Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 2 ปีที่ผ่านมาช่อง 7 รุกตลาดทีวีดิจิทัลมากขึ้น และขยับตัวต่อเนื่อง ทั้งปล่อยสปอตโฆษณา "ถึงใจถึงอารมณ์" และต่อด้วยแคมเปญ "คัดแล้วคัดอีก" สื่อสารคุณภาพรายการ มีเป้าหมายเพื่อรักษาฐานผู้ชมและขยายฐานกลุ่มคนเมือง"

ประเด็นหลัก



"2 ปีที่ผ่านมาช่อง 7 รุกตลาดทีวีดิจิทัลมากขึ้น และขยับตัวต่อเนื่อง ทั้งปล่อยสปอตโฆษณา "ถึงใจถึงอารมณ์" และต่อด้วยแคมเปญ "คัดแล้วคัดอีก" สื่อสารคุณภาพรายการ มีเป้าหมายเพื่อรักษาฐานผู้ชมและขยายฐานกลุ่มคนเมือง"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ช่อง 7 เปิดเกมรุกทันที ด้วยการส่งโฆษณาชุดใหม่ "ดูช่อง 7 ครบรส" ตอกย้ำความหลากหลายของรายการ พร้อมปล่อยรายการใหม่ เช่น กลับบ้านเรารักรออยู่ เก่งคิดพิชิตคำ เปลี่ยนหน้าท้าโชว์ซีซั่น 2 เป็นต้น นอกจากนี้จัดโรดโชว์ทั่วประเทศ


ด้านทิศทางของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ผู้บริหารช่อง 3 เอชดี ช่อง 3 เอสดี และช่อง 13 แฟมิลี่ในปี 2559 จะเดินหน้าปั้นทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ช่อง 3 เอสดี และช่อง 13 แฟมิลี่ โดยจะเพิ่มคอนเทนต์ที่ชัดเจน หวังสร้างการจดจำให้ผู้ชม โดยช่อง 3 เอสดีจะเน้นการถ่ายทอดสดกีฬาประเภทต่าง ๆ ขณะที่ช่อง 13 แฟมิลี่ก็เตรียมจับมือกับพันธมิตรผลิตคอนเทนต์เด็กและครอบครัว







_____________________________________________________




"ทีวีดิจิทัล" ใส่เกียร์ลงทุนไม่อั้น ขาใหญ่ทุ่มละคร-กีฬาดึงเรตติ้ง



ยักษ์ทีวีดิจิทัลทุ่มไม่อั้น ช่อง 7 เปิดเกมเพิ่มรายการใหม่ จัดโรดโชว์ทั่วประเทศ ช่อง 8 ทุ่ม 1,000 ล.ผลิตละครลงจอ เน้นขายโฆษณาล่วงหน้าบาลานซ์ความเสี่ยง ช่องวัน เพิ่มคอนเทนต์ซูเปอร์ไพรมไทม์ นิวส์ทีวี ชูข่าว-สารคดี ฟากทรูโฟร์ยูมาแรง ทุ่มซื้อตัวนักแสดง เจรจาซื้อพรีเมียร์อังกฤษออนแอร์ เร่งสร้างเรตติ้ง

ใส่เกียร์เดินหน้าแบบไม่ยั้ง สำหรับธุรกิจทีวีดิจิทัล ที่แม้ปีนี้จะมีปัจจัยลบที่ส่งผลต่อเนื่องมาจากปีก่อน นั่นคือ ภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังไม่ฟื้นตัว กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการใช้งบฯโฆษณาของสินค้า ซึ่งเป็นรายได้หลักของทีวีดิจิทัล ไม่นับรวมปัญหาภายในที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งการเรียงช่อง โครงข่ายรับชม และการเข้าถึงผู้ชม



แม้หลากปัจจัยลบจะดาหน้าเพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล รอไม่ได้อีกแล้ว เปิดศักราชใหม่ ทุกรายต่างจัดเต็มงัดสารพัดวิธี ทั้งเพิ่มคอนเทนต์ ละคร-กีฬา ลงจอตั้งแต่ไก่โห่ ตลอดจนดึงนักแสดงมาสังกัดช่อง เรียกกระแส รวมถึงการปรับกลยุทธ์แพ็กเกจการขายโฆษณา เพื่อพยุงให้ช่องเดินหน้ามีเรตติ้งเร็วที่สุด

