Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 เมษายน 2559 เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เรียกร้อง กสทช.ตรวจสอบ JAS เข้าข่ายฮั้วการประมูล ทั้งที่คณะทำงานยังไม่ได้เริ่มลงมือหาข้อเท็จจริงอะไร และในหนังสือยินยอมเข้าร่วมประมูลก็ระบุชัดเจน

เประเด็นหลัก


วันนี้ (5 เม.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยมี นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. และนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นตัวแทนรับมอบ โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เรียกร้อง กสทช.ตรวจสอบ JAS เข้าข่ายฮั้วการประมูล และเร่งประมูลคลื่น 900 MHz จากที่บริษัท เเจสโมบาย บรอดเเบรนด์ จำกัด ไม่มาชำระเงินค่าคลื่นงวดเเรกพร้อมวางหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินในจำนวนมูลค่าคลื่นที่ชนะการประมูล 75,654 ล้านบาท โดยที่ประชุมมีมติราคาประมูล 4G คลื่น 900MHz รอบใหม่ เริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท และกำหนดวันเคาะราคาประมูล วันที่ 24 มิ.ย. นั้น เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีข้อเสนอต่อเรื่องดังกล่าวดังนี้
     
       1.ขอให้ตรวจสอบแจสข้อหาฮั้วประมูล ภายหลังการไม่ชำระค่าคลื่นความถี่ 900 MHz สำนักงาน กสทช. ให้ข่าวว่า แจสไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ทั้งที่คณะทำงานยังไม่ได้เริ่มลงมือหาข้อเท็จจริงอะไร และในหนังสือยินยอมเข้าร่วมประมูลก็ระบุชัดเจนว่า ผู้ประมูลอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า กสทช. จะดำเนินการค้นหาความจริง และหาผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายของประเทศอย่างจริงจังหรือไม่
     
       2.ขอให้ กสทช.ทบทวนมติในการดำเนินการประมูล และเร่งประมูลให้คลื่นใช้ประโยชน์ การตัดสินใจของ กสทช.เพื่อเตรียมการจัดประมูลใหม่ สำนักงาน กสทช.ระบุว่า หากไม่มีผู้มาประมูลก็จะเก็บคลื่นไว้ 1 ปี ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวยิ่งจะทำให้คลื่นความถี่ที่มีคุณค่าไม่ถูกใช้งาน และทำให้การกำหนดค่าเสียหายจากการทิ้งคลื่นเนิ่นนานออกไป เหมือนไม่ต้องการหาผู้รับผิดชอบที่ทิ้งการประมูลอย่างจริงจัง การจัดประมูลใหม่ก็ล่าช้ากว่า 3 เดือน ไม่ทันต่อการรับมือสถานการณ์ซิมดับที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 เมษายนนี้ ทำให้ผู้บริโภคที่ยังคงใช้บริการคลื่นนี้กว่า 7 ล้านคนเดือดร้อน ทั้งที่ กสทช.น่าจะต้องรู้ดีว่าควรต้องการนำคลื่นมาจัดสรรโดยเร็วเพื่อแก้ไขปัญหาซิมดับ แต่กลับไม่เร่งหาทางออกให้ผู้บริโภค และภายหลังจากซิมดับ มูลค่าคลื่นก็จะลดต่ำลง เพราะประโยชน์ที่จะนำคลื่นมาแก้ปัญหาซิมดับก็จะหมดไปเช่นกัน จึงคาดได้ว่า การจัดสรรคลื่นเมื่อซิมดับแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ และรัฐจะขาดรายได้ เมื่อเก็บคลื่นไว้นาน ผู้ทิ้งคลื่นก็อาจพ้นความรับผิดในส่วนค่าเสียหาย





_______________________________________________





เครือข่ายผู้บริโภคร้อง กสทช.เร่งบี้ “แจส”


 เครือข่ายผู้บริโภคร้อง กสทช.เร่งบี้ “แจส”
ตัวแทน"เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค" ขณะยื่นหนังสือ

        เครือข่ายผู้บริโภคร้อง กสทช.เร่งตรวจสอบแจสกรณีฮั้วประมูล ขณะที่เลขาธิการ กสทช.ยืนยัน “พิชญ์” จะเดินทางมาชี้แจงเรื่องทั้งหมดต่อคณะทำงานพิจารณาความเสียหายบ่ายวันนี้ (5 เม.ย.) เผยอาจยังไม่ได้ข้อสรุปภายใน 28 เม.ย.นี้ เพราะต้องเชิญสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงด้วย
ADVERTISING

inRead invented by Teads
     
       วันนี้ (5 เม.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยมี นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. และนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นตัวแทนรับมอบ โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เรียกร้อง กสทช.ตรวจสอบ JAS เข้าข่ายฮั้วการประมูล และเร่งประมูลคลื่น 900 MHz จากที่บริษัท เเจสโมบาย บรอดเเบรนด์ จำกัด ไม่มาชำระเงินค่าคลื่นงวดเเรกพร้อมวางหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินในจำนวนมูลค่าคลื่นที่ชนะการประมูล 75,654 ล้านบาท โดยที่ประชุมมีมติราคาประมูล 4G คลื่น 900MHz รอบใหม่ เริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท และกำหนดวันเคาะราคาประมูล วันที่ 24 มิ.ย. นั้น เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีข้อเสนอต่อเรื่องดังกล่าวดังนี้
     
