Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 iTrueMart (ค้าปลีกแบบ B2C) และ WeLoveShopping (อีมาร์เก็ตเพลซ C2C) รวมถึงทั้งในปีนี้ยังประกาศลงทุนเพิ่มอีก 5,300 ล้านบาท ฐานลูกค้าในอาเซียน 660 ล้านคน ถือเป็นตลาดใหญ่ที่ดึงดูดผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซจากทั้งในและนอกอาเซียน

ประเด็นหลัก


ฐานลูกค้าในอาเซียน 660 ล้านคน ถือเป็นตลาดใหญ่ที่ดึงดูดผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซจากทั้งในและนอกอาเซียน ปีนี้ทางบริษัทจึงจะนำทั้ง iTrueMart และ WeLoveShopping ไปเปิดให้บริการในเวียดนาม อินโดนีเซีย เมียนมา กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ หลังจากปีที่แล้วได้ขยายตลาดไปฟิลิปปินส์

"ต้องยอมรับ ว่าในภูมิภาคนี้ยังมีปัญหาเรื่องโลจิสติกส์และอีเพย์เมนต์ จึงได้ตั้งบริษัท Aden ขึ้นมาดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ ทั้งช่วยบริหารสต๊อก แพ็ก และส่งสินค้า ซึ่งจะเปิดตัวในไตรมาส 3 ไล่ ๆ กับการเปิดให้บริการ COD ให้ลูกค้าชำระเงินปลายทางเมื่อได้รับสินค้า เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งจากการที่ขยายตลาดในฟิลิปปินส์ไปเมื่อปีที่แล้ว พบว่ามีการเติบโตสูงมาก ใช้เวลาแค่ 2 เดือนมียอดสั่งซื้อเป็นพันออร์เดอร์ต่อวัน ขณะที่ในไทยใช้เวลาเกือบ 2 ปี"

นอกจากจะมีบริษัทลูกอย่าง Aden เข้ามาสนับสนุนการขยายตลาดแล้ว ยังพัฒนาระบบ "Guanxi" ที่จะให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อสร้างความสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มของ WeLoveShopping

"ในฝั่งยุโรปผู้บริโภคอาจจะพิจารณาจากรายละเอียด ข้อมูลสินค้า รูปถ่าย ราคา แต่ในตลาดอาเซียนแค่นั้นยังไม่พอ ลูกค้ายังชอบการพูดคุย การต่อรอง ซึ่งจะโยงไปถึง CRM ในอนาคตโดยปริยาย อีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่างอาลีบาบา ก็ประสบความสำเร็จจากระบบ "Guanxi" นี่เป็นปัจจัยสำคัญในการซื้อขายออนไลน์ในอาเซียน"

และด้วยบริการที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ นี้ ยังช่วยเพิ่มรายได้ของบริษัทนอกเหนือจากค่าคอมมิสชั่นในการขายสินค้าผ่าน ระบบแล้ว ต่อไปจะมีค่าบริการอื่น ๆ เช่น บริการโลจิสติกส์ โดยปีนี้ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 3,200 ล้านบาท เพิ่มจาก 2,000 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขณะที่มาร์เก็ตแชร์ทั้ง iTrueMart และ WeLoveShopping เมื่อรวมแล้วจะเป็นอันดับ 2 ของตลาดอีคอมเมิร์ซ


_________________________








สมรภูมิอีคอมเมิร์ซ ระอุ "แข่งราคา-พลัง (ซื้อ) หญิง" ดันตลาดโต

เป็นอีกหนึ่งผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของไทย สำหรับบริษัท แอสเซนด์ คอมเมิร์ซ จำกัด ที่ดูแลทั้ง iTrueMart (ค้าปลีกแบบ B2C) และ WeLoveShopping (อีมาร์เก็ตเพลซ C2C) รวมถึงทั้งในปีนี้ยังประกาศลงทุนเพิ่มอีก 5,300 ล้านบาท เพื่อรองรับการเติบโต หลังจากได้ลงทุนสร้างแพลตฟอร์มจน "แอสเซนด์" กลายเป็นศูนย์บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรสำหรับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายแล้ว


5 ปีอีคอมเมิร์ซทะลุ 8% ค้าปลีก

"สืบ สกล สกลสัตยาทร" ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอสเซนด์ คอมเมิร์ซ จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมอีคอมเมิร์ซในไทยยังเติบโตได้อีกมาก ทั้งจากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ใช้อินเทอร์เน็ตได้ด้วยมีกว่า 56% จึงทำให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวผู้บริโภคตลอดเวลา และจากการเปิดบริการ 4G ที่จะมาอย่างเต็มรูปแบบในปีนี้ แต่มูลค่าการค้าขายออนไลน์ยังมีแค่ราว 1.3-14% ของตลาดค้าปลีกในไทย ซึ่งน่าจะอยู่ที่ราว 2 ล้านล้านบาท ขณะที่ในจีนอยู่ที่ 9-11% สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 8% จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นผู้ประกอบการรายกลุ่มเข้ามาในตลาดนี้ แม้ว่าจะมีบางรายถอนตัวออกไป

