Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 (บทความ) เขย่าปมร้อน 'ทรู-เอไอเอส' บล็อกเบอร์ต่างค่าย ทำได้จริงหรือ? // แม้จะรู้กันในเชิงเทคนิคว่าโอเปอเรเตอร์สามารถทำการบล็อกการติดต่อโดยระบุเลขหมายปลายทางได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในการพิสูจน์

ประเด็นหลัก





หากสงสัยเช่นเดียวกับเรา... "ไทยรัฐออนไลน์" มีคำตอบมาให้คุณ!!!

"ถ้าให้พูดตามตรง คือสามารถทำได้" แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญในแวดวงโทรคมนาคม บอกคำตอบแรกกับเราและอธิบายอีกว่า "แม้จะรู้กันในเชิงเทคนิคว่าโอเปอเรเตอร์สามารถทำการบล็อกการติดต่อโดยระบุเลขหมายปลายทางได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในการพิสูจน์ ถึงจะสามารถเรียกตรวจสอบข้อมูลได้ก็ต้องอาศัยรายละเอียดอย่างชัดเจน และในกรณีดังกล่าวก็ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนในขณะนี้ว่าเอไอเอสทำเช่นนั้นจริง"

วิธีบล็อกปลายทางที่ต้องการติดต่อ ทำอย่างไร?
สำหรับเรื่องนี้ แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อธิบายว่า เป็นเรื่องทางเทคนิคที่รู้กันดีว่าโอเปอเรเตอร์สามารถทำได้จริง แต่ไม่สามารถบอกได้โดยการตรวจจับสัญญาณหรือการโทรออกเพียง 1-2 ครั้ง

พิสูจน์ได้หรือไม่...ว่าถูกบล็อกเลขหมายต่างเครือข่าย?
แหล่งข่าวคนเดิม กล่าวอีกว่า การที่จะทำให้รู้ว่าถูกบล็อกหรือปิดกั้นการใช้งานไปยังเครือข่ายอื่นหรือไม่ จะต้องพิสูจน์ให้เป็นการรับรู้เชิงประจักษ์ หมายถึงการทดลองใช้งานแล้วพบว่าไม่สามารถใช้งานได้ ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องไม่สามารถใช้งานได้มากกว่า 1 ครั้ง เพราะหากใช้งานไม่ได้เพียง 1-2 ครั้ง อาจมีความเป็นไปได้หลายกรณี เช่น เครือข่ายล่มในบางพื้นที่ เป็นช่วงรอยต่อของการให้บริการ เป็นต้น ส่วนการพิสูจน์ด้วยรายละเอียดทางเทคนิคนั้น เป็นสิ่งที่โอเปอเรเตอร์สามารถตรวจสอบและนำมาแสดงได้โดยไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ตรวจสอบรายละเอียดการโทรของเลขหมายที่ผู้ใช้ระบุว่ามีปัญหาและมีหลักฐานสามารถยืนยันได้







_____________________________________________________




เขย่าปมร้อน 'ทรู-เอไอเอส' บล็อกเบอร์ต่างค่าย ทำได้จริงหรือ?

ฟังกูรูโทรคมฯ วิเคราะห์ปมร้อนทรู-เอไอเอส บล็อกสัญญาณข้ามเครือข่ายทำได้จริงหรือไม่ พร้อมคำแนะนำหากคุณพบปัญหาดังกล่าว…

อยู่ๆ แวดวงโทรคมนาคมก็เกิดมีประเด็นดราม่าให้จับตามองกันเบาๆ เมื่อ "ทรูมูฟ เอช" ได้เข้าแจ้งความและยื่นเอกสารต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2559 โดยระบุว่าลูกค้าย้ายค่ายเบอร์เดิมจากเอไอเอสมาเป็นทรูมูฟ เอชในหลายจังหวัด ไม่สามารถโทรติดต่อเลขหมาย 1331 คอลเซ็นเตอร์ของทรูมูฟ เอช รวมถึงการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) ผ่านเลขหมาย 4764703 เพื่อขอรับสิทธิพิเศษและส่วนลดต่างๆ ซึ่งเป็นบริการที่กลุ่มทรูมอบให้ลูกค้าบัตรทรู แบล็กการ์ด หรือเรดการ์ด ที่ใช้งานมือถือต่างเครือข่าย ก็พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเสียหายในการรับบริการ ขณะเดียวกันก็ทำให้ทรูมูฟ เอช ไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้

