Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 ธันวาคม 2558 บิ๊กแบรนด์แดนมังกรมาแน่ปีหน้า "วีโว่" ปีหน้าจะเพิ่มงบประมาณประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้แข่งขันได้มากขึ้น คาดว่าจะใช้ที่ 100 ล้านบาท และถึงเร่งขยายช่องทางจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น เน้นโมเดิร์นเทรด มีสินค้าราว 10 รุ่น ราคา 3,000-15,000 บาท เครื่องที่รองรับ 4G ราคาไม่เกิน 4,000 บาท

ประเด็นหลัก



บิ๊กแบรนด์แดนมังกรมาแน่ปีหน้า

ด้าน นายณฐกร จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการแบรนด์ บริษัท วีโว่ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือจากจีน แบรนด์วีโว่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า 1-2 ปีที่ผ่านมา มีโทรศัพท์แบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาในไทยมากกว่า 10 ราย แต่จากการแข่งขันที่สูง และเศรษฐกิจ ทำให้บางรายไปต่อไม่ได้ เหลือเพียงแบรนด์ใหญ่ และแบรนด์ที่มีความแข็งแรงด้านเงินทุนกระทั่งปลายปีนี้เศรษฐกิจกระเตื้อง ขึ้นประกอบกับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี่ และการประมูล 4G ทำให้แบรนด์จากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะจีนมองตลาดไทยอีกครั้ง จะมีแบรนด์ใหญ่จีนอีก 5-6 รายเข้ามา

"ปีหน้าจะมีเข้ามาอีก 5-6 แบรนด์ เพราะที่จีนแม้ตลาดใหญ่ แต่การแข่งขันสูง ทุกคนมองหาตลาดใหม่เพิ่มโอกาส เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไพออริตี้ของทุกราย จากการเปลี่ยนผ่านไปใช้สมาร์ทโฟนเร็วกว่าภูมิภาคอื่น รวมถึงความเข้าใจเทคโนโลยี ทำให้ไทยเป็นประเทศแรกที่ทุกรายเลือกมาก่อน เนื่องจากเข้าง่าย แค่ดีลกับค้าปลีกรายใหญ่ก็กระจายสินค้าได้ทั่วประเทศ ไทยยังมีปัจจัยเรื่อง 4G คาดว่าระดับราคาเครื่องจะอยู่ที่ 5,000 บาทขึ้นไป"

สำหรับ "วีโว่" ปีหน้าจะเพิ่มงบประมาณประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้แข่งขันได้มากขึ้น คาดว่าจะใช้ที่ 100 ล้านบาท และถึงเร่งขยายช่องทางจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น เน้นโมเดิร์นเทรด มีสินค้าราว 10 รุ่น ราคา 3,000-15,000 บาท เครื่องที่รองรับ 4G ราคาไม่เกิน 4,000 บาท ทั้งปลายปีนี้จะลดราคารุ่นเรือธง X5 Pro ลง 5,000 บาท เหลือ 10,990 บาท เพื่อกระตุ้นตลาด





____________________________________________________________



"มือถือ"แบรนด์ใหม่ดาหน้าบุกไทย แห่ขายออนไลน์-เปลี่ยนเครื่องรับ4G


แบรนด์ใหม่ยกทัพบุกไทยรับกระแส 4G ค่ายมือถืออัดโปรโมชั่นดึงลูกค้า "วีโว่" ฟันธงปีหน้าเห็นบิ๊กแบรนด์จีน 5-6 ราย โดดชิงเค้ก ย้ำตลาดไทยเข้าถึงง่าย-ผู้บริโภคเปิดรับ เน้น "ถูก-หน้าจอใหญ่-รับโซเชียล" ขณะที่ "เจมาร์ท" ชี้ช่องทางออนไลน์เปิดโอกาสแบรนด์ใหม่

แม้กำลังซื้อจะไม่ฟื้นชัดเจน แต่การประมูลใบอนุญาต 4G ที่คึกคักยิ่ง ส่งผลให้ธุรกิจกลับมากระเตื้องขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะการเข้าสู่ตลาดของแบรนด์ใหม่ที่ทยอยเข้ามาอีกระลอกตั้งแต่ต้น ธ.ค. ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟนแบรนด์ "โอบิ" จากสหรัฐอเมริกา และ "เม่ยซู" (Meizu) จากประเทศจีน ไม่รวมที่เข้ามาก่อนหน้านี้อีกนับสิบ

แบรนด์หน้าใหม่เริ่มกลับมา

นาย นีราจ โชฮาน ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานบริหาร บริษัท โอบิ เวิลด์โฟน เปิดเผยว่า สมาร์ทโฟน "โอบิ" จะวางจำหน่ายในไทยตั้งแต่วันที่ 8 ธ.ค.เป็นประเทศที่ 4 หลังทำตลาดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เวียดนาม และอินเดีย เมื่อกลางปี ในระดับราคา 4,000-10,000 บาท มีจุดเด่นเรื่องนวัตกรรมจากซิลิคอนวัลเลย์