"อีคอมเมิร์ซยังเป็นตลาดที่หอมหวาน มองว่าใน 5 ปีจะเพิ่มไปได้ถึง 8% ของตลาดค้าปลีก จะได้เห็นผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาเกิดและตายไปเพราะแข่งขันดุเดือดมาก ต้องมีประสบการณ์ มีเงินทุนมากพอ รวมถึงความตั้งใจจะผลักดัน เชื่อว่าในปีนี้จะทำให้ยอดการเข้าเว็บโตได้ถึง 50% จากปีที่แล้วมี 30 ล้านราย ส่วนจำนวนร้านค้าจะเพิ่ม 20% จาก 3.5 แสนราย"

ยิ่งมีการแข่งขันสูง ยิ่งทำให้ตลาดรวมเติบโต เพราะทุกรายจะโหมกระตุ้นตลาด ส่วนสภาพเศรษฐกิจปีที่แล้ว GDP ไม่ถึงเป้า แต่เชื่อว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศช่วยให้การบริโภคในประเทศดีขึ้นได้น่าจะเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ปัจจุบันยอดสั่งซื้อมาจากกรุงเทพฯและต่างจังหวัดใกล้ ๆ กัน

เทรนด์ที่อีคอมเมิร์ซต้องใส่ใจ

ภายใต้สมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือด ปีนี้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซทุกรายจะต้องหันมาโฟกัสในการสร้างประสบการณ์ ที่ดีให้ลูกค้า ให้ผู้บริโภคมั่นใจได้จริง ๆ ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มที่ผสมผสาน และสร้างนวัตกรรมที่เติมเต็มทั้งโลจิสติกส์และอีเพย์เมนต์ให้ตอบโจทย์ความ ต้องการลูกค้าได้มากที่สุด ทั้งด้านผู้ซื้อผู้ขายในทุกกลุ่ม

และเกมที่ยากที่สุดในอีคอมเมิร์ซ คือ การทำการตลาดที่ต้องสร้างแบรนด์บนอีคอมเมิร์ซ ซึ่งต่างจากโลกยุคเก่าและโลกออฟไลน์ ต้องเน้นการสร้างกระแสให้ลูกค้าบอกต่อได้จนลูกค้าจดจำ

"การสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าตัดสินใจลองซื้อครั้งแรกได้ เป็นสิ่งสำคัญมาก เห็นได้จากหลังเปิด WE Trust เมื่อ เม.ย.ปีที่แล้วยอดสั่งซื้อ WeLoveShopping เพิ่มขึ้น 200% เป็นออร์เดอร์ที่มีมูลค่า 200-300 บาทมากที่สุด และมีถึง 50% ที่กลับมาซื้อซ้ำใน 30 วัน ที่สำคัญคือมูลค่าต่อออร์เดอร์ยังเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 บาทต่อคำสั่งซื้อ" และมูลค่าเฉลี่ยต่อยอดคำสั่งซื้อ iTrueMart อยู่ที่ 2,000 บาท ส่วน WeLoveShopping ที่ 800 บาท

ผู้หญิงกำลังซื้อสำคัญ

"ธีรพงษ์ วิชญเรืองรมย์" ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัทแอสเซนด์ คอมเมิร์ซ เปิดเผยว่า สินค้าฮิตที่ขายดีใน
WeLoveShopping ได้แก่ 1.Gadget & Electronic 2.Beauty 3.Fashion 4.Mom & Kids และ 5.Life Style โดยลูกค้ากว่า 70% เป็นผู้หญิง และแม้แต่ใน iTrueMart ลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หญิง ทั้งนิยมสินค้าประเภท Gadget เช่นกัน โดยต่อวันมียอดการสั่งซื้อสินค้าเฉลี่ย 7,000 รายการ และเคยมียอดการสั่งซื้อสูงสุดถึง 10,000 รายการต่อวัน

"ผู้หญิงยังเป็นกำลังซื้อสำคัญ ไม่ว่าจะโลกออนไลน์หรือออฟไลน์ สินค้าฮิตหนีไม่พ้นเรื่องแฟชั่นและความงาม แต่ที่มาแรงมากคือสินค้าประเภทแม่และเด็ก เพราะบรรดาคุณแม่ไม่ค่อยมีเวลาออกไปซื้อของ นิยมค้นทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น พวกสินค้าเครื่องใช้ในบ้าน งานฝีมือ และ DIY ที่เป็นเครื่องใช้ในบ้านก็ได้รับความนิยมขึ้นน่าจะเป็นเทรนด์ไปอีก 2-3 ปี"

