ราคาทั้งสองแบบจะใกล้เคียงกันมากขึ้น ทำให้ยอดขายโทรศัพท์มือถือในไทย มีสัดส่วนระหว่าง 3G กับรับได้ทั้ง 3G และ 4G เท่ากัน

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการลงทุนไอทีภาครัฐและเอกชนมีเพิ่มขึ้น ทำให้ "ไอดีซี"คาดว่า ไทยพร้อมไปสู่การทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น (DX) หรือการนำเรื่องดิจิทัลมาช่วยพัฒนาประเทศตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป ซึ่งการเดินหน้าเรื่องนี้ต้องใช้แพลตฟอร์มที่ประกอบด้วย คลาวด์, บิ๊กดาต้า อนาไลติกส์, โมบิลิตี้ และโซเชียล บิสซิเนส ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนลงทุนไว้ระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้นในปีหน้า จะลงทุนเพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาด และเดินหน้าได้เต็มรูปแบบในปี 2560

ด้าน "ไมเคิล อาราเนต้า" ผู้จัดการประจำประเทศไทย ไอดีซี กล่าวว่า นอกจากแพลตฟอร์มที่ 3 ที่มี คลาวด์, บิ๊กดาต้า อนาไลติกส์, โมบิลิตี้ และโซเชียล บิสซิเนสเป็นฐานในการทำ DX ยังมีเรื่อง IoT, ระบบประมวลผลอัจฉริยะ, หุ่นยนต์, การพิมพ์ 3 มิติ, เวอร์ชวล หรือออกเมนต์เรียลิตี้ และระบบเน็กซ์เจเนอเรชั่นซิเคียวริตี้ เป็นอีก 6 ตัวเร่งให้ไทยเดินหน้าDX ได้ง่ายขึ้น แต่จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าผู้รับผิดชอบเรื่องไอทีของแต่ละองค์กรไม่มีแนวคิดสร้างสรรค์การใช้นวัตกรรมใหม่, ใช้แพลตฟอร์มเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกันรวมถึงหาวิธีใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด

โดย 10 เรื่องที่จะได้เห็นในไทยปี 2559 ประกอบด้วย 1.การใช้งานดิจิทัลในองค์กรมากขึ้น จากปัจจุบัน 31% ขององค์กรไทยเริ่มลงทุนเรื่องดิจิทัล เช่น กลุ่มการผลิตใช้อุปกรณ์ IoT เก็บข้อมูลสินค้า 2.การใช้คลาวด์เป็นพื้นฐานการลงทุนไอทีที่ในปี 2563 จะคิดเป็น 1 ใน 3 ของการลงทุนไอทีทั้งหมด 3.การเปลี่ยนแผนธุรกิจขององค์กรขนาดใหญ่หลังมีองค์กรใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีมาแข่งขัน

4.การใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นจาก25ล้านเครื่อง เป็น 50 ล้านเครื่องในปี 2560 หรือ 3 ใน 4 ของประชากรไทย 5.ระบบชำระเงินในปี 2560 จะพัฒนาให้มีความปลอดภัยมากขึ้น มีการใช้รหัสในการอนุมัติชำระเงิน 6.การใช้สมาร์ทมัลติฟังก์ชั่นพรินเตอร์ ลดต้นทุนโดยรวมในการทำเอกสาร 7.ใช้บิ๊กดาต้าเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขององค์กรต่าง ๆ

8.การหายไปของเวนเดอร์ หรือซัพพลายเออร์กว่า 30% ในปี 2563 เพราะอยู่ในตลาดไม่ได้ 9.การพัฒนาความปลอดภัยให้เข้มข้นขึ้น เพื่อให้เสียหายน้อยที่สุดเมื่อโดนโจมตี และ 10.การใช้งานระบบ IoT ของภาคธุรกิจประกันภัย เช่น การติดตั้งกล่องดำในรถยนต์รุ่นต่าง ๆ

"กระแสเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องช่วยกันทั้งผู้บริโภค, เอกชน และรัฐบาล ซึ่งเรามองว่ารัฐค่อนข้างช้าเกินไปแล้วกลายเป็นเอกชนช่วยผลักแทน ไม่เหมือนประเทศอื่นที่รัฐเป็นคนขับเคลื่อน ในทุกประเทศบทบาทภาครัฐจะไม่ใช่ผู้ลงทุน แต่เป็นผู้สนับสนุนมากกว่า ตอนนี้กลายเป็นเอกชนเป็นคนสนับสนุน อีกสิ่งที่ควรต้องทำคือปรับปรุงกฎหมายให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นด้วย"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1449115980

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.