"โอบิเริ่มต้นจากจอห์น สกัลลี่ อดีตซีอีโอแอปเปิล ที่รวมหัวกะทิด้านเทคโนโลยี และการตลาดมาสร้างแบรนด์ใหม่ตอบโจทย์ใช้งานในประเทศเกิดใหม่ ไทยเป็นหนึ่งในนั้น ผู้บริโภคหันไปใช้สมาร์ทโฟนจนมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของเลขหมาย คาดว่า 4G จะแพร่หลายในปี 2559 ทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวมากขึ้น โอบิจึงเข้ามาทำตลาดในไทย เริ่มจากขายผ่านเว็บไซต์ลาซาด้าก่อนที่จะขายในร้านค้าปลีก"

สมาร์ท โฟนรุ่นแรกที่นำเข้ามาทำตลาด คือ รุ่น SF1 ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 5.0.2 หน้าจอ 5 นิ้ว กล้องหลัง 13 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล ซีพียูออคต้าคอร์ความเร็ว 1.5 GHz รองรับ 4G ราคา 7,290 บาท เน้นวัยรุ่นอายุ 18-30 ปี และกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนจากสมาร์ทโฟนรุ่นเริ่มต้นเป็นระดับกลาง เทียบคุณสมบัติของเครื่องกับแบรนด์อื่นถูกกว่า 3 เท่า ทำให้แข่งขันในตลาดเพิ่มดีกรีขึ้น

"ไตรมาสแรกปี 2559 จะเห็นโอบิในร้านค้าปลีกด้วย เพราะผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังต้องการสัมผัส และทดสอบการใช้งานเราจะประชาสัมพันธ์ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์ด้วย"

นายนีราจกล่าวต่อว่า ในปี 2559 จะมีอีก 2-3 รุ่นเข้ามา ตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านเครื่อง ในระยะยาวต้องการส่วนแบ่งตลาด 5%

บิ๊กแบรนด์แดนมังกรมาแน่ปีหน้า

ด้าน นายณฐกร จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการแบรนด์ บริษัท วีโว่ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือจากจีน แบรนด์วีโว่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า 1-2 ปีที่ผ่านมา มีโทรศัพท์แบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาในไทยมากกว่า 10 ราย แต่จากการแข่งขันที่สูง และเศรษฐกิจ ทำให้บางรายไปต่อไม่ได้ เหลือเพียงแบรนด์ใหญ่ และแบรนด์ที่มีความแข็งแรงด้านเงินทุนกระทั่งปลายปีนี้เศรษฐกิจกระเตื้อง ขึ้นประกอบกับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี่ และการประมูล 4G ทำให้แบรนด์จากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะจีนมองตลาดไทยอีกครั้ง จะมีแบรนด์ใหญ่จีนอีก 5-6 รายเข้ามา

"ปีหน้าจะมีเข้ามาอีก 5-6 แบรนด์ เพราะที่จีนแม้ตลาดใหญ่ แต่การแข่งขันสูง ทุกคนมองหาตลาดใหม่เพิ่มโอกาส เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไพออริตี้ของทุกราย จากการเปลี่ยนผ่านไปใช้สมาร์ทโฟนเร็วกว่าภูมิภาคอื่น รวมถึงความเข้าใจเทคโนโลยี ทำให้ไทยเป็นประเทศแรกที่ทุกรายเลือกมาก่อน เนื่องจากเข้าง่าย แค่ดีลกับค้าปลีกรายใหญ่ก็กระจายสินค้าได้ทั่วประเทศ ไทยยังมีปัจจัยเรื่อง 4G คาดว่าระดับราคาเครื่องจะอยู่ที่ 5,000 บาทขึ้นไป"

สำหรับ "วีโว่" ปีหน้าจะเพิ่มงบประมาณประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้แข่งขันได้มากขึ้น คาดว่าจะใช้ที่ 100 ล้านบาท และถึงเร่งขยายช่องทางจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น เน้นโมเดิร์นเทรด มีสินค้าราว 10 รุ่น ราคา 3,000-15,000 บาท เครื่องที่รองรับ 4G ราคาไม่เกิน 4,000 บาท ทั้งปลายปีนี้จะลดราคารุ่นเรือธง X5 Pro ลง 5,000 บาท เหลือ 10,990 บาท เพื่อกระตุ้นตลาด

อีคอมเมิร์ซเพิ่มโอกาสธุรกิจ

นาย นราธิป วิรุฬชาตะพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บมจ.เจมาร์ท กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2557 มีโทรศัพท์มือถือแบรนด์ที่ไม่เป็นที่รู้จักเข้ามาทำตลาด มากกว่า 15 แบรนด์ ซึ่งบางรายไม่สามารถขายผ่านร้านค้าปลีกได้ก็หันไปใช้ช่องทางออนไลน์เพียง อย่างเดียว คาดว่าในปี 2559 จะมีแบรนด์จากจีน และประเทศอื่น ๆ เข้ามาอีก แต่ใครจะอยู่ได้ในระยะยาวต้องรอดูกันต่อไป ขึ้นอยู่กับแผนการตลาดและเงินทุนเพื่อสร้างแบรนด์ เพราะแม้จะโด่งดังในประเทศอื่นมาก่อน แต่มาในประเทศไทยต้องสร้างแบรนด์ใหม่ เพราะคนจะรู้จักจริงแค่กลุ่มที่สนใจเทคโนโลยี