เกิน 1,500 บาทไม่จูงใจผู้ซื้อ

จากการมอนิเตอร์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ WeLoveShopping พบว่า "ราคา" ยังเป็นจุดตัดสินใจซื้อที่สำคัญนักช็อปออนไลน์ยังต้องการของราคาถูก"Price Point ถ้าราคาเกิน 1,500 บาท ต่อให้ลูกค้าอยากได้สินค้าตัวนั้นมาก ๆ ก็จะเริ่มคิดเยอะ มีการเปรียบเทียบราคากับหลาย ๆ แห่ง และสุดท้ายอาจไม่ซื้อ แต่ไปซื้อสินค้าอื่นที่ทดแทนกันได้ แต่มีราคาถูกกว่า"

แต่ฟีดแบ็กจากลูกค้าเก่าที่เคยซื้อก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เหมือน ๆ กัน ราคาไม่แตกต่างกันมาก โดย WeLoveShopping มีระบบให้คะแนนความพึงพอใจของลูกค้าเก่า ซึ่งจะมีตั้งแต่ 1.สินค้าได้ตรงตามที่สั่ง 2.การบริการของร้านค้า 3.การจัดส่งเรียบร้อย 4.ความรวดเร็วในการได้รับสินค้า ซึ่งจะนำมาประเมินเพื่อเลือกสินค้าในเว็บมาโปรโมตด้วย

"การคัดกรองจะมีการประเมินผลอยู่ตลอด รวมถึงการรีฟันด์สินค้าจะมีการมอนิเตอร์อย่างเรียลไทม์ ซึ่งจะมาทั้งการให้รางวัลและการตักเตือน เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีที่สุดทุกร้านต้องอยู่บนมาตรฐานเพื่อแบรนด์ของ WeLoveShopping ด้วย"

พร้อมบุกอาเซียนปีนี้

ฐานลูกค้าในอาเซียน 660 ล้านคน ถือเป็นตลาดใหญ่ที่ดึงดูดผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซจากทั้งในและนอกอาเซียน ปีนี้ทางบริษัทจึงจะนำทั้ง iTrueMart และ WeLoveShopping ไปเปิดให้บริการในเวียดนาม อินโดนีเซีย เมียนมา กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ หลังจากปีที่แล้วได้ขยายตลาดไปฟิลิปปินส์

"ต้องยอมรับ ว่าในภูมิภาคนี้ยังมีปัญหาเรื่องโลจิสติกส์และอีเพย์เมนต์ จึงได้ตั้งบริษัท Aden ขึ้นมาดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ ทั้งช่วยบริหารสต๊อก แพ็ก และส่งสินค้า ซึ่งจะเปิดตัวในไตรมาส 3 ไล่ ๆ กับการเปิดให้บริการ COD ให้ลูกค้าชำระเงินปลายทางเมื่อได้รับสินค้า เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งจากการที่ขยายตลาดในฟิลิปปินส์ไปเมื่อปีที่แล้ว พบว่ามีการเติบโตสูงมาก ใช้เวลาแค่ 2 เดือนมียอดสั่งซื้อเป็นพันออร์เดอร์ต่อวัน ขณะที่ในไทยใช้เวลาเกือบ 2 ปี"

นอกจากจะมีบริษัทลูกอย่าง Aden เข้ามาสนับสนุนการขยายตลาดแล้ว ยังพัฒนาระบบ "Guanxi" ที่จะให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อสร้างความสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มของ WeLoveShopping

"ในฝั่งยุโรปผู้บริโภคอาจจะพิจารณาจากรายละเอียด ข้อมูลสินค้า รูปถ่าย ราคา แต่ในตลาดอาเซียนแค่นั้นยังไม่พอ ลูกค้ายังชอบการพูดคุย การต่อรอง ซึ่งจะโยงไปถึง CRM ในอนาคตโดยปริยาย อีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่างอาลีบาบา ก็ประสบความสำเร็จจากระบบ "Guanxi" นี่เป็นปัจจัยสำคัญในการซื้อขายออนไลน์ในอาเซียน"

และด้วยบริการที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ นี้ ยังช่วยเพิ่มรายได้ของบริษัทนอกเหนือจากค่าคอมมิสชั่นในการขายสินค้าผ่าน ระบบแล้ว ต่อไปจะมีค่าบริการอื่น ๆ เช่น บริการโลจิสติกส์ โดยปีนี้ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 3,200 ล้านบาท เพิ่มจาก 2,000 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขณะที่มาร์เก็ตแชร์ทั้ง iTrueMart และ WeLoveShopping เมื่อรวมแล้วจะเป็นอันดับ 2 ของตลาดอีคอมเมิร์ซ

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1457580981

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.