"7-3" ขยับต่อเนื่องรักษาแชมป์

นายพลากร สมสุวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จํากัด กล่าวถึงแนวโน้มการแข่งขันทีวีดิจิทัลปี 2559 ว่า ยังทวีความรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมาตั้งแต่ปีก่อน แต่สำหรับช่อง 7 ยังเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมจากคอนเทนต์ละคร วาไรตี้ต่าง ๆ รวมถึงคอนเทนต์กีฬาที่ถ่ายทอดสด ทั้งมวย ฟุตบอล วอลเลย์บอลเป็นต้น ด้วยจุดแข็งของคอนเทนต์ที่หลากหลาย ทำให้ช่อง 7 มีเรตติ้งที่ดีขึ้นต่อเนื่อง

"2 ปีที่ผ่านมาช่อง 7 รุกตลาดทีวีดิจิทัลมากขึ้น และขยับตัวต่อเนื่อง ทั้งปล่อยสปอตโฆษณา "ถึงใจถึงอารมณ์" และต่อด้วยแคมเปญ "คัดแล้วคัดอีก" สื่อสารคุณภาพรายการ มีเป้าหมายเพื่อรักษาฐานผู้ชมและขยายฐานกลุ่มคนเมือง"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ช่อง 7 เปิดเกมรุกทันที ด้วยการส่งโฆษณาชุดใหม่ "ดูช่อง 7 ครบรส" ตอกย้ำความหลากหลายของรายการ พร้อมปล่อยรายการใหม่ เช่น กลับบ้านเรารักรออยู่ เก่งคิดพิชิตคำ เปลี่ยนหน้าท้าโชว์ซีซั่น 2 เป็นต้น นอกจากนี้จัดโรดโชว์ทั่วประเทศ

ด้านทิศทางของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ผู้บริหารช่อง 3 เอชดี ช่อง 3 เอสดี และช่อง 13 แฟมิลี่ในปี 2559 จะเดินหน้าปั้นทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ช่อง 3 เอสดี และช่อง 13 แฟมิลี่ โดยจะเพิ่มคอนเทนต์ที่ชัดเจน หวังสร้างการจดจำให้ผู้ชม โดยช่อง 3 เอสดีจะเน้นการถ่ายทอดสดกีฬาประเภทต่าง ๆ ขณะที่ช่อง 13 แฟมิลี่ก็เตรียมจับมือกับพันธมิตรผลิตคอนเทนต์เด็กและครอบครัว

เปิดสูตรโฆษณาใหม่

นายสุรชัยเชษฐโชติศักดิ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ต้องระมัดระวังจากปัจจัยเศรษฐกิจที่ไม่เติบโต จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโฆษณา ซึ่งเป็นรายได้หลักฟรีทีวี ด้วยแนวโน้มนี้ ได้ปรับแพ็กเกจขายโฆษณาช่อง 8 เน้นขายโฆษณาล่วงหน้า ตั้งเป้า 60% ของรายได้รวมมียอดจองแล้ว 50% ของรายได้รวมช่องที่วางไว้ 2,000 ล้านบาทสิ้นปีนี้ ส่วนอีก 40% จะขายระหว่างปีตามเรตติ้ง

"การขายล่วงหน้าทำให้มีเม็ดเงินโฆษณาที่การันตีได้แน่นอนตั้งแต่ต้นปีท่ามกลางอุตฯโฆษณาและเศรษฐกิจที่ไม่โต"

คาดว่าครึ่งปีแรกงบฯโฆษณาจะยังไม่ฟื้นตัวแต่ครึ่งปีหลังทุกอย่างจะดีขึ้นจากกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางนี้ ทีวีดิจิทัลก็ต้องปรับกลยุทธ์ คอนเทนต์ เพื่อสร้างเรตติ้ง

เช่นเดียวกับเวิร์คพอยท์ทีวี ที่ขายโฆษณาล่วงหน้าไปแล้วตั้งแต่ปลายปีก่อน ปัจจุบันมียอดจอง 1,700 ล้านบาท จากรายได้ที่วางไว้ 2,500 ล้านบาทในสิ้นปี 2559

ขณะที่นายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารช่องวัน บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด กล่าวว่า ได้ปรับแพ็กเกจการขายโฆษณา ชูโมเดล "โทเทิ่ล มีเดีย โซลูชั่น" หรือขายโฆษณายกแพ็ก ประกอบด้วย สปอตโฆษณา โปรดักต์ไทอิน และโชว์บิซ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า (สินค้า)

ดึง "ดารา-ละคร-กีฬา" มัดใจ

นายถกลเกียรติกล่าวต่อว่า คอนเทนต์หลักที่ผู้ชมสนใจ คือ ละคร กีฬา สำหรับช่องวัน ละครคือคอนเทนต์หลัก ปีนี้ใช้งบฯลงทุน 700 ล้านบาทสำหรับผลิตละคร ซิตคอมอีกทั้งเพิ่มคอนเทนต์ในช่วงซูเปอร์ไพรมไทม์ ตั้งแต่เวลา 18.20-22.20 น. ต่อเนื่อง 7 วัน จะทยอยออกอากาศตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป รวมถึงจะปรับผังวันเสาร์และอาทิตย์ สร้างความแข็งแกร่งแก่เรตติ้ง

