Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 มีนาคม 2559 DTAC ระบุ กสทช. เสนอแนวทางประมูลคลื่น 900 ใหม่ สกัด “ทรู” ไม่ควรได้เข้าร่วม เพราะครอบครองคลื่นไปแล้ว เผยราคาประมูล 4 จีที่สูงลิ่วทั้ง 2 ครั้ง ชี้ว่าเกิด “ความต้องการเทียม” ขึ้น

ประเด็นหลัก
ดีแทคร่อนหนังสือถึง กสทช. เสนอแนวทางประมูลคลื่น 900 ใหม่ สกัด “ทรู” ไม่ควรได้เข้าร่วม เพราะครอบครองคลื่นไปแล้ว เผยราคาประมูล 4 จีที่สูงลิ่วทั้ง 2 ครั้ง ชี้ว่าเกิด “ความต้องการเทียม” ขึ้น ดันราคาเกินความต้องการที่แท้จริง ยิ่งผู้ชนะ มาชำระเงินไม่ได้ยิ่งเสียหาย ทำมูลค่าตลาด 4 บริษัทหายวูบ 5 แสนล้าน บทวิเคราะห์ชี้แจสเบี้ยวจ่ายเงิน เลวร้ายที่สุดล้มละลายเสียหาย 2 หมื่นล้านตามทุนจดทะเบียน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมานายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้ทำหนังสือเสนอความคิดเห็นไปยังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ 4 จีย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ในช่วงที่บริษัทแจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัดชนะการประมูลไป แต่ไม่สามารถนำเงินมาชำระได้

โดยนายลาร์สระบุว่า ดีแทคสนับสนุนการจัดประมูลใหม่ ซึ่งต้องเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประมูลครั้งก่อน จึงเห็นว่าการประมูลครั้งนี้ควรจำกัดไว้เฉพาะผู้เข้าร่วมประมูลที่เหลืออยู่จากการประมูลครั้งก่อนหน้า ผู้ที่ชนะการประมูลไปแล้วไม่ควรมีสิทธิเข้าร่วมเพราะได้ครอบครอง คลื่นไปแล้ว 1 ใบอนุญาต นอกจากนั้นกฎการ ประมูลยังกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยื่นประมูลความถี่ได้ไม่เกิน 1 ชุดความถี่ด้วย เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ไม่ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งผูกขาดครอบครองคลื่น 900 เพียงรายเดียว
___________________________________________________ "ดีแทค" ชง กสทช.สกัด "ทรู"

“ความต้องการเทียม” ดันราคาประมูลสูง

ดีแทคร่อนหนังสือถึง กสทช. เสนอแนวทางประมูลคลื่น 900 ใหม่ สกัด “ทรู” ไม่ควรได้เข้าร่วม เพราะครอบครองคลื่นไปแล้ว เผยราคาประมูล 4 จีที่สูงลิ่วทั้ง 2 ครั้ง ชี้ว่าเกิด “ความต้องการเทียม” ขึ้น ดันราคาเกินความต้องการที่แท้จริง ยิ่งผู้ชนะ มาชำระเงินไม่ได้ยิ่งเสียหาย ทำมูลค่าตลาด 4 บริษัทหายวูบ 5 แสนล้าน บทวิเคราะห์ชี้แจสเบี้ยวจ่ายเงิน เลวร้ายที่สุดล้มละลายเสียหาย 2 หมื่นล้านตามทุนจดทะเบียน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมานายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้ทำหนังสือเสนอความคิดเห็นไปยังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ 4 จีย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ในช่วงที่บริษัทแจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัดชนะการประมูลไป แต่ไม่สามารถนำเงินมาชำระได้

โดยนายลาร์สระบุว่า ดีแทคสนับสนุนการจัดประมูลใหม่ ซึ่งต้องเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประมูลครั้งก่อน จึงเห็นว่าการประมูลครั้งนี้ควรจำกัดไว้เฉพาะผู้เข้าร่วมประมูลที่เหลืออยู่จากการประมูลครั้งก่อนหน้า ผู้ที่ชนะการประมูลไปแล้วไม่ควรมีสิทธิเข้าร่วมเพราะได้ครอบครอง คลื่นไปแล้ว 1 ใบอนุญาต นอกจากนั้นกฎการ ประมูลยังกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยื่นประมูลความถี่ได้ไม่เกิน 1 ชุดความถี่ด้วย เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ไม่ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งผูกขาดครอบครองคลื่น 900 เพียงรายเดียว

ราคาสูงจาก “ความต้องการเทียม”

ส่วนราคาขั้นต่ำ (Reserve Price) ของการประมูลครั้งใหม่นี้ ควรกำหนดที่ราคา 16,080 ล้านบาทเท่ากับการประมูลคลื่นครั้งก่อน (ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลมีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ราย) ซึ่งโดยวิธีนี้จะเป็นการประมูลแข่งขันที่กำหนดมูลค่าคลื่นที่แท้จริงและไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากนั้นยังต้องการเสนอให้ กสทช.เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อเรื่องดังกล่าวด้วย โดยดีแทคยินดีให้ข้อเสนอเพิ่มเติม เพื่อให้การประมูลครั้งใหม่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

