Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 ปี 2020 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) จะนำเทคโนโลยี 5G ประกอบกับ 5 ปีข้างหน้าดีไวซ์ จะสามารถรองรับคลื่นความถี่ได้กว้างมาก และมีความต้องการใช้คลื่นความถี่ไม่ต่ำกว่า 20-30 MHz

ประเด็นหลัก


ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนอย่างปี 2020 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) จะนำเทคโนโลยี 5G มาให้บริการในเชิงพาณิชย์ ซึ่งการประมูลในครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นการรองรับกับเทคโนโลยีดังกล่าวด้วย ซึ่งในทางเทคนิคนั้นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ควรจะมีคลื่นความถี่ให้ บริการไม่ต่ำว่า 50MHz จึงเป็นการตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่าทำไมการประมูลจะมีการแข่งขันราคากันอย่างไม่ลดละ
ประกอบกับ 5 ปีข้างหน้าดีไวซ์ จะสามารถรองรับคลื่นความถี่ได้กว้างมาก และมีความต้องการใช้คลื่นความถี่ไม่ต่ำกว่า 20-30 MHz ดังนั้นการที่มีคลื่นความถี่ที่หลากหลาย ทั้ง 900 MHz ,1800 MHz และ 2100 MHz จึงถือเป็นการสร้างความได้เปรียบทางด้านการให้บริการ





__________________________________________________________






ทะลุ 1.19แสนล. ชิง4G900สู้ยิบตา


โดย ผู้จัดการรายวัน

18 ธันวาคม 2558 00:04 น.


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ทะลุ 1.19แสนล. ชิง4G900สู้ยิบตา