เช่นเดียวกับนางเนตรชนก วิภาตะศิลปิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด กล่าวต่อว่า สิ่งที่ต้องทำปีนี้ คือ รักษาเรตติ้งของช่องท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่เอื้อ ทั้งเศรษฐกิจและงบโฆษณา ชูกีฬา-ละครเป็นตัวหลัก ภายใต้งบฯลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็นซื้อลิขสิทธิ์กีฬาจากในและต่างประเทศกว่า 200 แมตช์ เช่น ไทย พรีเมียร์ลีก, ลาลีก้าสเปน, เป็นต้น รวม 700 ล้านบาท และอยู่ระหว่างเจรจา บีอินสปอร์ต จะนำพรีเมียร์อังกฤษมาถ่ายทอดสด อีก 700 ล้านบาท คือ งบฯผลิตละคร ซีรีส์ ปีนี้ได้เพิ่มละครเป็น 10 เรื่อง เช่น เจ้าเวหา ส้มตำแฮมเบอร์เกอร์ เป็นต้น และคอนเทนต์อื่น ๆ 600 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ทรูโฟร์ยูยังได้ "แพนเค้ก เขมนิจ" มาเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัดรวม 3 ปี กำลังจะมีผลงานละครเรื่องแรก "เจ้าเวหา" ขณะเดียวกัน ช่อง 8 ก็ทุ่มงบฯกว่า 1,000 ล้านบาท ผลิตละครกว่า 30 เรื่อง ฟากเวิร์คพอยท์ทีวี จะมี 4-5 รายการใหม่ และเพิ่มน้ำหนักแก่ละคร จะออกอากาศต่อเนื่องทั้งปี

นายปารเมศ เหตระกูล กรรมการบริหาร บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด ผู้บริหารช่องนิวส์ทีวี กล่าวว่า ปลายปีก่อนได้ปรับแนวทางข่าวเช้า ข่าวเที่ยงและข่าวเย็น ให้สอดรับกับกลุ่มผู้ชมมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มสัดส่วนสารคดีและซีรีส์ อย่างไรก็ตาม ปีนี้ยังโฟกัสที่ข่าวและสารคดี ภายใต้งบฯลงทุนต่อเนื่องจากปีก่อน 800 ล้านบาท นอกจากนี้อยู่ระหว่างเจรจาในการนำคอนเทนต์กีฬามาถ่ายทอดสด คาดว่าผลจากการปรับผังรายการนี้จะทำให้สิ้นปีมีรายได้ 400 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมทีวีดิจิทัลปีนี้คาดว่าการแข่งขันยังคงรุนแรงต่อเนื่อง เพราะจำนวนช่องเพิ่มขึ้น ขณะที่งบฯโฆษณายังกระจุกตัวอยู่ที่ช่องเก่า แต่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการโยกงบฯจากช่องเก่ามาช่องใหม่ เพราะเอเยนซี่และสินค้าให้ความสนใจเพิ่มขึ้น

โฆษณาทีวีดิจิทัลพุ่งแรง

จากรายงานการใช้งบฯโฆษณาปี 2558 (มกราคม-ธันวาคม) ของบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า เติบโต 3.34% จากปีก่อน มีมูลค่า 122,318 ล้านบาท ประกอบด้วย ทีวีเก่า (ช่อง 3-5-7-9) มูลค่า 57,526 ล้านบาท ลดลง 9.8% ทีวีดิจิทัล 20,930 ล้านบาท

ช่องทีวีดาวเทียม/เคเบิลทีวี 6,055 ล้านบาท ลดลง 16.27% วิทยุ 5,675 ล้านบาท โต 1.16% หนังสือพิมพ์ 12,332 ล้านบาท ลดลง 6.45% นิตยสาร 4,227 ล้านบาท ลดลง 14.28% สื่อในโรงภาพยนตร์ 5,134 ล้านบาท โต 18.05% สื่อนอกบ้าน 4,265 ล้านบาท โต 7.32% สื่อเคลื่อนที่ 4,478 ล้านบาท โต 17.44% สื่อ ณ จุดขาย 639 ล้านบาท (ไม่นับรวมเทสโก้ โลตัสและบิ๊กซี) ลดลง 67.46% และสื่อดิจิทัล 1,058 ล้านบาท โต 11.37%

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1453098949

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.