       1.ขอให้ตรวจสอบแจสข้อหาฮั้วประมูล ภายหลังการไม่ชำระค่าคลื่นความถี่ 900 MHz สำนักงาน กสทช. ให้ข่าวว่า แจสไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ทั้งที่คณะทำงานยังไม่ได้เริ่มลงมือหาข้อเท็จจริงอะไร และในหนังสือยินยอมเข้าร่วมประมูลก็ระบุชัดเจนว่า ผู้ประมูลอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า กสทช. จะดำเนินการค้นหาความจริง และหาผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายของประเทศอย่างจริงจังหรือไม่
     
       2.ขอให้ กสทช.ทบทวนมติในการดำเนินการประมูล และเร่งประมูลให้คลื่นใช้ประโยชน์ การตัดสินใจของ กสทช.เพื่อเตรียมการจัดประมูลใหม่ สำนักงาน กสทช.ระบุว่า หากไม่มีผู้มาประมูลก็จะเก็บคลื่นไว้ 1 ปี ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวยิ่งจะทำให้คลื่นความถี่ที่มีคุณค่าไม่ถูกใช้งาน และทำให้การกำหนดค่าเสียหายจากการทิ้งคลื่นเนิ่นนานออกไป เหมือนไม่ต้องการหาผู้รับผิดชอบที่ทิ้งการประมูลอย่างจริงจัง การจัดประมูลใหม่ก็ล่าช้ากว่า 3 เดือน ไม่ทันต่อการรับมือสถานการณ์ซิมดับที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 เมษายนนี้ ทำให้ผู้บริโภคที่ยังคงใช้บริการคลื่นนี้กว่า 7 ล้านคนเดือดร้อน ทั้งที่ กสทช.น่าจะต้องรู้ดีว่าควรต้องการนำคลื่นมาจัดสรรโดยเร็วเพื่อแก้ไขปัญหาซิมดับ แต่กลับไม่เร่งหาทางออกให้ผู้บริโภค และภายหลังจากซิมดับ มูลค่าคลื่นก็จะลดต่ำลง เพราะประโยชน์ที่จะนำคลื่นมาแก้ปัญหาซิมดับก็จะหมดไปเช่นกัน จึงคาดได้ว่า การจัดสรรคลื่นเมื่อซิมดับแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ และรัฐจะขาดรายได้ เมื่อเก็บคลื่นไว้นาน ผู้ทิ้งคลื่นก็อาจพ้นความรับผิดในส่วนค่าเสียหาย

เครือข่ายผู้บริโภคร้อง กสทช.เร่งบี้ “แจส”
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เป็นตัวแทนรับมอบ

        เครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องให้ กสทช.ยึดถือประโยชน์ของผู้บริโภค ประโยชน์ของรัฐ และประโยชน์ของสังคม โดยเร่งหาทางจัดสรรคลื่นก่อนที่มูลค่าคลื่นจะลดลงในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ แทนที่จะดำเนินการเหมือนจะปล่อยทุกอย่างตามยถากรรม หรือพยายามให้ข่าวเพื่อไม่ต้องมีผู้รับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น หากดำเนินการให้มีการจัดสรรคลื่นโดยเร็วยังมีโอกาสที่รัฐจะได้ราคาเดิม แต่หากปล่อยทุกอย่างไว้ ในที่สุดรัฐอาจจะไม่ได้เงินสักบาทเดียวเลยก็ได้ กสทช. พร้อมจะรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นั้นหรือไม่
     
       ขณะที่ นายฐากร กล่าวว่า เรื่องการกำหนดราคา กสทช.ไม่สามารถกลับไปเริ่มประมูลในราคาเริ่มต้นของการประมูลครั้งที่แล้วได้ การประมูลที่เกิดขึ้นถือเป็นการขายสินทรัพย์ของรัฐจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่รัฐ และประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดจึงต้องกำหนดราคาไว้ที่ 75,000 ล้านบาท กสทช.และรัฐบาลมีความเห็นตรงกันที่จะพิจารณาถึงผลประโยชน์ของรัฐ และประชาชนเป็นประโยชน์สูงสุด ส่วนหากไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลเพราะเห็นว่าราคาสูงเกินไป กสทช.ได้เตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาไว้แล้วแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้
     
       ส่วนเรื่องการตรวจสอบแจส ฝ่ายกฎหมายของแจสได้ตอบกลับยืนยันหนังสือเชิญของคณะทำงานโดยยืนยันว่า นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) จะเดินทางมาให้ข้อมูลด้วยตัวเอง สำหรับประเด็นที่ กสทช.จะสอบถามเป็นไปตามแนวทางที่ได้เคยแถลงไปแล้ว คือ ในการเข้าประมูลแจสมีเจตนาเข้าประมูลเพื่อรับใบอนุญาตหรือไม่ เมื่อชนะการประมูลแล้วแจสได้ดำเนินการติดต่อสถาบันการเงินเพื่อขอการสนับสนุนอย่างไร ซึ่งกรณีนี้ให้แจสทำเอกสารชี้แจงส่ง กสทช.ด้วย สำหรับกรณีที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์เป็นประเด็นที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะเป็นผู้พิจารณาเอง อย่างไรก็ดี สำหรับการตรวจสอบอาจเสร็จไม่ทันกำหนดสรุปในวันที่ 28 เม.ย. เนื่องจากอาจต้องเชิญสถาบันการเงิน หรือผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงเพิ่มซึ่งอาจต้องมีการประชุมอีก 2-3 ครั้ง


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000034835

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.