ผู้จัดการรายวัน 360 - ศึกชิงความถี่สู้กัน 3 วันรวมเวลา 48 ชั่วโมง ยังไม่รู้ผล ล่าสุดการประมูลรอบ 144 แตะระดับ 1.19 แสนล้านบาทแล้ว ด้านประธานกทค.ยันราคาประมูลคลื่น 900 MHz แพงแต่คุ้มขาดทุนแค่กำไร ขณะที่ผู้เข้าประมูลเริ่มขอตรวจสุขภาพวัดความดันพร้อมร้องขอใส่บาตรวันนี้ (18)
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ( กทค.) กล่าวว่า การประมูล 4G คลื่น 900 MHz ที่ได้ทำการแข่งขันมาเป็นวันที่ 3 แล้ว และตัวเลขจากการประมูลในรอบที่ 144พุ่งไปแตะระดับ 119,108 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปนั้น เนื่องจากผู้ประมูลต่างต้องการใบอนุญาตเพื่อนำไปประกอบธุรกิจ
แต่ทั้งนี้ราคาประมูลที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าไม่มีผลต่ออัตราค่าบริการในอนาคต เนื่องจากต้นทุนค่าประมูลไม่ได้สูงกว่าค่าสัมปทานเดิม ซึ่งผู้ประกอบการอาจจะแค่ขาดทุนกำไร หรือ อาจจะได้กำไรน้อยลง ซึ่งกสทช.มั่นใจว่าจะดูแลอย่างเข้มข้นและจะดูแลตามเงื่อนไขทีโออาร์ทุกอย่าง ดังนั้นจึงมั่นใจว่าผลประโยชน์ของประชาชนยังเหมือนเดิม โดยเฉพาะจะต้องเพิ่มเติมในส่วนของการกำหนดให้ต้องจัดให้มีแพกเกจราคาประหยัดสำหรับผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีรายได้น้อย โดยผู้รับอนุญาตจะต้องส่งแผนการให้บริการต่อกทค.ก่อนเริ่มให้บริการ และต้องดำเนินตามภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เริ่มให้บริการ
ราคาประมูลที่สูงในระดับ 1 แสนล้านบาทดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาตเป็นการเดินทางที่ถูกต้อง ต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องดูต่อไปว่าจะก้าวผ่านไปสู่จุดไหนต่อไป ซึ่งการประมูลในราคาที่สูงนี้ ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องวิเคราะห์แล้วว่าเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจในระยะเวลา 15 ปี
ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนอย่างปี 2020 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) จะนำเทคโนโลยี 5G มาให้บริการในเชิงพาณิชย์ ซึ่งการประมูลในครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นการรองรับกับเทคโนโลยีดังกล่าวด้วย ซึ่งในทางเทคนิคนั้นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ควรจะมีคลื่นความถี่ให้ บริการไม่ต่ำว่า 50MHz จึงเป็นการตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่าทำไมการประมูลจะมีการแข่งขันราคากันอย่างไม่ลดละ
ประกอบกับ 5 ปีข้างหน้าดีไวซ์ จะสามารถรองรับคลื่นความถี่ได้กว้างมาก และมีความต้องการใช้คลื่นความถี่ไม่ต่ำกว่า 20-30 MHz ดังนั้นการที่มีคลื่นความถี่ที่หลากหลาย ทั้ง 900 MHz ,1800 MHz และ 2100 MHz จึงถือเป็นการสร้างความได้เปรียบทางด้านการให้บริการ
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ปัจจุบันกสทช.มีการนำคลื่นความถี่มาประมูลเพียง 95 MHz เท่านั้น และปัจจุบันทั้งประเทศมีการใช้งานโดยรวมไม่ถึง 300 MHz ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ดังนั้นกสทช.จะต้องมีการนำคลื่นที่มีอยู่มาจัดสรรเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ด้านน.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า การเคาะราคาอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่วันที่ 3 และผู้เข้าประมูลยังอยู่ครบทั้ง 4 ราย แสดงให้เห็นว่าทุกรายจริงจังกับการประมูล แม้ว่าราคาประมูลจะสูงกว่าระดับราคาปกติแล้วก็ตามถึงแม้จะมีการคาดการณ์กัน ว่าแต่ละรายต่างต้องการคลื่นความถี่เพราะบางรายมีความจำเป็นในการทำธุรกิจ ในขณะที่บางรายต้องการเพื่อสร้างความได้เปรียบที่เหนือกว่า