"เครื่องที่ตอบโจทย์ ผู้บริโภคในไทยไม่พ้นหน้าจอใหญ่ กล้องที่มีความคมชัด ขณะที่ราคาต้องไม่ชนกับไฮเอนด์ สาเหตุที่มีแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาในไทยก่อน เพราะไทยมีจำนวนประชากรที่เหมาะสมถึงจะแข่งกันสูง แต่ผู้บริโภคเปิดใจรับสิ่งใหม่ตลอด"

ด้านนายวิเชียร สหพัฒนประเสริฐ เจ้าของร้านนาซ่าที่มาบุญครอง ผู้ค้าปลีกค้าส่งรายใหญ่ กล่าวว่า ร้านค้ารายย่อยในประเทศไทย หรือร้านตู้ จะไม่เน้นขายมือถือที่แบรนด์ แต่เน้นที่การได้กำไรสูงสุด ทำให้แบรนด์หน้าใหม่บางรายเลือกขายผ่านช่องทางนี้จนสามารถติดตลาดได้รวดเร็ว ขณะที่ผู้บริโภคในต่างจังหวัดไม่ได้เน้นเรื่องแบรนด์ แต่เน้นราคาเหมาะสม, หน้าจอใหญ่, ถ่ายรูปสวย และใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ และเฟซบุ๊กได้ จึงเป็นโอกาสของแบรนด์ใหม่ที่จะเข้ามาทำตลาด

เฮาส์แบรนด์ไทยจุก

ขณะ ที่นายสุรินทร์ อมรชัชวาลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท มีเดีย อินฟินีตี้ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ R-MA (อาม่า) เปิดเผยว่า การเข้ามาทำตลาดของแบรนด์หน้าใหม่จากต่างประเทศกระทบเฮาส์แบรนด์ไทย เพราะรายใหม่มีเงินทุนมากกว่าและให้ผลตอบแทนจากการขายสูงกว่าเฮาส์แบรนด์ ท้องถิ่น การที่เฮาส์แบรนด์จะอยู่ได้ต้องมีจุดเด่นชัดเจน ทั้งฟีเจอร์โฟน และสมาร์ทโฟน เน้นปุ่มกดและอักษรขนาดใหญ่เพื่อตอบโจทย์ผู้สูงอายุ

"ปี 2559 คงมีแบรนด์ใหม่ ๆ มาหาโอกาสอีก แต่คงมีไม่กี่รายที่รอดได้ เพราะแบรนด์ที่มีส่วนแบ่งตลาด 5 อันดับแรกแข็งแรงมาก การลงทุนเพื่อแย่งแชร์อาจได้ไม่คุ้มเสีย ถึงจะเลือกไปจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเดียวก็ต้องเจอกับค่านำสินค้าไปวาง ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นตามการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ส่วนเฮาส์แบรนด์ในไทยคงเหลือ 1-2 ราย เพราะรายอื่นคงสู้พลังโอเปอเรเตอร์ และทุนต่างประเทศไม่ไหว"

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า มูลค่าจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในไทยปี 2559 ตามข้อมูลของบริษัทวิจัยไอดีซีอยู่ที่ 1.29 แสนล้านบาท ลดลงจากปี 2558 ราว 1,000 ล้านบาท มาจากสมาร์ทโฟน 97% ที่เหลือเป็นฟีเจอร์โฟน ส่วนแบรนด์ที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยในปีนี้เป็นครั้งแรก ประกอบด้วย นิปดา, เม่ยซู, เซี่ยวมี่, โอบิ และฟิงโก้ รวมถึงมีแบรนด์ที่กลับมาทำตลาดอย่างเข้มข้นอีกครั้ง ได้แก่ โซนี่, อัลคาเทล วันทัช, เลอโนโว เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเฮาส์แบรนด์ของค่ายมือถือ ที่ขายได้ดีมาก เช่น ลาวาของเอไอเอส, โจอี้ และอีเกิ้ลของดีแทค และทรูสมาร์ทของทรูมูฟ เอช เพราะเครื่องเฮาส์แบรนด์ของค่ายมือถือไม่เน้นกำไรจากการขายเครื่อง แต่ต้องการดึงให้ลูกค้าเข้ามาใช้งานในระบบของตนเอง จึงตั้งราคาไว้ค่อนข้างต่ำมาก ซึ่งที่ผ่านมาเป็นการจูงใจให้ลูกค้าย้ายจากระบบ 2G เดิมมาเป็น 3G คาดว่าปีหน้าจะโหมมาที่ 4G


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1449818334

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.