ประเด็นดังกล่าว กลายเป็นชนวนเล็กๆ ระหว่าง 2 ผู้ให้บริการเครือข่าย (โอเปอเรเตอร์) ทำให้ "เอไอเอส" ซึ่งตกอยู่ในฐานะคู่พิพาทได้ออกมายืนยันในทันที โดยมีการเผยแพร่รายละเอียดผ่านสื่อมวลชน ด้วยคำยืนยันจาก นางวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส ว่า "ตามที่มีการแจ้งร้องเรียนผ่านสื่อว่า เอไอเอสทำการปิดกั้นลูกค้าให้ใช้งานไม่สะดวกนั้น เอไอเอสขอยืนยันว่าบริษัทไม่ได้มีการปิดกั้นการสื่อสารของลูกค้าแต่อย่างใด และลูกค้าเอไอเอสทุกท่านสามารถโทรออกไปยังทุกเบอร์ได้ตามปกติ

โดยขณะนี้บริษัทได้มีการสื่อสารถึงลูกค้าที่ยังใช้เครื่องมือถือ 2จี เนื่องจากมีความเป็นห่วงลูกค้าที่อาจจะไม่ได้รับความสะดวกในอนาคต จึงมีการแจ้งสิทธิพิเศษในการเปลี่ยนมือถือจาก 2จี เป็น 3จี และ 4จีได้ฟรี ในทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะผ่านสื่อสารมวลชน สื่อในชุมชน ส่งเอสเอ็มเอส รวมถึงข้อความประชาสัมพันธ์เสียงที่ลักษณะของการเตือนนั้น เมื่อลูกค้ากลุ่มที่ยังใช้งานมือถือ 2จี กดโทรออกจะได้ยินเสียงข้อความประชาสัมพันธ์ดังกล่าวที่แจ้งให้ทราบขั้นตอนการเปลี่ยนเครื่องได้ฟรีก่อน จากนั้นระบบจะเชื่อมต่อกับเบอร์ปลายทางที่ต้องการโทรไปหาตามปกติ โดยลูกค้าจะได้ยินข้อความนี้เพียง 1 วันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ลูกค้าสามารถกดยกเลิกการได้ยินข้อความเสียงดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง ที่หมายเลข *247*1# โทรออก ฟรี ซึ่งระบบได้แจ้งให้ลูกค้าทราบไว้ในข้อความด้วยอยู่แล้ว"

สิทธิผู้บริโภค...โทรไม่ติด ใช้งานไม่ปกติ สามารถร้องเรียนได้!


แต่ดูเหมือนประเด็นที่ทำให้หลายฝ่ายเกิดความค้างคาใจ จะกลายเป็น... "ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถปิดกั้นการโทรออกไปยังเลขหมายต่างๆ ได้จริงหรือ?"

หากสงสัยเช่นเดียวกับเรา... "ไทยรัฐออนไลน์" มีคำตอบมาให้คุณ!!!

"ถ้าให้พูดตามตรง คือสามารถทำได้" แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญในแวดวงโทรคมนาคม บอกคำตอบแรกกับเราและอธิบายอีกว่า "แม้จะรู้กันในเชิงเทคนิคว่าโอเปอเรเตอร์สามารถทำการบล็อกการติดต่อโดยระบุเลขหมายปลายทางได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในการพิสูจน์ ถึงจะสามารถเรียกตรวจสอบข้อมูลได้ก็ต้องอาศัยรายละเอียดอย่างชัดเจน และในกรณีดังกล่าวก็ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนในขณะนี้ว่าเอไอเอสทำเช่นนั้นจริง"