หนังสือเสนอความคิดเห็นยังระบุด้วยว่า การประมูลคลื่นความถี่ 4 จี ทั้งย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ในเดือน พ.ย.และ ธ.ค.2558 ที่ผ่านมา มีความสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตก้าวกระโดดของบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ราคาประมูลที่สูงมากทั้ง 2 ย่าน จะมีผลกระทบต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมมือถือในระยะยาวแน่ และการที่ผู้ชนะการประมูลไม่สามารถชำระเงินและวางหนังสือค้ำประกันค่าคลื่นความถี่ได้ตามกำหนดนั้น อาจพิจารณาได้ว่าการประมูลได้เกิด “ความ ต้องการเทียม” ขึ้น และเป็นปัจจัยหลักในการดันราคาให้สูงเกินความต้องการที่แท้จริง
ซึ่งแม้รัฐจะได้รายได้เป็นจำนวนมาก แต่กลับเกิดผลลบต่อธุรกิจมือถือเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพราะลูกค้ามีความกังวลต่อความสามารถในการให้บริการด้วยต้นทุนที่สูง นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ อันทำให้มูลค่าตลาด (Market Capitalization) ของ 4 บริษัทที่เข้าร่วมประมูลลดลงเป็นมูลค่า 500,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดก่อนการประมูลคลื่น 1800 ในวันที่ 10 พ.ย. และหลังประมูลคลื่น 900 ในวันที่ 15 ธ.ค.2558 ซึ่งภาระค่าคลื่นในระดับสูงนี้จะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อความสามารถในการขยายโครงข่ายและการให้บริการ

แจสเสียหายสูงสุด 2 หมื่นล้าน

บล.ทรีนีตี้ ประเมินบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (JAS) อาจต้องรับผิดชอบราว 20,000 ล้านบาท หากบริษัทแจสโมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ในฐานะบริษัทย่อยของจัสมิน ถูกฟ้องล้มละลาย บวกกับต้องเสียเงินมัดจำ 644 ล้านบาทและค่าปรับในการจัดประมูลใหม่

โดยในส่วนของแบงก์การันตีที่วางตอนเข้าประมูลจำนวน 644 ล้านบาทจะถูกยึดทันที รวมทั้งอาจต้องเสียค่าปรับในการดำเนินการจัดประมูลใหม่ และค่าเสียหายที่ทำให้รัฐสูญเสียโอกาส ซึ่งอย่างน้อยก็เทียบเท่ากับราคาที่แจสโมบายประมูลไปที่ 75,654 ล้านบาท ซึ่ง กสทช.คงต้องดำเนินการฟ้องร้องให้แจสชำระค่าเสียหายทั้งหมด

ส่วนกรณีเลวร้ายสุดคือแจสโมบายล้มละลาย ด้วยทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 11 ม.ค. 2559 ที่ 20,000 ล้านบาท ผลกระทบต่อจัสมิน JAS คือ 20,000 ล้านบาท ตามทุนจดทะเบียนที่ได้จดไว้ ตามกฎหมายล้มละลาย ผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบในสัดส่วนของทุนจดทะเบียนที่ตนถือเท่านั้น ส่วนการที่กสทช.จะฟ้อง JAS ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของแจส โมบาย และต้องรับผิดชอบหรือไม่นั้น ต้องติดตามว่าจะมีแง่มุมทางกฎหมายที่จะเอาผิดได้หรือไม่ ในส่วนของธุรกิจ 3BB ของ JAS นั้น เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบในการถูกเพิกถอนใบอนุญาตในการประกอบกิจการเพราะถือว่าเป็นคนละนิติบุคคล

ส่วนการนำคลื่นออกมาประมูลอีกครั้งใน 4 เดือนข้างหน้า โดยราคาเริ่มต้นประมูลจะเป็นที่ราคา 75,654 ล้านบาทนั้น ราคาจะไม่สร้างแรงจูงใจต่อทั้ง 3 บริษัทที่เหลือในการเข้าประมูลและหากต้องเลื่อนออกไปอีก 1 ปี

ด้าน บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า มีมุมมองบวกมากขึ้นต่อ JAS เนื่องจากความเสี่ยงในการลงทุนธุรกิจใหม่ลดลง โดยความชัดเจนของประเด็นนี้และการประกาศซื้อหุ้นคืน ทำให้ระยะสั้นราคาหุ้น JAS มีแนวโน้มปรับขึ้นต่อ เบื้องต้นคาดผลการดำเนินงานปกติปี 59-61 จะกลับมากำไรเติบโตต่อปี 22% ทำให้ราคาเป้าหมาย JAS ปรับขึ้นเป็น 5.80 บาท (ยังไม่หักผลกระทบถูกยึดเงินประกันและฟ้องเรียกค่าเสียหาย)

ส่วนหาก JAS จะมีผลกระทบถูกยึดเงินประกันและมีความเสี่ยงถูก กสทช.ฟ้องเรียกค่าเสียหาย ประเมินว่าการถูกยึดเงินประกันรวมกับถูกฟ้องค่าเสียหายในการจัดประมูลและค่าเสียโอกาสในการใช้คลื่นเป็นมูลค่ารวม 5,868 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าต่อหุ้น 0.60 บาท.

http://www.thairath.co.th/content/594758

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.