แต่ในอีกมุมหนึ่งก็มองได้ว่า รายใหม่ก็มีความต้องการเข้าสู่ตลาดในทุกระดับราคา แม้หลายคนจะมองว่า รายใหม่จะมีต้นทุนโครงข่ายสูงกว่ารายเก่าที่มีต้นทุนโครงข่ายเดิม และยังต้องทำการตลาดใหม่หมด แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง รายใหม่อาจจะมีความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับรายเก่าบางรายอย่างไม่เปิดเผย และหากชนะประมูล ก็อาจมีการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน มีการโรมมิ่งบริการกัน จะทำให้ลดต้นทุนส่วนโครงข่ายไปได้ไม่น้อย และอาจมีการขายส่งบริการระหว่างกันทำให้ลดภาระในการทำตลาดใหม่ทั้งหมด
อีกปัจจัยสำคัญหนึ่งคือการประมูล 900 MHz มีความยืดหยุ่นในการชำระค่าคลื่น ที่ยาวนานกว่าการประมูล1800MHz ดังนั้นไม่ว่าราคาประมูลจะสูงขึ้นไปเพียงใด แต่ในการชำระ 3 ครั้งแรกนั้น เป็นวงเงินที่ต่ำ ส่วนราคาคลื่นที่เหลือให้ชำระในงวดที่สี่ ซึ่งผู้ประมูลต่างเชื่อว่าจะนำคลื่นไปทำกำไรเพื่อนำมาชำระงวดที่ 4 ได้ไม่ยาก จึงกระทบกระแสเงินสดและปริมาณหนี้ต่ำกว่าการประมูล 1800 อย่างชัดเจน ราคาประมูลจึงไหลขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับธุรกิจโทรศัพท์มือถือเป็นตลาดเก่าที่เสถียรและมีอัตราเติบโตต่อเนื่อง การคาดการณ์ตลาดจึงแม่นยำกว่าธุรกิจทีวีดิจิตอลที่มีจำนวนสถานีเกิดใหม่มากมายหลายสิบสถานี เป็นตลาดใหม่ในประเทศ แต่เป็นขาลงของตลาดโลก ทำให้การคาดการณ์ตลาดทีวีดิจิตอลคลาดเคลื่อนได้สูงมาก
ในส่วนที่วิตกกังวลกันว่ารายที่ชนะจะไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เนื่องจากวางแผนผิดพลาดและอาจจะทำการชักดาบในงวดที่สี่นั้น ในความเป็นจริงหากทำแบบนั้นจะส่งผลให้ต้องออกจากตลาดโทรศัพท์มือถือทุกระบบอย่างถาวร และจะติดบัญชีดำไม่สามารถกลับเข้าสู่ตลาดได้อีกครั้งหนึ่ง การชักดาบจึงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดได้จริง ณ วินาทีนี้
'ราคาประมูลคลื่น 900 ยังไม่แพงเกินไป และยังไม่ถึงระดับราคาที่ไร้เหตุผล หรือเสี่ยงต่อการล้มเหลวทางธุรกิจแต่อย่างใด เพราะแต่ละรายต้องการผลประโยชน์หลายประการ'
สำหรับในวันที่ 17 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันที่ 3ของการประมูลซึ่งรวมระยะเวลาที่เคาะราคาแล้ว 48 ชั่วโมง มีผู้เข้าร่วมประมูล 4 รายออกมาขอตรวจสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องความดันต่างๆ ที่เกิดขึ้น รายแรกเป็นทรูมูฟ รายที่ 2 ดีแทค รายที่ 3 เป็นแจส และรายสุดท้ายเป็นเอไอเอส โดยจะเรียงลงมาทีละค่าย นอกจากนี้ทาง กสทช.จะลองสอบถามว่าจะให้พักตั้งแต่ 21.00 น.จนถึง 09.00น.วันรุ่งขึ้น เหมาะสมหรือไม่ และในวันที่ 18 ธ.ค.ซึ่งเป็นวันพระผู้เข้าประมูลจะขอใส่บาตร ซึ่งสำนักงานกสทช.จะนิมนต์พระมา 10 รูป มาจากวัดราชาธิวาส 5 รูป และวัดหลักสี่ 5 รูปโดยจะเริ่มเวลา 06.15 น.
ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การประมูล4Gในย่าน1800 MHzและ 900 MHz ตลอดจนการประมูลคลื่นโทรทัศน์ดิจิตอลที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นมาตรฐานใหม่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ รวมไปถึงโครงการอื่นๆ ที่รัฐจะกำลังจะทำร่วมกับเอกชน เพราะประชาชนได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเป็นประโยชน์อย่างไร
โดยเฉพาะการประมูลคลื่น 4G ในครั้งนี้สามารถสร้างรายได้มหาศาลแก่รัฐบาล ประกอบกับการประมูลดังกล่าวยังไม่สร้างภาระที่สูงเกินไปแก่ผู้ประกอบการ เช่น มูลค่าคลื่น4Gในย่าน1800 MHzที่ AISประมูลได้ เพื่อนำไปประกอบธุรกิจ18ปี เทียบเท่ากับกำไรสุทธิของบริษัทเพียง1.13ปีเท่านั้น ส่วนมูลค่าการประมูลคลื่นในย่าน900 MHzอาจสูงกว่าที่คาดหมายไปมาก แต่ก็น่าจะเกิดจากการวางแผนทางธุรกิจอย่างรอบคอบของผู้ประกอบการแล้ว


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000138528&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+18-12-58&utm_campaign=20151218_m128923175_MGR+Morning+Brief+18-12-58&utm_term=_E0_B8_97_E0_B8_B0_E0_B8_A5_E0_B8_B8+1_19_E0_B9_81_E0_B8_AA_E0_B8_99_E0_B8_A5_+_E0_B8_8A_E0_B8_B4_E0

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.