วิธีบล็อกปลายทางที่ต้องการติดต่อ ทำอย่างไร?
สำหรับเรื่องนี้ แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อธิบายว่า เป็นเรื่องทางเทคนิคที่รู้กันดีว่าโอเปอเรเตอร์สามารถทำได้จริง แต่ไม่สามารถบอกได้โดยการตรวจจับสัญญาณหรือการโทรออกเพียง 1-2 ครั้ง

พิสูจน์ได้หรือไม่...ว่าถูกบล็อกเลขหมายต่างเครือข่าย?
แหล่งข่าวคนเดิม กล่าวอีกว่า การที่จะทำให้รู้ว่าถูกบล็อกหรือปิดกั้นการใช้งานไปยังเครือข่ายอื่นหรือไม่ จะต้องพิสูจน์ให้เป็นการรับรู้เชิงประจักษ์ หมายถึงการทดลองใช้งานแล้วพบว่าไม่สามารถใช้งานได้ ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องไม่สามารถใช้งานได้มากกว่า 1 ครั้ง เพราะหากใช้งานไม่ได้เพียง 1-2 ครั้ง อาจมีความเป็นไปได้หลายกรณี เช่น เครือข่ายล่มในบางพื้นที่ เป็นช่วงรอยต่อของการให้บริการ เป็นต้น ส่วนการพิสูจน์ด้วยรายละเอียดทางเทคนิคนั้น เป็นสิ่งที่โอเปอเรเตอร์สามารถตรวจสอบและนำมาแสดงได้โดยไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ตรวจสอบรายละเอียดการโทรของเลขหมายที่ผู้ใช้ระบุว่ามีปัญหาและมีหลักฐานสามารถยืนยันได้

อย่าลืมบันทึกรายละเอียดการใช้งาน (ที่ผิดปกติ) เอาไว้เป็นหลักฐาน


หากผู้บริโภคพบปัญหาลักษณะดังกล่าว ต้องทำอย่างไร?
คำแนะนำสำหรับผู้ที่พบปัญหาจากการใช้งานในลักษณะดังกล่าว สามารถร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อผู้บริโภคได้ เช่น กสทช. โดยทางหน่วยงานจะต้องประสานงานกับโอเปอเรเตอร์ เพื่อขอหลักฐานชี้แจงหรือยืนยันว่าปัญหาการใช้งานนั้นเกิดจากสาเหตุใด แต่สำคัญที่ผู้ร้องเรียนต้องมีรายละเอียดชัดเจน เช่น เลขหมายที่ต้องการโทรและพบปัญหา วันเวลาที่โทร รวมถึงพื้นที่ที่ใช้งาน เพื่อเป็นหลักฐานการโทรให้โอเปอเรเตอร์นำไปตรวจสอบ

"ปัญหาที่สามารถร้องเรียนจากการใช้งานนั้น จริงๆ แล้วการให้บริการต้องทำให้ผู้ใช้งานสามารถโทรออกหรือรับสายได้ตามปกติทุกเลขหมาย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือต่างเครือข่าย หากไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้อยู่แล้ว และเป็นเรื่องที่โอเปอเรเตอร์ที่ตกเป็นจำเลยจะต้องพิสูจน์ถึงต้นเหตุของปัญหาให้ได้ แต่โดยส่วนตัวไม่แนะนำให้ผู้ใช้งานลองพิสูจน์ว่าเลขหมายของตนเองมีปัญหาหรือไม่ เพราะเชื่อว่าหากต้องใช้งานแล้วไม่สามารถใช้ได้ ก็จะทำให้ทราบได้เองว่าเกิดปัญหา ไม่จำเป็นต้องทดลองโทรออกไปยังเลขหมายที่ไม่ได้ใช้ เพราะหากปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว นั่นเท่ากับว่าเราต้องเสียค่าบริการไปฟรีๆ เพื่อการทดลองที่ไม่ได้จำเป็นต่อตนเอง"

ท้ายที่สุด ปัญหาดังกล่าวจะมีบทสรุปอย่างไร ต้องติดตาม…!

http://www.thairath.co.th/content/574141

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.